ปัตตานี น่าเที่ยวกว่าที่คิด


ผมได้ลงไปในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ครั้งแรกในชีวิต เหลือที่เดียวของภาคใต้ที่ยังไม่ได้ลงพื้นที่ คือ นราธิวาส เพื่อไปจัดกิจกรรมสรรหาสมาชิก อสวท. ที่วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี ซึ่งอยู่ในอำเภอเมือง ความรู้สึกครั้งแรกที่อยู่ระหว่างเดินทางไป ก็กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เคยแขวนพระก็ต้องให้พระนำทาง(หลวงพ่อทวด) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนเองนิดหน่อย ระหว่างเดินทางเต็มไปด้วยสีสรรมากมาย มีด่านประมาณ 3-4 จุด ตั้งแต่นาหม่อม เข้า อ.หนองจิก และ อ.เมือง 

ช่วงบ่ายได้ อ.ประยูร อาจารย์ที่สอนอยู่ที่ วท.ปัตตานี พาเที่ยวชมเมืองปัตตานี เริ่มตั้งแต่ มัสยิดกรือแซะ ที่เป็นข่าวโด่งดัง จนเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงไปซะงั้น จากที่เคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทางใจ อาจารย์เล่าประวัติของมัสยิดคร่าว ๆ ให้ฟังว่า แต่เดิมเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว ได้เดินทางจากเมืองจีนเพื่อมาตามหาน้องชายที่แผ่นดินบริเวณนี้ และได้สัญญากับทางบ้านที่เมืองจีนไว้ว่าจะนพน้องชายกลับเมืองจีนให้ได้ หลังจากได้มาพบน้องชายที่นี่ แต่ปรากฏว่าน้องชายได้อภิเษกกับเจ้าหญิงของเมืองนี้ซึ่งเป็นอิสลาม เลยไม่สามารถเดินทางกลับไปพร้อมกับพี่สาวได้ พี่สาวเสียใจมากที่ไม่สามารถทำภารกิจได้ตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้กับที่บ้านที่เมืองจีน เลนผูกคอตาย เมื่อพี่สาวสิ้นชีวิต น้องชายก็เสียใจมาก เลยได้ทำการสร้างสุสาน และมัสยิดให้อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่มีการเล่าขานกันว่า ตัวมัสยิดสร้างเท่าไหร่ ทะนุบำรุงเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จสักครั้ง จะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สร้างไม่เสร็จตลอด เช่น ฟ้าผ่า ทำให้สภาพของมัสยิดเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน 

นี้เป็นเรื่องในแง่ดีของความมุ่งมั่นและการให้คำสัตย์กับบุพการี และความรักระหว่างพี่น้อง แต่.... ไม่มีใครพูดถึงมากนัก  กลับกลายเป็นว่า มัสยิดดังกล่าวเป็นที่โจษจันในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา  เรา.... หมายถึงทุก ๆ คน น่าจะมาร่วมมือกันนำสิ่งดี ๆ เหล่านี้มาเล่าขานเพื่อลบภาพลบของมัสยิดที่สวยงามแห่งนี้ มัสยิดแห่งความรัก

จากนั้นอาจารย์ก็พาพวกผมไปรอบ ๆ เมือง เท่าที่ผมสังเกตุ ผังเมืองของปัตตานีได้มีการจัดวาง วางแผนไว้เป็นอย่างดี เหมือนๆกับเมืองยะลา มีการเตรียมสร้างถนน การสร้างวงเวียนแทนสี่แยก มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สวนสาธารณะ ร้านอาหารริมทะเล  ผู้คนอัธยาสัยดีมาก ถึงแม้จะเกิดเรื่องรายร้าย ๆ มากมาย กระทบต่อการดำรงชีวิต แต่ทุกคนก็ยิ้มสู้ ผมรู้สึกว่า ผู้คนที่นี้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สู้เพื่อการอยู่กับพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง  สุดท้ายไปทานอาหารที่ร้าน ไทปัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทะเลมากนัก ยังได้กลิ่นอายของลมทะเลอยู่ อาหารทุกอย่างอร่อย รสชาดปักษ์ใต้แท้ ๆ ครบรส แกงส้ม คือ แกงส้ม อาหารทะเลสด ๆ ใหม่ ๆ บรรยากาศสุดยอด

มาในวันที่ 2 ซึ่งเป็นวันจัดงาน สรรหาสมาชิก อสวท. ใหม่ ของ จ.ปัตตานี ก่อนออกไปทำงานก็ได้ทานอาหารเช้าที่ c s hotel ที่นี่อาจารย์เลาว่าเคยเกิดระเบิดมาแล้ว 2 ครั้ง และแรงระเบิดก็ขึ้นมาถึงชั้น 6 ห้อง ที่ผมนอนพอดี(620) อาหารเช้าที่โรงแรมก็รสชาดเยี่ยม มีโรตี ตอนแรกพี่หนุ่ม(ชนินทร จาก อพวช.) บอกว่ามีข้าวยำน้ำปูดูอร่อยมาก แต่วันที่ผมไปไม่มีเลยเสียดายไม่ได้ทาน แต่ไม่เป็นไรยังมีโอกาสได้ไปอีกหลายรอบ  แต่ได้ดื่มชาชัก เสริฟพร้อมโรตี ทั้งโรตีไข่ โรตีธรรมดาและโรตีกรอบ อร่อยมากจะบอกให้ครับ

ไปถึงที่ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี ก็ไปพบกับกลุ่มของหมู่บ้านกาบกล้วย ที่นำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาแสดงและขาย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากกาบกล้วยตานี มาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลายเป็น กล่องใส่ทิชชู กล่องใส่ผ้า เนคไท ของชำร่วยต่าง ๆ  สวยงานที่คงคุณค่า รักษาสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีหลายจุดที่ต้องการพัฒนา เช่น มีอะไรมาใช้แทนโชดาไฟในกระบวนการฟอกได้บ้าง หากจะใช้สีย้อมธรรมชาติแทนสีเคมีจะทำได้ใหม เสียดายไม่มีรูปให้ดู

ในการอบรมสรรกาสมาชิก อสวท. เนื่องจากเวลาจำกัดต้องดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่ 9.30 - 15.30 เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางกลับ จึงได้ตัดกิจกรรมบางอย่างทิ้ง เช่น กิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างความใกล้ชิดระหว่างผู้เข้าอบรมกับคำว่า ว และ ท แต่ก็ยังคงสาระและความเป็นเทิงอยู่บ้าง

ต้องเรียนทุกท่านว่า ผู้เข้าอบรม มีทั้งรุ่นหนุ่มสาว ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ที่มาจากโครงการ to be number one โครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ และน้อง ๆ ในท้องถิ่นที่เก่ง ๆ กันทุกคน และชาวบ้านที่เป็นผู้นำในชุมชนต่าง ๆครบทั้ง 12 อำเภอ อำเภอละประมาณ 10 คน การร่วมกิจกรรม ทุกคนทุกฝ่ายร่วมทำกิจกรรมที่ทางเราได้วางไว้เ็นอย่างดี  โดยช่วงเช้าจะเป็นการเล่าถึง(โดยผมเอง 55++)

1. ว และ ท สำคัญและมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน
2. ประเทศไทยจะเดินทางอย่างไรในการนำ ว และ ท ไปพัฒนาประเทศ
3. กระทรวงวิทย์ จะช่วยประเทศ และชาวบ้านได้อย่างไร
4. โครงการความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี อาสาสมัคร ว และ ท และ หมู่บ้านแม่ข่าย ว และ ท เกี่ยวข้องและมีประโยชน์กับชุมชนอย่างไร
5. อสวท. ที่จะเป็นมีหน้าที่อะไร ต้องทำอะไรบ้าง
อีกส่วนหนึ่ง เป็นการแสดงให้เห็น วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันโดย พี่หนุ่ม จาก อพวช. มีการแสดง วิทยาศาสตร์ง่าย ๆ ด้วยเชือกเส้นเดียว

ทุกคนตั้งใจฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นไปด้วยกัน

ช่วยบ่ายเป็นการเปิดรับความต้องการและปัญหา ทั้งในส่วนของ อสวท. ที่เข้าร่วม และชุมชนที่ อสวท. อาศัยอยู่ ก็มีการแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม
1. กลุ่มเผยพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความติดเห็นว่าหากเรามี อสวท. ในพื้นที่แล้ว จะมีสื่อและช่องทางประชาสัมพันธ์ ได้อย่างไร
2. กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี  กลุ่มนี้ก็จะเน้นในเรื่องความต้องการที่จะรับการถ่าทอดเทคโนโลยีในชุมชน
3. กลุ่มขอรับคำปรึกษาฯ  กลุ่มนี้สำหรับสมาชิกหรือกลุ่มในชุมชนที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว แต่มีปัญหา ต้องการรับคำปรึกษา





หมายเลขบันทึก: 525065เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2013 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2013 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาเชียร์ คนกลางนับจากซ้ายมือคนที่ 4 เหมือนนายช่างใหญ่ บล็อกเกอร์เราเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท