มหาวิทยาลัยไทยเพื่อการเข้าสู่ประชาคมฯ


ปรับกระบวนทัศน์ให้ได้งานวิชาการเพื่อร่วมพัฒนาสังคม

เรื่องการเตรียมมหาวิทยาลัยของเราให้พร้อมกับการเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่พัฒนาทรัพยากรบุคคล/สร้างนวัตกรรม มีความคิดเห็นพอสรุปได้ดังนี้

(ใช้ได้กับทุกตัวอย่าง) ประกาศ/ข้อบังคับควรมีภาษาต่างประเทศในทุกตำแหน่ง (ต้องเตรียมการให้มีภาษาของสมาชิก ASEAN)

๑. ตัวอย่างปัญหาโครงสร้างองค์กร 

๑.๑. สร้างศูนย์วิจัย/หน่วยวิจัย และอัตราบุคลากรให้มีการต่อเชื่อมระหว่างรุ่นของผู้ดำรงตำแหน่ง ศ., รศ., ผศ., อ. และบุคลากรสนับสนุน โดยอาจใช้รูปแบบของ Lab วิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น/เยอรมัน และสร้างระบงบประมาณแบบต่อเนื่องกับรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง

๑.๒. เพิ่มป้ายชื่อสถานที่/อาคาร/ถนน/บุคลากร เป็นภาษาอังกฤษ (ในอนาคตภาษาของสมาชิก ASEAN by 2015)

๒. ตัวอย่างปัญหาจากข้อบังคับ 

๒.๑. งานบุคคล

๒.๑.๑ การใช้กรอบอัตราเงินเดือน-ค่าตอบแทนคณาจารย์/บุคลากรต่างประเทศในอัตราเดียวกับชาวไทย อาจไม่ดึงดูดคณาจารย์/บุคลากรต่างประเทศให้มาร่วมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของเรา (อีกนัยหนึ่งคือต้องมีการยกระดับทั้งหมดให้เพียบเท่าในระดับ developed countries หรืออย่างน้อยเท่ากับมาเลเซีย/สิงค์โปร์) เพื่อนำสู่มีทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถในการสร้างสรรนวัตกรรมเพื่อสังคมและการจัดอันดับ University Ranking ที่ดีขึ้น

๒.๑.๒ การ search/seek คณาจารย์/บุคลากรต่างประเทศมีน้อย และการ search/seek คณาจารย์/บุคลากรอยู่วงจำกัดและมีแนวโน้ม inbreeding

๒.๒. งานพัสดุฯ

๒.๒.๑ การลงทุน (กรณีของ ม.เชียงใหม่ ใช้เงินกองทุนของ ม.เชียงใหม่) ในการสร้าง/ให้ทุน น.ศ. ที่มีผลการเรียนดี/เกียรตินิยมให้ศึกษาต่อในสถาบันต่างประเทศ อาจเรียกว่านักเรียนทุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และทำข้อตกลงกับรัฐบาลเพื่อสร้างบุคลากรให้แก่ประเทศไทยและเพื่อการพัฒนาของ ASEAN

๒.๒.๒ สร้างทุนสนับสนุนทีมงานคณาจารย์ในการร่วมงานกับสังคมไทย/ASEAN เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งนำสู่การสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหาความยากจน การถดถอย/เสื่อมสภาพทรัพยากรธรรมชาติ การขาดแคลนพลังงาน ทำให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒.๓. งานบริหารงานวิชาการ

๒.๓.๑ ให้ความดี/recognize คณาจารย์/บุคลากร (ในและนอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)  ซึ่งปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมในร่วมการแก้ปัญหาของสังคม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น, จังหวัด, ชาติ และ ASEAN

๒.๔. งานวิจัย

๒.๔.๑. สนับสนุนทุนวิจัยต่อกลุ่มวิจัย ซึ่งมีการปฏิบัติงานวิจัยแบบเป็นทีมงานของสหสาขาวิชาการ เพื่อการตอบโจทย์และร่วมแก้ปัญหา/เพิ่มขีดความสามารถของสังคมไทยและ ASEAN

๒.๔.๒  สนับสนุนทุน/งบประมาณวิจัยต่อกลุ่มวิจัยให้สามารถจ้าง Post-Doctoral/Post-MS staff

๒.๕. งานบริการวิชาการแก่ชุมชนและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๒.๕.๑. สนับสนุนทุนต่อกลุ่มงานบริการวิชาการแก่ชุมชนและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมซึ่งมีการปฏิบัติงานแบบต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนเป็นชุมชนแห่งวิชาการ/ความรู้ของสังคมไทยและ ASEAN เข้าสู่ Knowledge society (หมายถึงวิชาการและศิลปวัฒนธรรม) ของชุมชนในชายทะเล/พื้นที่ราบ/พื้นที่สูง

อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับ/ระเบียบมีจำนวนมากมาก และเป็นเราที่ต้องร่วมกันแก้ (หากมีโอกาส)


อรรถชัย

================<><><>

เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 521488เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2013 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท