หิมวัต หิมพาน หิมพานต์


เราคุ้นเคยชื่อนี้ ในฐานะดินแดนแห่งหนึ่งในตำนานทางพุทธศาสนา

ทางฮินดูก็รู้จักหิมพานต์เหมือนกัน

แต่คนรุ่นใหม่อาจรู้จักชื่อนี้จาก มะม่วงหิมพานต์....



เชิงผาหิมพานต์ หรือหิมาลัย ด้านหลังเป็นยอดเอเวอเรสต์ (ภาพจาก WikiCommons)


ภาษาสันสกฤตเรียกว่า หิมวัต ศัพท์รูปเดิม เป็น หิมวัต (himavat) และ หิมวันต์ (himavant)

รูปประธานเอกพจน์ เป็น หิมวาน (แบบเดียวกับ หนุมาน รูปเดิมคือ หนุมัต)

บาลีว่า หิมวนฺตุ รูปประธานเอกพจน์ คือ หินวนฺโต

  • หิม หมายถึง หิมะ น้ำแข็ง
  • วัต เป็นคำเติม แปลว่ามี
  • หิมวัต แปลว่า มีน้ำแข็ง หรือดินแดนที่มีน้ำแข็ง

หิมวัต กับ หิมาลัย ความหมายจึงเหมือนๆ กัน

ในคัมภีร์เทวีภาควตปุราณะ (ปุราณะย่อย) กล่าวถึงเทพเจ้าแห่งขุนเขาหิมาลัย โดยมากออกนาม หิมาลยะ (หิมาลัย)

มีครั้งหนึ่งที่เรียก หิมวัต (ปรากฏในรูปกรรมของประโยค คือ หิมวันตัม)

  • “อาชคาม มหาไศลํ หิมวนฺตํ นคาธิปมฺ ฯ" (อาชคาม รูปอดีตกาลสมบูีรณ์ของ √คมฺ+อา)
  • (เขา)กลับมาแล้ว สู่มหาคีรีนามว่าหิมวัตผู้เป็นเจ้าแห่งขุนเขา

ในภาษาไทยมีใช้สองคำ คือ หิมพานต์ และ หิมพาน

ชัดเจนว่า หิมพาน นั้นเป็นการถ่ายมาจากรูป หิมวานฺ ในภาษาสันสกฤต

ส่วน หิมพานต์ คงเทียบ หิมวนฺต ที่ใช้บางรูปในภาษาบาลี สันสกฤต  หรืิอไม่ก็นำศัพท์ หิมวานฺ มาใช้แล้วไปเทียบกับคำอื่นๆ ที่ลงท้าย -นต์ ซึ่งมีอยู่มาก

แต่ดูเหมือนคนไทยนิยมใช้ หิมพานต์ มากกว่า หิมพาน.


หมายเลขบันทึก: 521218เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2013 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2013 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบๆๆๆๆค่ะ. อีกนะคะติดตามอ่านเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท