โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

บทสนทนาในท้องทุ่ง


บทสนทนาในท้องทุ่ง


ลุงถามหลาน “ฉันให้ไปศึกษา

ใยจึงหาเรื่องใหญ่ให้มันยุ่ง

เอ็งสนใจการเมืองเรื่องคนกรุง

ขอให้มุ่งสนใจในการเรียน”


หลานตอบคำตามลุงที่มุ่งหมาย

“มิเสียหายในด้านการขีดเขียน

ฉันยังคงจงจิตคิดพากเพียร

เอาการเรียนเป็นหลักรักความรู้”


“แล้วการเมืองเรื่องยุ่งลุงก็เบื่อ

มันหนักเหลือเกินเราเข้าไปสู่

วางเอาไว้ดีกว่าอย่าชื่นชู

ไม่ควรคู่กับเราพวกชาวนา”


“ฉันยิ่งเรียนยิ่งรู้ยิ่งดูแล้ว

ว่าถูกแนวควรเน้นเป็นนักหนา

เพราะการเมืองเรื่องล้วนควรศรัทธา

เป็นประชาธิปไตยในความจริง”


“เป็นประชาธิปไตยอย่างไรเล่า

ประโยชน์เรามีไหมได้สักสิ่ง

มันกี่ปีแล้วเล่าเราถูกทิ้ง

คิดแล้วยิ่งหนาวเหน็บเพราะเจ็บใจ”


“เพราะปล่อยปละละเลยไม่เคยสน

เราทุกคนควรแต่เร่งแก้ไข

ร่วมปรับเปลี่ยนเรียนรู้ดูกลไก

หากทำได้จึงเด่นเป็นของดี”


หมายเลขบันทึก: 517630เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2013 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2013 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

บทสนทนาภาษากวีที่สะท้อนสัจธรรมดีเหลือเกินค่ะ 

ภาษาสวย ความหมายดีๆ ค่ะ 

ขอให้เป็นจันทร์ที่สดใสนะคะ

..... ท่านเอาหลัก   "การบริหาร...มาผสมกับ...หลักธรรมะ" .....  รูปแบบกลอนที่ซึ่ง   ..... "ไพเราะมากๆ"  ค่ะ ..... 

คิดแล้วยิ่งหนาวเหน็บเพราะเจ็บใจ

เจ็บใจ เจ็บใจ

  Sila Phu-Chaya
ผมคิดถึงคนชนบทที่ส่งลูกหลานไปเรียนในเมือง

แล้วเห็นลูกหลานไปเล่นการเมือง

ก็มักจะห้ามเล่น เพราะไม่น่าสนใจ

เป็นสิ่งอันตรายไม่ค่อยจะดีนัก



Bright Lily
อยากให้เป็นเช่นนั้นนะครับ

ขอบคุณสำหรับคำชม

และการเยี่ยมเยือน

ชอบบทกลอนของอาจารย์มากสะท้อนสังคมได้ดีครับ

Dr. Ple

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ

การเรียบเรียงบทกวีเป็นความสุขของคนรักภาษาไทยของเรา

เป็นความสุขใจอย่างหนึ่งครับ ดร 

กล้วยไข่

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

ประโยชน์ของประชาชนต้องเป็นใหญ่

ขจิต ฝอยทอง
สบายดีนะครับ ช่วยหลังห่างหายไปหน่อยนะครับ

คาดว่างานการสอนจะมากมาย

อ.นุ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์

สำหรับกำลังใจ


มาชวนอาจารย์ไปเที่ยวด่านสิงขรจ้ะ...ไปม้ายยย  ไปม้ายยย

คุณมะเดื่อ

ยังไม่เคยไปเลยครับ

ด่านสิงขรที่ว่านี่

เคยแต่ส่งคนไป 

ครั้งหน้าว่าจะไปเองบ้างครับผม

บันทึกรางวัลพานแว่นฟ้าปี 2555

จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ


บทกวีการเมือง : รางวัลชนะเลิศ รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า และเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา พร้อมเงินสด 50,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ กระดาษแผ่นดิน ของ นิตยา พูนเพิ่ม รางวัลรองชนะเลิศ รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า และเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา พร้อมเงินสด 30,000 บาท ได้แก่ กู่ฝันของนกพิราบสีขาว โดย เพ็ญพักตร์ อิบรอยีห์ นินเราะห์

รางวัลชมเชย 10 รางวัล รับเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา พร้อมเงินสดรางวัลละ 10,000 บาท ดังนี้... กระดานชื่อประเทศชาติ ของ ธีรภัทร เจริญสุข, การผลัดใบอันยาวนาน ของ นายเงา, เกิดการเปลี่ยนแปลงแห่งการเป็นไป ของ ภูวดล ภูภัทรโยธิน, ขอเพียงแผ่นดินไทยเป็นผืนเดียว ของ จามรี ตันไพฑูรย์ดิถี, เทียนของแม่ ของ กัมปนาท แสงทอง, ในนามของความเข้าใจ ของ กัญจนพร ยุระตา, ในป่าหิมพานต์ ของ กันต์ธร อักษรนำ, ในสายตาของคางคก ของ โกสินทร์ ขาวงาม, หน้าที่ของกู ของ สงวน กลิ่นหอม และอีกไม่นาน...ทหารหนุ่ม ของ สุขุมพจน์ คำสุขุม

เรื่องสั้นชนะเลิศ 'พี่สาวของผม' ของ ประกาศิต คนไว คณะกรรมการตัดสินให้ความเห็นว่า...

"เป็นเรื่องสะท้อนชีวิตมนุษย์เล็กๆ คนหนึ่งที่เกิด เป็น อยู่ และตายไปในสังคมที่มีความขัดแย้งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบลุ่มๆ ดอนๆ เช่น ประเทศไทย ผู้เขียนเล่าภาพ 'คำม้วน' พี่สาวผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์นัก ผ่านสายตาน้องชายผู้มีความสมบูรณ์พร้อมกว่าในทุกด้าน โดยเล่าได้อย่างมีรายละเอียด เห็นภาพ และมีมิติ ความคิดน่าสนใจ คำม้วนผู้ด้อยการศึกษาแต่กลับมีจิตใจเสียสละเพื่อสังคมมากกว่าใคร และสุดท้ายเธอก็จบชีวิตลงเพราะจิตใจอันเสียสละของเธอเอง

แม้จะเป็นกรณีอุบัติเหตุ แต่ก็เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันสืบเนื่องมาจากการอุทิศตนของเธอเป็นหลัก เรื่องอันสะท้านสะเทือนใจของคำม้วนทำให้ผู้อ่านตระหนักแน่ว่าค่าของความเป็นมนุษย์ย่อมอยู่เหนือความขัดแย้งใดๆ"

ขณะที่ รางวัลชนะเลิศ บทกวีการเมือง เรื่อง 'กระดาษแผ่นดิน' ของ นิตยา พูนเพิ่ม คณะกรรมการกล่าวอย่างชื่นชมว่า...

"กระดาษแผ่นดินคือการสร้างสรรค์ผลงานอันน่ายกย่องของกวี ด้วยวิธีงดงามผสมด้วยรูปแบบกวีฉันทลักษณ์ที่ลงตัว ทำให้สัมผัสได้ถึงความเอื้ออาทรต่อแผ่นดินไทย ในยามที่สีแห่งความขัดแย้ง และความเกลียดชังกำลังแผ่กระจายไปทั่วหัวระแหง แทนที่สีสันต่างๆ จะสร้างความงดงาม เฉกเช่นเดียวกับแผ่นกระดาษในมือ ที่กวีเปรียบเสมือนแผ่นดิน ทุกตารางของกระดาษแผ่นดินกลับเปื้อนเปรอะด้วยสีต่างๆ ซึ่งยากจะลบเลือนหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสีขาวสะอาดและความงดงามใดๆ อย่างที่ใครๆ วาดหวัง!"

ทีนี้มาทำความรู้จักกับ 'นักเขียนหนุ่ม-กวีสาว' ผู้พิชิตรางวัลชนะเลิศกันบ้าง แม้ทั้งสองเป็นน้องใหม่ในวงการ แต่เมื่อดูประวัติผลงานถือว่าไม่ธรรมดา ประกาศิต คนไว นักเขียนหนุ่มวัย 31 ปี ชาวจังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันเป็นครูสอนในโรงเรียนประถมศึกษาที่จังหวัดบ้านเกิด มีผลงานเล่มแรกคือรวมเรื่องสั้น 'จากสายน้ำสู่นคร' (2551) และได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2552 จากนั้นหนังสือเล่มเดียวกันนี้ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศ 'เซเว่นบุ๊คอวอร์ด' ปี 2552 ซ้ำอีกครั้ง

ด้าน นิตยา พูนเพิ่ม กวีสาวชาวจังหวัดสงขลา ถือว่าเป็นกวีหน้าใหม่มากๆ เพราะอายุเธอเพียง 19 ปี เพิ่งพ้นสถานะ 'กวีน้อย' จากรั้วโรงเรียนมาหมาดๆ เธอเริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่ ม.ต้น โดยมีครูกวี 'สาทร ดิษฐสุวรรณ' แห่ง ร.ร.สทิงพระวิทยา เป็นผู้สอน ฝึกปรือ และพาไปหาประสบการณ์ตรงจากนักเขียน-กวีในค่ายวรรณกรรม ตลอดจนแนะนำให้ส่งผลงานเข้าประกวดเวทีต่างๆ ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มอ. วิทยาเขตหาดใหญ่ 

บรรยากาศงานมอบ 'รางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 8' ที่จัดขึ้น ณ ห้องโถงอาคารรัฐสภา เต็มไปด้วยความคึกคักยิ่ง...และพบกันใหม่ในปีหน้าหรือครั้งที่ 9 ด้วยก้าวย่างที่กล้าแกร่งและมั่นคงยั่งยืน


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/read-write/20090831/73051/%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AA-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2.html

กระดาษแผ่นดิน

 ณ ที่นี้ สุขดี กว่าที่ไหน

ไม่สร้างกฎกติกาให้ฆ่ากัน

เจ้าปกครอง เขตแดน แผ่นกระดาษ

ความตั้งใจ จานเจือจากเนื้อใจ

บอก .. “พ่อจ๋า ดูซิ...นี่ภาพหนู”

ตามองเพ่ง สักพัก แล้วพึมพำ

ว่า "ตรงนี้หนูวาดราษฎร"

หน้าทุกหน้า อาบยิ้ม อิ่มนานยาว

 ไม่ลงสี หนูคงไม่ลงสี

เช่นร้อยพัน อันธพาล ผ่านหน้าจอ

เขาคงมี ภาพวาด กระดาษเขา

เขาคงขีด สงคราม ความเกลียดชัง

อยากลบรอย ลบล้าง ด้วยยางลบ

ก่อนตะกอน สกปรก ตกตะกอน

 ณ ที่นี่ นาทีนี้ คือที่ไหน ?

กับสังคม แตกต่าง ถึงทางตัน

ประชาธิปไตย เบ่งบาน เต็มลานฝัน

ไม่ขีดคั่น พื้นที่ ด้วยสีใด

ตวัดวาด....เส้นสื่อ....แสนซื่อใส

ปาดเหงื่อไคล จนแก้มน้อย เปื้อนรอยดำ

ยกรูปชู แย้มยิ้ม อย่างอิ่มหนำ

กลั่นน้ำคำ หยาดเยาว์ เล่าเรื่องราว

พานแว่นฟ้า คืออาภรณ์ ผ่อนร้อนหนาว

ใต้ดวงดาว สันติภาพ ทาบแสงทอ

ไม่อยากมี เหลือง - แดง แบ่งแม่พ่อ

บ้างหลอกล่อ บ้างก่นด่า ไม่น่าฟัง

หลอมรูปเงา ร้ายร้าย ระบายหวัง

สงสารจัง กระดาษ, ราษฎร

หยุดจุดจบ หดหู่ อุทาหรณ์

ฝังทุกข์ร้อน แนบภาพ ตราบนิรันดร์

ใครหนอใคร แลเหลียว หนึ่งเสี้ยวฝัน

ภาพเหล่านั้น ลบเลือน เปื้อนน้ำตา

นิตยา พูนเพิ่ม
21 เมษายน 2552

แถวบ้านเป็นประชาธิปไตยจากครอบครัวนะคะอาจารย์

ผูกพัน

เริ่มจากความไม่รู้จักและมักคุ้น

จนเจือจุนเจิมใจให้จ้าแจ่ม

ความสัมพันธ์เริ่มอย่างเดือนข้างแรม

เริ่มวับแวมแสงวาวขึ้นทุกวัน


อยู่กับเธอมานานถึงถึงป่านนี้

คงไม่มีวันเผลอเธอกับฉัน

เธอเป็นเสาเราเป็นเชือกเลือกผูกพัน

ตลอดการนานนิรันดร์ยิ่งมั่นคง


โลกกว้างใหญ่แห่งนี้มีเฟสบู๊ค

สัมพันธ์ผูกเอาไว้กลางไหลหลง

มีความหวังผิดหวังยังงวยงง

จะซื้อตรงหรือไม่ใครจักรู้


ครูอิ๊ด

ครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ ถือว่าดีมาก

เพราะจะได้ฝังรากลึกหน่อย

ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท