การเรียนรู้ด้วยการค้นหาคำตอบ


เมื่อยังเป็นเด็กเวลาเข้าเรียนมักจะฟังครูสอน  ทำตามที่ครูสั่ง  ตอบคำถามที่ครูถาม  ทำการบ้านมาส่งครู  รอคอยสมุดกลับมาว่าจะมีข้อผิดที่ต้องแก้หรือไม่  กระบวนการเรียนรู้เป็นไปแบบนี้ทุกวัน   แต่สำหรับการเรียนรู้ในสมัยศตวรรษที่ 21ได้เปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ไป  ผู้เรียนต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น และตรงกันข้ามลดบทบาทของครูลงไป


ต่อมา  กระบวนการคิดเข้ามามีส่วนในการเรียนรู้มากมาย  การเรียนรู้ที่ดีต้องมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดหลากหลายรูปแบบ  ครูผู้สอนต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนและตรงตามเนื้อหา


ที่นิยมกันมาก  ได้แก่การเรียนรู้ที่ คิด ค้นคว้า ปฏิบัติ นำเสนอ ICT เขียนรายงาน เผยแพร่ผลงาน


ผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้  เพราะเข้าใจและปฏิบัติได้ในกระบวนการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนได้ออกแบบทุกขั้นตอน  การฝึกให้ผู้เรียนคิด  และนำไปปฏิบัติได้ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์  ผนวกกับความรู้รอบ  จนออกมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนาและสร้างสรรค์


สมัยที่เรียนปริญญาโท  อาจารย์ไม่ได้สอนเรามากมาย  แต่ท่านมีขั้นตอนการเรียนชัดเจนว่า  เราต้องเรียนรู้อะไร  ใช้ทักษะในด้านใด  ทั้งเรื่องการคิด  การค้นคว้า  การทำงานเป็นทีม  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การใช้ ICT การเขียนรายงาน  และการนำเสนอ  ล้วนแล้วแต่เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และอาจารย์ก็ปล่อยให้เวลาเราออกจากห้องสี่เหลี่ยมไปค้นคว้าหาความรู้


หากผู้้เรียนในทุกวัย  เข้าใจและปฏิบัติได้ในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอน  ก็จะเกิดผลต่อการเรียนรู้ได้ดี  มีประสิทธิภาพ  ไม่ต้องรอให้ผู้เรียนเติบโตจนถึงขั้นบัณฑิตวิทยาลัย เรานำมาจัดการให้เด็กๆได้  เพียงแต่ออกแบบการเรียนรู้ที่ลดขั้นตอน  หรือเบาๆน้อยๆกับการจัดการ  เช่น  การค้นคว้าหาความรู้  ครูผู้สอนอาจจะบอกแหล่งการเรียนรู้ด้วยก็ได้


ในระยะการปฏิรูปการศึกษา  เป็นระยะที่ครูอ้อยเรียนจบปริญญาโท  ได้นำกระบวนการเรียนรู้นี้มาใช้กับผู้เรียนระดับประถม ใช้ได้เต็มรูปแบบบ้าง  ลดขั้นตอนลงไปบ้าง นำผู้ปกครองมามีส่วนร่วมบ้าง  อย่างน้อยที่สุด  ก็ทำให้นักเรียนได้มีบทบาทมากขึ้นกว่าการนั่งเรียนเฉยๆ  เมื่อเขาเติบโตขึ้น  เขาจะเกิดความเคยชินกับการเรียนรู้แบบนี้  ที่ต้องใช้ความกล้าเผชิญที่จะค้นคว้าหาคำตอบ  ไม่ใช่นั่งนิ่งให้ครูมาป้อนคำตอบตลอดไปทุกเรื่อง  หรือนำโจทย์กลับไปบ้านและให้ผู้ปกครองจัดการให้  กลายเป็นเิกิดการเรียนรู้ที่ผู้ปกครอง

  

ดังนั้น  การเรียนรู้ที่ท้าทายอย่างมากคือ  ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการค้นหาคำตอบ  จะเป็นการคาดคะเน  การพยากรณ์  การค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุด  อินเทอร์เน็ต  ผนวกกับผู้เรียนต้องได้รับการฝึกความกล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก  ตั้งคำถามเป็น  ฝึกการสังเกต  และนำมาเขียนเป็นเรื่องราวได้


วิธีการต่างๆที่ผู้เรียนจะต้องได้รับการฝึก คือ การสังเกต การตั้งคำถาม เพื่อค้นหาคำตอบ  เมื่อเขาหาคำตอบได้  เขาต้องพยายามเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อเป็นองค์ความรู้ใหม่  ออกแบบการนำเสนอด้วย ICT เขียนรายงาน และเผยแพร่ผลงานได้


การเีรียนรู้ด้วยการค้นหาคำตอบ  ต้องใช้ความร่วมมือจากฝ่ายบริหาร  เพื่อนครู  ครูประจำชั้น  และที่สำคัญมาก คือ ผู้ปกครอง  ที่จะช่วยเสริมสร้งคุณสมบัติ  และทักษะให้ีกับผู้เรียนไปพร้อมๆกัน 

หมายเลขบันทึก: 531129เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2013 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

.... เห็นด้วยอย่างมากนะคะ โลกในอนาคต .... ภาษาEng. เป็นเรื่องสำคัญมาก .... ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ Dr. Ple ที่เป็นกำลังใจ ชื่นชม และมอบดอกไม้ให้

สนับสนุนคุณครูอ้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรง เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกลงมือเอง ตั้งแต่คิด การตั้งคำถามเป็น 

การตั้งคำถามเป็นและเป็นคำถามที่นำไปสู่การยกระดับความรู้ขึ้นไปอีกขั้น หรือ หลายๆขั้น เป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษาจำนวนไม่น้อยทำไม่ได้ พี่มีประสบการณ์ว่าการพัฒนาการตั้งคำถามให้เป็นก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเรียนรู้ด้วยการหาคำตอบค่ะ

ใช่ค่ะ หากทุกฝ่ายช่วยกัน การศึกษา การเรียนรู้ จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

"กระบวนการคิดเข้ามามีส่วนในการเรียนรู้มากมาย  การเรียนรู้ที่ดีต้องมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดหลากหลายรูปแบบ  ครูผู้สอนต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนและตรงตามเนื้อหา"

"ดังนั้น  การเรียนรู้ที่ท้าทายอย่างมากคือ  ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการค้นหาคำตอบ  จะเป็นการคาดคะเน  การพยากรณ์  การค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุด  อินเทอร์เน็ต  ผนวกกับผู้เรียนต้องได้รับการฝึกความกล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก  ตั้งคำถามเป็น  ฝึกการสังเกต  และนำมาเขียนเป็นเรื่องราวได้"

ประเด็นนี้ต้องขยายครับคุณครู ขยายแนวคิดนี้ให้เป็นรูปธรรมและแพร่ไปในทุกระดับ ผู้บริหารกระทรวงฯ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง นักเรียน ต้องเริ่มจริงจัง ต้องอยู่ในแผนนโยบายการศึกษา ต้องนำมาปฎิบัติให้ได้โดยเร็ว เราหยุดนิ่ง ล้าหลัง มานานเกินไปแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท