ข้อพึงระมัดระวังทางจริยธรรมสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย


          เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 49    ในการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงาน ศจย.   มีการอภิปรายกันถึงพฤติกรรมของอาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  ม.มหิดล ท่านหนึ่ง   ที่ทำวิจัยเรื่องพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย   และไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า "การโฆษณาไม่มีผลต่อการดื่มหรือเลิกดื่ม"   โดยมีผู้พบเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ของบริษัทจำหน่ายสุรายักษ์ใหญ่ คือริชมอนเด้ อยู่ด้วย

               ทำให้ล่อแหลมต่อการถูกสงสัยว่า
                    1. รับเงินจากบริษัทจำหน่ายสุรา
                    2. ผลการวิจัยแม่นยำเพียงใด

               เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยทั้งหลาย  ควรออก guideline  เรื่องการรับเงินอุดหนุนใดๆ จากบริษัทสุรา-ยาสูบ  ควรทำ-ไม่ทำ  เพียงใด    ควรระมัดระวังเรื่องอะไรบ้าง

 

วิจารณ์   พานิช
26  ก.ย.  49

หมายเลขบันทึก: 52166เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     เห็นด้วยครับอาจารย์  แต่เหนืออื่นใดสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือจริยธรรมของผู้วิจัย ต้องมีสามัญสำนึกเองด้วย               ความเชื่อถือ และชื่อเสียงนั้นเมื่อเสียไปแล้ว เอาู้กลับคืน ไม่ใช่เรื่องง่าย น่า้เป็นห่วงเมื่อธุรกิจเข้ามา ในแวดวงวิชาการ เข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย

     สำหรับผม ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นด้วย ที่ว่า  "การโฆษณา ไม่มีผลต่อการดื่มหรือเลิกดื่ม "    การโฆษณาการลดแลกแจกแถมกลับชักจูงใจ ให้ผู้บริโภคตัดสินใจมาบริโภคมากขึ้นประกอบกับ หาซื้อได้ง่ายด้วย.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท