ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนบริษัท
ส่วนที่ 1

        มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลตั้ง แต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่ กิจการที่ทำนั้น

        มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นท่านกำหนดเป็นสามประเภทคือ

    1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
    2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    3. บริษัทจำกัด

        มาตรา 1014 บรรดาสำนักงานสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัททั้งหลาย นั้นให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงซึ่งบัญชาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับ จัดตั้งขึ้น

        มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติแห่งลักษณะ นี้แล้วท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็น หุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น

        มาตรา 1016 การจดทะเบียนนั้นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ทำกิจการอยู่ณตำบลใดในพระราชอาณาจักรท่านให้จดทะเบียนณหอทะเบียนสำหรับตำบลนั้น การแก้ไขข้อความที่ได้จดทะเบียนประการหนึ่งประการใดในภายหลังก็ดีกับทั้ง แก้ไขการอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดอันบทบัญญัติแผนกนี้บังคับหรืออนุญาตให้จดทะเบียนก็ดีก็ต้องจด ณหอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้น

        มาตรา 1017 ถ้าข้อความที่จะจดทะเบียนหรือประกาศโฆษณาเกิดขึ้นในต่าง ประเทศไซร้ท่านให้นับกำหนดเวลาสำหรับการจดทะเบียนหรือประกาศโฆษณาข้อความนั้น ตั้งแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวการนั้นมาถึงตำบลที่จะจดทะเบียนหรือตำบลที่จะประกาศโฆษณา นั้นเป็นต้นไป

        มาตรา 1018 ในการจดทะเบียนท่านให้เสียค่าธรรมเนียมตามกฎข้อบังคับซึ่ง รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงตั้งไว้

         มาตรา 1019 ถ้าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารซึ่งต้องจดทะเบียนไม่มีรายการ บริบูรณ์ตามที่บังคับไว้ในลักษณะนี้ว่าให้จดแจ้งก็ดีหรือถ้ารายการอันใดซึ่งจะแจ้งในคำขอหรือ ในเอกสารนั้นขัดกับกฎหมายก็ดีหรือถ้าเอกสารใดซึ่งกำหนดไว้ว่าให้ส่งด้วยกันกับคำขอ จดทะเบียนยังขาดอยู่มิได้ส่งให้ครบก็ดีหรือถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้ออื่นซึ่งกฎหมายบังคับไว้ ก็ดีนายทะเบียนจะไม่ยอมรับจดทะเบียนก็ได้จนกว่าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารนั้นจะได้ทำให้ บริบูรณ์หรือแก้ไขให้ถูกต้องหรือได้ส่งเอกสารซึ่งกำหนดไว้นั้นครบทุกสิ่งอันหรือได้ปฏิบัติตาม เงื่อนไขข้อนั้นแล้ว

         มาตรา 1020 บุคคลทุกคนเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามกำหนดในกฎข้อบังคับ ของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงแล้วชอบที่จะตรวจเอกสารซึ่งนายทะเบียนเก็บรักษาไว้ได้หรือจะขอให้ นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆให้ก็ได้หรือจะขอให้ คัดสำเนาหรือเนื้อความในเอกสารฉบับใดๆพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องมอบให้ก็ได้

         มาตรา 1021 นายทะเบียนทุกคนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไป ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆตามแบบซึ่งรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงจะได้ กำหนดให้

         มาตรา 1022 เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดั่งนั้นแล้วท่านให้ถือว่าบรรดาเอกสารและ ข้อความซึ่งลงทะเบียนอันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้นเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็น ผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วนหรือด้วยบริษัทนั้นหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

         มาตรา 1023 ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ดีห้างหุ้นส่วนก็ดีหรือบริษัทก็ดีจะถือเอาประโยชน์ แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสารหรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนตาม ลักษณะนี้ยังไม่ได้จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาดั่งกล่าวแล้วแต่ฝ่ายบุคคลภายนอกจะถือเอา ประโยชน์เช่นว่านั้นได้ แต่ถึงกระนั้นก็ดีผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทซึ่งได้รับชำระ หนี้ก่อนโฆษณานั้นย่อมไม่จำต้องคืน

         มาตรา 1024 ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก็ดีหรือในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน ก็ดีในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนก็ดีในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดีท่านให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือของผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทใดๆนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุก ประการ

        มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็น หุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

         มาตรา 1026 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นำมาลงด้วยนั้นจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้

         มาตรา 1027 ในเมื่อมีกรณีเป็นข้อสงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งซึ่งนำมา ลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน

         มาตรา 1028 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้ลงแต่แรงงานของตนเข้าเป็นหุ้นและ ในสัญญาเข้าหุ้นส่วนมิได้ตีราคาค่าแรงไว้ท่านให้คำนวณส่วนกำไรของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยลง แรงงานเช่นนั้นเสมอด้วยส่วนถัวเฉลี่ยของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลงเงินหรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้น ในการนั้น

         มาตรา 1029 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งเอาทรัพย์สินมาให้ใช้เป็นการลงหุ้น ด้วยไซร้ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซม ก็ดีความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดีข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยเช่าทรัพย์

         มาตรา 1030 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง เป็นการลงหุ้นด้วยไซร้ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบ และซ่อมแซมก็ดีความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดีข้อยกเว้น ความรับผิดก็ดีท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยซื้อขาย

         มาตรา 1031 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นให้ส่งมอบ ส่วนลงหุ้นของตนมาภายในเวลาอันสมควรมิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆจะลงเนื้อเห็นพร้อมกัน หรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญาให้เอาผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้

         มาตรา 1032 ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภท แห่งกิจการนอกจากด้วยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคนเว้นแต่จะมีข้อตกลงกัน ไว้เป็นอย่างอื่น

         มาตรา 1033 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำ สัญญาอันใดซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน

         มาตรา 1034 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นจักให้เป็นไปตาม เสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ท่านให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่งโดย ไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วยมากหรือน้อย

         มาตรา 1035 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคนจัดการห้างหุ้นส่วน ไซร้หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นก็ได้แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด จะทำการอันใดซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้

         มาตรา 1036 อันหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นจะเอาออกจากตำแหน่งได้ต่อเมื่อผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกันเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

         มาตรา 1037 ถึงแม้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้ตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียว หรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนก็ดีผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนนอกจากผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะ ไต่ถามถึงการงานของห้างหุ้นส่วนที่จัดอยู่นั้นได้ทุกเมื่อและมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุด บัญชีและเอกสารใดๆของหุ้นส่วนได้ด้วย

         มาตรา 1038 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพ ดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือ ประโยชน์ผู้อื่นโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ

         ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา นี้ไซร้ผู้เป็นหุ้นส่วน คนอื่นๆชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมดหรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการ ที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายเพราะเหตุนั้นแต่ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่ วันทำการฝ่าฝืน

         มาตรา 1039 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำต้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนด้วยความ ระมัดระวังให้มากเสมือนกับจัดการงานของตนเองฉะนั้น

         มาตรา 1040 ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคนเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

         มาตรา 1041 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งโอนส่วนกำไรของตนในห้างหุ้นส่วน ทั้งหมดก็ดีหรือแต่บางส่วนก็ดีให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งหลายอื่นไซร้ท่านว่าบุคคลภายนอกนั้นจะกลายเป็นเข้าหุ้นส่วนด้วยก็หามิได้

         มาตรา 1042 ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่น นั้นท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน

        มาตรา 1043 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนอันมิได้เป็นผู้จัดการเอื้อมเข้ามาจัดการงานของ ห้างหุ้นส่วนก็ดีหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้จัดการกระทำล่วงขอบอำนาจของตนก็ดีท่านให้บังคับ ด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยจัดการงานนอกสั่ง

        มาตรา 1044 อันส่วนกำไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกๆคนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น

        มาตรา 1045 ถ้าหุ้นส่วนของผู้ใดได้กำหนดไว้แต่เพียงข้างฝ่ายกำไรว่าจะแบ่ง เอาเท่าไรหรือกำหนดแต่เพียงข้างขาดทุนว่าจะยอมขาดเท่าไรฉะนี้ไซร้ท่านให้สันนิษฐานไว้ ก่อนว่าหุ้นส่วนของผู้นั้นมีส่วนกำไรและส่วนขาดทุนเป็นอย่างเดียวกัน

         มาตรา 1046 ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนหนึ่งคนใดหามีสิทธิจะได้รับบำเหน็จเพื่อ ที่ได้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เว้นแต่จะได้มีความตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

        มาตรา 1047 ถ้าชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงใช้เรียกขาน ติดเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้งดใช้ชื่อของตนเสียได้

        มาตรา 1048 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะเรียกเอาส่วนของตนจากหุ้นส่วนอื่นๆ แม้ในกิจการค้าขายอันใดซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้

        มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆแก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขาย ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่

         มาตรา 1050 การใดๆอันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็น ธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้นท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการ นั้นๆด้วยและจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะ จัดการไปเช่นนั้น

         มาตรา 1051 ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้องรับผิดในหนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป

        มาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใดๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย

        มาตรา 1053 ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้นถึงแม้จะมีข้อจำกัดอำนาจของ หุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผลถึงบุคคล ภายนอกไม่

        มาตรา 1054 บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดีด้วยลายลักษณ์อักษร ก็ดีด้วยกิริยาก็ดีด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดีหรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็นหุ้นส่วนก็ดีท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วนถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้วและห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้างท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดีหรือใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดีหาทำให้ความรับผิดมีแก่กองทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใดๆอันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นภายหลังมรณะนั้นไม่

        มาตรา 1055 ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งกล่าวต่อไปนี้

    1. ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันเมื่อมีกรณีนั้น
    2. ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใดเมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
    3. ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้น
    4. เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆตามกำหนดดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 1056
    5. เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายหรือล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

        มาตรา 1056 ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นและผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าว ความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

        มาตรา 1057 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้คือ

    1. เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้นล่วงละเมิดบทบังคับใดๆอันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
    2. เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
    3. เมื่อมีเหตุอื่นใดๆทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้

        มาตรา 1058 เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งซึ่งตามความในมาตรา 1057หรือมาตรา 1067เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ในเมื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้องท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้ในการ แบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูกกำจัดนั้นท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด

        มาตรา 1059 ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่างกำหนดนั้นยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระบัญชีหรือ ชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล

        มาตรา 1060 ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา 1055อนุมาตรา 4หรืออนุมาตรา 5นั้นถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไป ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน

        มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชีเว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายถ้าการเ ลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดีหรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดีท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย การชำระบัญชีนั้นให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่ง ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน

        มาตรา 1062 การชำระบัญชีให้ทำโดยลำดับดังนี้คือ

    1. ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
    2. ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
    3. ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้นถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน

        มาตรา 1063 ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอกและชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้วสินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุนซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด

        มาตรา 1064 อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นจะจดทะเบียนก็ได้การลงทะเบียนนั้นท่านบังคับให้มีรายการดั่งนี้คือ

    1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
    2. วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
    3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง
    4. ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกๆคนถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดมีชื่อยี่ห้อก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อและยี่ห้อด้วย
    5. ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการในเมื่อได้ตั้งแต่งให้เป็นผู้จัดการแต่เพียงบางคน
    6. ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการประการใดให้ลงไว้ด้วย
    7. ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้นจะลงรายการอื่นๆอีกอันคู่สัญญาเห็นสมควรจะให้ ประชาชนทราบด้วยก็ได้การลงทะเบียนนั้นต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วยให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

        มาตรา 1065 ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มาแม้ในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมาตรา 1066ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใด ในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่นหรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่นซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นเว้นไว้แต่จะได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดแต่ข้อห้ามเช่นว่ามานี้ท่านว่าจะไม่พึงใช้ได้ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่นอันมีวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกันและในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกันนั้นก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

        มาตรา 1067 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดกระทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตรา ก่อนนี้ไซร้ท่านว่าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนนั้นชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรอันผู้นั้นหาได้ทั้งหมดหรือเรียกเอาค่า สินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเพราะเหตุนั้นแต่ทั้งนี้ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันทำการฝ่าฝืนอนึ่งบทบัญญัติมาตรา นี้ไม่ลบล้างสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นในอันจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วน

        มาตรา 1068 ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนนั้นย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน

        มาตรา 1069 นอกจากในกรณีทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1055ท่านว่าห้าง หุ้นส่วนจดทะเบียนย่อมเลิกกันเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลาย

        มาตรา 1070 เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้

        มาตรา 1071 ในกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 1070นั้นถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนนำพิสูจน์ได้ว่า

    1. สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือบางส่วนและ
    2. การที่จะบังคับเอาแก่ห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เป็นการยากฉะนี้ไซร้ศาลจะบังคับให้เอาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้นชำระหนี้ก่อนก็ได้สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร

        มาตรา 1072 ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใดเจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไรหรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนนั้นเท่านั้นถ้าห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วเจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

        มาตรา 1073 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งก็ได้โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

        มาตรา 1074 เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดปลงใจจะควบเข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่นั้นสองครั้งเป็นอย่างน้อยและส่งคำบอกกล่าวความประสงค์ที่จะ ควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้านไปภายในสามเดือนนับแต่วันบอกกล่าวถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นก็ให้พึงถือว่าไม่มีคัดค้านถ้ามีคัดค้านไซร้ท่านมิให้ห้างหุ้นส่วนจัดการควบเข้ากันเว้นแต่จะได้ใช้หนี้ที่เรียกร้องหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว

        มาตรา 1075 เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้วต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องนำความนั้นจดลงทะเบียนว่าได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่

        มาตรา 1076 ห้างหุ้นส่วนใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิทั้งต้องอยู่ในความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น

        มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นคือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่งซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวกดั่งจะกล่าวต่อไปนี้คือ

    1. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่งและ
    2. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง
ไปส่วนที่ 1 / 2 / 3 / 4
ส่วนที่ 2

        มาตรา 1078 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียนการลงทะเบียนนั้นต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้คือ

    1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
    2. ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและวัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน นั้น
    3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
    4. ชื่อยี่ห้อสำนักและอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและจำนวนเงินซึ่งเขาเหล่านั้นได้ลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน
    5. ชื่อยี่ห้อสำนักและอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
    6. ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
    7. ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนั้นประการใดให้ลงไว้ด้วยข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้นจะลงรายการอื่นๆอีกอันคู่สัญญาเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้การลงทะเบียนนั้นต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนและต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วยให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

        มาตรา 1079 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใดท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดจำนวน จนกว่าจะได้จดทะเบียน

        มาตรา 1080 บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆหากมิได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด3นี้ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวก ไม่จำกัดความรับผิดนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกันท่านให้ใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นวิธีบังคับในความเกี่ยวพันระหว่างคนเหล่านั้นเองและความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นกับห้างหุ้นส่วน

        มาตรา 1081 ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้าง

        มาตรา 1082 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เสมือนดังว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้นแต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้นความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนเช่นนี้ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้นส่วน

        มาตรา 1083 การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นท่านว่าต้องให้ลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นๆ

        มาตรา 1084 ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนอกจากผลกำไรซึ่งห้างหุ้นส่วนทำมาค้าได้ถ้าทุนของห้างหุ้นส่วนลดน้อยลงไปเพราะค้าขายขาดทุนท่านห้าม มิให้แบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจนกว่าทุนซึ่งขาดไปนั้นจะได้คืนมาเต็มจำนวนเดิมแต่ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดได้รับเงินปันผลหรือดอกเบี้ยไปแล้วโดยสุจริตท่านว่าหาอาจจะบังคับให้เขาคืนเงินนั้นได้ไม่

        มาตรา 1085 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้แสดงด้วยจดหมายหรือใบแจ้งความหรือด้วยวิธีอย่างอื่นให้บุคคลภายนอกทราบว่าตนได้ลงหุ้นไว้มากกว่าจำนวนซึ่งได้จดทะเบียนเพียงใดท่านว่า ผู้นั้นจะต้องรับผิดเท่าถึงจำนวนเพียงนั้น

        มาตรา 1086 ข้อซึ่งตกลงกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายเพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินที่ลงหุ้นหรือเพื่อจะลดจำนวนลงหุ้นแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนหนึ่งคนใดนั้นท่านว่า ยังไม่เป็นผลแก่บุคคลภายนอกจนกว่าจะได้จดทะเบียนเมื่อได้จดทะเบียนแล้วไซร้ข้อตกลงนั้นๆก็ย่อมมีผลแต่เพียงเฉพาะแก่หนี้อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นภายห

คำสำคัญ (Tags): #ห้างหุ้นส่วน
หมายเลขบันทึก: 51622เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตั้งใจจะทำอย่างไรต่อไป กับตัวบทนี้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท