คำจีนในภาษาไทย


คำภาษาจีนในภาษาไทย (๑)

คำภาษาจีนในภาษาไทย (๑)

  ภาษาไทยมีคำยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษาชวา  ภาษาบาลี  ภาษาละติน  ภาษาสันสกฤต  ภาษาอังกฤษ 
  การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น  มักยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วและภาษาจีนฮกเกี้ยนมากกว่าภาษาจีนสาขาอื่นเนื่อง จากชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อน ชาวจีนกลุ่มอื่น คำภาษาจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาไทยมีคำที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวรรณคดี  ความเชื่อ  ศาสนา  ประเพณี  ฯลฯ  คำภาษาจีนที่รวบรวมมานี้มีปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งคัดเลือกมาเฉพาะคำที่อ้างอิงถึงภาษาจีน โดยอาจแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
  ๑. กลุ่มที่มี (จ.) กำกับ บอกที่มาของคำ เช่น กวยจี๊ ยี่ห้อ
  ๒. กลุ่มที่มีข้อความอ้างอิงว่ามาจากจีน เช่น ขงจื๊อ ฮกเกี้ยน
  อนึ่ง  ยังคงมีคำที่ผู้รวบรวมเห็นว่าไม่ใช่คำยืมภาษาจีน แต่อ้างอิงถึงคำภาษาจีนที่มีความหมายคล้ายกัน ได้แก่
  ๑. คำว่า เต่า ๒ อ้างอิงถึงคำ เอี๊ยม
  ๒. คำว่า ไน ๒ อ้างอิงถึงคำ หลีโก และ หลีฮื้อ

๑. กลุ่มที่มี (จ.) กำกับ  (คำที่ปรากฏมีเฉพาะ อักษร ก ง จ ฉ ซ ต ถ ท บ ป ผ ม ย ล ส ห อ และ ฮ)

ก๊ก  น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็น เหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
ก๊ง  (ปาก) ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า.  น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. (จ.).
กงไฉ่  น. ผักกาดเค็มชนิดหนึ่งของจีน. (จ. ก้งไฉ่ ว่า ผักดองเค็ม).
กงเต๊ก  น. การทําบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
กงสี  น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
กวยจั๊บ  น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งที่ใช้ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ต้มสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
กวยจี๊  น. เมล็ดแตงโมต้มแล้วตากให้แห้ง ใช้ขบเคี้ยว. (จ.).
ก๋วยเตี๋ยว  น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้น ๆ ถ้าลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.)
กอเอี๊ยะ  น. ขี้ผึ้งปิดแผลชนิดหนึ่งแบบจีน. (จ.).
กังฉิน  ว. คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (จ. กังฉิน ว่า อำมาตย์ทุจริต, อำมาตย์ทรยศ).
กุ๊ย  น. คนเลว, คนโซ. (จ. กุ๊ย ว่า ผี).
กุยช่าย  น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum  Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
กุยเฮง  น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. (จ.).
เก๊  ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่าไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).
เก๊ก  (ปาก) ก. วางท่า; ขับไล่. (จ.).
เกาเหลา  [–เหฺลา] น. แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด. (จ.).
เกาเหลียง ๑  [–เหฺลียง] น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
เกาเหลียง ๒  [–เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
เก้าอี้  น. ที่สําหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด, ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่า เก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. (จ.).
เกี้ยมไฉ่  น. ผักดองเค็มชนิดหนึ่ง. (จ.).
เกี้ยมอี๋  น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. (จ. ว่า เจียมอี๊).
เกี้ยว ๒  น. คานหามของจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
เกี๊ยว  น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลีตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).
เกี๊ยะ  น. เกือกไม้แบบจีน. (จ.).

ง่วน  ว. เพลินทําเพลินเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (จ. หง่วน).

จันอับ  น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด.
จับกัง  น. กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน, ใช้เรียกผู้รับจ้างทำงานต่าง ๆ. (จ.).
จับกิ้ม  น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
จับเจี๋ยว  น. หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยและที่จับสําหรับต้มนํ้า. (จ.). (รูปภาพ จับเจี๋ยว)
จับฉ่าย  น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง. (ปาก) ของต่าง ๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด. (จ.).
จับยี่กี  น. การเล่นพนันของจีนชนิดหนึ่ง มีไพ่ทําด้วยไม้แผ่นบาง ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๑๒ แผ่น. (จ.).
จ้าง ๑  น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้างให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
จีนเต็ง  น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทําการร่วมกันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). (จ.).
จีนแส  น. หมอ, ครู, ซินแส ก็ว่า. (จ. ซินแซ).
เจ  น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
เจ่ง ๒, เจ้ง  น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด คล้ายจะเข้. (จ. ว่า เจ็ง).
เจ๊ง  (ปาก) ก. เลิกล้มกิจการเพราะหมดทุน; สิ้นสุด. (จ.).
เจี๋ยน  น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า ปลาเจี๋ยน. (จ. เจี๋ยน ว่า เคลือบนํ้าตาล, เชื่อมนํ้าตาล).
แจ  น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, เจ ก็ว่า. (จ.).
โจ๊ก  น. ข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ. (จ.).

เฉาก๊วย  น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง สีดํา ทําจากเมือกที่ได้จากการต้มเคี่ยวพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใส่แป้งลงไปผสม กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น กินกับนํ้าหวานหรือใส่นํ้าตาลทรายแดง. (จ.).
แฉโพย  ก. เปิดเผยข้อที่ปิดบังหรือความลับ. (จ.).
ซวย  (ปาก) ว. เคราะห์ร้าย, อับโชค. (จ.).
ซาลาเปา  น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม. (จ.).
ซินแส  น. หมอ, ครู, จีนแส ก็ว่า. (จ.).
ซีอิ๊ว, ซี่อิ้ว  น. เครื่องปรุงรสอย่างน้ำปลา ทำด้วยถั่วเหลือง, น้ำปลาถั่วเหลือง ก็เรียก, อย่างใสเรียกว่า ซีอิ๊วขาว, อย่างข้นเรียกว่า ซีอิ๊วดำ, ถ้าใส่น้ำตาลทรายแดง เรียกว่า ซีอิ๊วหวาน. (จ.).
ซึ้ง ๑  น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒-๓ ชั้น
ชั้น ล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).
เซ้ง  (ปาก) ก. โอนสิทธิหรือกิจการไปให้อีกคนหนึ่งโดยได้ค่าตอบแทน, รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน เรียกว่า รับเซ้ง. (จ.).
เซียน  น. ผู้สำเร็จ, ผู้วิเศษ; โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนการพนัน. (จ.).
เซียมซี  น. ใบทํานายโชคชะตาตามศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับเลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้. (จ.).
แซ่ ๒  น. ชื่อสกุลวงศ์ของจีน. (จ.).
แซยิด  น. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน, เรียกการทําบุญในวันเช่นนั้นว่า ทําบุญแซยิด. (จ.).

ต๋ง ๑  ก. ชักเอาเงินไว้จากขาไพ่ที่เป็นผู้กินหรือลูกค้าที่แทงถูกในการพนันบางชนิด เช่นถั่ว โป, เรียกเงินที่ได้โดยวิธีนี้ว่า เงินค่าต๋ง. (จ. ต๋งจุ้ย).
ตงฉิน  ว. ซื่อตรง, ซื่อสัตย์. (จ. ตงฉิน ว่า อํามาตย์ซื่อสัตย์).
ตะหลิว  น. เครื่องมือทำด้วยเหล็ก ใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะ. (เทียบ จ. เตี้ยะ ว่า กระทะ + หลิว ว่า เครื่องแซะ, เครื่องตัก).
ตังฉ่าย  น. ผักดองแห้งแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ปรุงอาหาร. (จ.).
ตังโอ๋  น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Chrysanthemum coronarium  L. ในวงศ์ Compositae ใบเล็กหนา กลิ่น หอม กินได้ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ, งาไซ ก็เรียก. (จ.).
ตั๋ว  น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.).
ตั้วโผ  น. หัวหน้าคณะมหรสพ มีละคร งิ้ว เป็นต้น, โต้โผ ก็เรียก. (จ.).
ตั้วสิว  ก. ซ่อมแซม เช่น ต้องตั้วสิวสําเภาเอาเข้าอู่. (จ.).
ตั้วเหี่ย  น. ตําแหน่งหัวหน้าอั้งยี่, อั้งยี่. (จ.).
ตาเต็ง  น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคันที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้ม ถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ  จ. เต็ง).
ตุ๋น  ก. ทำให้สุกด้วยวิธีเอาของใส่ภาชนะวางในภาชนะที่มีน้ำแล้วเอาฝาครอบ ตั้งไฟให้น้ำเดือด เช่น  ตุ๋นไข่ ตุ๋นข้าว, เคี่ยวให้เปื่อย เช่น ตุ๋นเนื้อ ตุ๋นเป็ด.  น. เรียกสิ่งที่ทำให้สุกโดยวิธีดังกล่าว เช่น ไข่ ตุ๋น เนื้อตุ๋น เป็ดตุ๋น; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลอกลวงเอาไปแทนหมดตัว, ผู้ถูกหลอกลวงเอาไปแทบหมดตัว เรียกว่า ผู้ถูกตุ๋น. (จ.).
ตุ๊ย  ก. เอาหมัดกระแทกเอา. (จ.).
ตู๊  ก. ประทัง, พอถูไถ, ชดเชย, เช่น พอตู๊ ๆ กันไป. (จ.).
เต็ง ๒  น. ตาเต็ง. (จ.).
เต๋า ๒  น. ชื่อศาสนาสําคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อ เล่าจื๊อ หรือ เหลาจื่อ, เต้า ก็ว่า. (จ.).
เต้าเจี้ยว  น. ถั่วเหลืองที่หมักเกลือสําหรับปรุงอาหาร. (จ.).
เต้าทึง  น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง มีถั่วแดงกับลูกเดือยต้มแป้งกรอบ ลูกพลับแห้ง เป็นต้น ใส่น้ำตาล ต้มร้อน ๆ. (จ.).
เต้าส่วน  น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งเปียกกวนกับถั่วเขียวที่เอาเปลือกออกแล้วราดนํ้า กะทิ. (จ.).
เต้าหู้  น. ถั่วเหลืองที่โม่เป็นแป้งแล้วทําเป็นแผ่น ๆ ใช้เป็นอาหาร มี ๒ ชนิด คือ เต้าหู้ขาว และเต้าหู้ เหลือง. (จ.).
เต้าหู้ยี้  น. อาหารเค็มของจีน ทําด้วยเต้าหู้ขาวหมัก. (จ.).
เต้าฮวย  น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าถั่วเหลืองที่มีลักษณะแข็งตัว ปรุงด้วยนํ้าขิงต้มกับนํ้า ตาล. (จ.).
โต้โผ  น. ตั้วโผ. (จ.).
ไต๋  (ปาก) น. กลเม็ด, ทีเด็ด, ความลับ, เจตนาแท้จริงซึ่งซ่อนเร้นไว้; ไพ่ตัวสําคัญซึ่งปิดไว้ไม่ให้คู่แข่ง รู้. (จ.).
ไต้ก๋ง  น. นายท้ายเรือสําเภาหรือเรือจับปลา. (จ.).
ไต้ฝุ่น  น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของ มหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ  ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).

ถะ  น. พระเจดีย์แบบจีน. (จ.)
ถัว  ก. ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เฉลี่ย. (จ.).
เถ้าแก่  น. ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในการสู่ขอและการ หมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).

แท่  น. เนื้อแมงกะพรุนหมักเกลือ ทําเป็นแผ่น ใช้เป็นอาหาร. (จ.).

บ๊วย ๒  (ปาก) ว. ที่สุดท้าย, ล้าหลังที่สุด. (จ.).
บ๊ะจ่าง  น. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมู พะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).
บะหมี่  น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่อง มีหมูเป็นต้น. (จ.).

ปุ้งกี๋  น. เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สําหรับใช้โกยดินเป็นต้น, บุ้งกี๋ ก็ว่า. (จ.).
เปาะเปี๊ยะ  น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่น เปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุง รสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้  กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วย วุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง  ๆ เช่น ใบ โหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
เปีย ๑  น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียก ลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กันว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย; พวงมาลัยที่มีอุบะห้อยลงมาเหมือน ผมเปีย. (จ.).
เปีย ๒  น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งเป็นชั้น ๆ มีไส้ใน, ขนมเปียะ หรือ ขนมเปี๊ยะ ก็ว่า. (จ.).
แป๊ะซะ  น. ชื่ออาหารใช้ปลานึ่งจิ้มนํ้าส้มกินกับผัก. (จ.).
โป๊  ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทําสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่อง เป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชํารุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). (ปาก)  ว. เปลือยหรือค่อนข้างเปลือย เช่น รูปโป๊, มีเจตนาเปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่ควรปกปิด เช่น  แต่งตัวโป๊.
โปเก  (ปาก) ว. เก่าแก่จนใช้การไม่ได้ดี. (จ.).

โผ  (ปาก) น. บัญชีรายชื่อบุคคลที่เตรียมไว้ล่วงหน้า. (จ. โผว ว่า บัญชี).

มี่สั้ว  น. เส้นหมี่ขนาดเล็ก ๆ ทำด้วยแป้งสาลี ตากแห้งเก็บไว้ได้นาน. (จ.).

ยี่ห้อ  น. เครื่องหมายสำหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกัน ได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอกยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่า ทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).

ล้าต้า  น. คนถือบัญชีเรือสําเภา. (จ.).
ลิ้นจี่  น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litchi chinensis  Sonn. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม สีแดง รสเปรี้ยว ๆ  หวาน ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น กะเทยนางหมั่น โอเฮียะ กิมเจ็ง, สีละมัน ก็เรียก. (จ. ลีจี).  ว. สีแดง เข้มคล้ายเปลือกลิ้นจี่ เรียกว่า สีลิ้นจี่. (จ. อินจี).
ลื้อ ๒  (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองเป็นกัน เอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).
โลโต  น. อูฐ. (จ.).

สาลี่ ๑  น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pyrus pyriflora  L. ในวงศ์ Rosaceae ผลเนื้อกรอบ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม. (จ.).
โสหุ้ย  น. ค่าใช้จ่าย. (จ.).

หลงจู๊  น. ผู้จัดการ. (จ.).
หลี  [หฺลี] น. ชื่อมาตราจีน คือ ๑๐ หลี เป็น ๑ หุน.
หลีโก  ดู ไน ๒. (จ.).
หลีฮื้อ  ดู ไน ๒. (จ.).
หอง ๒  ก. ส่งให้สูงขึ้น, แต่งให้สูงขึ้น. (จ.).
ห้าง ๒  น. สถานที่จำหน่ายสินค้า, สถานที่ประกอบธุรกิจ. (จ.).
หุน  น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของ นิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. (จ.).
หุ้น  น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่า หุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วย ลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกันเป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจำกัด. (อ. share).
เหลา ๓  [เหฺลา] น. ภัตตาคาร. (จ.).
เหลียน  [เหฺลียน] น. ชื่อมีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคน มีดทำเป็นบ้อง หรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, อี เหลียน  ก็เรียก. (จ.).
ไหน ๓  น. ชื่อผลไม้คล้ายพุทรา. (จ.). (พจน. ๒๔๙๓).

อ๋อง  น. เจ้านายชั้นสูงของจีน.  (ปาก) ว. เยี่ยมยอด เช่น มือชั้นอ๋อง. (จ.).
อั้งยี่  น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธี ดําเนินการและมีความ มุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่.  (จ.).
อั้งโล่  น. เตาไฟดินเผาชนิดหนึ่งของจีน ยกไปได้. (จ.).
เอี๊ยม  น. แผ่นผ้าสําหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เต่า ก็ว่า. (ดู เต่า ๒). (จ.).
เอี้ยมจุ๊น  น. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สําหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. (จ.).

ฮวงซุ้ย  น. ที่ฝังศพของชาวจีน, ฮวงจุ้ย ก็ว่า. (จ.).
ฮวน  น. คําที่จีนใช้เรียกคนต่างชาติ. (จ.).
ฮ้อ  (ปาก) ว. ดี. (จ.).
ฮ่อยจ๊อ  น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อปู มันหมูแข็งต้มสุก ผสมกับแป้งมันและเครื่องปรุงรส บดหรือโขลกจนเหนียวแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้เป็นท่อน กลม ๆ ยาว ๆ มัดเป็นเปลาะ ๆ นึ่งแล้วทอดให้สุก กินกับน้ำจิ้ม. (จ.).
ฮั้ว  (ปาก) ก. รวมหัวกัน, ร่วมกันกระทำการ, สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม. (จ.).
ฮื่อฉี่  น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้หูปลาฉลามตุ๋น. (จ. ฮื่อฉี่ ว่า ครีบปลา).
ฮื่อแซ  น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ยำปลาดิบ ๆ ด้วยน้ำส้มและผัก. (จ. ฮื่อแซ ว่า ปลาดิบ).
เฮง  (ปาก) ว. โชคดี, เคราะห์ดี. (จ. เฮง ว่า โชคดี).
เฮงซวย  (ปาก) ว. เอาแน่นอนอะไรไม่ได้, คุณภาพต่ำ, ไม่ดี, เช่น คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่อง เฮงซวย. (จ. เฮง ว่า โชคดี, ซวย ว่า เคราะห์ร้าย, เฮงซวย ว่า ไม่แน่นอน).
เฮี้ยน  (ปาก) ว. มีกําลังแรงหรือมีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้. (จ.).

๒. กลุ่มที่มีข้อความอ้างอิงว่ามาจากจีน  (คำที่ปรากฏมีเฉพาะอักษร ก ข ค จ ฉ ช ซ ต ถ ป ม ล ห อ และ ฮ)

กวางตุ้ง ๑  [กฺวาง–] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง.
กวางตุ้ง ๒  [กฺวาง–] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด ๑).
กังฟู  น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่งของจีน เน้นหนักไปในทางฝึกสมาธิและความแข็งแกร่งว่องไวของร่างกาย.
กังไส  น. เครื่องถ้วยปั้นที่ทํามาจากแคว้นเกียงสีในประเทศจีน.
กาน้า  น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album  (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกําเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก.
เกาลัดจีน  น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Castanea mollissima  Blume ในวงศ์ Fagaceae ขอบใบจักแหลม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็ง สีนํ้าตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้.

ขงจื๊อ  น. ชื่อศาสนาสําคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อขงจื๊อ.
ขิม  น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง รูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีก ใช้ตี.

แคะ ๑  น. ชาวจีนพวกหนึ่งในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน เรียกว่า จีนแคะ, เรียกภาษาของชาวจีนพวกนี้ว่า ภาษาแคะ.

จินเจา  น. ชื่อแพรจีนชนิดหนึ่ง มีดอกดวงโต.
จีนฮ่อ  น. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑลยูนนานเป็นต้น, ฮ่อ ก็เรียก.
เจ๊ก  (ปาก) น. คำเรียกคนจีน.

เฉาฮื้อ  น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus  ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สำคัญคือ ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลำตัวสีเงิน อาศัยหากินพืชน้ำอยู่ใกล้ผิวน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.

ชิงฮื้อ  น. ชื่อปลาน้ำจืด ไม่มีหนวด ชนิด Mylopharyngodon aethiops  ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ที่สำคัญคือ ทั่วลำตัวและครีบสีออกดำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.

ซ่งฮื้อ  น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Aristichthys nobilis  ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลําตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม ที่สําคัญคือ มีหัวโตและกว้าง เกล็ดเล็กเรียบ หากินอยู่ตามพื้นท้องนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.

แต้จิ๋ว  น. จีนชาวเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน, เรียกภาษาของจีนชาวนี้ว่า ภาษาแต้จิ๋ว.
ไต้หวัน  น. ชื่อเกาะในทะเลจีนใต้ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลฮกเกี้ยน.

เถ้าแก่เนี้ย  น. เรียกหญิงจีนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นภรรยาของเถ้าแก่.

ปาท่องโก๋  น. ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากับนํ้าตาลทราย รูปสี่เหลี่ยม เนื้อคล้ายขนมถ้วยฟู; ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจับเป็นคู่ติดกัน ทอดนํ้ามันให้พอง, คนจีนเรียกว่า อิ้วจาก๊วย.
ปี้ ๑  (โบ) น. กระเบื้องถ้วยหรือทองเหลืองหรือแก้วทําเป็นเครื่องหมายสําหรับใช้แทนเงินใน บ่อนเบี้ย; ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้งก่อนเป็นสําคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการ แล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ความดี ความชอบ.
แป๊ะ  (ปาก) น. ชายจีนแก่; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
โป  น. เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.

ม้าล่อ  น. แผ่นโลหะสัมฤทธิ์ รูปคล้ายถาด ตีให้มีเสียงดัง เป็นของจีนใช้.

ลิ่นฮื้อ  น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Labeo jordani  ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกันในชื่อ Cirrhinus molitorella  ตัว ยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ต่ำที่ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.
ลี้ ๒  น. มาตราวัดระยะของจีน ๑ ลี้ ยาวประมาณครึ่งกิโลเมตร.
โลโล, โลโล้  น. ชนชาวเขาพวกหนึ่งอยู่ทางแถบใต้ของประเทศจีน.

หลิน  [หฺลิน] น. ชื่อแพรจีน มีหลายชนิด.
หลี  [หฺลี] น. ชื่อมาตราจีน คือ ๑๐ หลี เป็น ๑ หุน.
หอง ๑  น. ชื่อแกงอย่างจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูเป็นต้นต้มกับดอกไม้จีนหรือหน่อไม้แห้งและถั่วลิสง.
หุ้ยหุย ๒  น. พวกจีนฮ่อที่นับถือศาสนาอิสลาม.
เหลา ๓  [เหฺลา] น. ภัตตาคาร. (จ.).
ไหหลำ  น. ชื่อเกาะอยู่ในทะเลจีนนอกฝั่งมณฑลกวางตุ้ง, ชนชาติจีนสาขาหนึ่งอยู่ที่เกาะชื่อนี้.

อี๋ ๑  น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มน้ำตาล.

ฮกเกี้ยน  น. ชาวจีนในมณฑลฮกเกี้ยนของประเทศจีน, ชาวจีนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน.
ฮ่อ  น. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑลยูนนานเป็นต้น, จีนฮ่อ ก็เรียก; ลายเส้นที่เขียนเป็นไพรคิ้ว ไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบด้วยเส้นสีแดง ดินแดง และสีทอง เรียกว่า ลายฮ่อ หรือ เส้นฮ่อ; ลายที่เขียนเป็นอย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ เรียกว่า ลายฮ่อ.
แฮ่กึ๊น  น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อกุ้งผสมแป้งมันและเครื่องปรุงรส บดหรือโขลกจนเหนียวแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้เป็นท่อนกลม ๆ ยาว ๆ นึ่งแล้วทอดให้สุกกินกับน้ำจิ้ม.

คำที่ไม่ใช่คำยืมภาษาจีน แต่อ้างอิงถึงคำภาษาจีนที่มีความหมายคล้ายกัน

เต่า ๒  น. แผ่นผ้าสำหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เอี๊ยม ก็ว่า

ไน ๒  น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio  ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลาอาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.


คำสำคัญ (Tags): #คำจีนในภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 520730เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
คนจีนเชื้อสายบริสุทธิ์กำลังสูญพันธ์ อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรไทยในอนาคต

คนจีนคือใคร คนจีนคือคนจากขั่วโลกเหนือเขตหิมที่มีพ่อแม่เป็นคนผิวขาวทั้งสองฝ่าย โดยปราศจากการผสมพันธุ์กับคนพื้นเมืองผิวดำ

แต่คนในไทยผิวดำทั้งหลาย ที่ยังดำอยู่ กลับคิดมั่วๆ ว่าตนเองเป็นมีเชื้อจีน ความจริงคุณต้องนับสายเลือดบรรพบุรุษพื้นเมืองผิวดำของคุณด้วย คุณก็จะพบว่าคุณไม่ใช่คนเชื้อจีนแต่อย่างใด


ขอโทษนะ คนที่รวยที่สุดในไทย เป็นคนจีนเชื้อสายบริสุทธิ์มีพ่อแม่เป็นจีนทั้งสองฝั่ง ไม่ใช่ลูกผสมกับคนพื้นเมืองผิวดำ แต่คนที่รวยถัดมาล้วนเป็นจีนปลอมจากการผสมพันธุ์กับคนดำในอีกรุ่นถัดมา จีนเชื้อสายบริสุทธิ์กำลังจะหมดจากไทย เพราะอย่างธานินทร์ที่มีพ่อแม่เป็นจีนแท้ๆ ดันไปแต่งงานกับคนพื่นเมืองที่มีเลือดคนดำผสม ลูกออกมาก็เป็นแค่จีนปลอม ตอนนี้ยังคงรวยอยู่เพราะมีพ่อเป็นคนขาวบริสุทธิ์จากตอนเหนือ คนดำเป็นแค่คนพื้นเมืองถูกปกครองโดยคนไทจากมองโกเลียพระนเศวรมาก่อน

เรามีน้องชายที่ิผิวขาวกว่าเรา แต่เรื่องจริงทางครอบครัวมีลูกผสมคนขาวคนดำมาก่อน แต่น้องชายกำลังคบหากับผู้หญิงจีนตัวจริงสายเลือดบริสุทธิ์ เราไม่อยากให้น้องชายแต่งงานกับผู้หญิงจีนสายเลือดบริสุทธิ์ในไทย เพราะน้องชายเราไม่ใช่คนจีนของแท้ เราอยากให้ผู้หญิงจีนสายเลือดบริสุทธิ์แต่งงานกับผู้ชายจีนแท้ๆ จากจีนมากกว่า เพื่อรักษาสาดเลือดบริสุทธิ์ของคนผิวขาวจากตอนเหนือ

คุณลองสังเกตุดูซิ คนผิวดำที่บอกว่าตัวเองมีเชื้อจีน เรื่องจริงรุ่นต่อๆ มาของคนผิวดำแบบนี้ไม่เคยแต่งงานกับคนจีนผิวขาวอีกเลย ความจริงแล้วคนผิวดำในปัจจุบันไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับคนจีนทางเหนืออีก อย่างผู้นำไทยหลายคนที่หลงผิด เคืออาจจะมีรุ่นหนึ่งที่ไกลจากคุณไปแต่งงานกับคนจีน แต่นั้นก็นานมาแล้ว ในขณะที่บรรพบุรุษรุ่นต่อมาของคุณไม่เคยแต่งงานกับคนจีนอีกเลย จริงๆ แล้วคุณก็แค่เป็นเลือดคนดำ 90% คนขาวจากจีนแค่ 1% ซึ่งเปอร์เซนต์คนขาวต่ำมาก ไม่สามารถนับได้ว่าเป็นคนจีนแต่อย่างใด เพราะคนจีนตัวจริงเป็นคนมีบรรพบุรุษขาวทั้งฝ่ายพ่อและแม่ตัวถึงออกมาสีขาว  และพบว่าคนพืนเมืองที่อ้างว่ามีเชื้อจีนแต่ผิวดำ ล้วนโง่ ทำมาหากินไม่ได้  แม่เราก็ผิวคล้ำทั้งๆ ที่คนรุ่นพ่อของแก่เป็นคนจีน แต่ความจริงจน อยากรวยแต่ติดหนี้เต็มเลย

คนจีนอพยพถือเป็นทรัพยากรสำคัญของไทย แต่กำลังจะสูญพันธุ์ไปเนื่องจากไปแต่งงานกับคนผิวขาวปลอมที่มีเลือดผสมคนดำ ซึ่งจะทำให้คนจีนเชื้อสายบริสุทธิ์ที่มบรรพบุรุษผิวขาวทั้งฝั่งพ่อฝั่งแม่กำลังลาจากประเทศไทยไปอย่างน่าเสียดาย

อยากให้คนจีนตัวจริงที่ไม่เคยมีการแต่งงานกับคนพื้นเมืองผิวดำกลับไปแต่งงานกับผู้ชายจีนในประเทศจีนเพื่อรักษาสายเลือดผิวขาวจากเขตหิมะไว้

คนผิวดำเรื่องจริงก็แค่คนพื้นเมืองผิวดำในเขตร้อนที่อยู่ตรงนี้มาเป็นล้านๆ ปี แต่ถูกปกครองโดยคนผิวขาวจากเขตหิมะอย่างคนไต/ไทผิวขาวจากมองโกเลีย เช่น พระนาราย พระนเรศวรที่มีสีผิวขาวและหน้าตาจริงต่างจากคนอย่างเรา สาเหตุที่คนในไทยใช้ภาษาไทกระไดเพราะถูกปกครองโดยคนไทผิวขาวจากมองโกเลีย หลังจากคนไทผิวขาวจากมองโกเลียรบชนะกษตริย์มอญ เขมรและพม่า คนในไทยไม่ใช่คนไท/ไตโดยสายเลือดแต่มีชื่อเรียกตามคนผิวขาวจากมองโกเลีย พระนารายและพระนเรศวรเป็นมนุษย์ผิวขาวซึ่งเป็นคนละพันธุ์กับมนุษญ์พืนเมืองผิวดำ

คนจีนเชื้อสายบริสุทธิ์กำลังสูญพันธ์ อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรไทยในอนาคต


จีนปลอมนะเยอะขึ้น จีนปลอมคือคนพื้นเมืองผิวดำ ที่มีรุ่นหนึ่งไปแต่งงานกับคนจีน แต่รุ่นต่อมาไม่เคยมีการแต่งงานกับคนจีนอีกเลย คือเป็นเลือดคนดำถึง 99% และเลือดคนขาวแค่ 1% ซึ่งไม่สามารถนับเป็นคนจีนอย่างที่เพ้อฝันได้ และจีนปลอมจำนวนมากนี่โง่ ไร้ปัญญา ติดหนี้ติดสิ้นเพราะเรื่องจริงเกิดมาดำไม่ใช่ขาวแต่อย่างใด อย่างผู้นำหน้าโง่หลายคนก็เป็นจีนปลอมโดยบรรพบุรุษที่ใกล้ตัวสุดไม่มีใครแต่งงานกับคนจีนผิวขาวเลย เช่น จำลอง ปรีดี พนมยงศ์ที่ประกาศให้คนไทยเรียนภาษาฝรั่งเศสทั้งประเทศทั่งๆ ที่ไทยรบชนะฝรั่งเศสในสมัยสงครามไทย-ฝรั่งครั้งที่สอง เรื่องจริงปรีดี พนมยงศ์ไม่มีบรรพบุรุษรุ่นพ่อรุ่นที่ใกล้ตัวสุดเป็นคนจีนเลย และเป็นคนผิวคล้ำ หน้าตาไม่ใช่คนจีน แต่แค่ไปพบว่ารุ่นก่อนหน้านี้หลายช่วงมีคนจีนมาแต่งงานด้วย ซึ่งเป็นการนับสายเลือดที่ผิด คนพื้นเมืองผิวดำเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศในที่สุดก็ต้องขึ้นมาเป็นผู้นำได้ แต่ผู้นำไทยมีลักษณะแปลก ๆ โง่ ประกาศให้คนในประเทศเรียนภาษาอังกฤษเหมือนภาษาพ่อภาษแม่เป็นทาสฝรั่งอย่่างไม่รู้ตัว

คนผิวดำเรื่องจริงก็แค่คนพื้นเมืองผิวดำในเขตร้อนที่อยู่ตรงนี้มาเป็นล้านๆ ปี แต่ถูกปกครองโดยคนผิวขาวจากเขตหิมะอย่างคนไต/ไทผิวขาวจากมองโกเลีย เช่น พระนาราย พระนเรศวรที่มีสีผิวขาวและหน้าตาจริงต่างจากคนอย่างเรา สาเหตุที่คนในไทยใช้ภาษาไทกระไดเพราะถูกปกครองโดยคนไทผิวขาวจากมองโกเลีย หลังจากคนไทผิวขาวจากมองโกเลียรบชนะกษตริย์มอญ เขมรและพม่า คนในไทยไม่ใช่คนไท/ไตโดยสายเลือดแต่มีชื่อเรียกตามคนผิวขาวจากมองโกเลีย พระนารายและพระนเรศวรเป็นมนุษย์ผิวขาวซึ่งเป็นคนละพันธุ์กับมนุษญ์พืนเมืองผิวดำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท