การส่งเสริมสุขภาพ และสุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัด


         ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัด โดยอาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
          ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในช่วงบ่าย ซึ่งประกอบไปด้วย 2 หัวข้อ คือการส่งเสริมความสุขกับนักกิจกรรมบำบัด และสมดุลชีวิตกับความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตครอบครัวกับนักกิจกรรมบำบัด  กิจกรรมแรกที่ผู้อบรมได้ทำ คือการออกกำลังกายเพื่อความสุข เป็นการออกกำลังกายด้วยจิตและใจ และกิจกรรมมนตราบำบัด เป็นการนำบทสวดมนต์ทางพุทธศาสนามาฝึกจิต และทำให้เกิดความผ่อนคลาย

         นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กให้มีความสุข ประกอบด้วย
1. อิสระพึ่งตนเอง : เป็นการแนะนำและตั้งคำถามเพื่อให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหา
2. ความไว้ใจ : ให้เด็กแก้ไขหนึ่งปัญหา โดยครอบครัวคอยให้กำลังใจ และช่วยเหลือเด็ก
3. ความภาคภูมิใจ : ให้เด็กเห็นข้อผิดพลาดและพยายามแก้ไขปัญหา
4. ความเชี่ยวชาญ : ทำกิจกรรมที่หลากหลาย และฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะและความเชี่ยวชาญ
5. การติดตามประเมินตนเอง : เน้นการสื่อสารภายในด้วยการมองและการยิ้มกับเด็ก

         การจัดการความสุข เราสามารถจัดการความสุขได้จากการเรียนรู้ความผิดพลาดของความไม่รู้ และค้นหาความรู้ต่างๆ ถ้าหากมีความกลัวที่จะเปลี่ยน เราต้องแก้ด้วยความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง มีการค้นหาความสุขและความสำเร็จภายในตัว เป็นคนดี คิดบวก และพิจารณาทัศนคติที่ต่างกันในวัยต่างๆ รวมถึงการทบทวนนิสัยที่มาจากการกระทำซ้ำๆใน 21 วัน

         การบำบัดด้วยกิจกรรมเพื่อความสุข เป็นทักษะการปรับตัวใน 6 มิติ ดังนี้
1. ทักษะการบูรณาการรับความรู้สึก เช่นกิจกรรมหลับตาทรงตัว
2. ทักษะการรู้คิดปัญญา เช่นกิจกรรมหลับตาทรงตัวสลับการเดิน
3. ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ เช่นกิจกรรมลืมตาเดินสลับการหยุดนิ่งและยิ้มให้กับผู้อื่น
4. ทักษะการทำกิจกรรมกลุ่ม เช่นกิจกรรมหลับตาจับมือเป็นวงกลมเพื่อรวมกลุ่ม
5. ทักษะการรับรู้ตนเอง เช่นกิจกรรมลืมตาแนะนำจุดเด่นของตนเอง
6. ทักษะการรับรู้ผู้อื่น เช่นกิจกรรมจับคู่ใบ้คำที่คิดในใจ

จากการเข้าร่วมอบรบเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทำให้เราได้เรียนรู้เทคนิคดีๆ ในการพัฒนาจิตของเราให้นิ่ง เข้มแข็ง และมีความสุข ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ในระยะเวลาเพียง 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทั้งจิตและกาย เนื่องจากหากจิตดีแล้ว กายของเราก็จะดีตามมา ดังคำกล่าวที่ว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

หมายเลขบันทึก: 516899เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2013 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2013 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท