อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

โรคเถาเหี่ยวในแตงโมที่อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ


            แตงโมเนื้อปากคาด รสชาติช่างหวานละมุน เนื้อกรอบนุ่ม  สีแดงสดธรรมชาติ ใครเคยได้รับประทานรับรองจะติดใจ  แต่วันนี้เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมเนื้อ ที่อำเภอปากคาดกำลังได้รับความเดือดร้อน
กลุ่มอารักขาพืช  นำโดยนายสัมรวย มีจินดา
หัวหน้ากลุ่ม ได้ลงสำรวจแปลงร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย
นายณรงค์ศักดิ์ พจนา พบอาการแห้งเหี่ยวทั้งแปลง 
วิเคราะห์อาการ และสาเหตุ สรุปว่าแตงโมเป็นโรคเถาเหี่ยว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ซึ่งกำลังทำความเสียหายให้กับพี่น้องเกษตรกร

 

โรคเถาเหี่ยวแตงโมลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งน้ำเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลำต้นในเถาฉ่ำน้ำมากกว่า

ข้อแนะนำสำหรับเกษตรกร

๑.สำหรับแปลงแตงโมที่พบอาการเถาเหี่ยวในขณะที่ต้นยังเล็กให้ถอนต้นกล้าทิ้ง
นำไปเผานอกแปลง ทำการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในหลุมปลูก โดยใช้ปูนขาวและยูเรีย

อัตรา ๑๐ :๑ (ส่วนผสมนี้จะทำให้ได้ก๊าชคลอรีน) โดยใส่ประมาณ ๑๐๐ กรัม (๑๐
ช้อนแกง) เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดโรคได้


๒.ในแปลงที่ให้น้ำระบบร่อง เมื่อพบอาการเหี่ยวของแตงโม ควรงดน้ำแบบระบบร่อง
เพราะจะเป็นสาเหตุให้เชื้อกระจายทั่วแปลงได้

๓. ให้ธาตุแคลเซียมโบรอนเพิ่มโดยฉีดพ่น ทุก ๗ วัน เพื่อให้พืชมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น

เมื่อทราบข่าวโรคเถาเหี่ยวของแตงโมก็ได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วทั้งแปลงแล้ว ปีนี้แตงโมที่ปากคาด
ผลผลิตคงลดลงไปไม่น้อยทีเดียว


.......อารักขาพืชบึงกาฬ

หมายเลขบันทึก: 531475เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2013 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2013 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท