โครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร


 โครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

             Carroll (Crane& Matten, 2007 pp.29-35) ได้กล่าวไว้ว่า สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบธุรกิจที่มีคุณธรรม โดยผู้ประกอบธุรกิจเหล่านั้นได้ยอมรับว่าความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจจะเป็นทางที่นำไปสู่การยอมรับทางสังคม ซึ่งองค์กรจะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมใน 4 ด้านด้วยกัน คือ ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบทางด้านกฎหมาย ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรม และความรับผิดชอบเชิงสาธารณะประโยชน์


 

            1. ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ

             ในอดีต องค์กรธุรกิจได้ออกแบบและสร้างสรรค์ จัดหาสินค้าและบริการให้เป็นไปตามสภาวะความเป็นจริงของสมาชิกทางสังคม โดยในขั้นแรกนั้นจะจูงใจโดยการกระตุ้นนักลงทุนก่อน เพราะองค์กรธุรกิจเป็นหน่วยธุรกิจพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคม ดังเช่น การผลิตสินค้าและบริการนั้นเป็นบทบาทหลักที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต่อผู้ริโภค และความต้องการในการยอมรับกระบวนในการสร้างผลกำไร โดยบางประเด็นทางด้านความคิดที่จูงใจโดยกำไรนั้น สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสามารถนำไปสู่ผลกำไรที่สูงสุดได้ เพราะเป็นองค์กรธุรกิจที่ตั้งอยู่บนรากฐานความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน สร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรธุรกิจได้

          

  2. ความรับผิดชอบทางด้านกฎหมาย

            สังคมเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลงโทษองค์กรธุรกิจที่พยายามจะสร้างกำไรโดยการจูงใจ ในขณะเดียวกันนั้น องค์กรธุรกิจได้คาดหวังว่าจะต้องเชื่อฟังยินยอมปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายและบทบัญญัติที่ได้ประกาศไว้โดยรัฐบาล องค์กรธุรกิจต้องปฏิบัติตามภายใต้กฎระเบียบต่าง ๆ เหล่านั้น โดยเป็นการเติมเต็มของข้อผูกพันทางสังคมระหว่างองค์กรธุรกิจ และสังคม อีกทั้งองค์กรได้คาดหวังไว้ว่าจะต้องทำตามข้อกำหนดทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยความรับผิดชอบทางด้านกฎหมายนั้นได้สะท้อนมุมามองของระบบปฏิบัติ ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงต้องปฏิบัติตามภายใต้กรอบของกฎหมาย

 

           3. ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรม

            แม้ว่าความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจและกฎหมายได้แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานทางด้านจริยธรรมว่ามีความเกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริต และความยุติธรรมนั้น สังคมมีความคาดหวังต่อการยอมรับในกิจกรรมการปฏิบัติทางด้านความรับผิดชอบด้านจริยธรรมขององค์กรด้วย แม้ว่าความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมจะได้ประมวลไปสู่ความเป็นกฎหมาย แต่ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมได้ชี้ให้เห็นมาตรฐาน บรรทัดฐาน หรือความคาดหวังที่สะท้อนถึงความสนใจของผู้บริโภค ลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น และสังคมในด้านการคำนึงถึงความยุติธรรม หรือเป็นการปกป้องผู้ถือหุ้นให้อยู่ในกฎระเบียบที่ถูกต้อง

             การเปลี่ยนแปลงทางด้านจริยธรรม หรือการเห็นคุณค่าของความเป็นมาของกฎหมาย จะกลายเป็นแรงผลักดันหรือพลังขับเคลื่อนในการสร่างสรรค์ทางกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ด้านสิ่งแวดบ้อม สิทธิความเป็นพลเมืองของประเทศ และการทีผู้บริโภคได้สะท้อนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในคุณประโยชน์ทางสังคม ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมอาจจะเป็นการรวมเข้าด้วยกันให้มีของคุณประโยชน์และกฎเกณฑ์ทางสังคมที่องค์กรธุรกิจต้องเผชิญ แม้ว่าคุณประโยชน์และกฎเกณฑ์ทางสังคมอาจสะท้อนมาตรฐานการปฏิบัติได้สูงกว่าการยอมรับการเรียกร้องทางด่านกฎหมาย

            

  4.ความรับผิดชอบเชิงสาธารณะประโยชน์

              เป็นการกระทำที่องค์กรธุรกิจให้ความช่วยเหลือหรือบริจาคเพื่อเป็นการตอบสนองความคาดหวังของสังคมด้วยความเป็นพลเมืองที่ดีขององค์กรธุรกิจ อาจรวมถึงกิจกรรมที่เป็นการกระทำที่สนับสนุนความผาสุกของมนุษย์หรือความสัมพันธ์อันดีในทางธุรกิจ โดยทั้งผู้บริหารและลูกจ้างมีส่วนร่วมโดยการเป็นอาสาสมัครเพื่อร่วมช่วยเหลือสังคมท้องถิ่นหรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน สังคม ให้ดีขึ้น หรือการที่องค์การธุรกิจได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมด้วยการบริจาคเงิน การช่วยเหลือสนับสนุนงานทางด้านศิลปะ การศึกษาต่าง ๆ

              ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้ง 4 ด้าน ด้วยกัน คือ ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ คามรับผิดชอบทางด้านกฎหมาย ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบเชิงสาธารณะ  ประโยชน์ องค์กรจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ องค์กรต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น จึงจะทำให้องค์กรได้มีส่วนช่วยเหลือสังคม และได้รับการยอมรับจากคนในส่วนต่าง ๆ ของสังคมได้มากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Carroll, A.B. (1991). The pyramid of corporate social responsibility : Toward the moral

              management of organization stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39-48.

Coskun, S.A. (1992). Social responsibility in marketing : a proactive and profitable marketing 

              management. New York :Quorurm Books.

Crane & Desmond.(2002). Societal marketing and morality. European Journal of Marketing,             

             36(5/6), 

  548-569.


หมายเลขบันทึก: 531316เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท