ชาดา ~natadee
ชาดา ชาดา ~natadee ศักดิ์รุ่งพงศากุล

happy ba ==> พาไปดูแลสุขภาพ (ตอนที่ 2)


หลังจากดูแลเรื่องการกินแล้ว  มาดูเรื่องที่สองกันค่ะ

2. โรคAttention Deficit Traitโดย ผศ. ดร. พสุ เดชะรินทร์[email protected]  ท่านเขียนไว้ดังนี้ค่ะ

"ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของMultitasking  หรือไม่ครับ? คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลายๆ อย่างไปในเวลาเดียวกัน  เช่น ในขณะที่กำลังเช็คอีเมล์ทางคอมพิวเตอร์  ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน  หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุม ก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล  และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ข้างหน้า  ในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่า มีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ  และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด 

แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ **Multitasking**  นั้นกลับเป็นสาเหตุประการหนึ่งของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน  ที่เราเรียก **Attention Deficit Trait** หรือ **ADT**  โรคนี้เป็นโรคที่เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ  ในที่ทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่บังคับให้คนทำงานจะต้องทำงานด้วยความรวดเร็วมากขึ้น  ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอดเวลา  ไม่มีเวลาหรือโอกาสได้สงบพัก

ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบข้างนะครับว่า เป็นโรคนี้หรือไม่?  ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสารHarvard Business Reviewฉบับเดือนมกราคม 2548 ในบทความชื่อ  Why Smart People UnderperformเขียนโดยEdward M. Hallowellซึ่งเป็นจิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้งหลาย  คุณหมอท่านนี้ทำการรักษาอาการAttention Deficit DisorderหรือADDมากว่า 25ปี และ โรคADDนี้เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน  เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น

ผู้ที่เป็นโรคADTนั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น  ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ  ก็จะถูกดึงดูดด้วยงานอย่างอื่น  มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น )  ไม่ค่อยอดทนมีปัญหาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) การจัดลำดับความสำคัญ  และการบริหารเวลา

โรคADTนี้  มักจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ  การที่มีความ รู้สึกว่ามีงานด่วน  หรือ สิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ  และท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วนเหล่านั้นให้สำเร็จ  จะเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของโรคADTเพราะเมื่อเรามีงานที่เร่งด่วน  หรือจำเป็นเข้ามาเรื่อยๆ  เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น  อีกทั้งไม่บ่นไม่โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้น  เราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ  และเวลาของเราไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา  ดังนั้นเมื่อเจอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วนขึ้น  เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลา  พยายามทำงานให้เสร็จโดยเร็วการทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆ หนึ่ง(Unfocused)  แต่ในขณะเดียวกัน  บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวาย  ดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรคADTจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรขึ้น ?  ง่ายๆก็คือ ทำให้สมองเราสูญเสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง  จะส่งผลให้งานที่ออกมาเป็นงานที่เร็วแต่ไม่ลึก  จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลง  การที่สมองเราจะต้องรับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆเพิ่มมากขึ้น  ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลงอีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น

โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับ  เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องการความรวดเร็ว  และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สมองเราจะต้องรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆ  มากขึ้นกว่าเดิมวัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบัน  ก็เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเกิดโรคนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ  ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเราต้องการความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆเรา มักจะคิดว่า ในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน  ดังนั้น ผู้ที่มีความเร็วมากกว่าจะทำงานได้มากกว่า

ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์  ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด  ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม " ปิดประตู" เพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว  ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง"

แบ่งปันเรื่องราวดีๆ ไว้ที่บันทึกนี้ เพื่อสุขภาพที่ดี และ อายุยืน หมื่นๆ ปี ค่ะ *^_____^*

happy ba เช้าวันพุธค่ะ

ChAdAiNg

13 มีนาคม 2556




หมายเลขบันทึก: 522231เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2013 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอให้นางฟ้าอายุยืนหมื่นปีครับ ;)...

คนไทยจะคุ้นเคยกับ Single task...ชอบทำงานหน้าเดียว......ผมก็เช่นกัน

แต่เมื่อได้ทำงานกับฝรั่งคนต่างชาติ เขามัดจะว่าเรา focus หน้าเดียว

เลยต้องมีความจำเป็นที่จะต้อง Multitask แบบเขา.....แต่ก็ลำบากเกมือนกันน่ะคับที่จะทำงาน3-4อย่างพร้อมๆกัน

เห็นด้วยคับว่า...ได้ข้อมูลไม่ลึกจริง

ขอบคุณค่ะอาจารย์วัส. แค่80ปี เอาให้ถึงก่อนดีกว่าใหมคะเนี่ย555

ขอบคุณืyong. ที่แชร์ประสบการณ์ค่ะ. 

เป็นเหมือนกันค่ะ ยิ่งถ้าทำหลายหน้า   หมวกหลายใบ ยิ่งสับสนไปกันใหญ่ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท