ภาษาไทยมาจากไหน (ทฤษฎีใหม่)


ภาษาไทยมาจากไหน (ทฤษฎีใหม่)


ผมได้ตั้งทฤษฎีใหม่ไว้แล้วว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นขอม หนีตายจากการที่ทาสเขมรล้มบัลลังก์ที่นครวัด  จึงมาก่อตั้งเมืองอยุธยา

ดังนั้นจึงทรงตรัสเป็นภาษาขอม ซึ่งกลายมาเป็นราชาศัพท์ของไทยจนถึงวันนี้

แต่น่าสงสัยมากว่าแล้วภาษาไทยเล่าเข้ามาได้อย่างไร  เพราะอยุธยาคนขอมทั้งนั้น อีกทั้งรอบๆ ก็มอญ  เช่น ลพบุรี สุพรรณบุรีนั้นน่าจะเป็นมอญ ดังเช่นมีเจ้าเมืองชื่อขุนหลวงพะงั่ว ก็เป็นภาษามอญ แปลว่าดวงจันทร์  

ที่น่าสนใจยิ่งคือ ภาษาปักษ์ใต้วันนี้ กับภาษาไทยวันนี้แตกต่างกันน้อยมาก (ยกเว้นสำเนียง) ผิดกับภาษาล้านนา หรืออีสาน ที่มีคำศัพท์ต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบันพอควร 

ผมจึงขอตั้งทฤษฎีใหม่ทางเลือกอีกหนึ่งทฤษฎีว่า ภาษาไทยวันนี้มีต้นกำเนิดจากภาษาปักษ์ใต้  เหตุผลเป็นดังนี้...

มีตำนานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงมีพระราชินีเป็นคนใต้ (และอาจเป็นมุสลิม ดังที่ได้ทรงสร้างสุเหร่าไว้หลายแห่งในอยุธยาตอนต้น)  ซึ่งถ้าเป็นจริงแสดงว่าทรงติดตามกันมาตั้งแต่นครวัดเป็นแน่

ตำนานนี้ไปพ้องกับตำนานในรัฐกลันตัน (มาเลเซียวันนี้) ที่อ้างกันว่าพระศพของพระเจ้าอู่ทองยังฝังอยู่ที่นั่นจนวันนี้  (ถ้าจริงแสดงว่าพระราชินีคงจะนำพระศพพระเจ้าอู่ทองไปฝังที่นั่น) 

อีกทั้งคนสยามตั้งรกรากอยู่ที่นั่นมานานแล้ว แม้วันนี้ก็ยังมีคนสยามอยู่ที่กลันตันเกือบสองหมื่นคนนับถือทั้งพุทธและอิสลาม พูดภาษาสยามเหมือนคนปักษ์ใต้เรานี่แหละ

พงศาวดารล้านนา ก็มีการระบุว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นมุสลิมมาจากแหลมมาลายู  (ซึ่งอาจเป็นการเข้าใจผิด จริงๆ แล้วเป็นเพียงพระราชินีเป็นมุสลิมมาจากปักษ์ใต้)

จึงมีความเป็นไปได้ว่า  พระราชินีเป็นคนเชื้อสายสยาม พูดภาษาสยาม (แต่เป็นมุสลิม)  ไปจากปักษ์ใต้บางแห่ง  (ที่อาจไม่ใช่กลันตันก็เป็นได้)   และเอาญาติมิตรไปอยู่ที่อยุธยามาก จนต้องสร้างสุเหร่าให้ประกอบพิธีทางศาสนา ว่าไปแล้วแม้วันนี้ที่อยุธยาก็มีชาวมุสลิมอยู่มากอย่างน่าฉงน คงจะสืบเชื้อสายมาจากสมัยพระเจ้าอู่ทองนี่เองกระมัง

หรือเป็นไปได้ว่าพระราชินีเป็นชาวพุทธ แต่ญาติไปแต่งงานกับมุสลิม ก็เลยต้องกลายเป็นมุสลิมไปด้วย พอญาติย้ายตามมาอยู่ที่อยุธยาก็เลยต้องสร้างสุเหร่าให้

พอไปอยู่อยุธยา คนพูดภาษาสยามเหล่านี้ก็มีอิทธิพลด้านภาษา เพราะเป็นพระราชินีและเป็นญาติมิตรพระราชินี  อำมาตย์ขุนนางจะเข้าหาต่างก็ต้องเรียนรู้ภาษาสยามนี้ ประกอบกับเป็นภาษาที่ไพเราะเรียนรู้ง่าย ก็เลยมีอิทธิพลเหนือภาษามอญขอมในที่สุด 

อนึ่งพึงเข้าใจด้วยว่าภาษาขอมนั้นก็มีคำ “ไทย” ปนมาก และชาวเมืองพระนครก่อนแต่จะอพยพมาอยุธยานั้นก็มีคนสยามอยู่มากแต่เดิมทีแล้ว  (ดังที่บันทึกไว้โดยโจวตากวน)  ซึ่งผมได้เสนอว่าขอมก็คือสยามนั่นแหละ พวกเดียวกัน  แต่ภาษาพูดอาจมีหลายเผ่าต่างกันไป  ชื่อปราสาทในนครวัด นครธม นั้นภาษาสยามเสียเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำไป

แม้ภาษาสยามปักษ์ใต้จะครอบงำอยุธยาแล้ว แต่การเรียนภาษาขอมก็ยังเป็นภาษาบังคับในการเรียนมาตลอดสมัยอยุธยากระทั่งต้นรัตนโกสินทร์  เหมือนกับว่าเป็นภาษาที่สองแบบเราเรียนภาษาอังกฤษวันนี้

เพื่อนอาจารย์นักปราชญ์จากปักษ์ใต้ท่านหนึ่งก็อ้างตำนานว่า ในสมัยโน้นมีการส่งครูจากนครศรีธรรมราชเพื่อไปสอนหนังสือให้คนอยุธยา  ซึ่งมาพ้องกับทฤษทางเลือกที่ผมเสนอพอดีว่าภาษาไทยมาจากปักษ์ใต้  เพียงแต่พอมาถึงอยุธยาสำเนียงก็เพี้ยนไปแต่คำศัพท์เป็นคำเดิมทุกประการ

วันนี้ผมไปปักษ์ใต้แอบฟังเขาคุยกัน ผมฟังออกเกือบหมด น่าจะ ๙๕% แต่ฟังภาษาเหนือไม่ค่อยออก  ภาษาอีสานนั้นอาศัยฝึกมานานก็พอฟังออกทั้งที่ต่างจากภาษากลางมาก

เรื่องนี้น่าสนุกและค้นคว้าเป็นอย่างยิ่ง  เพราะยังพอมีตำนาน พงศาวดาร  และร่องรอยให้พอสืบเสาะได้

...คนถางทาง (๑๙ กพ. ๒๕๕๖)


หมายเลขบันทึก: 520034เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาณาจักร ลังกาสุกะ มีก่อนอาณาจักรศรีวิชัยฟังอาจารย์จากปัตตานีมาอีกทีหนึ่ง

Suwannabhumi has been a junction for many roads for many thousands years. This makes history very complex and interesting. The lack of written records and other evidence (or constraints) invites 'more theories' (or possibilities). I would love to go around and collect more constraining evidence ;-)

สยาม is a westernized word, they say, possibly from สยม (สะยัม / สะอัม / สิ เอม / เสียม) which seems to link to ซิเอม (in ภาษาใต้) and ชาน or ฉาน (in Myanmar - 'ending m' is pronounced as 'n' by Burmese) or อัสสัม (in India) and many other references to 'เซี้ยม' as an ethic of people (in Asia). This suggests many movements over many thousands years of history of this ethic group among many other ethnic groups. Words from many languages are used by people. It is not easy to establish 'pure' core language for Thai. But we can all do our little bits to help.

I wonder if ขอม  is a Pali word (in Theravadi/Buddhist periods)  for Sanskrit กศะยามะ (--> สยาม in Hindi/Brahman periods)? Maybe อาจารย์ ธ. วัชชัย can help here. (I have been looking for good pictures of stone tablets that have these 2 words on to compare the 'letters' -- in my spare time when I am not doing many other things ;-) So far I have no luck.

[If a linguistic connection can be established, then we would have a strong base for ขอม=เสียม(ไทย).]


ขอบคุณครับที่ช่วยสืบต้นตระกูลของภาษาไทย "ภาษาไทยวันนี้มีต้นกำเนิดจากภาษาปักษ์ใต้"

ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม...

สำหรับคุณ SR ก็น่าสนใจครับ ทำให้รู้แหล่งที่มาของคำซึ่งใกล้เคียงกัน


..ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารของกลุ่มชน..ปัจจุบันมีการติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย..ผู้คนใช้ภาษาใด จึงมิได้หมายความว่ามีชาติพันธุ์นั้น..แต่หมายความว่า ภาษานั้นมีความสำคัญ..ภาษาไทยปักษ์ใต้ ปัจจุบันส่วนใหญ่กลายพันธุ์เพราะใช้คำของภาคกลาง(พระนคร)เนื่องจากลัทธิอาสาเจ้านาย..ตามนิสัยของคนใต้..สันนิษฐานว่า คนใต้มีเจ้านายดี(มาจากพระนคร)เป็นส่วนใหญ่..ยกตัวอย่าง คำอุทานที่คนใต้ชอบใช้..คือ อัยยะ..(แปลว่า ครับเจ้านาย)..ซึ่งเดิมจะอุทาน คำเต็มว่า อัยยะลังก่ะ..คงเป็นเพราะก่อนนั้นมีเจ้านายมาจาก ลังกา..ทฤษฎีสันนิษฐานของท่านอาจารย์ข้อนี้จึงมีเปอเซ็นต์น้อย..เพราะ การศึกษาเรื่องชาติพันธุ์คงต้องใช้การสืบค้นหลักฐานทางพันธุกรรม..


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท