การถ่ายภาพ


ตกแต่งภาพ
สนใจการถ่ายภาพในลักษณะต่าง ๆ อาทิเช่น การถ่ายภาพ ดอกไม้ทิวทัศน์ ทะเล ภูเขา การถ่ายภาพบุคคล การจัดแสง การตกแต่งภาพ การถ่ายภาพตอนกลางคืน เป็นต้น แต่ว่าตอนนี้ยังถ่ายไม่เก่งจ้า ก็อยากรับสมัครผู้แนะนำ 
คำสำคัญ (Tags): #photo
หมายเลขบันทึก: 52360เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เราก็ถ่ายรูปไม่เก่ง แต่วิจารณ์เก่งนะว่าสวยไม่สวยอย่างไร พอจะจะคำแนะนำได้มั้ยล่ะค่ะ

จะถ่ายอะไรให้สวยต้องดูธรรมชาติด้วยนะ

10 สุดยอด เทคนิคการถ่ายภาพ

1. เตรียมกล้องให้พร้อมอยู่เสมอ มีประสบการณ์แสนประทับใจมากมาย ที่เราไม่ควรพลาด ดังนั้น เราควรตรวจ เช็คแบตเตอรี่ ฟิลม์ และอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

2. ระยะเข้าใกล้ การเข้าถ่ายภาพในระยะใกล้วัตถุ จะช่วยขจัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง และยังทำให้วัตถุเด่นและได้ภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย เราควรลองถ่ายภาพโดยเน้นเฉพาะสิ่งที่ต้องการ จะทำให้ภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมศึกษาคู่มือการใช้กล้องก่อน ว่าสามารถถ่ายภาพได้ใกล้สุดที่ระยะเท่าไร กล้องอัตโนมัติส่วนมากจะถ่ายภาพได้ชัดจากระยะ 4 ฟุตขึ้นไป

3. วางท่าทางให้มีชีวิตชีวา การถ่ายภาพบุคคล อย่าลืมคำแนะนำให้แบบ แสดงท่าทางอย่างมีชีวิตชีวา ภาพที่ได้จะดูดีกว่ากันมาก หลีกเลี่ยงการปล่อยให้ภาพที่ออกมาแข็งทื่อ เราควรกระตุ้นให้ผู้ที่จะถ่ายภาพแสดงท่าทางเพื่อให้แสดงความรู้สึกออกมาอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด หรือจะลองถ่ายภาพบุคคลตอนไม่รู้ตัวบ้าง ก็จะดูมีชีวิตชีวามากครับ

4. ใช้ฉากหลังที่ธรรมดา ฉากหลังที่ธรรมดา จะช่วยให้วัตถุที่ต้องการถ่ายภาพดูเด่นขึ้น และยังทำให้ภาพชัดให้อารมณ์มากกว่า ลองแปลี่ยนแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่ฉากหลังเรียบๆ บ้าง

5. วางแบบให้ออกจากจุดกึ่งกลาง โดยปรกติการถ่ายภาพมักจะวางแบบไว้ที่จุดกึ่งกลาง แต่บางครั้งการวางแบบนอกจุดกึ่งกลางจะช่วยให้ภาพ ได้ความรู้สึกเคลื่อนไหว และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้

6. นำฉากหน้าเข้ามาไว้ในภาพ เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ถ่ายภาพให้ติดวัตถุในระยะใกล้ๆ ไว้ในภาพเป็นเสมือนฉากหน้าด้วย เพราะฉากหน้าจะช่วยเพิ่มความลึกและมิติของภาพ

7. จัดแสงให้เฉียบคม แสงสว่างอย่างเพียงพอ จะให้ภาพออกมาดูนุ่มนวลไม่เข้มหรืออ่อนเฉพาะส่วนเกินไป แสงในวันที่มีเมฆมากจะให้ภาพออกมาดูนุ่มนวล แสงจะฉาบไล้ไปทั่วใบหน้า แสงในวันที่แดดจ้า ภาพจะออกมาเข้มหรืออ่อนเฉพาะจุดมากเกินไป เวลาที่เหมาะจะถ่ายภาพบุคคล คือ ช่วงเช้า เวลา 8.00 น. - 10.00 น. และ ช่วงเย็น เวลา 15.00 น. - 17.00 น.

8. จับกล้องให้มั่น บางครั้งอาจไม่ได้ภาพที่ดี เพียงเพราะลืมกฏเบื้องต้นไป การถือกล้องนิ่งๆ นั้น จะช่วยทำให้ภาพที่ได้คมชัดมาก เมื่อกดปุ่มลั่นขชัตเตอร์ให้กดอย่างนุ่มนวล อย่ากระแทกกระทั้น การที่กล้องไหวเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้ภาพเสียความคมชัดไป เราอาจใช้สายคล้องเพื่อรั้งแขนให้นิ่ง หรือใช้ขาตั้งกล้อง(ถ้ามี)

9. เรียนรู้การใช้แฟลช การปรับปรุงการถ่ายภาพ ด้วยการใช้ประโยชน์จากแฟลชที่มีมากับกล้อง แฟลชจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยเฉพาะการถ่ายภาพในที่ร่ม และยังช่วยจับภาพเคลื่อนไหวให้นิ่งและคมชัด ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าถ่ายภาพในระยะที่เหมาะสม ระยะที่เหมาะสมในการใช้แฟลช คือ 4-12 ฟุต อย่าลืมว่าเราสามารถใช้แฟลชในกลางแจ้งด้วยเช่นกัน แฟลชจะช่วยลบเงามืดบนใบหน้า ต.ย.เวลาถ่ายภาพย้อนแสง

10. เลือกใช้ฟิลม์ให้ถูกต้อง ฟิลม์จะถูกแบ่งเป็น 3 ระดับตามความไวของแสง คือ 100, 200, 400 เรียงตามระดับความไวแสงจากน้อยไปมาก ช่วงเวลากลางวันจะเป็นช่วงที่มีแสงมาก ควรใช้ระดับความไวแสงต่ำ คือ 100 ก็พอ ช่วงเวลากลางคืน ควรใช้ ฟิลม์ระดับความไวแสงสูง คือ 400 นอกจากนี้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคเฉพาะตัว เช่น ถ่ายภาพพลุเวลากลางคืน เราอาจจะใช้ฟิลม์ 100 ก็ได้เพื่อจะได้ตั้งสปีดชัตเตอร์ ค้างไว้ นานๆ เก็บภาพเคลื่อนไหวของพลุได้

 

  • ชอบใจไม้เด็ดคุณตุมปังจัง
  • กำลังฝึกอยู่เช่นกัน ลองเข้าไปดูที่ Bright lily นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท