สุขภาพจิตสังคมเมือง...ดูแลอย่างไร


ขอบคุณทีมนักกิจกรรมบำบัด สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่เชิญดร.ป๊อป ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การจัดบริบทเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในสังคมเมือง" กับนักกิจกรรมบำบัด เจ้าหน้าที่อาชีวบำบัด พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรสุขภาพจิต 

ประเด็นที่น่าสนใจที่ดร.ป๊อป ถอดบทเรียนได้หลังจากฟังการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมและการจัดการอุปสรรคในบริบทไทย ได้แก่ 

  • หลายรพ.จิตเวช มีแนวทางการจัดการอาการของโรคจิตเฉียบพลัน โดยเน้นการประเมินความรุนแรงของโรคและรอจนกว่าคนไข้จะอาการสงบแล้วถึงส่งลงจากหอผู้ป่วยเพื่อทำกิจกรรมบำบำบัดหรือถ้าไม่มีนักกิจกรรมบำบัด พยาบาลก็ต้องทำกลุ่มพูดคุยและฝึกการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นภาระงานที่หนักมาก นอกจากนี้หลายรพ.จิตเวชมีระบบเครือข่ายการฝึกทักษะการประกอบอาชีพ แต่ก็ยังอยู่ในบริบทของโรงพยาบาลมากกว่าในบริบทชีวิตจริง และหลายครั้งที่ไม่มีญาติต้องการให้ผู้ป่วยจิตเวชที่ดีขึ้นแล้วกลับมาใช้ชีวิตในชุมชน ก็ยังคงเป็นการบำบัดด้วยกิจกรรมที่มีตัวเลือกหลากหลาย แต่ก็ยังเป็นรูปแบบกิจกรรมที่จัดตามผู้บำบัดเพื่อให้อาการของโรคลดลง
  • ดร.ป๊อป แนะนำให้เพิ่มการประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสามารถขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงของผู้รับบริการ ประกอบด้วย
    • เข้าใจความเป็นไปของตนเองในปัจจุบันจนถึงอนาคต
    • เข้าใจความหมายของการใช้ชีวิต
    • เข้าใจตนเองว่ามีใครเข้ามาติดต่อกับเรา
    • เข้าใจตนเองว่าเราได้ติดต่อกับใครบ้าง
  • ดร.ป๊อป แนะนำให้ประเมินและปรับบริบทสังคมเมือง (มีภาวะแข่งขัน มีภาวะไม่สมดุลของงานและการใช้เวลาว่างและปัญหาต่างๆ ทางสังคมทุนนิยม) ที่มีความจำเพาะในรายบุคคลและเน้นความสุขทางจิตวิญญาณของตนเองและการจัดกิจกรรมตามบริบทที่หลากหลาย พร้อมมีการประเมินผลลัพธ์ด้านคุณภาพชีวิตที่เกิดจากการเชื่อมโยงระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชสู่จิตสังคมและการฟื้นพลังชีวิต ได้แก่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างคน-สิ่งแวดล้อม-กิจกรรม-ความสามารถ ประกอบด้วย
    • การช่วยเหลือทางสังคม
    • วัฒนธีรรมและคุณค่า
    • นโยบายและการบริหารจัดการ
    • การประเมินความสามารถและความสุขขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupation, doing activities)
    • เศรษฐกิจทางสังคม
    • การจัดอบรมประกาศนียบัตรของจิตอาสาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีความเชี่ยวชาญ (Peer Specialist)

หมายเลขบันทึก: 530909เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2013 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากคุณทองหยอด คุณเข้มแข็ง คุณ tuknarak และคุณมณีเทวา

นั้นคือ .... เข้าใจตนเอง .... เข้าถึง (โรค/สุขภาวะแห่งตน)....พัฒนาความคิด ... ทำใจว่าจะทำตนอย่างไร นะคะ .... ขอบคุณบทความดีดี นี้นะคะ 

  • เรียน อาจารย์ ป๊อบ   ดิฉันมีความสนใจในบทความของท่านและขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดังนี้ค่ะ   การประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสามารถขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงของผู้รับบริการ ประกอบด้วย
    • เข้าใจความเป็นไปของตนเองในปัจจุบันจนถึงอนาคต
    • เข้าใจความหมายของการใช้ชีวิต
    • เข้าใจตนเองว่ามีใครเข้ามาติดต่อกับเรา
    • เข้าใจตนเองว่าเราได้ติดต่อกับใครบ้าง
        ในผู้ป่วยจิตเวช การประเมินทางด้านจิตวิญญานเป็นเรื่องสำคัญ และมีความเป็นไปได้ จากประสบการณ์การทำงานกับผู้ป่วยจิตเวชมาตลอดระยะเวลาเกือบ 25 ปี พบว่าหน้าที่ของพยาบาลคือการพยายามที่จะพัฒนาการรับรู้การเจ็บป่วยของเค้า นั่นหมายถึงการเข้าใจตนเองว่า เป็นอะไร มีความต้องการ หรือมีเป้าหมายในชีวิต  เค้าจะใช้ชีวิตอย่างไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง  เค้าจะปรับตัว ให้อยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสูง นี้ได้อย่างไร การประกอบอาชีพใดที่พอทำได้ใบบริบทที่เค้าอยู่ ในประเด็นนี้ผู้ป่วยที่มีการรับรู้ดีผู้ดูแลช่วยได้ แต่...

       ใน

         

เชื่อมโยงกับจัดกิจกรรมเพื่อให้ผูป่วย

ขอบคุณบันทึกดีๆ ค่ะ 

ในสภาพที่จำกัดในหลายๆ เรื่องของสังคมเมือง ต้องปรับตัว ปรับใจใให้เป็นสุขด้วยตัวเองค่ะ

ภูเก็ตทุกวันนี้รถติดเหลือเกินค่ะ ติดอย่างไม่น่าเชื่อ แต่มันเป็นไปแล้วจริงๆ ค่ะ

ดังนั้น การสื่อสารของดิฉันกับลูกค้า หรือลูกน้อง บางครั้งก็ต้องใช้ IT เข้ามาช่วยเยอะเหมือนกันค่ะ

chat / ส่งรูป/ SMS/ แทนที่จะต้องขับรถไปค่ะ 

ขอบคุณมากครับพี่ดร.เปิ้ล เป็นการสรุปการจัดการความคิดที่ดีครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณเข้มแข็ง ขอชื่นชมในการสื่อสารปรับจิตวิญญาณ เท่าที่ผมเห็นเทคนิคคือ Motivational Interview และ Client-centered Counselling ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการยากในการจัดกลุ่มกิจกรรมหากไม่มีการประเมินและการให้บริการร่วมกับนักกิจกรรรมบำบัดในด้านความสุขความสามารถในกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการฟื้นฟูการรัีบความรู้สึก-การรู้คิด-การเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ชีวิตจริง 

เป็นเทคนิคที่ดีมากครับและขอบคุณมากครับคุณ Bright Lily

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากพี่โอ๋ คุณธนา และคุณครูอ้อย 

ชอบและสนใจประเด็นนี้มากค่ะ

"การประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสามารถขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงของผู้รับ"

หลายเดือนผ่านมานี้ เจอคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวช 1 ราย ได้รับการรักษาโดยกินยาเพื่อให้นอนพักผ่อนเยอะมากในแต่ละวัน ผู้ป่วยอ้วนมากขึ้นๆๆ จนจำสภาพเดิมแทบไม่ได้ ต้องหยุดเรียน และอยู่กับกินอาหาร กินยา และนอน พ่อแม่ทุกข์ใจมาก ท้ายที่สุดเจอนักการศาสนาท่านหนึ่ง วิธีแห่งธรรม นำความสงบมาสู่เธอ โลกของเธอเพิ่งได้รับการเยียวยา และหยุดยาที่แพทย์สั่งทันที เธอได้รับการบำบัดด้วยความรักและความปรารถนาดี อาการของเธอดีขึ้นตามลำดับ สื่อสารได้มากขึ้น และเริ่มเห็นคุณค่าในตัวเอง จากคำมั่นสัญญาที่เธอเปล่งวาจาออกมา และดวงตาที่มุ่งมั่น ก้าวต่อไปในอนาคตที่สดใส ท่ามกลางหมู่ญาติและกัลยาณมิตร และเธอเริ่มทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเธฮเองได้ด้วยตัวเอง 

เป็นอีกเครสที่ทำให้รู้สึกว่า "โรคบางโรค ไม่ต้องกินยาก็หายได้ หากผู้ให้การรักษาจะได้วิเคราะห์โรคด้วยหัวใจ ด้วยความรักในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน มากกว่าการใช้ความรู้นำการรักษาเสมอไป"

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับสำหรับกรณีตัวอย่างจากคุณครูต้อย ผมเห็นด้วยในการฟื้นฟูสุขภาวะทางจิตวิญญาณควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ครับ

กราบนมัสการและขอบพระคุณพระมหาแล อาสโย ขำสุข

ขอบคุณอาจารย์ป็อปมากเลยนะคะ ได้ข้อคิดหลายอย่างเลย

- การในไปใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเอง ในการทำงานต่างๆเช่นงานชมรม เราต้องเข้าใจว่าตนเองเป็นใครอยู่ในบทบาทหน้าที่อะไร ต้องสื่อสารกับใครบ้าง เพื่อการวางแผนในการทำงานที่ดี

- ได้ในไปใช้ในการคิดกิจกรรมการรักษาค่ะ โดยเราต้องคำนึงถึงสถาพแวดล้อม บริบทที่เขาอยู่ และคำนึงถึงความสัมพันระหว่าง บุคคล-สิ่งแวดล้อม-กิจกรรม-ความสามารถ

ขอบคุณอาจารย์ป๊อปที่นำความรู้มาแบ่งปันนะคะ

หลังจากอ่านจบดิฉันรู้สึกสนใจในประเด็น การประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสามารถขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงของผู้รับบริการ มากเลยค่ะ และคิดว่าสามารถนำไปเป็นหัวข้อในการประเมินผู้รับบริการได้ในอนาคตได้ค่ะ

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นเรื่องใกล้ตัวคะ อ่านแล้วคงต้องเอาไปปรับใช้กับตัวเองก่อนอันดับแรกคะ เพราะน้อยครั้งที่เราจะประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสามารถการดำเนินชีวิตของตัวเอง มันคงดีมากนะคะถ้าเรารูจักตัวเองก่อนใช้กับตัวเองจนเกิดผลดี แล้วนำไปปรับใช้กับผู้รับบริการ ขอบคุณความรู้ที่มีประโยชน์นะคะ

ขอบคุณอาจารย์ป๊อปที่นำข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนมาถ่ายทอดให้กับเรานะคะ

จากการอ่านบันทึก สุขภาพจิต สังคมเมืองดูแลอย่างไร ของอาจารย์ป๊อปแล้วดิฉันได้เรียนรู้

- การทำงานของทีมจิตเวชภายในโรงพยาบาล ซึ่งต้องมีการพัฒนาในอีกหลายๆด้าน เนื่องจากในปัจจุบันส่วนใหญ่รูปแบบของการทำงานโรงพยาบาลจิตเวช จะเน้นในเรื่องของการประเมินความรุนแรงของโรคและรอจนกว่าคนไข้จะอาการสงบแล้วถึงส่งต่อมาที่นักกิจกรรมบำบำบัดหรืออาจเป็นพยาบาล ในการทำกลุ่มพูดคุยและฝึกการดูแลตนเอง ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้ ถ้าหากมีการประเมินในเรื่อง การประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสามารถขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงของผู้รับบริการเพิ่ม ดังที่อาจารย์ป๊อปได้กล่าวมานั้น ดิฉันคิดว่า การบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการทางจิตเวชจะได้ประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการที่ประเมินในด้านนี้มองถึง การรับรู้ตนเองของผู้รับบริการ (Self-identity) การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความหมาย และรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตในสังคมกับผู้อื่น หากมีการประเมินนี้ในอนาคตอาจส่งผลต่อการพัฒนาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการ

- การประเมินผู้รับบริการนั้นควรต้องคำนึงถึงบริบทที่ผู้รับบริการอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งในอนาคตหากเราบำบัดรักษาคนไข้โดยปรับความสัมพันธ์ระหว่างคน-สิ่งแวดล้อม-กิจกรรม-ความสามารถ ให้ทุกด้านมีความสมดุลกันนั้น จะส่งเสริมให้ คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข ^_______^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท