เถ้าแก่น้อยในวันเด็กคิด เด็กทำ เด็กนำเสนอ มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน


                           

          เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเด็กๆ ในชุมนุมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้ได้จัดแสดงผลงานที่ปรากฏตลอดระยะเวลา ๑ ปีการศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับกิจกรรมชุมนุมอื่นๆ
         การแสดงผลงานจะเน้นที่ผลงานที่ผ่านมา  หนังสือเกี่ยวกับพืชสมุนไพร  ปฏิทินตั้งโต๊ะที่ให้ความรู้เรื่องพืชสมุนไพร  ตลอดจนความเป็นมาของชุมนุมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้ที่มีมาแล้วถึง ๔ รุ่น แต่ละรุ่นจะมีจุดเด่น จุดเน้นต่างกันตามบริบทของเด็กๆ  
                                 
         ปีนี้เรามีสมาชิกชุมนุม ๒๕ คน เป็นผู้หญิง ๕ คนที่เหลือเป็นนักเรียนชายดังนั้นเราจะไม่มีกิจกรรมพับกุหลาบใบเตย  หรือทำภาพดอกไม้แห้ง  แต่จะเปลี่ยนมาเป็นทำอาหารและเครืืองดื่มมากขึ้น และในวันดังกล่าวครูนกสนับสนุนให้เด็กๆ ขายของที่เกี่ยวกับพืชสมุนไพร  แต่เด็กๆ จะต้องคิดเอง ลงทุนเอง และได้กำไรอย่างไรต้องจัดการดูแลหมดเลย  แต่ครูจะดูแลเรื่องสถานที่และทั่วไปให้  พบว่า  หลายคนจะทำยำสมุนไพรขาย  หลายคนจะขายน้ำสมุนไพร  และอีกคนจะขายต้นมะนาว
        สุดท้ายพบว่ามีแต่กลุ่มขายน้ำที่เตรียมประสานกับเจ้าของน้ำสมุนไพรที่จำหน่ายประจำด้านข้างโรงเรียน  เตรียมลังแช่แข็ง เหยือกใส่น้ำสมุนไพร  และน้ำแข็ง พร้อมกับแก้วพลาสติกพร้อมหลอดดูด
        แต่พบว่าจะมีปัญหามาให้เด็กๆ ได้แก้ไขเป็นระยะ เริ่มจาก คนส่งน้ำแข็งรับปากว่าจะมาส่ง แล้วไม่มาทำให้ต้องประสานกับพ่อของนักเรียนให้มาส่งให้
        สักระยะพบว่าน้ำสมุนไพรขายดีมากจนต้องสั่งมาเพิ่มเติมถึงสามรอบ  และเด็กผู้ชายจะไม่สนใจการจัดหน้าร้านเท่ากับเด็กผู้หญิงแต่การขายก็ดำเนินไปได้อย่างดี

                                      
        แต่สิ่งที่ครูนกชื่นชมคือ  เจ้าไวซึ่งเป็นหลักในการคิดการทำเตรียมวางแผนมาอย่างดีตั้งแต่  การเตรียมเงินทอน  การแบ่งกะเพื่อนๆ  การทำใบตรวจสต็อกสินค้าที่ส่งมอบงานในแต่ละกะ  ต้องบอกว่าเกินความคาดหมายของครู
        สุดท้ายเจ้าไวมาส่งข่าวครูนกว่า ผมขายได้สี่พันกว่าบาท  ครูนกได้คุยกับคุณพ่อของเจ้าไวตอนมารอรับลูกกลับบ้านว่าเจ้าตัวโม้ใหญ่เลยว่าขายน้ำได้เงินเยอะมากซึ่งทีมคิดทีมขายหลักจะมี ๔ คน
                           
        ท้ายสุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านเจ้าไวมาปรึกษากับครูนกว่าเขาจะแบ่งกำไรให้เพื่อนๆ ทุกคนในชุมนุม  ครูนกก็บอกว่า  ครูขอยืนยันแนวคิดเดิมว่าให้ลูกตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรเพราะเด็กๆ ได้วางแผน  ได้ลงมือทำด้วยตนเองมาตลอด
        เจ้าวัยได้ทำบัญชีรายได้และรายรับโดยสำเนาเอกสารแจกเพื่อนๆ ทั้งชุมนุมได้ดูกัน  และสรุปว่ามีกำไรสุทธิประมาณ พันกว่าบาท  ดังนั้นในการแบ่งให้เพื่อน  เจ้าวัยแบ่งเพื่อนๆ เป็น ๓ ระดับคือ ระดับคิดและทำเป็นหลักจะจ่ายกำไรให้คนละ ๑๐๐ บาท  ช่วยบางไม่ช่วยบาง ๕๐ บาท และช่วยเล็กน้อยคนละ ๑๗ บาท  ซึ่งเด็กๆ เขาจะมีการยกมือรับสถานะของตนเองว่า ใครจะรับในอัตราใด
        อยากบอกว่าเป็นภาพที่น่ารักมีการคิดวางแผน  แบ่งปัน  ไม่เอาเปรียบและใส่ใจกับเพื่อน ถือว่าเป็นการปิดชุมนุมได้สวยงามสอดคล้องกับสโลแกน  เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำเสนอ มุ่งสู่ประชาคมอาเซีนน  เพราะเด็กๆเริ่มคิดเป็นเถ้าแก่น้อยอย่างมีระบบ และมีคุณธรรม
        

หมายเลขบันทึก: 520691เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบการสอนแบบนี้ครับ  เด็กๆเก่งมากรู้จักวางแผนได้ดีนะครับพี่นก

...ดีจังเลย .... เด็กลงมือทำ...และนำเสนอ .... เป็นการสอนด้วยการลงมือทำ (Learning by doing)  นะคะ  .. ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ 

สวัสดีค่ะ น้องขจิต
              พี่นกก็ชอบแล้วเห็นแววตาเขามีความสุขมากๆ เลยคนบอกว่า เป็นครั้งแรกที่มีรายได้จากการเหนื่อยของตนเอง  เพราะเด็กๆ จะเหนื่อยมากในการวิ่งซื้อน้ำแข็ง  วิ่งไปเอาน้ำเพิ่มที่สำคัญได้เรียนการทำงานที่มีปัญหา  แต่แก้ไขได้ด้วยตัวพวกเขาเอง  นอกจากนี้เขาโตมากกว่าที่พี่นกประเมินเขาไว้นะค่ะ
  

        

ขอบคุณค่ะสำหรับกองเชียร์ของดร.PLE เห็นด้วยค่ะการลงมือทำจะทำให้เกิดความรู้ที่คงทน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท