การเรียนรู้ด้วยการสังเกตและพัฒนา


การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่งทุกเวลานาทีและกับทุกคน  ในขณะที่เรากำลังดำเนินชีวิตก็เกิดการเรียนรู้ขึ้นได้  นำมาจัดการให้เป็นระบบ  นั่นคือ  การสังเกตและการพัฒนา  


ครูอ้อยสอนลูกสาวคนเล็กว่า  สังเกตซิลูก  ว่าจานชามที่ลูกล้างนี้สะอาดหรือไม่  วิธีการจะใช้ตาดู หรือจมูกดมเท่านั้นไม่พอ  ยังต้องใช้นิ้วมือสัมผัสถ้วยชามเหล่านั้นด้วยว่าสะอาดพอเพียงหรือยัง  ถ้ายังไม่สะอาดต้องนำกลับมาล้างใหม่ด้วยวิธีใหม่หรือเข้มงวดมากยิ่งขึ้น  


นั่นคือ  การใช้วิธีการสังเกต  และพัฒนาให้ผลลัพธ์ออกมาดีกว่าเดิม


บางครั้งการสังเกตได้เปลี่ยนมาเป็นการอ่าน  เช่นบางท่านมีความประสงค์จะเขียนบทความเรื่อง การเรียนรู้  สงสัยว่าเขาเขียนกันอย่างไร จึงคลิกเข้ามาอ่านบทความของท่านอื่นๆก่อน  แล้วจึงเกิดตกผลึกความรู้ขึ้นมาเป็นของตนเอง  แบบมีคนจุดประกายให้เิกิดการเรียนรู้และนำกลับไปเขียนเป็นบทความของตนเองได้  นี่เป็นการสังเกตด้วยการอ่านและพัฒนามาเป็นการเขียน


อีกตัวอย่างหนึ่งที่ครูใหม่ท่านหนึ่ง  ฝ่ายบริหารลงความเห็นว่าให้กลับไปพัฒนาตนเองเรื่องการสอน ด้วยการไปเข้ารับการอบรมที่ไหนก็ตาม  ครูอ้อยได้แนะนำน้องไปว่า  ต้องสังเกตตนเองก่อนว่า ยังบกพร่องในการสอนในจุดใด  แล้วเรียนรู้ด้วยการอ่าน  การดูให้เข้าใจลึกซึ้ง  จึงเริ่มฝึกฝนตนเองซึ่งเรียกว่า  การพัฒนา


หากเรายังไม่ได้สังเกต เราจะไม่รู้หนทางของการพัฒนาไปได้เลย


เรียนรู้  เข้าถึง  พัฒนา  เป็นขั้นตอนที่ครูอ้อยชอบมาก  มักจะนำออกไปใช้ไปเผยแพร่เสมอในการเป็นวิทยากรให้ความรู้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนครู  หลายๆคนยังไม่เข้าใจตนเอง  หมายถึงยังไม่รู้ตน  สอนนักเรียนยังไม่เข้าใจ  ปล่อยไปไม่ได้พัฒนา  เกิดผลเสียผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ  ดังนั้นจึงเกิดการนิเทศขึ้นมา  


การนิเทศก็คือการสังเกตจากผู้อื่น  นิเทศการสอน ก็คือการสังเกตการสอน  ให้ท่านอื่นมามองเราสอน เขาจะเป็นกระจกส่องตัวเราได้เป็นอย่างดี  ด้วยเรายังไม่รู้ตัวเรา  จะได้พัฒนาด้วยวิธีการได้ถูกต้องตรงจุดที่ด้อยด้วย


การพัฒนานี้นำมากระทำซ้ำเพื่อยังคงสภาพของการเรียนรู้ให้ยั่งยืน  เพราะคนมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามตัวแปรที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  การเรียนรู้ที่เป็นระบบ จะเป็นตัวกระทำที่ก่อให้เกิดความรู้ที่คงทนถาวร

หมายเลขบันทึก: 530938เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2013 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บางคนหยุดการเรียนรู้ เพราะ คิดว่าตนเองรู้ทุกเรื่อง 555

ชอบมากค่ะพี่อ้อย กับการสังเกตและพัฒนาอ่ะค่ะ

การนิเทศ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิกการเรียนรู้นะคะครูอ้อย จะช่วยกระตุ้นให้อยากพัฒนางาน

การเรียนรู้ด้วยการสังเกตและพัฒนาเป็นการเชื่อมต่อสิ่งที่เรียนรู้กับมิติภายในของเราที่ทำให้เกิดความสุขนะคะ

น่ารัก น่าชื่นชมที่คุณครูอ้อยมีความสุขกับการงานและชีวิตและได้แนะนำเคล็ดลับนี้กับทุกคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท