การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


ชื่อเรื่อง    ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์

                  และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                   ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน

                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย       นายนิธิพัฒน์  ศรีมรกต ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                โรงเรียนสกลทวาปี ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร

                 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

ปีที่พิมพ์  2554

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2)  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 3)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการคิดแก้ปัญหากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 4)  เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ

5)  เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STADกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสกลทวาปี ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน  26  คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD  จำนวน 7 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา สุขศึกษา จำนวน 40 ข้อ คุณภาพของเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.949 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.34 - 0.93 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.26 -0.74 2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา จำนวน 2 ตอน ตอนที่ 1 ข้อสอบแบบเลือกตอบจำนวน 28 ข้อ คุณภาพของเครื่องมือมี ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.25 – 0.63 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ตอนที่ 2 ข้อสอบแบบเขียนตอบ จำนวน 3 ข้อ คุณภาพของเครื่องมือมี ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.53– 0.72 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24 – 0.36 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 3) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 3 ด้าน จำนวน 20 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.923 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที (t – test Dependent Samples) และการทดสอบ The  Wilcoxon  Matched – Pairs  Signed – Rank  Test 

ผลการวิจัยพบว่า

  1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

  2.  คะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

  3.  ความสามารถในการคิดแก้ปัญหามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างสมบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4.  การจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และ

สามารถพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนมีความก้าวหน้าทุกคน และอยู่ในระดับดี (  = 4.06 )

  5.  พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยภาพรวมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STADหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

บทคัดย่อวิจัยสุขฯ56.pdf

หมายเลขบันทึก: 519967เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2014 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท