การจัดประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคเหนือ(ลำปาง)


สวัสดีครับ ชาว blog

วันนีผมเเละทีมงานมีโอกาสเดินทางมาจัดการประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง เพื่อนำเเนวจากการหารือในครั้งนี้ไปจัดสัมมนาสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรที่ให้ความรู้ทั้งภาครัฐเเละเอกชน โดยได้รับการสนับสนนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา

การทำงานในครั้งนี้จะเเบ่งออกเป็น 2 รูปเเบบคือ Pre-Planing เป็นการศึกษาเพื่อหาความต้องการว่าความรู้เรื่อง AEC ที่ต้องการในเเต่ละ cluster เป็นอย่างไร และ Public Seminar เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

กิจกรรมทั้ง 2 รูปเเบบจะทำในลักษณะ cluster 

      ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดน่าน เเพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย 

      ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เเละตราด

      ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎธานี  จังหวัดนำร่องประกอบด้วย สุราษฎธานี สงขลา ชุมพร และนครศรีธรรมราช

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย อุบลราชธานี มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม 

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับ

เเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด pre-planning ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์







 






หมายเลขบันทึก: 521300เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2013 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สรุปความคิดเห็น โดยทีมงานวิจัย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ร่วมแสดงความคิดเห็นจากที่ประชุม

คุณธงชัย

-  ในด้านกีฬาจะสร้างมูลค่าเพิ่มกีฬาที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกีฬามาตรฐาน โอลิมปิก กีฬาพื้นบ้าน

-  เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร เช่น เสือภูเขา จะสร้างมูลค่าได้อย่างไร

-  ดูตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่สร้าง Create ทางการกีฬาที่คิดเอง  SingaporeYouthOlympic สร้าง Value ของประเทศต่อยอดโอลิมปิกสากล

-  ทำอย่างไรเป็น Sporttourism,Sportentertainment เพื่อต่อยอดความหลากหลายจะทำอย่างไรดี ทำอย่างไร ถึงไปแข่งกับกีฬาในยุโรปได้ อย่างเช่น SnowSportมี Redbull เป็น Sponsor สามารถสร้างแบรนด์ระดับโลก

-  ClusterOlympic Game ตัวอย่างเช่น วอลเล่ย์บอล บาสเก็ตบอล

ดร.จีระ เสนอว่า

Topicsที่เน้นในกลุ่มภาคเหนือเห็นด้วยหรือไม่ว่า

1.  Sport Tourism

2.  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม + การท่องเที่ยวชุมชน

3.  Growth  + Sustainability

ร่วมแสดงความคิดเห็น (ต่อ)

-  อยากรู้ว่าภาคเหนือมีอะไรที่มีลักษณะเด่น การขายคือความแตกต่างจากที่อื่น ไม่อยากขายเหมือนกัน มีใครสำรวจหรือไม่ ศักยภาพภาคเหนือ มีลักษณะการดำเนินธุรกิจทั้งท่องเที่ยวและกีฬาเป็นอย่างไรบ้าง เช่นกีฬา Extreme,ปีนเขาอยู่ในแม่น้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นกีฬา SportTourism กระแสเด่นช่วงนื้คือเรื่องมวยไทย มีฝรั่งมาเข้าค่ายเป็น Package มีโอกาสมากกว่ากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ แต่ปัจจัยสำคัญคือการสนับสนุนของภาครัฐ และความปลอดภัย

-  ศักยภาพของภาคเหนือยังไม่มีจุดเด่น ส่วนใหญ่เป็นการทำ Package ร่วมกัน เช่นกีฬาเชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง อยากให้เน้นการสร้าง Networkingสร้างโอกาส สร้างกีฬาแตกต่างจากที่อื่นสถานการณ์ เราอยู่ระหว่าง Process&Journey

คุณประสพสุข

-  ภาพรวมใหญ่คือการเอาเงินเข้าประเทศ การหาแม่เหล็กอื่นดึงการท่องเที่ยว ทำอย่างไรให้คนเข้ามาเล่นกีฬาในบ้านเรา ทำอย่างไรให้คนเอาเงินมาใช้ในประเทศไทย จากท่องเที่ยวและกีฬา

-  ประเทศไทยจะไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวจะรวมเป็น Community ซึ่งจะต้องสร้าง Opportunity

-  ทำอย่างไรที่ทำให้ของเก่าที่เรามีอยู่มีมูลค่าขึ้นมา เอาอาเซียนมาเป็น Opportunity, สร้างเครือข่ายทั้งในระดับ Local และระหว่างประเทศ จะเกิด Diversity และ Creativity,สร้าง Value ใหม่ๆ ขึ้นมาให้ได้ เช่นการสร้างผลึกเกลือ สร้าง Synergy ของเราแล้วไปรวมกับประเทศอื่น

-  สรุป สิ่งที่ได้จากการสัมมนาคือสร้างเครือข่ายกันได้ เอาอะไรเป็นตัวชูโรง

-  การสร้าง กินเนสต์ เรคคอร์ด เช่นกีฬาพารามอเตอร์ (ร่มบิน) ทำอย่างไรจะสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น กีฬาเสือภูเขา

-  สรุปคือ 1. จำนวนนักท่องเที่ยวสูงขึ้น  2.การใช้จ่ายสูงขึ้น จะใช้ประโยชน์อะไรมาจับ

-  ดร.จีระ บอกว่า วิธีการคือ

  1. สร้าง Networking และการบริหารจัดการเครือข่ายในกลุ่มภาคเหนือ

  2. สร้างความต่อเนื่อง

  3. Wherearewe?, Where do we want to go ? How to do it ? How to do it successfully?

คุณสุรพล

  การดำเนินการโดยกลุ่มจังหวัด อยากให้ดำเนินการตามเขตพื้นที่ เป็น 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้รวมแม่ฮ่องสอนด้วย

  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคเหนือได้เปรียบกว่าภาคอื่น สิ่งที่ต้องการเสนอเข้ายุทธศาสตร์จังหวัดคือ มนุษย์มีความผูกพันกันชาติกำเนิดหรือสิ่งที่ได้รับการอบรมมาเช่นวัดไทย  สังเกตเช่นวัดพม่าอยู่ที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนทำไมไม่ทำให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของเขาด้วย  วัดพม่าถิ่นวัฒนธรรม  อยากให้ดึงนักท่องเที่ยวชาวพม่ามาด้วย

  4 จังหวัดภาคเหนือมีความผูกพันกับพม่า  แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญที่ได้รับรางวัลจาก Unesco เช่น ชุมชนบ้านปงสนุก  กิจกรรมกีฬาแอดเวนเจอร์ ขายได้ชัดเจน แต่ต้องดำเนินการควบคู่กับสิ่งอื่น ๆ เช่นเสือภูเขา  การส่องสัตว์จะมากขึ้นเรื่อย ๆ TourofThailand,TourofSiam

  สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเช่น การโรยตัว หรืออะไรต่าง ๆ ที่อุทยานแจ้ซ้อนมีเป็นต้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น ดร.ณัฐชา

  พูดในฐานะนักการตลาดในมุมมองของคนกรุงเทพฯ ที่มาอยู่ลำปาง

  ตัวอย่างสิงคโปร์ จะรับแต่คนรวยเท่านั้น  มีกลุ่มเฉพาะชัดเจน รับกลุ่มครอบครัว มีคาสิโน สวนสนุกใต้ดิน ช้อปปิ้ง

  สรุปคือเราต้องชัดเจน จะได้สร้างในสิ่งที่มีเพื่อให้ไปถูกทาง

  ประเทศออสเตรีย  เมือง บาสฮอกกาสไตล์ มีทุกอย่างครบหมดแต่อยู่ท่ามกลางภูเขา หน้าหนาวทำเป็นสกี หน้าใบไม้ผลิทำเป็นสปา มี ช้อปปิ้งมอล์ล

  สรุปคือทุกอย่างสร้างได้ถ้าจะสร้าง

  เรื่องพฤติกรรมการท่องเที่ยว  เราอยากได้ท่องเที่ยวรูปแบบใด  เช่นการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ที่หมู่บ้านแม่กำปอง (ได้รับรางวัดดีเด่นด้านการพัฒนาท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไปโหนสลิง และร้านให้เช่าเครื่องกีฬาเป็นต้น

  เรื่องจักรยาน ที่แม่เมาะ

  ศาสนาความเชื่อ มีวัดทำได้

  สิ่งที่อยากให้มีคือ อยากให้สร้างที่พักผู้สูงอายุ แต่ปัญหาคือลำปางยังมีการเผาป่า ทำอย่างไรให้เป็นเมืองสุขภาพให้ได้

  สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการเดินทาง ถ้าไม่ได้มาเป็นกรุ๊ป

  ลำปางมีเซามิค และงานไม้

  มีกาดกองต้า มีเฉพาะคืนวันเสาร์และอาทิตย์  มีพิพิธภัณฑ์หม่องห้วยซิ่น  มี 3 หลักเมือง วัดปิดทองคำแท้มากสุดในประเทศไทย  มีเจ้าทิพช้าง

คุณสุรพล

- ชมรมจักรยานประสานกันอยู่แล้ว ถ้ามีกิจกรรม CarFreeDay จะนัดกันว่าพร้อมวันไหน

คุณประสพสุข

น่าจะมีการจัดการขี่จักรยานทางไกลร่วมกัน สร้างประวัติเมืองโบราณทั้งหลาย

คุณธนัญญา

-  ททท. มีมุมมองในด้านการตลาด

-  แผนปี  55 59 มีแผนการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

-  การสร้างการตลาดต่าง ๆ

-  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน มีท่านรองสรรเสริญดูแลความร่วมมือเกี่ยวกับอาเซียนแล้วไปปรับปรุงการดำเนินงานทั้งอาเซียนและตลาดโลก

-  สินค้าทางการท่องเที่ยว

-  การส่งเสริมการลงทุน

-  จากหัวข้อในวันนี้ ตัวแทนของ ททท. คิดว่าโครงการสร้างความต่อเนื่องแบบบูรณาการในกลุ่มภาคเหนือ เช่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยวแอดเวนเจอร์ วัด การเชื่อมโยงในภูมิภาคภาคเหนือไปสู่อาเซียยน อยากเน้นเรื่องการบอกเล่าความเป็นมาในสิ่งต่าง ๆ ต้องดึงออกมาให้ได้ว่าอะไรเป็นที่โดดเด่นในภาคเหนือ และนักท่องเที่ยวอยากมาเที่ยวด้วยประสบการณ์ไม่เหมือนใครและอยากบอกต่อ

-  การสร้าง CreativeTourism หมายถึงนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในภาคเหนือเขาอยากมีส่วนร่วมและเกิดความผูกพันกับคนในพื้นที่เกิดความรู้สึกและประทับใจมีการบอกต่อมากขึ้น

-  การสร้างจุดเด่นและจุดขาย อยากให้ดูตัวอย่างที่แอฟฟริกาใต้มีการขายไวน์

-  สรุปคือเราอยากขายอะไร อยากให้ดูจุดเด่นต่าง ๆ ด้วย

-  สิ่งที่จะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาและเกิดความภูมิใจคือทางภาคเหนือมีจุดเด่น และจุดขาย เป็นหนึ่งได้อย่างไร

-  การจัดประชุมใหญ่ระดับประเทศ และการจัดแสดงสินค้า สร้างการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างกัน ให้มีการทำท่องเที่ยวเชื่อมโยงในพื้นที่ใกล้เคียง

-  การกีฬา ททท. สนามกอล์ฟอัลไพน์ กำลังจัดการแข่งขันกอล์ฟ มีนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียงมาแข่งขันด้วย

-  การแข่งขันในอาเซียน การสร้างความเชื่อมโยงในกลุ่มอาเซียน เช่นมีสนามแข่งขัน 700 ปี ทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยง

-  การพัฒนาบุคลากรในส่วนของ ททท. อยากให้เสนอแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อรองรับอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น 4P หรือ 7 P (Process,People,PhysicalEvidence) ว่าควรเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง ,ผู้ประกอบการ SMEs,ICT,IME,การตลาดในประเทศ

ดร.จีระ จะขอเอกสารการวิจัยของททท.เผื่อจะทำงานร่วมกัน

-  การพัฒนาบุคลากร มีความคล้ายกับ ททท.

-  อยากอบรมผู้ประกอบการรายย่อย,หน่วยงานราชการ,ผู้นำท้องถิ่น,นักวิชาการ

-  อยากให้ Network อันนี้ขยาย และทำต่อเนื่อง

-  การทำ Followup เสนอและให้มีคนทำต่อ เป็นเสมือนตัวเชื่อม

-  อยากให้ททท.ทุกจังหวัดมีส่วนร่วม

คุณสมพร กศน.

-  ภาคเหนืออยากให้มองวัฒนธรรมชนเผ่า มีกีฬาชนเผ่าที่มีความเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน อยากให้นำเสนอเป็นการท่องเที่ยวด้วย

อ.อนุกูล

-  สิ่งสำคัญคือบุคลากรในการทำงาน คนมีจำกัด มีน้อย โดยเฉพาะเรื่องท้องถิ่นอะไร รักษา อะไรควรอนุรักษ์ กาลเทศะ คิดได้หมด แต่ประชาชนรับได้หรือไม่เป็นอีกประเด็น

-  การรู้ข้อมูลให้ถูกต้องกับจารีตและประเพณีท้องถิ่น

คุณสุรพล

-  มูลนิธิฯ น่าจะเป็นองค์กรหลักในการสร้างเครือข่าย อย่างที่ อ.อนุกูลพูด มีชมรมต่าง ๆ ขึ้นมาอยากให้เป็นเครือข่ายหนึ่งในมูลนิธิฯ  ตัวอย่างเช่น การดูนก ส่องนกอะไรไม่กระทบสิ่งแวดล้อม การดูแลโบราณสถานอย่างไร

คุณสุวพณิชย์

-  มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เนื่องจากเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ และมีชัยภูมิที่สมบูรณ์ มีพระพุทธรูปในวัดศรีชุมที่กษัตริย์เป็นผู้สร้าง มีการส่งออกไม้สัก  หม้อฮ่อม จังหวัดแพร่ มีการจัดงานแพร่พันธุ์โฆษาลุ่มน้ำโขง  ถ้ารวมเป็นหนึ่งใน 5 ชนเผ่า นำวัฒนธรรมความเป็นอยู่มาสร้างการท่องเที่ยว มีบ้านในละครรอยไหม มีคุ้มวงรี คุ้มเจ้าหลวง แพร่ น่าน และ 8 จังหวัดภาคเหนือมีอะไรดีบ้าง

คุณพิชญ์ภูรีสรุป

1.  ท้องถิ่นขาดองค์ความรู้เรื่องอะไร

  1. ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว อยู่ในบุคคล หน่วยงาน ไม่กระจายออกมา

  - กลุ่มนักท่องเที่ยวคือใคร

  - ประวัติศาสตร์

  2.ความคิดสร้างสรรค์ เช่นกีฬาล้านนา จักรยานล้านนา เช่น RainyTriSport, รถม้าลำปาง

  3.การสร้างเครือข่ายและการบริหารจัดการเครือข่าย ดึง Network ด้าน Logistics เป็นต้น

  4.การรักษาความปลอดภัย

  5. สิ่งแวดล้อม

  6. กฎ กติกาอาเซียน

  7. การสื่อสาร  PR

  8. การสนับสนุนภาครัฐ มีโครงการอะไรบ้าง บอกช่องทางให้เข้าถึงมากกว่านี้

2. สิ่งที่ส่งเสริมองค์ความรู้

  1. ความรู้พื้นฐาน

  2. กรณีศึกษา

3. การต่อยอดโครงการ สร้างความเป็นไปได้

4. ตัวอย่างที่ทำร่วมกัน

5. แนวทางการเก็บเกี่ยว 

ดร.จีระ อยากให้เน้นเรื่อง 3 V

ValueAdded - Networking

ValueCreation - CommunityandCulturalBaseTourism

Value Diversity

การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ อยากให้เน้นเรื่องทฤษฎี 2 R’s

คือ Realityand Relevance

คุณประชิต

-  เคยอยู่อุทยานแห่งชาติแม่ยม เป็นสถานที่ที่มีไม้สัก และทำผลิตภัณฑ์จากไม้สักส่งออก

-  แจ้ซ้อน น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจากดอยอินทนนท์ ปัญหาคือการสร้าง การปรับปรุงระบบและภูมิทัศน์ ยังมีปัญหาทางการจัดการ

-  ล้อมรอบไปด้วยหมู่บ้าน และมีความหลากหลาย

อ.ธีรนันท์

-  สิ่งที่อยากจะเสริมคือเรื่องบุคลากรมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งคือเรื่องการท่องเที่ยวและกีฬาเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีบุคลากร ต้องเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องจริง ๆ

-  ทำอย่างไรให้เกิดความรู้แบบ Sustainability ให้คนเรียนรู้จากวัฒนธรรมล้านนา

-  ให้แต่ละจังหวัดมีจุดขาย และจุดเด่น ส่วนที่มีอะไรคล้ายกันเสนอเป็นอย่างเดียวไม่ให้เกิดความซ้ำ

-  ด้านภาษา เนื่องจากจะเป็นประเทศที่เป็นอาเซียนเราต้องพัฒนาบุคลากรให้สื่อสารได้อย่างรู้เรื่อง

คุณหรัณย์กร  เสียงหาญ

- สิ่งที่มองเห็นคืออยากเห็นเรื่องการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะผู้นำเพื่อทำงานเชื่อมโยงให้ได้ เพื่อพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวและการกีฬา

- อยากให้มีเวทีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นเวทีพูดคุยปรึกษาหารือทำยุทธศาสตร์โครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นในทางเดียวกัน มองเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน

- ผู้ประกอบการภาคเอกชนของลำปางส่วนใหญ่เป็นการนำทัวร์จากลำปางไปเที่ยวที่อื่น ยังไม่รองรับการนำทัวร์จากที่อื่นมาเที่ยวลำปางมากขึ้น

-  ภาคเอกชนมีการหมุนเวียนเปลี่ยนผู้นำตลอด ภาคราชการควรเป็นการพึ่งพาได้

คุณมณฑิรา

-  ปัญหาที่ได้ยินเมื่อเช้า จุดที่สามารถเติมเต็มได้คือพลังนักศึกษา มีพลังที่ทำด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ทุกมหาวิทยาลัย มีชมรมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ถ้ามีโครงการแล้วขาดคนที่สนับสนุนเรา อาจให้มีโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน นักศึกษาน่าจะเข้ามามีส่วนได้บ้าง

คุณณภัสวรรณ

- เครือข่ายอาเซียน หัวเรือใหญ่คือการท่องเที่ยวและการกีฬา อยากให้เน้นกีฬาสัก 60 % แล้ว 40% เป็นท่องเที่ยว น่าจะดึงอันใดขึ้นมา

-  จุดขายของจังหวัดต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น จักรยาน

-  การพัฒนากีฬาชาวเขา

-  การพัฒนาที่ต่อเนื่อง

-  การใช้พลังของเด็กนักศึกษาเป็นพลังสร้างความต่อเนื่อง ให้เชิญเด็กนักเรียนมาร่วมประชุม 10 ท่านมาสังเกตการณ์

-  ให้นักศึกษาลงพื้นที่ได้มากขึ้น

-  ใช้ภาษาเป็นตัวเชื่อมและพัฒนา อยากให้ Concentrateด้านภาษาด้วย

-  ทุกอย่างสำเร็จได้ต้องทำความเข้าใจจากผู้นำ เพื่อผลักดันให้รากหญ้าดำเนินต่อไปได้

ดร.จีระ

-  จัดสัมมนาแต่ไม่ควรละเลยโครงการพัฒนาคน

-  ในอนาคตหลักสูตรควรจะเน้นอะไร

-  มี Session หนึ่งที่มองว่าจะทำอะไรต่อ

-  สัดส่วนของท่องเที่ยวกีฬา ต้องทำให้ยั่งยืนมีมาตรฐาน และรองรับอาเซียน

วัตถุประสงค์

1.  จัด PublicSeminar5 Cluster 

  - ภาคเหนือ  ลำปาง

  - ภาคอีสาน  อุบลฯ

  - ภาคใต้  สุราษฎร์

  - ภาคต.อ.  ชลบุรี

  - ภาคกลาง  กทม.

สิ่งที่อยากฝาก

1.  แต่ละท่านจะเป็นตัวแทนของจังหวัดอย่างไร  อยากให้ทุกท่านช่วยแนะนำว่านักธุรกิจเป็นใครแล้ว Brief  ว่าเป็นอย่างไร

  - รูปแบบเป็น Plenary  2 ชั่วโมง มี อ.ไกรฤทธิ์ ,อ.ณรงค์ศักดิ์

  - ความรู้เพิ่มเติม Workshop4 ชั่วโมง และข้อเสนอ

  - การจัด Facilititate งานต่าง ๆ

  - เน้นความมีส่วนร่วมของประชาชน

  - เน้นบุคลากรอยากเรียนรู้ อยาก Network อยากทำงานอาเซียน

  2. ภาคเหนือจะเสนอแนะอย่างไร

  - เอา Project นวัตกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มมาเสนอ

  - สร้าง PilotProject

คุณประชิต

-  เสนอที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน  ดร.จีระ จะเชิญปลัดกระทรวงฯมา  เชิญผู้ว่าฯ ลำปางมาเปิด

ดร.ณํฐชา

-  ปัญหาที่เจอคือเรื่องรถสองแถว ถ้าเห็นคนต่างถิ่น ราคาจะสูงเป็นพิเศษ

-  เรื่องความซื่อสัตย์  ความไว้วางใจจากชาวบ้าน ผู้ประกอบการ  การทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

-  วางแผนล่วงหน้าด้าน Logistics

-  สาเหตุที่เชียงใหม่โตเร็วมาจากคนกรุงเทพฯ มาอยู่และพัฒนา

อาจารย์บุษบา

-  กศน. เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาที่อยู่ในระดับชุมชน กลุ่มเป้าหมายคือหมู่บ้าน ชุมชน

-  เรื่องทุนมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้เชื่อมโยง จากการวิจัย สิ่งที่เป็นปัญหาคือการพัฒนาคน การสร้างองค์ความรู้ การส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อปฏิบัติสู่พื้นที่ ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนตรงนี้ได้อย่างไร กศน. จะเป็นสะพานเชื่อมตรงนี้ 

ดร.จีระ

  -  การรู้จักผู้นำชุมชนใน Cluster ภาคเหนือ ,Tourism ในอนาคตมาที่ CommunityBase

-  สิ่งที่ทำอยู่คือการให้ความรู้  การผลิตสื่อทางภาษา หลักสูตรต่อเนื่องระยะสั้นเสริมทางด้านภาษา

-  มีการอบรมภาษานวดที่เป็นภาษาอังกฤษให้อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน แม้แต่บุคลากรที่ปฏิบัติงาน มีฝรั่งเข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้

อ.กิตติ

-  ภาพรวมแต่เช้าประเด็นที่อยากจะเน้นคือ มีงานที่จะต้องคิดต่อ พบว่าแต่ละจังหวัดมีจุดที่ขายได้ทั้งท่องเที่ยวและกีฬา และมีจังหวัดลำปางที่ทำเป็นรูปธรรมด้วย  จังหวัดอื่นจะคิดอะไรออกมา หรือจะทำร่วมกันก็ได้  ยกตัวอย่างเช่น เล่นสกีที่สวีเดนเป็นลักษณะของ 2 ประเทศได้ (Sport 2 Country)

-  การสร้างมูลค่าของสินค้าเช่น ผลึกเกลือที่บ่อเกลือ จ.น่าน  การสร้าง Story 

-  การพัฒนาจากคนดึงมาสร้างความรู้และตอบโจทย์ Sustainability ได้

อ.ธงชัย

-  ขอเพิ่มของคุณสุรพล ที่พูดเรื่องล้านนาแอดเวนเจอร์ มีอุตสาหกรรมหนึ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้คืออุตสาหกรรมเซรามิก ให้มีการเข้าไปชม ดูวิธีการปั้น การตกแต่ลาย การเคลือบให้คนมาเที่ยวทำด้วย

-  การแข่งรถม้า  ประกวดรถม้า 

คุณแสงจันทร์

  -  โครงการนี้เป็นโครงการต่อยอดการวิจัยเพื่อการพัฒนาท่องเที่ยวทุกภาคส่วน อ.จีระมองว่าเรื่องการพัฒนาต้องใข้การมีส่วนร่วม ให้คนในภาคเหนือมีส่วนร่วมในร่วมกันคิด

-  ก.การท่องเที่ยวและกีฬา เห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร  แต่จัดแล้วได้อะไรไปไม่ทราบ การให้ได้ประโยชน์มากต้องใช้เครือข่ายความร่วมมือ

-  การพัฒนาต้องตรงโจทย์ เช่นเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อล้านนา

-  สิ่งสำคัญคือเรื่องการสร้างเครือข่ายของในพื้นที่ กระทรวงคงเป็นหน่วยหนึ่งในการช่วยกันตรงนี้  ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์เขาจะดูก่อนว่าต้องการหาเงินจากใคร  คนอยากได้อะไร แล้วสร้างตรงตามความต้องการ สำหรับประเทศไทย จะดูว่าเรามีอะไรจะขายอะไรมากกว่า

ดร.จีระ

-  เศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยวน่าสนใจ บางครั้งจากตัวอย่างของสิงคโปร์อาจพบกันครึ่งทาง

ผลสรุปจากคุณพิชญ์ภูรี

1.  องค์ความรู้ที่ต้องการ

  - การปรับทัศนคติ (ความซื่อสัตย์ ไว้วางใจ เปลี่ยนวิธีคิด)

  - การจัดการข้อมูล (ทุนทาง IT เครือข่าย สนับสนุนภาครัฐ

  - การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เช่น โครงการดอกเสี้ยวบาง

  - การสร้างและบริหารจัดการเครือข่าย รวม Community รัฐ เอกชน ชุมชน การศึกษา

2.  การจัดการหลักสูตร

  - ปลูกให้ความรู้ในสิ่งที่ต้องการ Mindset  ทัศนคติ  3 V

  - กรณีศึกษา

  - การคิดโครงการใหม่ ๆ  เห็นด้วยหรือไม่ที่จะส่งโครงการไปก่อน

  - การขับเคลื่อนทุนมนุษย์

3.  กลุ่มผู้เข้าร่วม

  -  Logistics

  -  กศน. สถาบันการศึกษา ,นักวิชาการ

  -  คนที่ดูแลภาคเหนือ

  -  ธุรกิจประมาณ 60%

  -  ราชการ

  -  ผู้นำท้องถิ่น

  -  นักศึกษา

ก่อนจบฝากไว้ 2 เรื่อง

-  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการเดินทางไปสู่เป้าหมาย

-  Process เริ่มอย่างไร?Implement? Follow up?

-  ทุกเรื่องต้องพาไปสู่อาเซียน ต้องใช้ทั้ง 3 V


ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

จ่ายคุ้มสุดสนุกสุขสร้างสรรค์ เป็นเป้าหมายการท่องเที่ยวและกีฬา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชนและภาคประชาชนเจ้าของพี้นที่ มีความเข้าใจตรงกันในความหมายและทิศทางเชิงกลยุทธ์ ที่กำหนดกรอบแนวคิดชนิดที่มีความยั่งยืน แผนระยะสั้นที่ได้มีการตระหนักถึงระยะยาวไว้ด้วยแล้ว เช่น 5ปี+10ปี+15ปี คิดMacro+คิดMicro การวางแผนอย่างมีกลยุทธ์เพื่อให้ได้ 3 vนั้น ท้าท้ายให้เจ้าของพื้นที่จัดProject Team ควรอธิบายทิศทางทุนความสุขที่ได้รับจากการจ่ายเงินซื้อการเที่ยวและหรือกีฬา เช่นกลุ่มครอบครัว เที่ยวชนิดใดที่สมาชิกทุกคนมีความสุขร่วมกัน นวัตกรรมกีฬาสร้างภาวะผู้นำสร้างความเป็นทีม เป็นต้น การสร้างสถิติท่องเที่ยวและหรือกีฬาในASEANโดยไทยเป็นเจ้าภาพเริ่มต้น ไม่ใช่การให้รางวัลแต่เป็นการส่งเสริมทุนความสุขจากท่องเที่ยวและหรือกีฬาในไทย เป็นต้น

ข่าวโครงการ

ที่มา: Stock Review กันยายน 2556 หน้า 14-15

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท