หัดอ่าน ภควัทคีตา (เล่มที่ 10)


श्रीमद्भगवद्गीता   ศฺรีมัทภควัทคีตา

คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง มหาภารตะ แฝงแง่คิดทางปรัชญาและคำสอนที่น่าสนใจมากมาย


ในฐานะวรรณคดีสันสกฤต ภควัทคีตา มีคำศัพท์และไวยากรณ์ไม่ยากนัก นักศึกษาระดับพื้นฐานพอจะอ่านได้ ในที่นี้จึงนำมาให้อ่านจะได้ฝึกศัพท์ไวยากรณ์กันบ้าง เพราะจำได้ว่าตอนที่ศึกษาภาษาสันสกฤตในชั้นเรียน เราต้องอ่านวรรณคดียากๆ ต้องเปิดศัพท์แทบทุกคำ เวลานี้พบว่า การฝึกอ่านเนื้อหาที่ไม่ยากเกินไป จะช่วยให้มีกำลังใจ และอ่านได้คล่องขึ้น ภควัทคีตาเป็นหนึ่งในแบบฝึกอ่านที่ดี

อนึ่ง ภควัทคีตา มาจาก ภควัต(พระผู้่เป็นเจ้า) และ คีตา(ดนตรี) สนธิกันแล้ว ภควัต กลายเป็น ภควัท โปรดสะกดให้ถูกต้อง (และอย่าสับสนกับชื่อคัมภีร์ ภาควต ปุราณะ)

ภควัทคีตาแบ่งออกเป็น 18 เล่ม หรือ 18 โยคะ คำประพันธ์ (ฉันท์) ที่ใช้ เรียกว่า อนุษฏุป หรือ โศฺลก. แต่ละโยคะมีชื่อเรียกต่างกันไป ในที่นี้ขอยกร้อยกรองจากโยคะที่ 10 (วิภูติวิสฺตรโยค) มาเพียง 3 บท ดังนี้

aham ātmā guḍākeśa

sarva-bhūtāśaya-sthitaḥ

aham ādiś ca madhyaḿ ca

bhūtānām anta eva ca

   อหมาตฺมา คุฑาเกศ

   สรฺวภูตาศยสฺถิตะ

   อหมาทิศฺจ มธฺยํ จ

   ภูตานามนฺต เอว จฯ

   अहमात्मा गुडाकेश

   सर्वभूताशयस्थितः ।

   अहमादिश्च मध्यं च

   भूतानामन्त एव च ॥१०- २०॥

  • ข้าคืออาตมัน(อาตฺมนฺ การก1 เอก. = อาตฺมา)  ดูก่อน คุฑาเกศ(ผู้มีผมหนา = อรชุน)
  • ผู้อยู่ในใจแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
  • ข้าคือ เบื้องต้น(อาทิ ปุ.) และเบื้องกลาง (มัธยม นปุ.)
  • และแม้เบื้องปลาย (อนฺต ปุ.) แห่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย


ādityānām ahaḿ viṣṇur

jyotiṣāḿ ravir aḿśumān

marīcir marutām asmi

nakṣatrāṇām ahaḿ śaśī

   อาทิตฺยานามหํ วิษฺณุรฺ-

   ชฺโยติษำ รวิรํศุมานฺ

   มรีจิรฺมรุตามสฺมิ

   นกฺษตฺราณามหํ ศศี ฯ

   आदित्यानामहं विष्णु-

   र्ज्योतिषां रविरंशुमान् ।

   मरीचिर्मरुतामस्मि

   नक्षत्राणामहं शशी ॥१०- २१॥

  • ในบรรดาอาทิตย์ทั้งหลาย ข้า(คือ) วิษณุ
  • ในบรรดาแสงสว่างทั้งหลาย(ชฺโยติสฺ พยัญชนะการานฺต) (ข้าคือ) แสงแห่งระวิ (ดวงอาทิตย์ดวงนี้)
  • ในบรรดามรุต(มรุตฺ พยัญชนะการานฺต) ทั้งหลาย (ข้า) คือมรีจิ
  • ในบรรดานักษัตรทั้งหลาย ข้าคือ พระจันทร์ (ศศินฺ ประธาน เอก = ศศี)


vedānāḿ sāma-vedo 'smi

devānām asmi vāsavaḥ

indriyāṇāḿ manaś cāsmi

bhūtānām asmi cetanā

  เวทานำ สามเวโท'สฺมิ

   เทวานามาสฺมิ วาสวะ ฯ

   อินฺทฺริยาณำ มนศฺจาสฺมิ

   ภูตานามสฺมิ เจตนาฯ

   वेदानां सामवेदोऽस्मि

   देवानामस्मि वासवः ।

   इन्द्रियाणां मनश्चास्मि

   भूतानामस्मि चेतना ॥१०- २२॥

  • ในบรรดาพระเวททั้งหลาย (ข้า)คือ สามเวท
  • ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ข้าคือ วาสวะ (พระอินทร์)
  • ในบรรดาอินทรีย์ทั้งหลาย (ข้า)คือ ใจ (มนัส)
  • ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งปลาย (ข้า)คือ ความรับรู้ (เจตนา)

อธิบาย

ทั้งหมดนี้เป็นเีพียงคำแปล หากไม่ได้อ่านตั้งแต่ต้น ก็จะไม่เข้าใจ ว่าใครกำลังพูดถึงอะไร แต่ภควัทคีตานั้น มีผู้แปลเป็นภาษาไทยหลายสำนวนแล้ว ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ ต่อไปนี้จะได้เล่าเฉพาะศัพท์และไวยากรณ์ที่สำคัญ

อักษรโรมันแยกสนธิแล้ว จึงอ่านง่าย ขอให้อ่านเทียบกับอักษรไทย

การกนามส่วนใหญ่จะเป็นสัมพันธการก พหูพจน์ (ลงท้ายด้วย อามฺ) และกรรตุการก เอกพจน์  เพื่อบอกว่า ในบรรดา.... ข้าเป็น (อหมฺ อสฺมิ)

บางวรรค ไม่มี อหมฺ เพราะ อสฺมิ แปลว่า "ฉันเป็น" อยู่แล้ว

บางวรรคก็ไม่มี อสฺมิ, หรือ บางวรรค ไม่มีทั้ง อหมฺ และ อสฺมิ

แต่เราก็แปลได้ เพราะมีศัพท์ไล่มาตั้งแต่ต้น

มีศัพท์พยัญชนะัการานฺต บ้าง อธิบายไว้บ้างแล้ว พยายามทำความเข้าใจเอา ผิดบ้างถูกบ้าง ก็ไม่เป็นไร ขอให้ได้ฝึกอ่าน ผ่านๆ ตา

9 มีนาคม 2556

คำสำคัญ (Tags): #ภควัทคีตา
หมายเลขบันทึก: 521869เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2013 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2013 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบพระคุณมากๆคะ จะลองฝึกอ่านอยู่บ่อยๆเรื่อยๆ เพื่อให้ชินตา

เล่ม 10 นี่อ่านง่ายครับ ตั้งแต่โศลกแรกเลย

ดูเทวนาครีที่นี่ http://sa.wikisource.org/wiki/भगवद्गीता/विभूतियोगः


อสฺมิ เป็นสรรพนามบุรุษทีหนึ่งเหรอค่ะ ทำไมหนูหาไม่เจอ การกใดและพจน์ไหนเอ่ย ?

อสฺมิ เป็นกริยา ปัจจุบันกาล

อสฺ (เป็น) หมวดสอง ไม่มีปัจจัยประจำหมวด เติม -มิ ได้เลย

ไล่จากโศลก 23 ก็ได้ครับ ถ้าโศลกไหนไม่รู้เรื่องก็ข้ามๆ ไป

(ที่ยังมี อสฺมิ อยู่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท