วันนี้ช่วง 13.00-16.00 น. ผมได้ไปที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อประชุมติดตามและประเมินแผนพัฒนาและวางระบบการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ 2549
ประธานในที่ประชุม คือ ท่านอาจารย์วิบูลย์ วัฒนาธร ได้กล่าวถึงแผนงานที่จะทำในช่วงเดือนเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2549 ซึ่งคงจะมีคนนำไปเล่าบ้าง...ผมขอข้ามส่วนนี้ไป
พอประมาณบ่ายสองโมง แล้วท่านอาจารย์วิบูลย์ก็ให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีประมาณ 15 ท่าน (มีนิสิต 3 ท่าน) เล่าเรื่องราวความสำเร็จของการทำ KM สู่กันฟัง ซึ่งใช้เวลาอีกเกือบ 2 ชั่วโมงจึงจบ..
ผมเดินลงมาจากตึก 6 ชั้น (ลง Lift หรือ elevator) ด้วยความสุข เพราะได้ฟัง "เรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ" ถึงประมาณ 15 เรื่องด้วยกัน พลันคิดว่า "หากชีวิต ทุกวัน ได้ฟังเรื่องเล่าแบบนี้สักวันละเรื่อง ชีวิตคงยืนยาวไปอีกนาน"
เพราะการฟังเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ จะทำให้มีการหลั่งสาร เอ็นดอร์ฟิน (endorphin)* หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “สารแห่งความสุข” ออกมาจากส่วนของต่อมใต้สมอง เข้าสู่กระแสโลหิต และเข้าสู่สมองและไขสันหลังผ่านทางไฮโปธาลามัส (hypothalamus)
เอ็นดอร์ฟิน มีลักษณะคล้ายมอร์ฟีน (morphines) เมื่อหลั่งออกมาจะทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวด และทำให้อารมณ์ดี มีความสุข รวมทั้งทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ด้วย
ดังนั้นเราควรกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง"สารแห่งความสุข" วันละนิด ด้วยการ
- ฟัง หรืออ่านเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ วันละ 1 เรื่อง หรือ
- ฟังเรื่องขำๆ วันละ 1 เรื่อง หรือ
- ทำงานให้สำเร็จ วันละ 1 เรือง หรือ
- ออกกำลังกายให้เหงื่อออกสักวันละ 20 นาที
ถ้าทำได้แบบนี้ ก็จะรู้สึกสดชื่นและมีความสุข ซึ่งก็จะมีผลทำให้อายุยืน ไม่แก่เร็วครับ
{*เป็น peptide hormome โดย β-endorphin มี primary structure ดังต่อไปนี้
- Tyr-Gly-Gly-Phe-Met-Thr-Ser-Glu-Lys-Ser-Gln-Thr-Pro-Leu-Val-Thr-Leu-Phe-Lys-Asn-Ala-Ile-Ile-Lys-Asn-Ala-Tyr-Lys-Lys-Gly-GluOH (Fries, 2002). }
อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย beeman 吴联乐 ใน 25th Anniversary Beeman
คำสำคัญ (Tags)#เรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ#endorphin#สารแห่งความสุข#เรื่องเล่าชาวชีววิทยา
หมายเลขบันทึก: 52194, เขียน: 27 Sep 2006 @ 18:19 (), แก้ไข: 25 Jul 2013 @ 08:17 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 6, อ่าน: คลิก