ข้อคิดจากจิ๋นซี-ประชาธิปไตยเสียงข้างน้อย


ประชาธิปไตยสียงข้างมากดีจริงหรือ ทำอย่างไรเมื่อความคิดดีๆ(ของเรา) แต่มีเสียงข้างน้อย จะได้รับการเลือกมาปฏิบัติ มีอยู่ 2 แนวทาง

1. ไปหาเสียงเพิ่มก่อนล่วงหน้า(ล๊อบบี้) โดยเฉพาะกับผู้คุมเสียงได้มาก(ผู้มีอิทธิพล) ใช้หลักการเจรจา ให้เขาเห็นประโยน์ที่มาอยู่ฝ่ายเรา และเห็นโทษที่เขาจะได้รับถ้าอีกฝ่ายหนึ่งมา(ไม่เลือกเรา เขามาแน่) 

วิธีนี้ "หลี่ปู้เว่ย" ทำสำเร็จมาแล้ว โดยการไปล๊อบบี้คะแนนจากประธานสภานามว่า "ซานกง" สามารถเอาชนะเสียงข้างมาก จนลูกบุญธรรมตัวเองได้เป็นกษัตริย์ ซึ่งต่อมาเป็นจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่นาม "จิ๋นซีฮ่อเต้" นั่นเอง แต่แน่นอนครับ วิธีนี้เราก็ยังมีศัตรูอีก นั่นก็คือฝ่ายตรงข้ามของเรา และเขาก็กำลังรอเอาคืนเป็นแน่ 

2. วิธีนี้ใช้ทั้งศิลป์และศาสตร์ แต่ทุกคนก็จะยอมรับ(ถ้าทำสำเร็จ) หมายถึงไม่มีศัตรูตามหลัง นั่นก็คือ "สร้างการมีส่วนร่วม" นั่นเอง หลักการก็คือ

2.1 อ่อนน้อมต่อคนทุกคน แต่มั่นคงในเป้าหมาย
2.2 แยกจุดยืนออกจากจุดสนใจ หมายถึง รู้ถึงความต้องการ และปัญหาของเขาก่อน 
2.3 สร้างทางเลือกร่วมกัน เน้นการมีส่วนร่วม ใช้หลักการที่เป็นบรรทัดฐาน ทุกคนยอมรับ มาช่วยในการตัดสินใจ เช่น ทำตารางแสดงให้เห็นประโยชน์มากน้อยในแต่ละทางเลือก

วิธีนี้คงใช้ได้กับกลุ่มคนที่มีความต้องการร่วมกันจริงๆ แต่ถ้ายึดมั่นในประโยชน์ส่วนตัวเต็มที่ ก็เห็นจะยากอ่ะครับ

หมายเลขบันทึก: 531077เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2013 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2013 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท