deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

แป้ แห่ระเบิด


แป้ แห่ระเบิด

วลีที่อยู่คู่กับคนแพร่มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกลายเป็นคำพูดกันจนติดปากว่า “เมืองแป้ แห่ระเบิด" คนแพร่หลายคนคงยังไม่ทราบ ที่มาที่ไปของวลีฮิตตลอด กว่า 50 ปี แม้วันเวลาจะผ่านพ้นนานปี คำว่าคนจังหวัดแพร่แห่ระเบิดยังต้องคู่เมืองแพร่ต่อไป ดังนั้นเราลูกหลานเมืองแป้จะต้องรู้กันสักทีว่า ทำไม???แพร่จึงต้องแห่ระเบิด สิ่งของมีอยู่มากมายไม่เอามาแห่ ผมได้มีโอกาสพูดคุยสอบถามผู้รู้และสืบเซาะหาข้อมูลจึงได้พบกับเว็ปไซด์วังฟ่อนดอทคอม ที่รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดแพร่ และข้อมูลประเพณีวัฒนธรรมล้านนาไว้มากมายเบอเรอะเบอเต๋อ ให้ไว้ได้อ่านและศึกษากัน จึงขอยืมข้อมูลมาให้อ่านกันในออนแพร่ เล่ม 4 ประจำเดือนมิถุนายน 55 ที่ได้นำเอาคอลัมภ์โน่น นี่ นั่น พาไปเที่ยวพิพิธภัณท์เสรีไทย ที่ตั้งอยู่ในโรงแรมภารดร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ นำมาเล่าให้ฟัง และพอดี! ไปสะดุดสายตาไปเจอลูกระเบิดจำลองที่ตั้งเด่นเป็นสง่า เลยปิ้งความคิดที่จะนำเรื่อง เมืองแพร่แห่ระเบิด มาให้อ่านกัน เพื่อจะได้รู้ที่มากันครับ

แป้แห่ระเบิด บ่แม่นคำที่พึ่งเกิด แต่ฮู้ ต่อๆกันมาว่า เมืองแป้แห่ระเบิด, เมือง...กิ๋นขี้ไก่ต๋างฮ้า, เมือง...กิ๋นขี้ม้าต๋างเมี้ยง, เมือง...ห้องแถวไหล, เมือง...ข้าวหลามแจ้งอีกหลายๆคำแต่วันนี้เรามาฮู้เรื่องเมืองแป้กันก่อนหนาครับเมื่อตะก่อนเหตุเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอลองจังหวัดแพร่หลังสงครามโลกทั้งที่๒ได้สงบนายหลงมโนมูลคนงานรถไฟสถานีแก่งหลวงเป็นคนแรกที่ได้ไปพบลูกระเบิด ที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรจุดประสงค์เพื่อระเบิดทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัยอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่กับสถานีรถไฟบ้านปินอำเภอลองจังหวัดแพร่)เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่น เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่๒ (พุทธศักราช๒๔๘๕ - ๒๔๘๘)

ซึ่งเป็นระเบิดด้าน(ไม่ระเบิด) จึงได้มาบอก นายสมาน หมื่นขันจึงได้ไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟสถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่นายชุมขันแก้ว,นายชัยวัฒน์พึ่งพองนายพินิจ สุทธิสุขนายย้ายปัญญาทองและได้ช่วยกันขุดขึ้นมาจากหลุมทรายที่ทับถมอยู่มีจำนวน๒ลูก (มีขนาดใหญ่กว่าถังแก๊สชนิดยาว)และทำการถอดฉนวนระเบิดออกแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดล้วงเอาดินระเบิดออกเอาดินระเบิดที่ล้วงออกมาได้นำไปประกอบสร้างลูกระเบิดขนาดเล็กขึ้นมาใหม่จำนวนหลายลูกเพื่อใช้ในการระเบิดปลาที่น้ำยม (ห้วยแม่ต้าไหลลงสู่แม่น้ำยมใกล้แก่งหลวง) ส่วนตัวระเบิดนั้นได้ใช้ล้อเกวียนในการเคลื่อนย้ายพักไว้ที่บ้านแม่ลู้ตำบลบ้านปินน้ำหนักของระเบิดทำให้คานเกวียน(ซ้าวล้อ) หัก (ซึ่งในวันที่เปิดพิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่เมื่อวันที่๑๖สิงหาคม๒๕๕๐ทางพิพิธภัณฑ์ได้ขอยืมลูกระเบิดของจริงจากวัดนาตุ้มนำมาแสดงโชว์ ต้องใช้คนงานถึง๖คนในการยกลูกระเบิด) ส่วนลูกที่๓ช่วยกันขุดด้วยแรงคนไม่ได้ เพราะจมอยู่ในหลุมทรายซึ่งมีความลึก จึงได้ตามนายบุญมาอินปันดีซึ่งเป็นเจ้าของช้างชักลากไม้อยู่ในป่าบริเวณใกล้เคียงขอร้องให้นำช้างมาลากลูกระเบิดขึ้นจากหลุมทรายแล้วเมื่อนำลูกระเบิดขึ้นมาได้จึงนำมาสมทบกับอีก๒ลูกจากนั้นจึงลากระเบิดเข้าสู่หมู่บ้านชาวบ้านสองข้างทาง ทราบข่าวและได้เห็นล้อเกวียนบรรทุกลูกระเบิดตามกันมา๓คัน ต่างก็พากันเดินตามเป็นขบวนยาวผ่านหน้าบ้านผู้ใดต่างก็เข้ามาสมทบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆจนถึงบ้านแม่ลานเหนือใกล้วัดชาวบ้านยิ่งออกมาสมทบมากขึ้นชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่อยู่ใกล้วัดได้นำฆ้องกลองยาวฉิ่งฉาบออกมาต้อนรับขบวนแห่เหมือนกับการต้อนรับขบวนกฐินหรือผ้าป่าทำนองนั้นแล้วแห่เข้าวัดทำการถวายลูกระเบิดให้เป็นสมบัติของวัดเพื่อใช้ทำเป็นระฆังส่วนระเบิดลูกที่๒ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำตำบลห้วยอ้อสำหรับลูกที่๓ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดนาตุ้มตำบลบ่อทองลองปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓) ระเบิดลูกที่๑เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือตำบลห้วยอ้อระเบิดลูกที่๒เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำตำบลห้วยอ้อระเบิดลูกที่๓เก็บไว้ที่วัดนาตุ้มตำบลบ่อทองลองทางวัดได้จัดสร้างหอระฆังสูงไว้รองรับส่วนลูกที่สองทางวัดยังไม่ได้สร้างหอระฆังไว้รองรับส่วนลูกที่๑เก็บไว้ใต้ถุนกุฏิแต่หลังจากมีผู้นิยมเล่นของเก่าหายากได้เสนอราคา๑,๐๐๐,๐๐๐บาท ชาวบ้านเห็นว่าของมีคนต้องการและให้ราคาสูงและไม่ต้องการขายจึงได้สร้างกรงเหล็กดัดล้อมไว้เรื่องราวเป็นที่มาของคำว่า "เมืองแพร่แห่ระเบิด"

โดย deawche

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.wungfon.com และล้านนาแพร่มากครับ สำหรับข้อมูล


หมายเลขบันทึก: 521639เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2013 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2015 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท