ข้อมูลเกี่ยวกับยาแก้ปวดที่ควรสนใจ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไม่พึงประสงค์


อ่านรายงานบทความเรื่องยาแก้ปวดนี้แล้ว รู้สึกว่าควรบอกต่ออย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะเราๆทั้งหลายเดี๋ยวนี้แทบจะซื้อกินกันเองเป็นหมดแล้ว ไม่ต้องรอแพทย์สั่ง  เพราะฤทธิ์ในการแก้ปวดของยากลุ่มนี้ค่อนข้างชะงัด ใครใช้ก็มักจะติดใจ หายปวดทันใจ แต่เพราะเขามีหลากหลายชนิดมาก หลักฐานเชิงประจักษ์จากข้อมูลการใช้มานานๆจะเป็นประโยชน์ในการเลือกว่าจะใช้ยาตัวไหนถึงจะปลอดภัย 

เป็นรายงานที่ทบทวนการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory drug (NSAID) เตือนมาว่า ยา diclofenac ซึ่งเป็นตัวที่ใช้กันมากนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ เขาสำรวจการใช้ ใน 15 ประเทศ คือ อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย บังคลาเทศ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย เวียตนาม พบว่า ยาไดโคลฟิแนคนี้มีการใช้กันมากประมาณเท่ากับยา ibuprofen, naproxen, และ mefenamic acid รวมกัน ทั้งๆที่มีหลักฐานจากข้อมูล meta-analysis ที่ชี้ให้เห็นว่า ยา NSAID ที่พบว่ามีโอกาสเสี่ยงต่ออาการโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจนมากคือ rofecoxib, etoricoxib, และ diclofenac โดยมี indometacin meloxicam เป็นกลุ่มเสี่ยงปานกลาง ส่วน naproxen มีโอกาสเสี่ยงน้อยสุด ในขณะที่  celecoxib และ ibuprofen จะพบว่ามีโอกาสเสี่ยงในการทดลองที่ใช้โดสสูงๆแต่ไม่เสี่ยงในระดับที่ใช้ปกติทั่วไป  

รายงานนี้เขาเสนอไว้ด้วยว่า ยาไดโคลฟิแนค ไม่ควรจะอยู่ในลิสต์ของ EML (Essential Medicines Lists) ด้วยซ้ำเพราะมียาอื่นที่อันตรายน้อยกว่าให้เลือกใช้อยู่แล้ว 

อ่านรายละเอียดได้จาก Use of non-steroidal anti-inflammatory drugs that elevate cardiovascular risk: An examination of sales and essential medicine lists in low-, middle-, and high-income countries. PLoS Med 2013; DOI:10.1371/journal.pmed.1001388.

เราในฐานะผู้บริโภค เมื่อมีข่าวสารแบบนี้ก็ควรจะใช้เพื่อประกอบการเลือกใช้ยาให้ปลอดภัยกับสุขภาพให้มากที่สุดนะคะ 


หมายเลขบันทึก: 519777เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

diclofenac เป็นยาอันตรายสำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง.. ถ้าความดันสูงเราจะไม่ฉีดให้ค่ะ หลังฉีดต้องสังเกตอาการต่ออีกครึ่งชม. และแพทย์ต้องเป็นคนสั่งฉีดเท่านั้น 

(ในรพช.นอกเวลาราชการ ผู้ตรวจรักษาจะเป็นพยาบาลค่ะ ถ้าเกินขีดความสามารถ จะรายงานแพทย์ที่อยู่เวรเป็นรายๆไป)

ขอบคุณพี่โอ๋มากนะคะ

ขอบคุณค่ะคุณโอ๋ สำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆ และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรศึกษา

พี่อรยังโชคดีค่ะ ที่ใช้ยาน้อยมากที่สุด ... เพราะรักจะทานผัก ผลไม้ ไข่ และนมอยู่ .. นานครั้งจึงจะป่วยบ้างเล็กน้อยค่ะ

  • ผมไม่ค่อยชอบใช้ยาเท่าไร หากไม่จำเป็นมากๆ เล็กๆน้อยๆทนได้ทน ให้ร่างกายจัดการเอง
  • ผมคิดว่า ยาทุกอย่างต้องมีผลกระทบต่อร่างกายทั้งบวกและลบ บางทีเราใช้ยาโดยไม่รู้ ก็เกินความพอดีไป
  • หลายคน ปวดนิดปวดหน่อยก็หายาแก้ปวดแล้วครับ
  • วิธีหนึ่งผมลืมบ่อยคือ "รู้อาการปวด" (ปวดอย่างไร ปวดถึงไหน มากหรือน้อย)
  • ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ

พักนี้ไม่ได้ติดต่อ..แต่ก็ยังคิดถึงท่านเสมอนะ

  • ขอขอบคุณ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ

ขอบคุณความรู้สุขภาพที่มีประโยชน์มากครับ รักและคิดถึงพี่โอ๋ พี่เล็ก และสามหนุ่มมากครับ

เรื่อง  ยาแก้ปวด  เป็นอันตรายมาก มีคุณก็ต้องมีโทษ  จะทำให้เสียชีวิตด้วยเพราะ รับเกินความจำเป็น ตับ ไต ถุงน้ำดี เป็นภาวะแทรกซ้อน ที่ไม่พึงปราถนา  เจริญพรขอบคุณ


สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบคุณค่ะ

ที่แวะไปให้ดอกไม้

เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยมเลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ไม่จดบันทึกไว้ไม่ได้แล้ว

เพราะช่วงนี้ต้องเผชิญกับการปวดฟัน อิอิ

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พี่ไปเยี่ยมอสม.ท่านหนึ่ง

ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนกระดูกข้อต่อสะโพกหักรอผ่าตัด

ตกกลางคืนคงปวดมาก ขอให้พยาบาลฉีดยาแก้ปวดให้ ปรากฏว่าหัวใจตูมตามๆๆ วิ่งกันวุ่น

เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยเคยทำบอลลูนมาแล้ว อีกทั้งมีเบาหวานและความดันสูง

พยาบาลคงลืมซักประวัติเก่า โชคดีที่กำลังใจยังดีค่ะ

 มันอันตรายหมือนกันนะคะเจ้ายาระงับการปวด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท