กระแสสังคมที่มีผลต่อความรักที่เปราะบาง


สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม จึงส่งผลกระทบให้พ่อแม่ ต่างไม่มีเวลาที่จะอบรมสั่งสอน พูดคุยเรื่องความรักให้ลูกๆๆที่กำลังจะเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ต่อไป

                              ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงสถานการณ์ครอบครัวในสังคมที่เกิดขึ้นตามข่าวสารต่างๆในปัจจุบันอาจจะสืบเนื่องมาจากการที่สังคมที่เข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่กล่อมเกลาครอบครัวมากขึ้น พ่อ แม่ต้องวิ่งตามกับกระแสของสังคม  ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้ครอบครัวค่อนข้างจะอ่อนแอและสมาชิกในครอบครัวต่างก็ห่างเหินกันต่างคนต่างอยู่ใช้วัตถุเงินทองเป็นตัวตั้ง  สถานการณ์ดังกล่าว เป็นสิ่งที่หลายๆฝ่ายในสังคมต้องรับรู้ตระหนักและร่วมรับผิดชอบกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม จึงส่งผลกระทบให้พ่อแม่ ต่างไม่มีเวลาที่จะอบรมสั่งสอน พูดคุยเรื่องความรักให้ลูกๆๆที่กำลังจะเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ต่อไป

                               เมื่อเร็วๆนี้ผมได้ไปออกกำลังกายที่บริเวณสนามกีฬา ช่วงเวลาเย็นและได้พูดคุยกับแม่ของเด็กคนหนึ่ง เขาเล่าให้ผมฟังว่า เขามีลูกชายคนหนึ่ง อายุ๑๑ ปี  อยู่มาวันหนึ่งคุณแม่ของเขาเห็นลูกชายกำลังเปิดใช้โทรศัพท์มือพร้อมเปิดคลิป(โป้)อยู่ คุณแม่ก็เอ่ยถามลูกชายว่า ลูกทำไมต้องดูคลิปนี้ ลูกชายตอบว่า เพื่อนร่วมห้องเรียนด้วยกันส่งมาให้ จากนั้นแม่ของเธอก็ตกใจมาก เลยพูดให้ผมฟังว่า เพราะสังคมหรือเปล่าที่ทำให้ลูกชายต้องสนใจในเรื่องอย่างนี้ตั้งแต่ตัวยังเล็กอยู่ เขาบอกว่าเขาก็คิดหนักใจมาก ไม่รู้ว่าจะสอนลูกว่าอย่างไรดี จำเป็นไหมที่ต้องพูดในเรื่องของความรักพร้อมกับเรื่องคลิปอย่างที่ว่านี้ให้ลูกฟังทั้งๆที่ยังเด็ก ผู้เขียนจึงอยากจะถามท่านผู้อ่านบันทึกนี้ว่า หากท่านเป็นพ่อและแม่ของเด็กชายคนนี้ เราจะสอนลูกชายว่าอย่างไรดี ควรจะเริ่มต้นพูดกับลูกชาย อย่างไรดีครับ เชิญแลกเปลี่ยนครับ
                   
                                    ผู้เขียนมีความเห็นว่าในสังคมในปัจจุบันนี้ ควรจะเริ่มต้นที่ครอบครัวเป็นลำดับแรก พ่อ แม่ ต้องเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดลูก ต้องคอยสังเกต สอดส่องดูพฤติกรรมลูกตั้งแต่เกิด จนเขาเติบโต คอยอบรมสั่งสอนและแลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา อย่าตามใจลูกมากจนเกินไป ฝึกการใช้เหตุและผลอย่างต่อเนื่อง พอลูกๆเขาเติบโต ต้องคอยเติมเต็มให้ลูก คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นของลูกๆ แล้วค่อยๆไตร่ตรอง วิเคราะห์เหตุและผล จากนั้นก็เข้าแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับลูกๆ พร้อมให้ข้อเสนอแนะลูกๆอยู่ตลอดเวลา

                                   เมื่อพบเห็นข่าวสารในสื่อหลายๆประเภท หากเมื่อพบเห็นพร้อมกับลูกๆ พ่อแม่ก็ควรให้คำแนะนำทั้งดีและไม่ดีแยกแยะให้ลูก ให้เขาตั้งหน้าตั้งตาเรียนหนังสือ เพื่อเติบโตมาภายภาคหน้าจะใช้การศึกษาเป็นการส่องทางในการดำรงชีวิตต่อไป
                               สำหรับเรื่องความรัก ความเป็นพ่อเป็นแม่ ก็ต้องแนะนำให้ลูกฟังได้ว่า ความรักมันมีหลายแบบและจะขอยกตัวอย่างให้เห็นสัก ๒ แบบดังนี้
                             แบบแรกคือ รักพ่อรักแม่ เป็นความรักที่พ่อแม่มอบให้แก่ลูก โดยแม่ต้องดูแลลูกตั้งแต่อุ้มท้องมาจนเติบโตและลูกๆก็ต้องตอบสนองต่อความรักที่พ่อแม่มอบให้ ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอน ไม่โต้เถียง เป็นต้น
                             แบบที่สองคือ รักที่มอบให้คนรัก เป็นความรักที่ต้องเข้าใจว่าเป็นคนคนเดียวกัน ต้องเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง เป็นความรักที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปเป็นสามีและภรรยากันก็ตาม เพื่อที่จะพัฒนาเป็น คุณพ่อและคุณแม่ของลูกๆในอนาคตต่อไป

                            


                                      สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ต้องให้ความสำคัญกับความรักทั้งสองแบบนี้ให้มากๆ เราคงจะต้องช่วยกัน ทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาจจะรวมถึงหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องรณรงค์เรื่องความรักให้มีต่อกัน โดยเฉพาะเริ่มต้นที่ครอบครัวเป็นลำดับแรกๆก่อนนะครับ

เขียวมรกต
๖ ก.พ. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 518612เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2013 06:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

 .... ชอบมากใน...แบบที่สองคือ รักที่มอบให้คนรัก เป็นความรักที่ต้องเข้าใจว่าเป็นคนคนเดียวกัน  ต้องเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง  ... เป็นความรักที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปเป็นสามีและภรรยากันก็ตาม เพื่อที่จะพัฒนาเป็น คุณพ่อและคุณแม่ของลูกๆในอนาคตต่อไป ....


 P'Ple ... คิดว่าตอนนี้.....ในสังคมไทยกำลังวิกฤติ...ความรักแบบที่ 2 นี้นะึคะ .... 


       ขอบคุณมากกับบทความคุณภาพนี้ค่ะ 


                         

  • ขอบคุณครับ ท่านtuKnarak
  • ที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจเสมอมา

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ Dr. Ple
  • ที่กรุณาให้เกียรติ์มาเติมเต็มแก่บันทึกนี้ ครับ

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ ดร.ธวัชชัย
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมาครับ

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์อ้อย
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมา

  • ขอบคุณครับ ท่านวอญ่าฯ
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมา
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณครับ ท่านแสงแห่งความดี
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจครับ

  • ขอบคุณครับ ท่านปริมฯ
  • ที่กรุณาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจ
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณครับท่านอาจารย์ ดร.จันทวรรณ
  • ที่กรุณามาแวะให้กำลังใจ

สวัสดีวันตรุษจีน  เฮง  เฮง  เฮง นะจ๊ะ


ผลการศึกษาที่พบมาอย่างต่อเนื่อง คือ เด็กและเยาวชนไทยใช้ "IT" เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสารทางสังคม และความบันเทิงมากกว่าประโชน์ด้านการติดตามข้อมูลข่าวสารความรู้ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งทางบ้านและสถานศึกษาควรต้องช่วยกันแก้ปัญหาในเรื่องนี้ค่ะ

กรณีตัวอย่างที่ท่านยกมาน่าสนใจมากค่ะ ท่านที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านเพศศึกษา น่าจะชี้แนะได้นะคะ

สงสัยค่ะ ที่ท่านให้ข้อมูลว่า "เด็กอนุบาล 3 อายุ 11 ปี" อายุขนาดนี้น่าจะเรียน ประมาณ ป.5 นะคะ ถ้าเรียนอนุบาล 3 น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง 5-6 ปี  

บางทีพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู (ตายายผู้เฒ่าผู้แก่)  ก็มีช่องว่างที่ไม่รู้วิธีพูด  วิธีสื่อสารที่จะให้ลูกหลานเข้าใจและเชื่อได้นะคะ  ความไว้วางใจ  ความรักที่เป็นพื้นฐานตั้งแต่ยังเล็ก ๆ บางครั้งก็บอบบางมากด้วยค่ะ

ปฐมวัยสำคัญมาก  ตามด้วยก่อนวัยรุ่น  คงต้องค่อย ๆ  ให้ความมั่นใจว่าอย่างไรก็รักลูกหลาน  แล้วค่อยพูดล่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท