รายงานผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับนักเรียนปฐมวัน(อนุบาล)ปีที่ 2


บทคัดย่อ

   ชื่อผลงาน  รายงานผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่น

  ในตนเองสำหรับนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2 

  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)

  ผู้วิจัย  พัชราภรณ์  บัวคง  ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ

  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

  การจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  นิทานเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและต้องเกี่ยวข้องกับเด็กไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่โรงเรียน  การนำนิทานมาสร้างคุณลักษณะบางอย่างให้เกิดขึ้นในตัวเด็กนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะสม  มองประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากนิทานและเรื่องราวที่จะเกี่ยวข้องกับตัวเด็กในวัยนี้  ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องดีงามในการกล่อมเกลาพัฒนาจิตใจเด็ก  การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองเป็นคุณลักษณะที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จในการทำสิ่งต่าง ๆ  มีความเป็นตัวของตนเอง  กล้าคิด  กล้าแสดงออก  สามารถปรับตัวและเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมด้วยความรู้สึกที่มั่นคง  ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์  ความเชื่อมั่นในตนเองจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก  บุคคลที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และครู  โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้  (1)  เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองจากการจัดกิจกรรมการเล่านิทานของเด็กชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  จำแนกเป็นด้านการกล้าแสดงออก ด้านการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และด้านความภาคภูมิใจในตนเอง (2)  เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานของเด็กชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  (3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเล่านิทานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กอายุระหว่าง  4-5  ปี  ที่กำลังเรียนชั้นปฐมวัย(อนุบาล)ปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2554  ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 22 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ นิทานพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองจำนวน 9 เรื่อง  ที่ผ่านการประเมินคุณค่าเฉลี่ยรวมทุกเล่มเท่ากับ 2.39  คิดเป็นร้อยละ79.72  แผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  จำนวน 9 แผนการจัดประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพและความเหมาะสมรายด้านอยู่ระหว่าง 3.33-5.00และค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ  3.86  แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.81  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมนิทานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบค่าที t-test (Dependent  Sample) 

  ผลการวิจัยพบว่า  การจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) ซึ่งได้รวบรวมปรับปรุงนิทานเพื่อการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  โดยทำการปรับเปลี่ยนภาพประกอบ การใช้คำคล้องจอง เพื่อความเหมาะสมจนได้นิทานจำนวน 9 เรื่อง สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.  ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นปฐมวัย(อนุบาล)ปีที่ 2 จากการจัดกิจกรรมเล่านิทาน พบว่า  โดยภาพรวมมีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับสูง (=1.77),(S.D.=0.13) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเชื่อมั่นในระดับสูงเช่นเดียวกัน 

2.  ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นปฐมวัย(อนุบาล)ปีที่ 2  จากการจัดกิจกรรมเล่านิทาน พบว่า ผลการพัฒนาการความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นปฐมวัย(อนุบาล)ปีที่ 2  ในภาพรวมมีผลการประเมินก่อนเล่านิทานคะแนนเฉลี่ย 9.89  หลังจากจัดกิจกรรมการเล่านิทาน มีคะแนนเฉลี่ย 15.97 มีค่าเฉลี่ยผลต่าง 6.08  เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)  ค่า t = 45.16 **  พบว่า มีผลการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนเล่านิทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเล่า มีผลทำให้เด็กชั้นปฐมวัย(อนุบาล)ปีที่ 2  มีการพัฒนาการความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

3.  ความพึงพอใจการจัดกิจกรรมเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  พบว่าในภาพรวมนักเรียนชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 1.59) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือเรื่องราวน่าสนใจและมีประโยชน์(= 1.77), (S.D.=0.42) รองลงมาคือใช้สีสวยงาม(= 1.73), (S.D.=0.45) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือเนื้อเรื่องไม่ยาวเกินไป  ตัวอักษรมีขนาดเหมาะสม  มีการถามตอบระหว่างการจัดกิจกรรมเล่านิทาน(= 1.45), (S.D.=0.51) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมมีค่า(S.D.=0.14) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)รายข้ออยู่ระหว่าง 0.42-0.51 แสดงว่านักเรียนชั้นปฐมวัย (อนุบาล)ปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  มีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมเล่านิทานเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  โดยรวมและในประเด็นต่างๆ สอดคล้องกัน


คำสำคัญ (Tags): #ความเชื่อมั่น
หมายเลขบันทึก: 519704เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท