อย่าลดราคารับจำนำข้าวจากชาวนา


มีข่าวแว่วๆว่าทางกระทรวงพาณิชย์นำโดยนางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์นำเสนอนโยบายขอลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าปี 55/56 รอบสอง หรือโครงการรับจำนำปี 2556 ที่จะเริ่มในเดือนเมษายน - พฤษภาคมนี้ จากตันละ 15,000 บาทให้ลงมาเป็น 14,000 บาท, 13,000 บาทตามลำดับ โดยท่านปลัดให้ความเห็นว่าชาวไร่ชาวนาน่าจะร่ำรวยหมดนี้หมดสินไปแล้วในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาจากราคาข้าวเปลือกที่รัฐบาลรับประกันราคาให้สูงกว่าราคาจริงจากท้องตลาด โดยความเห็นดังกล่าวได้แจ้งว่าไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณที่จะรับซื้อ เพราะงบประมาณในปี 2556 ได้ถูกอนุมัติเตรียมพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามต้องการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง


 ท่านปลัดวัชรี วิมุกตายนคงจะไม่ทราบหรือขาดข้อมูลเชิงลึกว่าภายในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานั้น ราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาทนั้นชาวไร่ชาวนารับเงินจริงๆ แล้วไม่ถึง เพราะเงื่อนไขราคาที่ใช้ในการปฏิบัติหรือรับจำนำนั้นไม่ได้สอดคล้องตรงจริตหรือวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวไร่ชาวนาในบ้านเราที่มักจะเกี่ยวข้าวแล้วเทใส่ขึ้นรถบรรทุกตรงไปยังโรงสีเลยทันที และจะถูกตัดราคาจากปัญหาความชื้นสูงที่มากกว่า 25% ทำให้ราคาลดต่ำลงมาเหลือเพียง 10,000 - 12,000 บาทต่อตัน (จะหาพื้นที่ทำเป็นลานซีเมนต์คอนกรีตก็ไม่มีพื้นที่ไม่มีกำลังในการก่อสร้างลงทุน เพียงแค่พื้นที่เพาะปลูกก็หาเลือดตาแทบกระเด็นแล้ว)  แถมเงื่อนไขการรับเงินต้องรอเวลา ไม่สามารถรับเงินได้ทันที ในระหว่างที่รอก็ต้องกู้หนี้ยืมสินใช้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยแพงมาใช้แก้ขัดซื้อปุ๋ยยาเมล็ดพันธ์ุสำรองไปพลางก่อน
 รายได้และผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงไม่ได้ตกไปยังตัวเกษตรกรชาวไร่ชาวนาโดยตรง แต่จะไปตกแก่ผู้มีอำนาจวาสนาบารมีที่มีพื้นที่ตาก มีอำนาจต่อรอง มีพรรคพวก ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน มีปัญญารับซื้อข้าวได้ทีเป็นหมื่นเป็นแสนตัน พวกนี้จะได้กำไรส่วนต่างตรงที่สามารถตาก อบ สต๊อคเมล็ดข้าวเปลือกที่รับซื้อจากชาวนาอีกทอดหนึ่งประมาณ 1,000 - 5,000 บาท เพราะเงื่อนไขราคาที่รับซื้อจากชาวไร่ชาวนานั้นไม่ตรงกับวิถีชีวิตที่เป็นจริงของชาวนา (เก็บเกี่ยวแล้วขายทันที). ไม่มียุ้งฉางให้เก็บให้ตาก 


 ความจริงถ้ารัฐบาลคิดจะช่วยเหลือชาวนาให้ตลอดรอดฝั่งจริงๆ น่าจะตั้งราคาที่เกี่ยวสดแล้วขายให้โรงสีไปเลยว่าจะให้เท่าไร แล้วกระบวนการต่อจากนี้ให้เป็นหน้าที่ของภาคธุริจหรือโรงสีทำหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงไป ส่วนเรื่องการผลิตให้เป็นหน้าที่ของเกษตรกรชาวไร่ชาวนาในการพัฒนา เพราะขั้นตอนการชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบความชื้นว่าจะมีกี่เปอร์เซ็นนั้นจะว่าแต่ชาวนาชาวไร่เลยครับ แม้แต่ป.ตรี ป.เอกบางคนนำข้าวไปขาย ทางโรงสีแจ้งว่าได้เท่าไรก็เท่านั้นครับ มาตรฐานอยู่ที่ปากของทางฝ่ายโรงสี และแต่ละโรงสีก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน นี่ยังไม่นับรวมเรื่องข้าวของสินค้าปุ๋ยยาที่ขึ้นราคาตามมาอีกนะครับ แล้วจะว่าชาวนาชาวไร่ได้กำไรไม่มีหนี้มีสิน หมดความอยากได้อยากมีไปแล้วได้อย่างไร?
 มนตรี บุญจรัสชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 521012เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  • กระจกนี้ สะท้อนภาพในระดับพื้นที่ได้ชัดเจน..ดีน๊ะ

เรียนอาจารย์ วันที่16 มีนาคมนี้ ทางภาคใต้เชิญผมเข้าร่วมเวทีเรื่องข้าที่อยุธยา 

แต่ยังไม่มีข้อมูลการประชุม 

คาดหวังว่าจะเข้าร่วมเวทีด้วย เพราะพัทลุง เรื่องข้าววเป็นนโยบายจังหวัด

ราคานี้เหมาะสมแล้วหรือยัง พออยู่ได้ไหม ชาวนาลดทุนได้อีกไหมอย่างไรโปรดให้คำแนะนำด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท