ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 31


ก่อนเริ่มบทนี้ ให้ทบทวนบทก่อนให้ครบถ้วน ดูแบบฝึกและคำตอบ ถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจ ให้ถามก่อนขึ้นบทใหม่

วิธิลิงฺ อาตมเนบท

วิธิลิงฺ อาตมเนบท  ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพียงใช้วิภักติวิธิลิงฺสำหรับธาตุที่แจกอาตมเนบท และกรรมวาจก เท่านั้น ตามแบบ ดังนี้

..

      เอกวจนมฺ

         ทฺวิวจนมฺ

       พหุวจนมฺ

อุตฺตมปุรุษะ

   -อีย*     - īya

   - อีวหิ       - īvahi

   - อีมหิ    - īmahi

มธฺยปุรุษะ

   -อีถาสฺ,  - īthās

   - อียาถามฺ  - īyāthām

   - อีธฺวมฺ   - īdhvam

ปฺรถมปุรุษะ

   -อีตฺ,      - īta

   - อียาตามฺ  - īyātām

   - อีรนฺ     - īran

*วิภักติทุกตัวขึ้นต้นด้วย อี (ไม่มีเสียงเน้น)แต่บางท่านว่า อี หรือ อิ ก็กล่าวได้ไม่ชัด เพราะเมื่อนำไปสนธิกับเค้ากริยา (ซึ่งลงท้ายด้วยอะทุกตัว) แล้ว ก็กลายเป็น เอ เหมือนกันหมด

* วิภักติเหล่านี้ล้วนแต่คุ้นรูปกัน แตกต่างไปเล็กๆ น้อยๆ ท่องจำให้ดี ไม่งั้นตีกันยุ่ง ;) ในกาลอื่นๆ ก็จะมีคล้ายๆ แบบนี้แหละ


ตัวอย่าง √ลภฺ (รับ) สร้างเค้า √ลภฺ + อะ = ลภ, นำไปแจกวิธิลิงฺ ใน อาตมเนปท ดังนี้

     ..

        เอกวจนมฺ

            ทฺวิวจนมฺ

          พหุวจนมฺ

อุตฺตมปุรุษะ

   ลเภย,     lábheya

   ลเภวหิ       lábhevahi

   ลเภมหิ    lábhemahi

มธฺยปุรุษะ

   ลเภถาสฺ,  lábhethās

   ลเภยาถามฺ  lábheyāthām

   ลเภธฺวมฺ   lábhedhvam

ปฺรถมปุรุษะ

   ลเภต,     lábheta

   ลเภยาตามฺ  lábheyātām

   ลเภรนฺ     lábheran


ตัวอย่างประโยค

स्वरूपं यदा द्रष्टुमिच्छेथाः।  [ svarūpaṁ yadā draṣṭum icchēthāḥ. ]

เมื่อใด ท่านจักปรารถนาที่จะมองดูร่างของตนเอง
द्रष्टुम् (√ทฺฤศฺ) เป็นกริยาย่อย รองรับกริยาหลัก) = เพื่อที่จะดู (ธาตุ + ตุมฺ)
ในทีนี้ √อิษฺ หมวด 6 (เค้าพิเศษ  อิจฺฉ, iccháti) ปกติแจกปรัสไมบท แต่ในประโยคนี้ทำเพื่อตนเอง จึงแจกอาตมเนบท ยกตัวอย่างนี้มาเพื่อจะได้ไม่ลืมว่า อาตมเนบทนั้นมีการใช้ที่หลากหลาย. 


कथं वासो विकर्तेयं न च बुध्येत मे प्रिया ।   [กถมฺ วาสสฺ วิกรฺเตยมฺ น จ พุธฺเยต เม ปฺริยา ฯ ]

(ข้า)จักตัดเสื้อผ้าได้อย่างไร และคนรักของข้าจักไม่รู้สึก (น พุธฺเยต)
ในที่นี้ กริยาวิธิมีสองตัวคือ วิกรฺเตยมฺ (ปรัสไมบท, เอก บุรุษ1) และ พุธเยต (อาตมเนบท, เอก บุรุษ 3)
√พุธฺ เป็นกริยาหมวด 4 อาตมเนบท (เค้า พุธฺย, búdhyate)



ธาตุ

√อีกฺษฺ   1อา. เห็น (อีกฺษเต  ī́kṣate)
          √อีกฺษฺ + ปฺรติ (ปฺรตีกฺษเต pratī́kṣate) คาดหวัง.
          ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อุเปกฺษา (อุเบกขา),

√นนฺทฺ   1อุ. ยินดี (นนฺทติ nándati, นนฺทเต nándate)
         (อุ หมายถึง ทั้งสอง(อุภ) คือ ปรัสไมบท หรืออาตมเนบท ก็ได้)
         √นนฺท+ อภิ (อภินนฺทติ abhinándati, อภินนฺทเต abhinándate (ภาษากวี)) ชื่นชมกับ, ต้อนรับด้วยความยินดี (ใช้กับ กรรมการก)
          ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อานนฺท (ความสุขอย่างยิ่ง)

√รมฺ  1อา. (รมเต rámate) สนุก
          √รมฺ + วิ (วิรมติ virámati) หยุดจาก เว้นจาก (ใช้กับ อปาทานการก)
          ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง รมณีย (เติม –อนีย) รมฺย (เติม –ย), คำว่า ราม ก็ว่ามาจาก รมฺ

√สฺถา + อนุ  (อนุติษฺฐติ anutíṣṭhati) ปฏิบัติตาม, ทำให้สำเร็จ


ถ้าจะเล่าเรื่องธาตุคงยืดยาว บทนี้ไม่มีอะไรมาก
แบบฝึก แปลเป็นไทย

1) ชีวิตมฺ  2) ปฺรตีกฺเษต 3) อภินนฺเทต 4) ปราชเยถาสฺ 5) ยุธฺเยยาตามฺ 6) รเมยาตามฺ

ทำแบบฝึกเสร็จแล้ว จะได้ไปแจกนาม เอา การานฺต และ อา อี อู การานฺต (พิเศษ)

หมายเลขบันทึก: 518160เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

√นนฺท+ อภิ = คงจะเหมือนอภินันทนาการคำนี้ที่พบเห็นบ่อยๆเปล่าค่ะ ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึงให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ). 


ทั้งประชาชนและเทวดาทั้งหลายต่างก็มาต้อนรับพระราม (กลับ) สู่พระนครด้วยความยินดี

เทวา โลกาศฺจ / โลกาะจ รามํ นครมภินนฺทนฺเต

ถูกไหมค่ะอาจารย์ ไม่ค่อยจะแน่ใจเรื่องสนธิ

แบบฝึก แปลเป็นไทย


1) ชีวิตมฺ -

 2) ปฺรตีกฺเษต = ท่านทั้งหลายคงจะคาดหวัง

 3) อภินนฺเทต = ท่านทั้งหลายควรจะชื่นชม

 4) ปราชเยถาสฺ = ท่านอาจจะแพ้

 5) ยุธฺเยยาตามฺ = เขาทั้งสองได้โปรดรบ

 6) รเมยาตามฺ = เขาทั้งสองคงจะสนุก


นนฺทน = นนฺทฺ + อน (ปัจจัยบอกแหล่งกำเนิด)

นนฺทน+อาการ ใช่แล้วครับ

ประมาณนี้ครับ เทวา โลกาศฺจ นคเร รามมภินนฺทนฺเต

1) ชีวิตมฺ เป็น อาชฺญ บุรุษที่ 2 ทวิพจน์

2), 3) เอต เป็น บุรุษที่ 3 เอกพจน์

ที่้เหลือถูกแล้ว

อาจารย์ค่ะ นคร ใช้กรรมการกไม่ได้เหรอค่ะ มีความหมายว่า ไปสู่

1) ชีวิตมฺ ทำไม ว มีสระอิด้วยค่ะ มาจากธาตุ √ ชีวฺ หมวดที่หนึ่งหรือเปล่า

ขอโทษครับ ชีวิตมฺ เป็นนาม มาจาก ชีวฺ + ต แต่แทรก อิ แปลว่า ผู้มีชีวิต

ใช้ นครมฺ ก็ได้ แต่ต้องสร้างประโยคความซ้อน (พวกเขายินดีกับพระราม ผู้กลับสู่พระนคร)

ซึ่งเรายังไม่เรียนครับ

มารบกวนอาจารย์อีกแล้วค่ะ  ชวยแปลสำนวนอาจารย์ พร้อมอธิบายไวยากรณ์เพื่อเป็นความรู้แก่หนูและผู้ที่สนใจด้วยคะ เอาต่ออีกวรรคให้จบ อิอิ


भाषासु मुख्या मधुरा दिव्या गीर्वाण भारती।
तस्यां हि काव्यं मधुरं तस्मादपि सुभाषितम्॥

भाषासु मुख्या मधुरा दिव्या गीर्वाणभारती
तस्यां हि काव्यं मधुरं / तस्मादपि सुभाषितम्

भाषासु ในบรรดาภาษาทั้งหลาย

मुख्या ที่เป็นประธาน  ที่สำคัญ มุขฺย ปุ. มุขฺยา ส. กรรตุ เอก.

मधुरा  ที่หวาน ที่ไพเราะ มธุร ปุ. มธุรา ส. กรรตุ เอก.

दिव्या ที่เป็นทิพย์ ที่เป็นของเทวดา ยอดเยี่ยม  ทิวฺย ปุ. ทิวฺยา ส. กรรตุ เอก.

गीर्वाणभारती คีรฺวาณ+ภารตี  คำนี้ท่านแปลสำเร็จไว้ว่า ภาษาสันสกฤต เป็น ส. กรรตุ เอก

แปล. ในบรรดาภาษาทั้งหลาย ภาษาสันสกฤต สำคัญ(ที่สุด) ไพเราะ(ที่สุด) และเป็นทิพย์(ที่สุด)

ที่ใส่ "ที่สุด" เมื่อกล่าวว่า "ในบรรดา", จึงแสดงว่า สิ่งนั้นจะต้อง ที่สุด.


तस्यां  ในเขา/มัน ส. เอก สรรพนาม. หมายถึง ในภาษาสันสกฤตนั้น

हि  (อวฺยฺย) เพราะ แม้

काव्यं  กาวฺย (คำประพันธ์) นปุ. กรรตุ เอก

मधुरं  ที่ไพเราะ อ่อนหวาน นปุ. กรรตุ เอก

แปล. แม้ในภาษาสันสกฤตนั้น กาวฺยะ มีความไพเราะ(ที่สุด)


तस्मात् (อวฺยฺย) ยิ่งกว่านั้น

अपि  แม้

सुभाषितम् สุภาษิต นปุ. กรรตุ เอก.

ที่ยิ่งกว่านั้น คือ สุภาษิต


*อาจแปลได้หลายแบบ แต่คำคมในภาษาสันสกฤตมักจะมาแนวนี้ คำว่า หิ, อปิ ก็แปลได้หลายอย่าง

เช่นอาจแปลว่า ในบรรดาภาษาทั้งปวง สันสกฤตไำพเราะสุด, ในภาษาสันสกฤต กาวยะ ไพเราะที่สุด, ที่สุดของที่สุด ก็ึคือ สุภาษิต...

ลองพิจารณาคำแปลแบบอื่นก็ได้นะครับ

    สมยํ = สมัย
     เอกํ = หนึ่ง
     ภควา = พระผู้มีพระภาคเจ้า 
    วิหรติ = ประทับอยู่
     สีสปาวเน = ที่สีสปาวัน 
    โกสมฺพิยํ =  ใกล้เมืองโกสัมพี

ไปเจอคำบาลีมาคะ เลยสงสัยว่าทางบาลีเขาแจกรูปการกแปดช่องเหมือนกับของเราหรือเปล่า

คำที่พอมองออกคือ สีลปาวเน นี่เหมือนกับการกที่เจ็ดของเราหรือเปล่าคะ ที่เหลือมองไม่ออกเลย

และอยากทราบว่า ปติ นี้คือคำว่า บดีในภาษาไทยเราใช่ไหมค่ะอาจารย์

รวมทั้งอยากให้อาจารย์อธิบายคำว่า ตันติภาษา ด้วยคะว่าคืออะไร

ขอบคุณคะ

รบกวนอาจารย์อีกนิดนึงคะ ยังไม่จบ หนูเพิ่งเปิดมาเจอ อิอิ

 संस्कृतं नाम दैवी वाक्

अन्वाख्यातं महर्षिभिः।१-३२।

— दण्डिनः काव्यादर्शः

แล้วก็สามประโยคข้างล่างนี้ถูกไหมค่ะ ?

- ฤเษรฺทุษฺปฺรยุกตํ ปฺรายศฺจิตฺตํ ศิวํ น ตุษฺยติ = การบำเพ็ญตบะในทางที่ผิดของฤาษีไม่ได้ทำให้พระศิวะพอพระทัย

- พุทฺธสฺย กรุณา อิว มหาสาครมฺ = พระกรุณาของพระพุทธเจ้าดุจดั่งมหาสาคร

- อีศวราย อีศวรฺไย จ นมะ 



สีสปาวเน คือการกที่ 7 ครับ บาลีแจก 8 การกเหมือนกันครับ แต่วิภัิกติมีคล้ายบ้างต่างบ้าง

ปติ คือ บดี นั่นเอง

ถ้าไปอ่านพระสูตร จะขึ้นต้นด้วย "เอกํ สมยํ" อยู่บ่อยๆ ลองอ่านดูก็ดีครับ สมัยนี้มีเว็บเยอะแยะเลยที่แปลบาลี

พุทฺธสฺย กรุณา อิว มหาสาครมฺ ควรจะเป็น มหาสาครสฺ, ควรเรียงประโยค "มหาสาคร อิว พุทฺธสฺย กรุณา" 

ที่เหลือถูกแล้ว

संस्कृतं नाम दैवी वाक्  คำพูดอันเป็นทิพย์ (ไทวี ขยาย วากฺ) มีชื่อว่า สันสกฤต

अन्वाख्यातं महर्षिभिः।१-३२। ถูกกล่าวแล้วโดยมหาฤษีทั้งหลาย (ขฺยา +อนุ-อา แล้วเติม ต ทำเป็นนาม/คุณศัพท์ แจก กรรตุ เอก)

นาม ไม่แจก

วาจฺ คำพูด ส. กรรตุ เอก เป็น วากฺ (พยัญชนะการานต์)

ตันติภาษา หมายถึง ภาษาที่เป็นแบบแผน ซึ่งเรามักหมายถึง ภาษาสันสกฤต บาลี ครับ

ตันติ แปลว่า เชือก หรือแบบแผน ก็ได้

อ่อ คุรุ กับ พหุ ทั้งสองคำนี้เพศอะไรค่ะ ?

คุรุ พหุ ปุ. น่าจะเรียนแล้วนะ

มีข้อสงสัยคะอาจารย์พอดีไปเจอมนต์คนไทยเขียนว่า โอมฺ ศฺรี วาเคศวารยาย นมะ

ที่งงคือมันสนธิกันเหรอค่ะ วาคฺ + อีศวรี = วาคีศวรี

หรือ วาคฺ + อีศวร = วาคีศวร เหรอค่ะ

ทำไมในมนต์นี้ไม่ใช้ อีศวรี แต่จะว่า ถึงใช้ อีศวร ก็ไม่เห็นจะผันเป็น ศวารยายะ นิค่ะ

เพราะสัมประทานะการก เอกพจน์ ผันเป็น อีศวราย

วาเค นี่มาจากไหนอะค่ะ ทำไมผันแบบนี้ หรือหนูยังไม่ได้เรียนพยัญชนะการานฺต

รบกวนอาจารย์อธิบายด้วยคะ สงสัยมาก หนูลองหาดูเป็นเทวนาครีในเว็บไหนๆก็ไม่มี

ขอบคุณคะ..

ควรจะเป็น วาคีศฺวร อย่างที่บอกมาครับ (วาคฺ+อีศฺวร)

หรือว่าเขาอาจต้องการใช้ วาก + อีฺศฺวร = วาเกศฺวร 

ถ้าเป็นภาษาแบบแผนไม่น่าจะเป็น วาเคศฺวร ครับ

ค้นดู ภาษาฮินดีใช้ वागेश्वर นะครับ เขาอาจจะติดมาจากฮินดี

แต่ก็ไม่มี วาเคศวารยาย คงจะเขียนเกินไป ;)


อาจารย์ไม่ขึ้นบทใหม่เหรอค่ะ อิอิ หรือยุ่งๆอยู่เอ่ย

อ่านที่อาจารย์ช่วยแปลให้แล้วคุ้นๆกับบางคำค่ะ

ทิพย์ - ทิวฺย - divine 

ใช่ไหมเอ่ย ?

ใช่แล้ว ทิวฺย มาจากธาตุ ทิวฺ แปลว่า ส่องสว่าง (แปลว่า เล่น ก็ได้)

เทวดา จึงถือว่าเป็นผู้มีความสว่าง หรือจะเป็นผู้ให้ความสว่างก็ไม่รู้

div+ya ง่ายๆ เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท