การใช้ถนนของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร


                    

 

การใช้ถนนของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

กลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้ถนนเป็นการดำเนินชีวิต ในขณะนี้มีจำนวนมากและมีความหลากหลายของกลุ่มผู้สูงอายุ  ขอแยกออกเป็น 3  กลุ่ม

  -ผู้สูงอายุทีมีการเจ็บป่วย  แต่ใช้ถนนเป็นที่หลับนอนและหาเลี้ยงตนเอง
โดยเฉพาะกลุ่มที่ป่วยทางสุขภาพจิต กลุ่มที่ป่วยเรื้อรัง  กลุ่มเหล่านี้จะมีการติดพื้นที่ 
จะปฏิเสธในการที่ต้องไปรักษาพยาบาลหรือการเข้าไปอยู่ยังสถานคนไร้ที่พึ่งของรัฐ  และมีบางคนที่เจ็บป่วยแต่ต้องออกมาขอทานเพื่อนำเงินเหล่านี้มาเลี้ยงลูกหลาน  ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณยายทองใบ(นามสมมุติ)ที่มาใช้ชีวิตที่ทางขึ้นสถานรถไฟฟ้า โดยคุณยายจะนั่ง
มีคนที่เดิน-พาไปพามาให้เงิน แต่เงินเหล่านั้นจะไปเป็นค่าเช่าบ้าน นมหลานบ้าง  แต่คุณยายป่วยซึ่งจะมีการแพ้แสงแดดเพราะผิวหนังจะเรื้อรังค่ะ แม่ค้าที่ขายสินค้าบริเวณนั้นเคยเราให้พวกเราฟังว่า ลูกหลานไม่สนใจเลยชอบเอาคุยายมานั่งตรงนี้แล้วถึงเวลาก็จะมารับกลับไป  ซึ่งควรจะมีการจัดการลูกหลานที่ใช้คุณยาย 

      

 

  -ผู้สูงอายุที่นำสินค้ามาขาย  ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยคนเหล่านี้ มาจากอำเภอท่าตูมอำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์  ซึ่งจะมีผลิตภัณฑ์สินค้าของชาวบ้านมาขาย ได้แก่รองเท้า  ตระกร้า กระจาด ตัวกวาง ช้าง พัด
เป็นต้น  โดยส่วนมากจะมาเดือนละ
2 อาทิตย์ติดกันหรือเมื่อขายสินค้าหมดก็จะกลับการเดินทางใช้การเดินทางโดยทางรถไฟ(รถไฟฟรี ตามนโยบายของรัฐบาล) ส่วนการพักในกรุงเทพจะพักที่วัด แถวๆบางซื่อ  โดยมีศาลาที่พักและห้องน้ำ โดยผู้สูงอายุแต่ละท่านจะจ่ายเป็นการสนับสนุนช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ 
ส่วนการเดินทางทุกคนตอนเช้าจะออกจากวัดโดยกระจายตัวไปขายสินค้าของตนตามสถานที่ต่างๆ  เช่น พื้นที่ตลาดนัดจตุจักร  คลองหลอด พัฒนพงษ์  สยาม หน้าประตูน้ำ อนุสาวรีย์  แล้วแต่ละที่ที่เคยไปขายได้โดยส่วนมากจะเน้นขนของขึ้นเมล์ฟรีเป็นส่วนใหญ่ จะเน้นการประหยัดเพราะเงินที่ขายได้จะนำกลับไปซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่จะทำสินค้าบางครั้งก็จะมีลูกหลานตามมาด้วย แต่โอกาสที่จะเป็นคนเร่ร่อนเป็นถนนก็มีสูงเพราะบางคนก็จะไม่กลับบ้านที่ชนบทโดยการใช้ชีวิตขอทานเป็นหลัก

ข้อเสนอแนะ สำหรับคนทำงาน คิดว่าทางกรุงเทพมหานครมีสถานที่จัดร้าน หรือร้านค้าให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ มีสถานที่ขายเป็นเรื่อง เป็นราว  พร้อมทั้งคนเหล่านี้สอนคนที่มาเรียนฝึกอาชีพ  จะได้ทั้งสองทาง คือช่วยเหลือผู้สูงอายุเหล่านี้มีงานทำ  และคนที่มาฝึกอาชีพก็ได้รับความรู้กลับค่ะ

 

  -ผู้สูงอายุที่ขายท๊อฟฟี่ขายดอกไม้ หรือตาชั่งชั่งน้ำหนัก หรือมาร้องเพลงข้างถนน(สิลปินข้างถนน) 
ส่วนมากผู้สูงอายุเหล่านี้จะพักในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งจะออกมาเป็นครั้งคราว โดยส่วนมากผู้สูงอายุเหล่านี้บางคนก็อยู่ตามลำพัง โดยการหาเลี้ยงตนเองหรือบางครอบครัวก็มีลูกหลานที่เจ็บป่วย  ป่วยเป็นโรคทางสุขภาพจิตเป็นหลัก บางรายไม่มีเอกสารทางทะเบียน  กรณีของคุณยายทองย้อย  ซึ่งอาศัยที่ชุมชน โรงปูน  โดยเช่าบ้านเดือนละ
500 บาท โดยมีผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายให้ คุณยายทองย้อยป่วยเป็นโรคกระดูก โรคไตซึ่งต้องมีการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ที่โรงพยาบาลราชวิถี(ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนใช้ชื่อนางปราณี อุตตะยะเป็นการรักษาตามหลักของการสงเคราะห์) มีลูกชายที่ป่วยเป็นสุขภาพจิตเนื่องมาจาการติดยาตั้งแต่วัยรุ่น ประธานชุมชนสร้างบ้านให้ลูกชายอยู่ต่างหาก 
ซึ่งแม่จะเป็นภาระเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นให้  แต่เมื่อชายมีอาการป่วยก็จะต้องส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญา  ซึ่งก็จะเป็นช่วงๆ หรือบางครั้งลูกชายก็จะหายจากบ้านออกไปเ)นอาทิตย์แล้วก็จะกลับไปเดินไปเรื่อยๆซึ่งคุณยายก็จะห่วงมาก มีหลายหน่วยงานที่อยากช่วยเหลือยายให้ไปอยู่ที่เหมาะสม
ยายก็จะบอกทุกครั้งว่าไม่ไหนทั้งนั้น และยังพึ่งตนเองได้ทั้งเรื่องอาหารหรือยาที่ต้องรับรับประทาน 
โดยเฉลี่ยสัปดาห์คุณยายจะออกมาบนถนน
2-3 วันเท่านั้นเพราะการเดินทางลำบากมากและเดินทางไกลโดยใช้รถเมล์ ซึ่งทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกำลังดำเนินการช่วยเหลือเรื่องเอกสารทางสถานะของ
คุณยายทองย้อย   ได้เอกสารเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556  แต่เรื่องเบี้ยยังชีพต้องใช้เวลา เพราะต้องไปแจ้งสิทธิต้องรอไป ประมาณเดือนพฤศจิกายน โน้น.....




 

หมายเลขบันทึก: 521336เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2013 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท