การดูแลลำไยช่วงออกดอก


ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/ หรือ
มีต่อ

รออ่านต่อนะ  ไปเรียกครูอ้อยมาอ่านนะคะ

ขอบคุณมากครับสำหรับการยืดช่อดอก เเละรูปภาพประกอบ..ไม่ต้องมโนภาพ^^

หวัดดีครับ หากใช้สารอย่างอื่นช่วยพ่นก่อนดอกบานจะได้ไหมครับ ผมเคยได้ยินเรื่องการพ่นเพื่อทำให้ดอกบานได้นานขึ้น และสารอ๊อกซินช่วยผสมและแปลงเพศดอกหากตัวผู้หรือตัวเมียมากเกินไป ทั้งนี้เพื่อให้ดอกผสมเกสรได้ดีและมากขึ้น 

การใช้สารบางชนิดพ่นในช่วงก่อนดอกบาน โดยคาดหวังว่าดอกจะบานได้นานขึ้น นั้น คือ 1 ประเด็น

ส่วนการใช้สารอ๊อกซินช่วยผสม และแปลงเพศดอก หรือช่วยให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างดอกทั้ง 2 เพศนั้น 

ก็อีกประเด็น 


ทั้งสองประเด็นจะคาบเกี่ยวกันคือ "เพื่อให้ดอกลำไยตัวเมีย ได้รับการผสมละอองเกสรตัวผู้ได้ดี และมากขึ้น...ค่ะ


เรื่องนี้... ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งในทางทฤษฎีค่อนข้างจะยาว ไว้จะเขียนให้อ่านกัน

ถ้าได้อ่านแล้ว จะทราบคำตอบได้ว่า "มีสารที่พ่นก่อนดอกบาน จะช่วยให้ดอกบานได้นานขึ้นนั้น มีจริง หรือไม่  และ

ยาเปลี่ยนเพศดอกลำไย มีจริง หรือไม่ เพราะเหตุใด" 


บางคนบอกว่า มี และเคยได้ใช้แล้ว บังเอิญได้ผล ก็บอกว่า "มีจริง" แต่ บางคนใช้แล้ว บังเอิญไม่ได้ผล ก็บอกว่า "ไม่มีหรอก"  

ซึ่งทั้งความคิดเห็นทั้งสองคน เป็นเพียงความรู้สึก่ของแต่ละคน...ค่ะ  

อ่านบทความแล้วให้คุณพลตัดสินใจ...เอง  คงจะให้่ยุ้ยฟันธงไม่ได้...นะคะ   


ตาบอดคลำช้าง คนหนึ่งจับงวง  อีกคนจับหาง   ให้แต่ละคนมายืนบรรยายลักษณะของช้าง 10 ชาติ ก็บรรยายช้างได้ไม่เหมือนกันหรอกค่ะ


อาจได้คำตอบไม่เคลีย ไว้รออ่าน...นะคะ


อาทิตย์นี้อยู่ในช่วงระหว่างสอบปลายภาค เลยไม่มีเวลาเขียนต่อเนื่อง.... ขออภัยถ้าติดตามอ่านอยู่

เขียนได้ละเอียดมากๆ มาเขียนบ่อยๆนะครับ

สวัสดีครับคุณยุ้ย...

ผมอยากได้ข้อมูลที่จะทำให้ดอกลำไยในฤดูร่วง เพราะต้องการทำลำไยนอกฤดูต้องใช้อะไรพ่นดีเพื่อที่จะได้ไม่ให้ดอกช่อและบาน 

ปกติลำไยในฤดู จะออกดอกราวปลายเดือนธันวาคม ถึง ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทราบว่าทีสวนของคุณวัชรธันย์ ต้นลำไยได้พัฒนาการอยู่ในระยะใดแล้ว...คะ

1. ระยะแทงยอดใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นยอดดอกหรือไม่  ....ยังไม่มีตาดอก (ไข่ปลา)

2. ระยะแทงยอดดอก และมีไข่ปลาแล้ว

3. ระยะเป็นยอดสะเดาแล้ว แต่ยังแทงยอดยาวไม่เกิน 3 นิ้วฟุต

4. ระยะเกินกว่า 3 นิ้วฟุตแล้ว และแตกกิ่งก้านสะเดาแล้ว

5. ระยะเป็นตุ่มดอกกลมๆ ทั้งช่อแล้ว แต่ดอกยังไม่บาน

6. ระยะตุ่มดอกเริ่มบานจากโคนแล้ว แต่ยังไม่บานเต็มช่อ

7. ระยะบานทั้งช่อแล้ว...ค่ะ

ไม่ทราบว่าสวนลำไยอยู่บริเวณอำเภออะไร จังหวัดอะไร...คะ

ในการที่เราจะทำอะไรบางอย่างกับต้นลำไยนั้น  สิ่งที่สำคัญ...ไม่ใช่วิธีการดูแลลำไยที่เราอ่านจากตำรา หรือในเน็ต  หรือเรารับทราบจากคำบอกเล่าของชาวสวนผู้ที่ได้เคยปฏิบัติมา  หรือทำไปตามทฤษฎีทางวิชาการของนักวิชาการ .....แต่ขึ้นอยู่กับว่า เรารู้บริบทของสวนเราหรือไม่ ว่าขณะนี้เป็นอย่างไร...ค่ะ

บริบท ก็คือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ต้นลำไยนั้นแหละค่ะ  และหมายรวมถึงนิสัยเจ้าของสวนลำไย และคนงานที่คอยดูแลเฝ้าสวนลำไยด้วยว่า สรีรวิทยาของการเจริญเติบโตของลำไยมากน้อยเพียงใด  และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าของสวนลำไย...หรือไม่  ขยัน ใส่ใจ มั่นเดินตรวจตราสวนมากน้อยเพียงใด

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบบริบทของสวนลำไยเสียก่อน จึงจะพอกะประมาณการได้ว่า จะทำอะไร เพื่ออะไร...ค่ะ

แล้วที่ต้องการจะเปลี่ยนไปทำลำไยนอกฤดูนั้น  มีเป้าหมายว่าจะเก็บผลผลิตเพื่อขายในช่วงเทศกาลใด...คะ   

1. วันชาติจีน ( 1 ตุลาคม ) 

2. ปีใหม่ ( 1 ธันวาคม )  

3. ตรุษจีน ( ราวๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ )

ทำไมห้ามฉีดยาฆ่าหญ้าตอนดอกบาน

สาเหตุที่ลำไย ไม่ออกดอก เป็นเพราะไรค่ะ ที่สวนทุำกปีลำไยดอกดอกไม่สม่ำเสมอ บางต้นไม่มีสักดอก ช่วยบอกทีค่ะ ขอบคุณค่ะ

หุ...หุ... เรื่องนี้  คุยกัน...ยาวนะคะ

ลำไย ไม่ออกดอก มีสาเหตุหลายประการ...ค่ะ

แต่หลักๆ คือ 

                1. ต้น และใบไม่สมบูรณ์พอที่จะสร้างดอก หมายถึงมีต้นลำไยมีระยะเวลาในการสะสมอาหาร หรือได้รับปริมาณธาตุอาการไม่เพียงพอ 

                หลายครั้งเกษตรกรตัดแต่งกิ่งต้นลำไยไม่พร้อมกัน  เป็นผลทำให้การพัฒนาการของลำไยแต่ละต้นไม่เท่ากัน    ในบางครั้งต้นลำไยต้นเดียวกัน  แต่ตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว  ในระหว่างการดูแล  เกิดการแตกหักของกิ่ง หรือมีการแต่แต่งกิ่งเพิ่มเติมในต้นนั้น   กิ่งที่หัก หรือแต่งไปนั้นจะถือว่า ได้เริ่มนับหนึ่งใหม่เลยค่ะ  จึงส่งผลให้ต้นลำไยต้นเดียวกันออกดอกไม่พร้อมกันได้  

                 ดังนั้นเกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งต้นลำไย ให้เสร็จพร้อมๆ กันภายใน 1-2 วัน แต่ไม่ควรเกินกว่า 3 วันค่ะ

                 จุดที่ปลูกต้นลำไย ถ้ามีความแตกต่างกัน ในเรื่องของระดับความสูง และความลาดชันของพื้นที่ปลูก รวมไปถึงระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ใต้ต้นลำไย  ก็สามารถส่งผลให้การได้รับธาตุอาหารในดิน  หรือปริมาณน้ำก็จะแตกต่างกันไป แม้กิ่งพันธุ์มาจากที่เดียวกัน ขนาดต้นเท่ากัน ยังมีความยากง่ายในการออกดอกแตกต่างกันได้ค่ะ


                 2. พันธุ์ ของลำไย แต่ละประเภทมีความยากง่ายในการออกดอกที่แตกต่างกัน


                 3. การผลิใบอ่อน ต้นอายุึน้อยต้องใช้ 2-3 รุ่น  ต้นที่อายุมากขึ้นผลิใบเพียง 2 รุ่น ต้นใหญ่ๆ ผลิใบรุ่นเดียวก็สามารถออกดอกได้..ค่ะ


                 4. อุณหภูมิที่อยู่แวดล้อมต้นลำไย  การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอกในระยะที่ต้องการนั้น หากลำไยกระทบอุณหภูมิในช่วงอากาศร้อน  หรือหนาวที่แตกต่างกัน การพัฒนาการของใบอ่อนย่อมแตกต่างกันด้วยค่ะ     โดยปกติช่วงแตกใบจนถึงใบแก่จะใช้เวลาประมาณ 45 วัน  แต่ถ้าใบอ่อนออกมากกระทบช่วงฤดูหนาวพอดี  ก็จะใช้เวลาในการพัฒนา ประมาณเกือบสองเท่า หรือ 90 วัน...ค่ะ


                 5. ปริมาณน้ำที่ต้นลำไยได้รับ มีปริมาณไม่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมการออกดอก หมายถึงได้น้ำมากไป หรือได้น้ำน้อยเกินไป...ค่ะ


                 6. ระดับฮอร์โมน ภายในต้นลำไยอยู่ในภาวะไม่สมดุลย์

รายละเอียด : แนะนำให้อ่านเนื้อหาในบทความนี้ค่ะ  http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/519598

เรื่อง "สรีรวิทยาของการเจริญเติบโตและพัฒนาการ"  อยู่ในบทความของยุ้ยนี่แหละ..ค่ะ

การที่ห้ามฉีดยาฆ่าหญ้าในช่วงดอกบานนั้น 

                   สาเหตุหลักมาจากละอองของยากำจัดหญ้า ที่เราพ่นมาจากเครื่องพ่น  จะมีขนาดละออกเล็กมาก  ละอองดังกล่าว จะฟุ้งกระจายแขวนลอยไปในอากาศ  ไปตามลม และสามารถจะไปตกอยู่ที่่บริเวณ ฐานของดอกลำไยตัวเมีย   ซึ่งโดยปกติ ดอกลำไยตัวเมีย จะมีเมือกน้ำเหนียวๆ เพื่อทำหน้าที่จับละอองเกสรตัวผู้ที่ฟุ้งมาในอากาศ หรือปลิวมาตามลม   หรือติดตัวมากับบรรดาผึ้ง หรือแมลงที่มาผสมเกสร

                    ละอองยาฆ่าหญ้าเหล่านี้ หากปลิวมาติดที่ดอกลำไย  ก็จะซึมเข้าไปทำลายระบบการดูดซึมน้ำ และธาตุอาหาร   ทำให้ดอกลำไยไม่สามารถพัฒนาการได้ตามปกติ   สิ่งที่ตามมาคือ ดอกลำไยจะไหม้ (หากโดนเต็มๆ)  เหี่ยวเฉา และร่วงได้...ค่ะ 

                    ขนาดใบลำใย หรือหญ้ายังไหม้ แห้่ง ตายยันรากเลย  นับประสาอะไรกับดอกลำไำย ซึ่งมีความบอบบางกว่า....จะทนได้...ค่ะ

                    ที่สวนลำไยของญาติๆ  โดนมาแล้ว  ลูกชายหวังดี เห็นหญ้ารก เลยไปพ่นยาฆ่าหญ้าให้ แต่ลมแรง และการพ่นนั้น ฟุ้งกระจายมาก ดอกลำไยเลยร่วงยกสวน...ค่ะ

แก้ไขช่วงเทศกาลใด...คะ ( เพิ่งเห็นว่าเขียนผิด) 

1. วันชาติจีน ( 1 ตุลาคม ) 

2. ปีใหม่ ( 1 มกราคม  )  

3. ตรุษจีน ( ราวๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ )


ขอถามเรื่องการทำลำไยนอกฤดูหน่อยครับ หยากจะราดสารช่างเดือน ก.พ - มี.ค ต้องทำยังไง มันติดตรงที่ดอกมันออกมาก่อน ลองตัดดอกออกมันก็แทงดอกออกมาอีก มีวิธีทำเปล่าครับขอแบบละเอียดนะครับ

ขอขอบคุณยุ้ยอีกทีครับ ตอนนี้ดอกบานและดูแล้วก็ปรกติดีมีการผสมเกสรที่ดีในระดับที่พอดี "เดี๋ยวติดผลมากไปก็จะมาปวดหัวอีกกลัวผลลไม่โตอีก อิอิ"

แสดงว่าคุณพล ดูแลได้ดีค่ะ ลำไยจึงออกดอกดก  ไม่ต้องกังวลว่าจะติดผลมากไป ถ้าติดน้อยสิ น่ากังวล ติดมาก ก็ตัดช่อผลออกครึ่งหนึ่ง เท่านี้ ลูกลำไย ก็ใหญ่ซะใจแล้ว...ค่ะ

ณรงค์ กิ่วลมลำปาง

ขอบคุณมากครับ ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ พอดีช่วงนี้ลำใยกำลังออกดอกและเริ่มบานพอดี มีผึ้ง และชันโรงมาตอมดอกลำใยมากเลย แต่ยังไม่ทราบว่าจะติดลูกมากแค่ไหน

ดีครับที่ติดผลแยอะ แต่ไม่รู้ว่าอานิสงจากตัวไหนเพราะใช้สองตัวควบคู่ครับ แต่เป็นสาหร่ายทั้งสองตัวเลย แต่ก็แพงมากด้วยครับโดยเฉพาะสาหร่าย100%(ชุตเตอร์) 500กว่าบาทแน่ะขวดก็เล็กนิดเดียวเองครับ500ซีซี หุหุ...  ว่าแต่หากติดผลดกมากเกินไปแล้วเวลาตัดนีี่ตัดที่ตรงไหนครับเพาะก็ไม่เคยทำใจตัดได้ซะที อิอิ.  ขอบคุณครับ

การตัดแต่งช่อลำไยกรณีเกษตรกรคิดว่ามันดกไป  

ถ้าช่อผลลำไยแต่ละช่อแตกออกมาเป็นกิ่งแขนง 3-4 ช่อ แต่ถ้าทุกช่อนั้นมาจากก้านหลักเดียวกัน  ให้ตัดแต่งช่อด้วยการตัดออกไป 2 ช่อ  โดยเว้นระยะห่างให้สมดุลย์กัน  หรือจะเก็บไว้ทั้งหมดทุกช่อก็ได้ แต่ให้ทำการแต่งลูกลำไยด้วยการตัดกลางพวงช่อลำไยออก ให้เหลือลูกลำไยเพียงครึ่งหนึ่ง  โดยให้เหลือจำนวนลูกอยู่ประมาณช่อละ 25-30 ผล  แต่ถ้าจำนวนลูกลำไยในช่อดังกล่าวมีจำนวนลูก 20-30 ผลอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปตัดออกให้เหลือครึ่งหนึ่ง

การตัดแต่งช่อ หรือลูกลำไย ให้ทำในขณะที่ลูกลำไยพัฒนาการ โดยมีขนาดหัวเท่าเมล็ดถั่วเหลือง จะเป็นการดีกว่าปล่อยให้ลูกลำไยมีขนาดใหญ่กว่านี้  เพราะจะช่วยทำให้ลูกลำไยที่เหลืออยู่มีพัฒนาการโดยเติบโตเร็ว ลูกขนาดใหญ่ และมีคุณภาพดีกว่าปล่อยให้โตเลยระยะนี้ แล้วค่อยไปเลือกตัดออกภายหลัง เพราะลูกที่ได้จะเล็กกว่า...ค่ะ

คุณณรงค์   โชคดีมาที่มีชันโรงมาช่วยผสมเกสร เพราะชันโรงเป็นผึ้งจิ๋วที่ขยันตอมดอกไม้มาก โดยมันจะไม่สนใจว่าผึ้ง หรือตัวมันเองจะเคยตอมมาแล้วหรือยัง  มันจะตอมซ้ำซากอยู่อย่างนั้น จึงช่วยทำให้การผสมเกสรของลำไยมีโอกาสติดผลสูง และถ้ามีรังชันโรงทำรังอยู่ในสวนแล้ว เขาจะไม่ย้างรังหนีไปไหน เหมือนผึ้ง  และเขาจะไม่บินไปหากินไกลจากสวนหรอกค่ะ  จะอยู่ในวงรัศมี 600 เมตร จากรังเท่านั้นเอง แต่ถ้าเป็นผึ้งมันจะบินไกลในวงรัศมีราว 8 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ศุภกาญจน์ ลาภสกุลศรี


ลุงอยู่เชียงราย ที่สวนมีลำไยอยู่5-6สิบต้น ช่วงนี้ดอกลำไยกำลังจะบาน ช่วงนี้ควรพ่นฮอร์โมนบำรุงดอกใหม เห็นหนูบอกว่าไม่ควรพ่นอะไรเลย. (เกษตรมึอใหม่)


สวัสดีครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ตอนนี้มีปัญหาเรื่องช่อดอกครับ ไม่ค่อยพัฒนาต่อครับ เนื้องจากใบแรงมา ตอนนี้ใช้ 10 52 17 พ่นอยู่ครับ ควรเพิ่มตัวไหน ช่วยหน่อยนะครับ

ตอบ คุณศุภกาญจน์ ลาภสกุลศรี

เพิ่งมาเปิดอ่าน  ขอโทษที่ตอบช้า...ค่ะ

ฮอร์โมนบำรุงช่อดอก มีส่วนผสมของไนโตรเจน และฮอร์โมนบางชนิดซึ่งมีคุณสมบัติในการยืดระยะเวลาของการขยายเซลก้านหลักช่อดอกออก  ช่วยให้ช่อดอกมีพัฒนาในลักษณะยืดตัวยาวเพิ่มขึ้น 


ทั้งนี้การใส่ฮอร์โมนดังกล่าว ด้วยเกษตรกรหวังว่าจะได้ก้านดอกที่ยาวออกไป เพื่อให้เกิดปุ่มแขนงก้านเพิ่มขึ้น จะได้มีดอกออกมาเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่ามีดอกมาก  โอกาศจะติดผลลำไยก็จะเพิ่มมากขึ้น  


แต่ในทางสรีรวิทยาของการพัฒนาการของลำไย  ในเรื่องการออกดอกนั้น  ดอกเกสรตัวผู้จะออกก่อน และมีจำนวนมากกว่าดอกเกสรตัวเมีย ทั้งนี้เป็นเพราะต้นลำไยต้องการให้มีเกสรตัวผู้ในปริมาณที่ีมากพอที่จะผสม ซึ่งต้องอาศัยแมลงผสมเกสร หรืออาศัยแรงโน้มถ่วงให้เกสรร่วงหล่นลงมาใส่  หรืออาศัยลมพัดพาเกสรตัวผู้ปลิวไปติดที่เมือกเหนียวๆ ของดอกเกสรตัวเมีย    


ดอกเกสรตัวเมีย  ซึ่งจะเป็นดอกที่จะติดลูก ซึ่งจะเกิดตามมาหลังดอกเกสรตัวผู้ และจะมีระยะเวลาในการบานเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น   


ดังนั้นเมื่อเกษรกรจะใส่ฮอร์โมนดังกล่าว  ก็จะได้ช่อดอกยาวขึ้น และมีดอกเพิ่มขึ้นก็จริงอยู่   แต่ส่วนมากแล้วดอกที่ได้เพิ่มขึ้น จะกลายเป็นดอกเกสรตัวผู้เสียเป็นส่วนใหญ่   จึงไม่สมดุลย์กับดอกตัวเมีย  ซึ่งจะมีช่วงระยะการออกดอก และบาน  ในเวลาที่แน่นอนนับจากดอกเกสรตัวผู้ได้เริ่มต้นขึน   

 

การพ่นนั้น หากไปพ่นในช่วงดอกเกสรตัวเมียบาน จะทำให้เมือกเหนียวเจือจาง หรือหมดไป ทำให้โอกาสในการเกาะติดของเกสรตัวผู้ลดลง หรือไม่ติดผลเลย ท้ายสุด ก็จะเห็นทั้งดอกเกสรตัวผู้ และดอกเกสรตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมเหี่ยวเฉา และร่วงหล่นลงพื้นไป เรียกกันว่า ดอกโรย ดอกร่วง ดอกไม่ติดผล นั้นเอง


ประการต่อมา การพ่น ถ้าเกษตรกรพ่นแรงไป โครงสร้างของดอกตัวเมียก็จะช้ำ ทำให้การพัฒนาเปลี่ยนเป็นผล มีความผิดปกติ อาจเกิดอาการแท้ง หรือผสมไม่ติด หรือผสมติด แต่ท่อน้ำบอบช้ำ ก็จะทำให้เกิดอาการดอกแท้ง กล่าวคือ  ดอกเกสรตัวเมียได้รับการผสม แต่โครงสร้างบอบช้ำ ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาต่อได้ ดอกโรย และร่วงไปในที่สุด


ประการต่อมา เกษตรกรอาจผสมสารเคมีตัวอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อแมลง เช่นยากำจัดแมลง ยาไล่แมลง ทำให้แมลงหนีไปจากดอกลำไย ไม่ยอมมาผสม ดอกลำไยจะติดผลน้อย หรือไม่ติดผลเลยค่ะ 


ดังนั้น เราจึงไม่ควรพ่นสารเคมีใดๆ  หรือแม้แต่น้ำเปล่า ใส่ดอกลำไยโดยตรง ในช่วงระยะที่ดอกกำลังบาน...ค่ะ

แต่จากที่อ่าน เห็นว่า ดอกกำลังจะบาน  ถ้ายังไม่บาน ( เน้นว่าดอกลำไย ต้องยังไม่บานนะคะ เป็นแค่หัวตุ่มๆ เท่านนั้น แต่ถ้าดอกลำไยเริ่มบานแล้ว แม้จะเล็กน้อย ก็ไม่ควรพ่นอะไรทั้งสิ้นค่ะ จะให้ยา ให้น้ำ ก็ให้ทางดินค่ะ ส่วนทางบนต้น ปล่อยไปธรรมชาติ ให้เขาจัดการกับตัวเขาเอง )  

ในช่วงดอกยังไม่บานนี้  เรานี้สามารถพ่นธาตุอาหารทางใบ ประเภท 0-52-34 ได้ค่ะ จะช่วยบำรุงช่อดอก และป้องกันการเกิดยอดใบใหม่ในกิ่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน อันจะส่งผลให้ต้นต้องดูดแร่ธาตุไปบำรุงช่อใบใหม่ค่ะ 

แต่อย่าผสมยากำจัดแมลงลงไปพร้อมกัน...นะคะ  เพราะยากำจัดแมลงจะออกฤทธิ์ประมาณ 1 สัปดาห์ค่ะ  เดี๋ยวดอกบาน แล้วไม่มีแมลงมาช่วยผสมเกสร เพราะมันเหม็นกลิ่นยาที่ยังคงมีตกค้าง หลงเหลือ...ค่ะ

อ้อ... ยาจับใบทุกประเภท ห้ามใช้ ทุกระยะ....ค่ะ  เพราะมีคุณสมบัติในการเคลือบปิดปากใบค่ะ ทำให้ใบลำไยไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสรีรวิทยาของการพัฒนาการของลำไยได้จาก บทความนี้ค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/519598

ตอบคุณเกรียงไกร...ค่ะ

ดูจากภาพที่ 1 

สภาพ ใบลำไยสีเขียวสดใสดี เหมาะสำหรับการดูแลดอกลำไยที่ออกดอกได้ตามปกติ  

ใบบางส่วนของภาพที่ 1   ใบมีอาการเกร็งบิดตัวผิดรูปไปบ้าง  ทั้งนี้เกิดจากการที่ในระยะแรกที่ใบดังกล่าวยังคงเป็นใบอ่อนอยู่  ต้นลำไยขาดจุลธาตุบางตัว ทำให้เกิดอาการใบบิด..ค่ะ  แต่ไม่ต้องกังวลนะคะ   

ใบลำไยดังกล่าวแม้จะมองดูแล้วไม่สวยงาม  แต่ก็สามารถทำงานได้ค่ะ  เหมือนกับคนพิการ  มองอย่างไรก็ไม่สง่า  แต่เขาก็สามารถทำงานได้  แม้ใบลำไยจะบิดๆ เบี้ยวๆ   แต่ถ้าใบลำไยโดนแดด หรือมีความเข้มของแสงพอเพียง  ก็สามารถทำงานปรุงอาหารให้ดอกลำไย ได้ดีกว่าใบสวยๆ  แต่ไม่โดนแดด...ค่ะ


ช่วงนี้ที่มีใบออกแทรกมา เนื่องจากคุณเกรียงไกรธาตุอาหารที่ให้นั้น ไม่ถูกต้อง ไม่สมดุลย์...ค่ะ

10-52-17  ไม่เหมาะกับการบำช่อดอกในช่วงนี้ค่ะ

ควรใช้ 0-52-34 จะบำรุงข่อดอก และกดใบใหม่ไม่ให้เกิดค่ะ


10-52-17  มีความหมายว่า เลข 10  คือตัวหน้า เป็นธาตุไนโตรเจน จะช่วยในการพัฒนาของใบค่ะ ใส่ไปจะได้ใบอ่อนแทรกเบียดขึ้นมาในช่อดอกแน่นอน...ค่ะ 


จากภาพที่ส่งมาในภาพที่ 2  

ก้านหลักกำลังยืดตัวขึ้น ในขณะที่ก้านแยกก็ยืดตัวออกด้านข้างจากก้านหลัก   ช่วงนี้้เีรียกว่าช่วงดอกสะเดา...ค่่ะ  

เป็นระยะที่เกษตรกรต้องให้น้ำเพิ่มขึ้น  ทำให้ปริมาณไนโตรเจนที่มีอยู่มากในน้ำจะมีพอเพียงสำหรับการพัฒนาการของลำไย  จึงไม่จำเป็นต้องใส่ธาุตุอาหารตัวแรก (ไนโตรเจน) อีกเลย...ค่ะ


แนะนำให้ใช้ 0-52-34  50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นทางใบอย่างน้อย 2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน...ค่ะ

ผสมแคลเซี่ยม+โบรอน และผสมธาตุเสริม (จุลธาตุ) ด้วยค่ะ  จนกว่าก้านแยกดอกจะยืดตัวออกจากก้านหลัก  และออกเป็นตุ่มดอกหัวกลมๆ ก่อนจะพัฒนาบานออกมาเป็นดอก...ต่อไปค่ะ 


พอดอกเริ่มบานแล้ว ให้งดการพ่นน้ำ พ่นยา พ่นปุ๋ย หรือพ่นสารฮอร์โมน ทุกประเภททางใบ...ค่ะ  

ถ้าอยากจะให้ก็ให้ทางดิน...นะคะ  แต่ไม่แนะนำค่ะ  ไม่จำเป็น  เปลือง...ค่ะ


อีกประการ  เดี๋ยวดอกบานแล้ว ก็ติดต่อเตรียมหาผึ้ง หรือชันโรง มาไว้ในสวนบ้าง...นะคะ 

ถ้าแถวสวนลำไย มีผึ้งน้อยไป ก็เช่ามาวางก็ได้...ค่ะ


อย่าปล่อยให้ปริมาณดอกลำไย มีมากกว่าแมลงที่มาช่วยผสมเกสร...นะคะ

ผึ้งมันก็เหนื่อยเป็นเหมือนกัน มันไม่ยอมผสมให้ครบทุกต้นหรอก...ค่ะ 

มันรู้จักพอเพียง....


ผึ้งเยอะ  ดอกติดผลเยอะ  คุ้มกับค่าเช่า (ที่ต้องไม่แพงเวอร์...นะคะ) ที่จ่ายไป...ค่ะ

สมัยยุ้ย....เช่าผึ้งมาวางไว้ที่สวนประมาณ 15 ลัง  จ่ายเงินไป 5,000.- บาท ค่ะ  ได้ผึ้งประมาณ 3-4 แสนตัว  

แต่ตอนนี้เอากล่องเลี้่ยงผึ้งพันธุ์ (เก่าๆ แบบในภาพข้างบน...อ่ะ)  มาวางไว้ให้ผึ้งโพรงอยู่แทนแล้วค่ะ  เขาก็บินมาอยู่กันตรึมเลย  มีจะ 10 ลังแล้ว  ว่าจะไปขอลังเก่าๆ ที่ศูนย์เลี้ยงผึ้ง จันทบุรี....มาใช้อีก


แนะนำเรื่องพัฒนาการช่อดอก เลยต้องต่อยอดไปเรื่องผึ้ง...ค่ะ


โชคดีนะคะ พัฒนาไปถึงไหนแล้ว ก็บอกันบ้าง...ละกัน


ที่สวนลำไย  วันนี้ราดสารฯ (ด้วยวิธีการพ่นสารฯ ทางดินรอบๆ ต้น) แล้วค่ะ 14 มีนาคม 2556

ต้องขอบคุณ สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย ที่แนะนำครับที่สงสัยคือปกติ ช่อดอกที่ว่าช่อสะเลียม ปกติเคยเห็นครับแต่มันเป็นสีขาวหรือสีเขียวอ่อนเหมือนยอดที่พร้อมพัฒนาครับ แต่ของปีนี้มันแตกต่างกันคือช่อมันดู สีเข้มคนผ่านไปผ่านมาก็บอกว่า มันเป็นช่อแดงช่อที่ไม่พัฒนา ครับ

ตอบ คุณเกรียงไกร

ดูจากภาพแล้ว อาการเหมือนมีแมลงรบกวน โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะเป็นช่วงที่มวนลำไย หรือเรียกอีกอย่างว่า "แมงแกง" ระบาด ดังนั้นแมลงเหล่านี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกดูแดง เกร็ง ไม่พัฒนา และแห้งในทีึ่สุด  

                   

   


มวนลำไย Longan stink bug

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tessaratoma papillosa

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
            ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 - 31 มม. และส่วนกว้างตอนอก กว้างประมาณ 15 - 17 มม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ประมาณ 7 - 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 - 74 วัน จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

ลักษณะการทำลาย
         มวนลำไยหรือแมงแกง นอกจากเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของลำไยแล้ว ยังเข้าทำลายลิ้นจี่เช่นเดียวกัน ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ช่อดอกและผลอ่อนทำให้ใบอ่อนและช่อดอกจะแห้ง และร่วง แมลงชนิดนี้พบตลอดทั้งปีในแหล่งปลูกลำไยทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบการระบาดเป็นประจำทุกปี ทำความเสียหายให้กับลำไยในระยะที่ออกดอกและติดผล คือในช่วงเดือนมกราคม ถึงสิงหาคม จำนวนไข่และตัวอ่อนมีปริมาณสูงสุดเดือนมีนาคม และเมษายน ตามลำดับ ส่วนตัวเต็มวัยพบปริมาณสูงสุด 2 ระยะ คือ เดือนกุมภาพันธ์ และกรกฎาคม

ศัตรูธรรมชาติ 
                ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไยเท่าที่มีการสำรวจพบ ได้แก่ 
                        - ตัวห้ำ : นกกะปูด

                        - ตัวเบียน : แตนเบียนไข่ : Anastatus sp.,Ooencyrtus sp.

                        - เชื้อโรค : เชื้อรา Paecilomyces lilacinus

การป้องกันกำจัด
                 1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลง

              2. ในระยะที่ลิ้นจี่และลำไยเริ่มติดช่อดอก มวนลำไยจะปรากฏตัวออกมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก จับคู่ผสมพันธุ์ และวางไข่ ให้ปล่อยแตนเบียน Anastatus nr japonicus ในอัตรา 30,000 ตัวต่อไร่ เพื่อช่วยทำลายไข่มวนลำไยในช่วงต้นฤดูซึ่งแตนเบียนทำลายไข่มวนลำไยยังมีปริมาณน้อยในสภาพธรรมชาติ (ติดต่อขอแตนเบียนชนิดนี้ได้จากกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กองกีฎและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร หรือศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการผลิตขยายแตนเบียนชนิดนี้เป็นปริมาณมาก

                 3. เก็บรวบรวมไข่ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย นำไปทำลายเสีย โดยทำการเขย่าต้นลิ้นจี่หรือลำไยในตอนเช้าตรู่ ซึ่งมวนลำไยยังไม่ตื่นตัว มวนลำไยตัวเต็มวัยทิ้งตัวตกลงมาบนพื้น จึงทำการเก็บทำลายให้ได้มากที่สุดสำหรับการเก็บไข่ให้เดินสำรวจช่อดอกและใบ เมื่อพบไข่มวนลำไยก็เก็บทำลายทิ้ง

              4. เมื่อช่อดอกเริ่มร่วงและติดผลอ่อนแล้วให้ทำการประเมินจำนวนตัวอ่อนมวนลำไยต่อช่อว่ามีมากหรือไม่ หากเกินระดับ 4 ตัวต่อช่อ ก็จะทำความเสียหายแก่ผลอ่อนได้ ควรพ่นสารเคมีคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี)


รูปภาพประกอบ

                                  
                                          ไข่มวนลำไย เทสซาราโทม่า พาพิลโลซ่า
ตัวอ่อนมวนลำไย

มวนลำไย
ไข่มวนลำไย ถูกแตนเบียน Anastatus sp. ทำลาย
ไข่มวนลำไย ถูกแตนเบียน Ooencyrtus sp. ทำลาย

ไม่ทราบว่าสวนคุณเกรียงไกรอยู่ที่ไหน  ถ้าเป็นภาคเหนือ  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ก็คงไม่พ้นเรื่องนี้แหละ...ค่ะ

น่าจะไม่ใช่ครับ เพราะตรวจดูแล้วไม่มีครับ ลองประเมินดูนะครับน่าจะเป็นเรื่อง ขาดน้ำ และ บ้าใบครับ

ตอบคุณเกรียงไกร

อาการขาดน้ำจะแสดงออกที่ใบก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าใบยังดูสดใสปกติ แต่ยอดแดง เกร็งแห้ง แสดงว่าโดนเจาท่อน้ำเลี้ยงไป อาจจะเป็นแมลงปากดูมาเจาะก้านช่อดอก หรือเป็นพวกหนอนเจาะท่อน้ำเลี้ยง อย่างนี้จะแสดงอาการเฉพาะก้าน หรือบริเวณใบที่โดนเจาะทำลาย แต่ถ้าใบห่อ ใบบิดทั้งต้น อย่างนั้นโดนเจาะจากบริเวณรากเลยที่เดียว

ก็ลองสังเกตดูละกันนะคะ ตรวจพบก็บอกบ้าง...ละกัน  


ยังมีแมลงอึกประเภทหนึ่งที่อาจจะเป็นไปได้ คือแมลงในกลุ่มปากดูด เช่นเพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด  ฯลฯ  

ที่สวนของยุ้ย เมื่อวานไปตรวจก็พบแมลงพวกนี้ซึ่งจะระบาดมากในช่วงหน้าร้อน  จะชอบเกาะอยู่บริเวณก้านยอดช่อ ตัวเล็กมาก มีความยาวหัวถึงหางประเมาณ 1-2 มิลลิเมตร  ท้องสีเหลือง ปีกสีดำ หางจะกางออกเหมือนเป็น 2 แฉก  เอามือแตะมันจะกระโดดและบินหลบหนีอย่างรวดเร็วมาก  

พวกมันจะรุมเกาะเฉพาะบริเวณยอดเลย (เกาะรวมกันเต็มอย่างกับแมลงหวี่)  มันจะเจาะและดูดน้ำเลี้ยงตัวอ้วนกันไปเลยยอดเล็กๆ ยอดหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว มันจะเกาะกันประมาณ 10-50 ตัวเลยทีเดียว 

พอเขย่าก้านไล่มัน ปรากฎว่าก้านยอดช่อดอก บริเวณจุดที่โดนแมลงเจาะดูด จะเห็นเป็นจุดสีขาวๆ  

ตัวมันเล็กเท่าเพลี้ยไฟ แต่ไม่ใช่เพลี้ยไฟ (เพราะจำลักษณะเพลี้ยไฟได้) แต่ตัวนี้ยังหาไม่เจอว่าเป็นตัวอะไร แต่อย่างไรเสีย ก็เป็นกลุ่มแมลงปากดูดประเภทหนึ่ง

ก้านช่อดอกที่โดนเจาะดูน้ำเลี้ยงไป จะเกร็ง สีออกแดงๆ คล้ำ และแห้งแข็งตายไปในที่สุด


เนื่องจากที่สวนลำไย เป็นช่วงเพิ่งราดสารฯ  ดังนั้นจึงเลือกกำจัดแมลงเหล่านั้นด้วย  อิมิดาคลอฟิต เป็นชนิดผงละลายน้ำ  ผสมรวมไปกับแลมป์ด้าไซฮาโลทริน 500 cc. (ชื่อการค้า คาราเต้) ต่อน้ำ 1,000 ลิตร  เป็นยาประเภทดูดซืม แต่ถ้าอยู่ในระยะเป็นผลลำไยแล้วไม่ควรใช้

ผลที่ได้หลังจากพ่นตอนเช้า ไปเดินตรวจตอนสายๆ  ปรากกฎว่าแมลงตายเรียบ ตัวมันร่วงมาอยู่ตามใบ สักเกตุเห็นได้ชัดมาก  หรือถ้าหากมันไม่ตาย ก็คงจะบินหนีไปสวนอื่นแล้ว...ค่ะ

ลองตรวจดูนะคะ พวกนี้ชอบมาตอนกลางวัน ยิ่งช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ แดดจัดๆ จะออกมากันมากเลย...ค่ะ

ถ่ายรูปไว้แล้ว ไว้จะเอามาลงให้ดูกัน

เจอแระ เจ้าตัวที่พบในสวนลำไย ตัวนี้เลย 

Cornegenapsylla sinica  หรือเพลี้ยไก่แจ้ลำไย

 


เพลี้ยไก่แจ้มีหลายสายพันธุ์  แต่ตัวนี้เป็นสายพันธุ์ที่พบระบาดในสวนเดือนมีนาคม และเพิ่งกำจัดไปค่ะ

ใช้การพ่นสารฆ่าแมลงประเภทดูดซึมประเภทคลอไพรรีฟอส หรือไซเปอร์เมททิน ป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที 


อ้อลืมบอกไป ยุ้ยผสม คลอไฟรรีฟอส ลงไปด้วย 1 ลิตร..ค่ะ จากเดิม  อิมิดาคลอฟิต และแลมป์ด้าไซฮาโลทริน 500 cc. (ชื่อการค้า คาราเต้) ต่อน้ำ 1,000 ลิตร 

ได้ผลดี ตายเรียบ


.ใช่เลยไอ้ตัวนี้แหละครับ ตอนเย็นไปเห็นจับเป็นก้อนเลย


โอกาสที่ช่อจะสมบูรณ์เหมือนเดิม มีหรือป่าวครับ

ตอบคุณ เกรียงไกร

              ให้รีบกำจัดแมลงเหล่านั้นโดยด่วน...ค่ะ   ก่อนที่ช่อลำไยจะเสียหายไปมากกว่านี้  รวมไปถึงยอดช่อดอกลำไยอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกแมลงเข้าทำลาย  จะได้ไม่โดนแมลงกลุ่มนี้เข้ารบกวนได้

               ส่วนช่อที่ถูกแมลงเข้าทำลายไปแล้วนั้น  หากการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ลำไยเหล่านี้  ได้กระทำต่อเนื่องมานาน  อาจทำให้ท่อน้ำเลี้ยงของยอดลำไยดังกล่าวเสียหายไปมากแล้ว   ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้นให้สังเกตได้จากยอดช่อดอก ว่าผิวก้านช่อดอกนั้นๆ  มีสีแดงจนกลายเป็นสีน้ำตาลไปหมดหรือยัง  เนื่องจากขาดน้ำที่จะนำธาตุอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์ลำต้น หากขาดมากก็จะเหี่ยว และแห้งหลุดร่วงไปในที่สุด  

               แต่ถ้ายอดช่อดอกนั้นๆ  ยังคงมีสีเขียวปนๆ อยู่มาก แสดงว่าลำไยยังสามารถพัฒนาต่อได้ เพียงแต่ผลผลิตของยอดช่อนั้นๆ อาจลดคุณภาพ (่ลูกเล็ก) ลงไปบ้าง   ดังนั้นในช่อดอกช่อนี้หากโชคดี  รอดมาได้ และติดผลออกมาให้ทำการแต่งลูกใ้ห้เหลือจำนวนน้อยๆ ไว้หน่อย...นะคะ  อย่างน้อยก็จะได้ลูกลำไยที่พอจะมีคุณภาพได้บ้าง และยังสามารถเก็บผลผลิตพร้อมลำไยช่อยอดอื่นๆ ได้  ซึ่งจะดีกว่าการตัดทิ้งทั้งยอด...ค่ะ

               แต่หากยอดลำไยดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการราดสารฯ ไปได้ไม่นาน และยอดช่ออื่นๆ ยังเพิ่งเริ่มต้นพัฒนา   กระบวณการตัดยอดช่อที่ถูกแมลงเข้าทำลายทิ้ง  และใช้เทคนิคบางประการช่วย ก็ยังพอมีเวลาให้ลำไย ได้พัฒนาสร้างยอดใหม่มาทดแทน  และอาจเจริญเติบโตได้ทันกับยอดช่อดอกอื่นๆ  สามารถเก็บผลผลิตได้พร้อมกัน...ค่ะ

               ทั้งหมดนี้คุณเกรียงไกร จะต้องพิจารณาประเมินสถานการณ์ และตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติด้วยตนเอง...ค่ะ


                เทคนิคการสร้างยอดช่อดอกลำไยที่ถูกแมลงเข้าทำลาย ให้กลับดีขึ้น หรือให้ออกยอดใหม่ทดแทน  และสามารถพัฒนายอดช่อดอกทนแทนนั้นๆ ให้ทันกับยอดลำไยช่ออื่นๆ บนต้นเดียวกัน :

                 ( นวัตกรรมใหม่ดังกล่าวข้างต้นนี้  เกิดจากการสังเกต และขณะนี้อยู่ในระหว่างการทำการวิจัย...ค่ะ)


หมายเหตุ :

              สักครู่นี้ ได้พิมพ์นวัตกรรมใหม่ ที่เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขต้นลำไย หรือช่อดอกยอดลำไย ที่เพิ่งราดสารฯ  แต่เกิดความเสียหายเช่น ยอดหัก หรือยอดถูกแมลงรบกวนดูดน้ำเลี้ยงจนยอดเสียหายให้กลับสามารถกลับมาดีอย่างเดิม  หรือถ้าเสียหายไปแล้ว ให้สามารถกลับมาออกยอดใหม่ทดแทนได้ทันกับยอดช่อดอกอื่นๆ บนต้นลำไยต้นเดิมได้   

             งานวิจัยดังกล่าวข้างต้น อยู่ในระหว่างการศึกษาทดลองของยุ้ย  ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่คิดว่าน่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้   แต่ก็นึกออกได้ว่า งานวิจัยที่นักศึกษาจะขอทำเพื่อการจบการศึกษา จะต้องใช้ระยะเวลาทดลอง ถึง 2 ปี..นั้น   ผลงานการวิจัยนั้นๆ จะต้องยังไม่เคยเผยแพร่ในที่ใด    ยุ้ยจึงต้องขออภัย ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลเทคนิคนี้ได้...นะคะ 

              คิดว่าถ้าสำเร็จ และอนุมัติงานวิจัยแล้ว และได้เผยแพร่ออกไป  คงจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนลำไย  ที่ได้รัขผลกระทบจากการเข้าทำลายของธรรมชาติ และแมลงศัตรูพืชได้มากเลยทีเดียว...ค่ะ

ตอนนี้กำจัด เพี้ยเรียบร้อยแล้วครับ แต่ไม่ร้อยเปอร์เซน แต่ช่อที่โดนดูดน้ำเลี้ยงที่เสียไปไม่ได้สนใจแล้วครับเพราะ ตอนนี้กำลังแทงช่อรอบสองแล้วครับ เด็ดกว่าเดิมครับ ช่อแบบนี้เลย ไม่คิดว่าจะยังมีก๊อกสอง ขออนุญาติก๊อปรูปครับ ดอกชุดใหม่ช่ออวบแบบนี้เลยครับแต่ใบน้อยกว่านี้ เพราะใช้ ตัวยาดอกดีคุมใบไว้ครับ


ตอบคุณเกรียงไกร

ดีแล้วค่ะ ที่กำจัดเพลี้ยไก่แจ้ ออกไปได้ ถือว่าแก้ปัญหาได้ตรงจุดแล้ว ที่เหลือก็ดูแลลำไยในช่วงออกดอก ตามคำแนะนำ และต้องปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของสวนลำไยของคุณเกรียงไกรเองด้วย...


ที่สวนลำไยใกล้ๆ ยุ้ย ซึ่งมีเกษตรกรปลูกลำไยใหม่ อายุได้ 2 ปีเต็มพอดี  ยุ้ยไปเดินดูก็พบเพลี้ยไก่แจ้ลำไย เช่นเดียวกันนี้ระบาดอยู่  ก็ได้เตือนให้เขาเร่งกำจัดเพลี้่ยเหล่านั้นแล้วมาตั้งแต่ 3 วันที่ผ่านมา  แต่ก็ยังไม่เขาเห็นดำเนินการแต่อย่างไร  

ในวันนี้ปรากฎว่า ยอดลำไยแดง เกร็งแข็ง แห้งหมดทั้งสวนเลย 700 กว่าต้น น่าเสียดาย...ค่ะ แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว  

แต่ก็ยังไม่เป็นไร...ค่ะ   เดี๊ยวลำไยยอดใหม่ก็จะออกมาทนแทนเอง  เพียงแต่เกษตรกรท่่านนั้นจะเสียโอกาสที่ลำไยจะเติบโตโดยเสียเวลาไปอีกประมาณ 20-30 วัน  ก่อนที่ยอดลำไยยอดใหม่จะแทงยอดเจริญเติบโตออกมา  เพราะปีนี้เขาบอกว่าเขาจะยังไม่ราดสารฯ  ทั้งที่จริงๆ แล้วเขาสามารถราดสารได้ในราวเดือนสิงหาคมนี้  ซึ่งก็แล้วแต่เกษตรกรท่่านนั้น...ค่ะ


ทราบว่าคุณเกรียงไกรเลือกใช้ยาในกลุ่มดอกดี  ซึ่งก็เป็นยาที่ประกอบด้วยธาตุอาหาร 0-52-34 หรือสูตรที่ใกล้เคียงใช้ผสมน้ำำพ่นทางใบให้กับลำไย   ซึ่งตัวยาดังกล่าวจะความเข้มข้นสูง ทั้งนี้อาจได้มีการผสมสารเคมีบางชนิดเพื่อปลิดใบอ่น อาทิเช่น "เอทีฟอน" (ethephon) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม  ก็จะสามารถคุมใบอ่อนไม่ให้แทรกตาดอกได้ค่ะ   เรียกกันว่าเป็น "ยาเปิดตาดอก"  หรือ "ยากดใบอ่อน"  และถ้าหากเพิ่มฮอร์โมน "จิบเบอเรลลิน"(Gibberellin) เข้าไปอีกเล็กน้อย  ก็จะกลายเป็น "ยายืดช่อดอก" ซึ่งปริมาณก็จะแล้วแต่สูตรเฉพาะของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง...ค่ะ  

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดข้างต้น เมื่อผลิตออกมาขายก็จะอยู่ที่ประมาณลิตรละ 350 - 700.-บาท  ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่แพงมาก  หา่กเทียบกับต้นทุนการผสมเพื่อให้ได้ 1 ลิตร   ทำให้เกษตรกรที่ไม่ค่อยเข้าใจในเชิงวิชาการ จะเสียเงินเพิ่มจนอาจเรียกได้ว่าเกือบจะสูญเปล่าไปกับสิ่งเหล่านี้  ทั้งๆที่จริงๆ แล้วไ่ม่มีอะไรพิเศษ หรือไม่จำเป็นไปจากการดูแ่ลบำรุงดิน บำรุงต้น และ/หรือให้ธาตุอาหารตามปกติเลย   

ยกเว้นการเลือกใช้ฮอร์โมน "จิบเบอเรอลิน" จะพอช่วยในเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเซลล์ก้านยอดดอก  มีผลให้เฉพาะในส่วนก้านยอดดอกมีพัฒนาการยืดยาวไปจากเดิมได้บ้าง ทำให้มีโอกาสได้ดอกลำไยตัวผู้เพิ่มขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีละอองเกสรตัวผู้ ไปใช้ในการผสมกับเกสรของดอกตัวเมีย...นั้นเอง  

แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เกษตรกรก็ต้องตัดแต่งกิ่งผลลำไยส่วนเกินที่เพิ่มมานี้ออกอยู่ดี...ค่ะ  

ถ้าเรารู้โครงสร้างการพัฒนาการทางสรีรวิทยาของลำไย และมีความเข้าใจแล้ว เราสามารถปรับประยุกต์ เลือกการใช้ธาตุอาหาร หรือสารเคมี หรือ ฮอร์โมนได้ด้วยตนเอง...ค่ะ


การเลือกใช้สูตรการทำลำไยในแต่ละปีของเกษตรกร  บางครั้งในปีที่ผ่านมา เกษตรกรบางรายเ่ลือกใช้ผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อไปแล้ว  ปรากฎว่าได้ผลผลิตดี เกษตรกรก็มักจะมีความเชื่อมั่นในการที่จะเลือกใช้แนวทาง หรือผลิตภัณฑ์ตัวเดิมๆ  

แต่ปรากฎว่าบริบทของสวนผลไม้ของเราในปีนี้  มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก  อาทิเ่ช่นปริมาณธาตุอาหารในดินที่้เหลืออยู่มีการเปลี่ยนแปลง  ปริมาณความชื้นในดิน และอากาศมีการเปลี่ยนแปลง  สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ   

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัุวแปรที่สำคัญที่จะทำให้การเลือกใช้ธาตุอาหาร สารเคมี ฮอร์โมนต่างๆ และการให้ปริมาณน้ำในสวน  ย่อมต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย...ค่ะ


ดังนั้น เราจึงไม่ควรยึดติดกับการใช้สูตรเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องหมั่นสังเกตบริบทภายในสวนลำไยโดยรวมที่เปลี่ยนแปลงไป  และปรับสภาพการทำงาน การเลือกธาตุอาหาร การใช้สารเคมี การใช้ฮอร์โมน และการให้ปริมาณน้ำภายในสวนลำไยอยู่ตลอดเวลา   ทั้งนี้เพื่อเป็นการคง หรือเพิ่มปริมาณผลผลิต  และควบคุมคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรให้อยู่ในระดับที่คงที่อยู่ตลอดเวลา..ค่ะ 


สำหรับช่อดอกที่ออกชุดที่ สองน่าจะเป็นตัวนี้ครับ เพราะมี 10 เป็นตัวหน้าทำไห้กระตุ้นการแตกยอดใหม่ขึ้นมาพร้อม 52 เป็นตัวกระตุ้นเรื่องดอก เพราะใช้ตัวนี้อยู่ครับ ปกติไม่ได้ใช้ มันไม่ขึ้นรอบสองเลยครับเสียแล้วเสียไป น่าจ๊ะนะครับ แต่ถ้าลำใยไม่มีปัญหา ไม่แนะนำไห้ใช้ เพราะมันจะไปกระตุ้นการแตกใบอ่อนครับ

ปุ๋ยตัวนี้เป็นปุ๋ยบำรุงช่อดอก...ค่ะ  

ขอ.....ขยายความ

1.  ในการสะสมอาหารในใบของลำไยเราใช้  8-24-24  เพื่อสะสมอาหารในใบให้เต็มที่ 

2.  เมื่อเราราดสารโพแทสเซียมคลอเรส ในระดับที่เหมาะสม  จะเป็นการปิดกั้นการดูดซึม (ว่าไปก็คือทำลาย) รากฝอย   ช่วงนี้เรา่จะใช้ 0-52-34 ฉีดพ่น เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน  และเร่งให้ใบอ่อนที่มีอยู่แก่เร็วขึ้น

3.  เมื่อลำไยไม่สามารถส่งอาหารลงมาบำรุงรางฝอยได้  (เพราะไม่มีกระบวนการดูดซึมของรากฝอย) สารอาหารส่วนนี้จะถูกเปลี่ยนไปสร้างเป็นตาดอกแทน แต่ถ้าไม่มีกระบวนการดูดซึมสารอาหารดังกล่าวก็จะไม่เคลื่อนตัวไปสร้างตาดอก ดังนั้นเราจะใช้  5-25-30  เพื่อช่วยกระตุ้นให้เหมือนว่าต้นลำไย ยังคงมีกระบวนการดูดซึมอยู่  (5) และ (25-30) ยังคงป้องกันการแตกใบอ่อน และเร่งใบอ่นที่มีอยู่ให้แก่เร็วขึ้นเช่นเดียวกันกับในข้อที่ 2   กระบวนที่ต้นไม้ที่ยังคงเสมือนมีการดูดซึมของรากฝอยอยู่  ส่งผลต้นลำไยสามารถเคลื่อนอาหารที่มีอยู่ในใบ จะนำไปสร้างตาดอกได้....ค่ะ  

4. เมื่อช่อดอกลำไยแทงออกมาได้ระยะหนึ่งเราจะใช้ 10-52-17  เพื่อบำรุงช่้อดอก เพื่อให้เกิดกระบวนการยืดตัวของช่อดอกออกไป  เพื่อให้มีโครงสร้างส่วนที่จะเกิดตุ่มดอกลำไย...ค่ะ  

5. เมื่อช่อดอกยืดตัวเต็มที่  แ่ละมีตุ่มดอกปริมาณมากพอ  เราก็จะใช้ 13-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรด)  ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ทางใบ  มีสภาพเป็นปุ๋ยเย็น ใช้กระตุ้นดอกลำไย  เสมือนว่าลำไยได้กระทบกับอากาศหนาว (ธรรมดาในธรรมชาติ ถ้าอากาศหนาวเย็นจัด และต่อเนื่อง เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารตัวนี้ช่วย )  เพื่อใช้สำหรับเปิดตาดอก.....ค่ะ

****การพ่นสารอาหารทางใบทุกประเภท  ต้องพ่นใต้ใบ...นะคะ  เพราะปากใบอยู่ใต้ใบ ไม่ได้อยู่ด้านหน้าใบ...ค่ะ  ดังนั้น  ที่เขาบอกให้พ่นให้ใบเปียกชุ่ม  จึงมีนัยย์ว่าใต้ใบจะได้โดนสารอาหาร....ค่ะ

ปุ๋ยทางดิน นำมาผสมน้ำ พ่นทางใบ ไม่ได้....นะคะ  เพราะโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีประจุไฟฟ้าบวก-ลบอยู่ 

ประจุไฟฟ้าขั๋วเหมือนกัน เมื่อพบกันก็จะผลักโมเลกุลออก   ขั่วต่างกันพบกันก็จับไว้ไปไม่ปล่อยผ่านให้พืชนำไปใช้   

ปุ๋ยพวกนี้ต้องให้ทางดิน และมีน้ำเป็นตัวทำลาย รากจึงจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้...ค่ะ

รากไม่มีฟันนะคะ  จะได้เคี้ยวปุ๋ยได้...555     

ปุ๋ยทางใบเป็นปุ๋ยที่มีโมเลกุลละเอียดกว่า และไม่มีประจุไฟฟ้าใดๆ  จัดเป็นสารประกอบ ที่เราเรียกว่า "คีเลต"...ค่ะ

คีเลต คือ สารประกอบที่เกิดจากการจับตัวกันของอะตอมเชิงเดี่ยว (ธาตุอาหาร) กับ สารที่ทำงานเป็นคีเลตติ้งเอเจนต์

คีเลต จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนย้าย และดูดซึมของธาตุอาหาร ทำให้ การให้ธาตุอาหารในรูปคีเลตมีประสิทธิภาพมากกว่าธาตุอาหารปกติ...ค่ะ 

ไว้จะนำไปเขียนในบทความเรื่อง "คีเลต" เพราะคุยกันยาว...ค่ะ


สรุปว่า  เมื่อพ่นปุ๋ย ทางใบ ลำไยจะสามารถดูดซึมผ่านปากใบ เข้าไปใช้ได้ทันที...ค่ะ


6. เมื่อดอกบาน เราจะหยุดการพ่นสารทางใบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือฮอร์โมนทางใบ ทุกประเภท เพื่อให้แมลงผสมเกสรได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติ  แต่ถ้ามีน้อย ก็ต้องหาเช่าผึ้งพันธุ์ ที่เขาเลี้ยงไว้ มาช่วยผสมเกสร...ค่ะ

ถ้าจะเขียนต่อว่า ต้องใส่ปุ๋ยอะไร  เอาไว้เขียนในบทความ สรุปว่า ใส่ปุ๋ยอะไร  ใส่ช่วงไหน  จะใส่ไปทำไม  จะใส่เพื่ออะไร ...ค่ะ

ลำไยในช่วงนี้ติดผลแล้วแต่อากาศแห้งแล้งและไม่มีน้ำ ซึ่งขาดน้ำมาแล้ว3เดือน เพราะฝนไม่ตก ตอนนี้จะเริ่มให้น้ำจะดีไหมคะ

โห ติดลูกลำไย แล้วขาดน้ำ โอกาสลูกลำไยร่วง หรือแกร่น มีสูงเลย..ค่ะ

อย่างไรเสียต้องให้น้ำเขานะคะ  ค่อยๆ ให้ค่ะ อย่าให้แบบพรวดพลาด เดี๋ยวเปลือกลูกลำไยจะแตก

แนะนำให้เริ่มจากให้น้ำทางราก และให้น้ำที่ผสมซิงค์ในกลุ่มคีเลต...ทางใบด้วยค่ะ

ขอทราบสถานที่ตั้งของสวนลำไยด้วย...ค่ะ  อำเภอ หรือจังหวัดไหน

เพราะต้องประเมินบริบทสวนก่อน

ขนาดหมู่บ้านเดียวกัน ฝนยังตกหนักเบา ไม่เท่ากันเลยค่ะ หรือหัวสวน กับท้ายสวนเดียวกัน ฝนยังตกไม่เท่ากันเลยก็ยังมี...ค่ะ


ขอขยายความนิดหน่อย

1. โดยปกติ ลำไยถ้าติดผลแล้ว เกษตรกรต้องให้น้ำ และบำรุงปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ 

     ลำไยจะดูดธาตุอาหารได้ ต้องมีน้ำเป็นตัวทำละลาย...ค่ะ  (รากลำไยไม่มีฟัน)

2. ลำไยที่ขาดน้ำมานาน เวลาให้น้ำต้องค่อยๆ ให้ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น

3. กรณีฝนไม่ตกเลย และเกษตรกรก็ไม่เคยช่วยให้น้ำเลย  เมื่อมีฝนตกลงมา ลำไยจะเร่งดูดน้ำเข้าลำต้น ทั้งนี้รวมถึงดูดไปเก็บในลูกลำไยด้วย  เปลือกลำไยขยายตัวไม่ทัน จะทำให้เปลือกลูกลำไยแตก น้ำหวานทะลักออกมา เป็นอาหารแมลงในช่วงฤดูร้อน และคราบน้ำหวานที่อยู่ตามผลที่แตก และผลใกล้เคียง เมื่อได้รับความชื้น จะทำให้เกิดเชื้อราดำตามมา...ค่ะ

4. ลำไย ที่กระทบร้อนต่อเนื่องยาวนาน จำเป็นต้องได้ธาตุสังกะสี เพื่อช่วยในการปรับสภาพให้ทนต่อสภาวะความร้อนสูง  และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นลำไย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นธาตุโปแตสเซียมให้สร้างความหวานให้กับลูกลำไยที่กำลังเติบโตด้วยค่ะ    

                ซิงค์ (Zn ธาตุสังกะสี) จะช่วยให้ลำไยสามารถทนต่อภาวะอากาศร้อน ร้อนจัด และอุณหภูมิเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้ เช่นกลางวันร้อนจัด พอตกเย็นเจอฝนตกหนัก  หรืออากาศร้อนมานานหลายวน แต่พอฝนตกก็ตกต่อเนื่องยาวนานเช่นกัน   หรือ กลางวันอากาศร้อนจัด พอตกกลางคืนในวันเดียวกันอากาศกลับหนาวจัด   สลับไป สลับมา อย่างนี้ต้นลำไยจะเอาไม่อยู่  ดังนั้นจำเป็นที่เกษตรกรต้องให้ธาตุอาหารบำรุงทั้งทางดิน และทางใบ ที่มีส่วนผสมของ ซิงค์ด้วย...ค่ะ  

                 การได้รับธาตุสังกะสี จะช่วยเสมือนเป็นผ้าห่มให้กับต้นลำไย  แต่ถ้าจะให้ทางใบสังกะสีนั้นต้องอยู่ในรูปของคีเลต  ซึ่งจะอยู่ในรูปของสารประกอบที่พืชสามารถดูดซึมเข้าไปใช้ได้ทันทีเลยด้วย...นะคะ

                 ปกติในดินก็มีสังกะสีอยู่ แต่พืชดูดมาใช้ได้น้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยในกลุ่มไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มากเกินไป  ยิ่งถ้าดินในบริเวณสวนของเกษตรกรมีสภาพเป็นด่าง สังกะสีจะไม่ละลายน้ำ แต่จะตกตะกอน ซึ่งทำให้รากของต้นลำไยก็จะไม่สามารถดูดนำไปใช้ได้เช่นเดียวกัน...ค่้ะ  

5. แคลเซี่ยม และโบรอน  เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นที่จะต้องให้ควบคู่กันใน ในช่วงระยะการพัฒนาของลูกลำไย  แคลเซียมจะทำหน้าควบคุมการคายน้ำของต้นลำไย  ซึ่งจะก่อให้เกิดกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้ง และน้ำตาล  นอกจากนั้นแคลเซียมยังทำหน้าที่เผาผลาญไนโตรเจน ให้เปลี่ยนสภาพเป็นน้ำตาล  ส่วนโบรอนจะช่วยให้ผนังเซลต่างๆ ของลำไย รวมถึงเปลือกของลูกลำไย ให้มีความยืดหยุ่นพร้อมรับการขยายตัว 

               แคลเซียม และโบรอน จึงจำเป็นมาก หากว่าลำไยของเกษตรกรออกดอกในช่วงฤดูร้อน  ซึ่งความชื้นในอากาศมีน้อย  หรือหากว่าลำไยติดลูก และเกิดกระทบกับอากาศในช่วงฤดูร้อนยาวนาน  ทำให้ลำไยต้องใช้พลังงานมาก   

               พลังงานได้มาจากไนโตรเจน  แคลเซียมจะทำหน้าที่เผาผลาญไนโตรเจน และก่อให้เกิดพลังงาน  นอกนั้นแคลเซียมจะช่วยควบคุมการคายน้ำของลำไย (ซึ่งการคายน้ำจะเป็นการช่วยลดอุณหภูมิของต้นลำไย)   เมื่อมีการคายน้ำ ก็จะเกิดกระบวนการดูดซึมของราก ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่ของสารอาหาร โบรอนจะทำหน้าที่ช่วยในยืดหยุ่นเซลเพื่อขับเคลื่อนสารอาหารเหล่านั้นไปยังส่วนต่างๆ ของพืชต่อไป

               ปกติธาตุอาหารประเภทนี้จะต้องให้ทางดิน  เพราะต้นไม้จะสามารถนำธาตุแคลเซึยม แ่ละโบรอนไปใช้ได้    มีเกษตรกรหลายรายนำไปใช้พ่นทางใบ  แต่ที่ยังเห็นว่าได้ผล ก็เพราะว่าช่วงเวลาที่ใช้ธาตุอาหารดังกล่าวนั้น  อยู่ในช่วงที่ลูกลำไยกำลังพัฒนา และมักจะอยู่ในช่วงฤดูฝนพอดี  เมื่อมีฝนตกมา น้ำฝนจะชะล้างธาตุอาหารแคลเซึยมที่ติดอยู่ตามใบ และกิ่งให้ลงพื้นดินไป รากลำไยเลยสามารถดูดไปใช้งานต่อได้..ค่ะ

               แต่การใช้ ต้องเลือกระยะเวลาใช้ด้วย อย่าใช้ในช่วงที่ฝนเิพิ่งตก หรือฝนจะตกแน่  เพราะน้ำฝนจะทำให้สภาพดินเป็นกรด  แคลเซียมโบรอน มีสภาพเป็นกรด จะทำให้พืชได้รับกรดมากเกินไป ควรใช้เว้นสลับช่วงกับการให้น้ำกับลำไย และใช้ในระดับพอสมควรไม่ควรเกินกว่าคำแนะนำที่มักจะเขียนไว้ที่ข้างขวด...ค่ะ 


หวังว่า คงพอเข้าใจ...นะคะ

ดูแลต้นลำไยให้ดี จะได้รวย จะได้รวย...ค่ะ

ขอบคุณมากครับน้อง ได้ความรู้สะสมมาอีกหลายอย่าง เรียนไม่จบจริงๆครับ


พันจ่าเอก อิศวัส คำสวัสดิ์

สวัสดีครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ ช่วงนี้ลำใยผมกำลังแทงช่อดอก แต่ไม่พร้อมกันทั้งสวน บางต้นเป็นช่อสะเดาแล้ว บางต้นกำลังแตกไข่ปลา จะให้ผมทำยังไงดีครับ หรือว่า ให้น้ำพอชื้นๆไปก่อนรอลำไยแทงช่อพร้อมกันให้ชัดกว่านี้ดีครับ มีวิธีและขั้นตอนช่วยแนะนำผมด้วยครับ จักขอคุณยิ่งครับ จาก(จ่าโจ ชื่อเล่นผมครับ) ขอบคุณ

สวัดดีคับ 

มีเรื่องอยากจะปึกษาคุณยุ้ยนะคับ

จะใส่สารเดือนมิถุนายน มันจะเป็นช่วงฝนตกพอดีจะสะสมอาหารก่อนใส่สารนั้นควรใช้ปุ๋ยสุตรใหนดี

ตอนนี้พ่นปุ๋ยเกรด 0 52 34 ไปแล้ว1ครั้งไม่ทราบถูงหรือป่าวคับ


ถูำกต้องแล้วค่ะ 0-52-34 จะช่วยเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น แก่ไปพร้อมๆ กัน  

ไม่ต้องตัดปลายยอด  แต่ให้ตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งทับซ้อน  

แต่งทรงพุ่มลำไยให้โปร่ง แส่งส่องเข้าได้  ให้แต่ละกิ่งมีระยะห่างพอสมควร 

กิ่งไหนแทงปลายยอดออกมามาก ให้ตัดเก็บให้เหลือกิ่งละประมาณ 3 ยอดค่ะ 

1 เดือนก่อนราดสาร ใส่ 8- 24-24 เพื่อสะสมอาหารในใบ

0 52 34 จะต้องพ่นอีกกี่ครั้งคับ เพราะเพื่อนบ้านเขาพ่น2-3ครั้งเรยและต้อง+ธาตุเสริมอะไรเพิ่มหรือป่าวคับ ถ้าพ่น2-3ครั้งจะใช้ระยะห่างกันกี่วันและ 8 24 24 นี้พ่นกี่ครั้งคับ

  แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรต้องตระหนักคือเรื่องการใส่ปุ๋ย 0-52-34 ทั้งสองครั้งหลังจากราดสาร...นั้น  กลุ่มปุ๋ย และสารเคมีดังกล่าว เป็น "กลุ่มปุ๋ยร้อน" ซึ่งโดยปกติ ในเดือนพฤษภาคมของทุกๆ ปี  ปริมาณน้ำฝนจะมาก อุณหภูมิโดยรอบสวนจะเย็น  จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยดังกล่าวประมาณ 2 ครั้งตามที่เขียนข้างต้น  เพื่อช่วยให้ลำไยยังคงระดับอุณหภูมิร้อนคงที่  

                แต่ในปีนี้เมื่อฝนไม่ตก แถมยังแดดออกแรงจัดมาก ระดับความร้อนเขามีของเขาอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย 0-52-34 ถึง 2 ครั้ง  ให้เพียงครั้งเดียวก็พอ....นะคะ  หรือถ้าอากาศร้อนจัด มากๆ  ก็ไมจำเป็นต้องให้เลย จะดีกว่า...ค่ะ

               ให้กำมะถัน (ซึ่งจะเอาไว้ไล่แมลงในช่วงหน้าร้อน) 

               ให้ซิงค์ (เอาไว้เป็นภูมิคุ้มกันความแปรปรวนของอากาศ) 

               ให้แคลเซี่ยม (เอาไว้ช่วยให้เกิด กระบวนการคายน้ำ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายน้ำ และสารอาหารที่ปรุงจากใบแล้ว นำพาไปสู่ดอกลำไย) 

               ให้โบรอน (เพื่อไม่ให้เปลือกผิวลำไยแตก เนื่องจากโบรอนจะช่วยให้ผนังเซลของท่อน้ำส่วนต่างๆของต้นลำไยมีความยืดหยุ่น อ่อนตัว รับแรงดันจากการเคลื่อนที่ของน้ำ และสารอาหาร และช่วยให้ตากดอกลำไยเปิดออกได้ โดยไม่ต้องไปพึงยาเปิดตาดอกสารพัดยี่ห้อ  ซึ่งมีราคาแพงมาก  ส่วนใหญ่จะขวดห้าร้อยกว่าบาทขึ้นไปทั้งนั้น)

                 พอเกษตรกรหยุดให้ปุ๋ยกลุ่มร้อนๆ ที่ว่ามาข้างต้นแล้ว  ก็แล้วทำใจเย็นๆ  ใช้เวลาช่วงนี้ ไปนั่งริดใบน้ำค้าง (ใบเล็ก ใบน้อยที่ออกแทรกตามง่ามกิ่งลำไย)  เล่น  ดูจะมีประโยชน์กว่า...ค่ะ  

                 ให้น้ำไปเรื่อยๆ ทุกๆ 3 วัน ไม่นานเกษตรกรจะพบว่า ลำไยจะเริ่มแทงยอดดอกอย่างรวดเร็ว

               ปีนี้ ที่ลำไยไม่ออกไม่ใช่เพราะ ฟ้า ฝน แปรปรวนหรอก....ค่ะ

                ที่ลำไยมันไม่ยอมออกดอก  หรือออกดอกช้า ก็เพราะ "เกษตรกร ไม่มีความรู้ และไม่มีความเข้าใจสรีรวิทยาของต้นลำไย.....ต่างหาก


http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/537325   บทความของยุ้ยเกี่ยวกับการให้ 0-52-34 ในช่วงอากาศแปรปรวนในปี 2556 นี้ค่ะ

ถ้าเป็นภาวะปกติ  5 วัน  หลังราดสารก็ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 0-52-34+กำมะถัน   ถัดมาอีก 7 วันใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2  สูตร 0-52-34+ซิงค์  และแคลเซียมโบรอน กับธาตุอาหารจำพวกจุลธาตุ....

แต่ถ้าอากาศร้อนจัดในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2556 นี้.........ให้เพียงครั้งเดียวพอ...ค่ะ เพราะอากาศมันร้อนจัดอยู่้แล้ว ให้ 0-52-34 มาก  ยอดจะอั้น ไม่ยอมแทงยอดต่อค่ะ 

แต่พอหยุดให้ และให้น้ำทุกๆ 3 วัน เขาจะแทงยอดเร็ว...เห็นๆ เลยค่ะ

ผสมเองสูตรเหล่านี้ใช้เองได้ผลดี  ราคาถูกกว่าซื้อแบบซองสำเร็จ  ส่วนมากจะปกปิดสูตรผสม  เวลาสวนมีปัญหา เลยไม่รู้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มาจากสารตัวไหน...ค่ะ

จริงๆ แล้วก็ปู๋ย ยาตัวเดิมๆ แหละ  แต่ว่าเอามาผสมสำเร็จรูป เกษตรกรไม่ต้องคิดมาก หยิบใช้ได้เลย ดูๆ  ก็สะดวกดีค่ะ

แต่ส่วนมาจะมีการผสม โปรแทสเซียมคลอเรต KClO3 และ โปรแทสเซียมไนเตรท KNO3 (13-0-46) เข้าไปด้วย       ก็ช่วยให้ลำไยออกดอกเต็มต้น เห็นผลเร็ว และดูดีมากในระยะแรกๆ...ค่ะ   แต่ทำให้เกิดสารตกค้างตามกิ่ง และใบเยอะมาก  พอฝนตกชะล้างใบและกิ่งก้าน ก็ไหลต่อลงดิน  ก็สะสมในดินต่อไป เป็นชั้นๆ...ค่ะ  

ต้องเพิ่มกระบวนการล้างสารพิษกันอีก  เสียเงินเวลา

ถ้าไม่ล้างสารพิษ ผลที่จะตามมาในปีถัดๆไปคือ  ต้นลำไยจะพัฒนาช้า  ใบเล็ก  ก้านเล็กและกรอบ...ค่ะ  

แต่ถ้าเกษตรกรพอใจ ก็ไม่ผิดค่ะ ที่จะใช้วิธีการดังกล่าว   

น่าแปลกใจจัง พิมพ์ตอบไปแล้ว กลับมาดู ทำไม ไม่เห็นที่ตอบไป

การใส่ปุ๋ย 0-52-34  โดยปกติจะใส่ 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 หลังจากราดสาร 5 วัน ใส่ 0-52-34 ผสมกำมะถัน

ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ปู๋ยครั้งที่ 1  ให้นับไปอีก  7 วัน แต่ครั้งนี้ใส่ 0-52-34 ผสมแคลเซียมโบรอน และ่จุลธาตุ และซิงค์

แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรต้องตระหนักคือเรื่องการใส่ปุ๋ยทั้งสองครั้ง หลังจากราดสาร...นั้น กลุ่มปุ๋ย และสารเคมีดังกล่าว เป็น "กลุ่มปุ๋ยร้อน" ซึ่งโดยปกติ ในเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำฝนจะมาก อุณหภูมิโดยรอบสวนจะเย็น จึงต้องใส่ปุ๋ยดังกล่าวประมาณ 2 ครั้งตามที่เขียนข้างต้น  เพื่อช่วยให้ลำไยยังคงระดับอุณหภูมิร้อนคงที่  

                แต่ในฃ่วงนั้นๆ ถ้าฝนไม่ตก แถมยังแดดออกแรงจัดมาก ระดับความร้อนเขามีของเขาอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย 0-52-34 ถึง 2 ครั้ง  ให้เพียงครั้งเดียวก็พอ....นะคะ  หรือถ้าอากาศร้อนจัด มากๆ  ก็ไมจำเป็นต้องให้เลย จะดีกว่า...ค่ะ

               ให้กำมะถัน (ซึ่งจะเอาไว้ไล่แมลงในช่วงหน้าร้อน) 

               ให้ซิงค์ (เอาไว้เป็นภูมิคุ้มกันความแปรปรวนของอากาศ) 

               ให้แคลเซี่ยม (เอาไว้ช่วยให้เกิด กระบวนการคายน้ำ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายน้ำ และสารอาหารที่ปรุงจากใบแล้ว นำพาไปสู่ดอกลำไย) 

               ให้โบรอน (เพื่อไม่ให้เปลือกผิวลำไยแตก เนื่องจากโบรอนจะช่วยให้ผนังเซลของท่อน้ำส่วนต่างๆของต้นลำไยมีความยืดหยุ่น อ่อนตัว รับแรงดันจากการเคลื่อนที่ของน้ำ และสารอาหาร และช่วยให้ตากดอกลำไยเปิดออกได้ โดยไม่ต้องไปพึงยาเปิดตาดอกสารพัดยี่ห้อ  ซึ่งมีราคาแพงมาก  ส่วนใหญ่จะขวดห้าร้อยกว่าบาทขึ้นไปทั้งนั้น)


8-24-24  เป็นปุ๋ยที่จะให้ก่อนการราดสาร 1 เดือน ช่วยให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้น ส่วนใบแก่ ก็จะสะสมอาหารมากขึ้น...ค่ะ

สวัสดีครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ ช่วงนี้ลำใยผมกำลังแทงช่อดอก แต่ไม่พร้อมกันทั้งสวน บางต้นเป็นช่อสะเดาแล้ว บางต้นกำลังแตกไข่ปลา จะให้ผมทำยังไงดีครับ หรือว่า ให้น้ำพอชื้นๆไปก่อนรอลำไยแทงช่อพร้อมกันให้ชัดกว่านี้ดีครับ มีวิธีและขั้นตอนช่วยแนะนำผมด้วยครับ จักขอคุณยิ่งครับ จาก(จ่าโจ ชื่อเล่นผมครับ) ขอบคุณ


ขอโทษ เพิ่งเห็นคำถามค่ะ

ที่สวนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน  มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพเช่นนี้  ที่ตำบลสะตอน ที่บ้านของยุ้ย ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันเกือบทุกสวน โดยเฉพาะสวนที่ราดสารในเดือนมีนาคม และเมษายน จะมีสภาพเหมือนกันหมด คือยอดจะแทงไม่พร้อมกัน 

ได้ลองสอบถามผู้รู้หลายๆ ท่านก็ได้รับคำตอบหลายคำตอบ เลยไม่แน่ใจว่าจะสรุึปว่าเป็นเพราะอะไร แต่ที่แน่ๆ คือ กิ่งลำไยนั้นๆ (ในต้นเดียวกันอาจมีหลายกิ่ง) มีพัฒนาการไม่พร้อมกันอย่างแน่นอน...ค่ะ

อากาศก็เป็นตัวแปรทีสำคัญมาก อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความกดอากาศ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังนั้นมีผลกระทบต่อลำไยแน่นอน

ที่แน่ๆ คือ สวนลำไยที่ราดสารเดือนมีนาคม-เมษายน 56 ที่ผ่านมา เกือบ 100 %  ประสบปัญหาลำไยออกดอกไม้พร้อมกันค่ะ

การดูแล ก็คงต้องเลือกดูแลให้เหมาะสมกับแต่ละระยะค่ะ จะเหมารวม ใช้ปุ๋ย ยา ชนิดเดียวกันพร้อมกันไม่ได้  เรียกว่าเหนื่อยค่ะ สำหรับการดูแลลำไยที่มีพัฒนาการแตกต่างกัน  

ปีนี้  ที่สวนลำไยมีพัฒนาการต่างกันถึง 5 รุ่นเลยค่ะ

แต่ปีหน้าไม่ยอมให้เกิดปัญหานี้แน่ เพราะพอจะสังเกต และหาวิธีป้องกันสำหรับปีหน้าไว้แล้ว...ค่ะ


ยอดสะเดา และออกมาเป็นไข่ปลา แสดงว่ามีระยะห่างไม่ต่างกันมาก พอดูแลได้ค่ะ การให้น้ำจะแตกต่างกัน ดังนั้นเกษตรกร ควรให้หัวสปริงเกอร์ ที่มีวาล์วปรับระดับน้ำได้ เพื่อที่จะให้น้ำใรปริมาณที่แตกต่างกันค่ะ

ดอกสะเดายาวประมาณ 3 นิ้ว ต้องค่อยๆ เริ่มให้น้ำค่อยๆ เพิ่มขึ้นค่ะ แต่ช่วงไข่ปลา ยังคงต้องงดน้ำ เพื่อให้เขาพัฒนาออกมาเป็นยอดสะเดาก่อนค่ะ ถ้าให้น้ำมากในช่วงนี้ ยอดนั้นจะมีใบอ่อนแทรกได้...ค่ะ

ตอนนี้ราดสารปัยแร้ว7วัน ระยะนี้จะพ่น2-25-30ตามที่อ่านบนหน้าเวบ แต่ช่วงนี้ฝนตกมากๆทุกวันเรยจะมีผลอะไรหรือป่าวคับ ช่วยแนะนำหน่อย

ตอนนี้ราดสารปัยแร้ว7วัน ระยะนี้จะพ่น2-25-30ตามที่อ่านบนหน้าเวบ แต่ช่วงนี้ฝนตกมากๆทุกวันเรยจะมีผลอะไรหรือป่าวคับ ช่วยแนะนำหน่อย

พอราดสารเสร็จแล้ว หลายวันไหมคะ กว่าฝนจะตกลงมา แล้วตกหนักมากไหม  สวนอยู่ที่ไหนคะ

สอบถามเรื่องการใช้ปุ๋ยและขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู

1.  ก่อนราดสาร 20  วัน ใช้ 0-42-56 อัตรา 500  กรัม บวกน้ำตาลทางด่วน  500  กรัม ต่อน้ำ  200 ลิตร พ่นทางใบ  2  ครั้ง  ห่างกัน  7 วัน 

2.  ราดสารทางดิน  วันที่  9  มิ.ย  56  โดยใช้สาร 10 กก.  ผสมน้ำ  200  ลิตรพ่นรอบทรงพุ่ม  

3.  หลังจากนั้น  5  วัน  ใช้  สาร  400  กรัม บวก  13-0-46  อัตราส่วน  500  กรัมต่อน้ำ 200  ลิตร พ่น  2  ครั้ง  ห่างกัน  5 วัน  

4.  ราดสารได้  15  วัน  ใช้  ปุ๋ย  0-42-56  อัตราส่วน  500  กรัม  บวกเอทีฟอน  50  ซีซี  บวกน้ำตาลทางด่วน  500  กรัม  พ่นทางใบ  2  ครั้ง  ห่างกัน  5  วัน

อยากขอคำแนะนำจากน้องยุ้ยว่าขั้นตอนการทำถูกต้องไหมและควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง  ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวัน  เมื่อปีที่ใช้ 0-52-34  แล้วกดใบไม่อยู่  ปีนี้เลยเปลี่ยนมาใช้ 0-42-56  จะดีไหมและทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร  ถามต่ออีกนิด  ถ้าช่วงลำไยแทงช่อดอกออกมาแล้วยาวประมาณ 3 นิ้ว จะใช้ 0-42-56 อัตราส่วน 500  กรัม บวกน้ำตาลทางด่วน 500  กรัม  บวกเอทีฟอน  50  ซีซี ต่อน้ำ  200  ลิตร  พ่นเพื่อป้องกันลำไยใบแรงได้หรือไม่  เพราะกลัวช่อดอกจะแห้งและมีผลต่อการเจริญเติบโตของช่อดอกหรือไม่  และน้ำตาลทางด่วนมีผลต่อลำไยอย่างไร

ขอคำแนะนำด้วยนะคะ  

คับตกทุกวันเรยตั้งวันราดสารเรยคับที่นักจริงๆมีอยู่2วันคับ สวนอยู่อ.ลี้ จ.ลำพูนคับ

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

นู่่ยุ้ย แนะนำการดูแลลำไยช่วงใกล้จะเก็บผลผลิตหน่อยนะ ว่าควรให้ปุ๋ยทางใบและทางดินอะไรบ้าง

ที่ผมสนใจคือ อยากให้ลำไยอยู่ได้นาน ไม่ร่วงก่อน ที่จะแก่เต็มที่ ขอบคุณนะครับ

พอดีทำสวนประมาณ 600ต้นครับ พอใส่สาร ใบมันหล่นมากๆ( ใสแบบโรย 2 kg ต่อต้น) ใจหายเลย กลัวมันจะตาย แต่สัก 2 อาทิตย์ให้หลังกลับเริ่มมีไข่ปลา ตอนนี้เป็นช่อชัดเจแล้ว แต่มี ประมาณ 100 ต้นที่ แต่งสาว ใบเล็กๆปลายยอดหลุดลุ่ยหมด ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะหยั๋ง จะเอาอะไรไปพ่นก็กลัวมันจะแย่ไปกว่าเดิม ตอนนี้ก็ยังไม่แทงช่อใหม่

จะทำยังไงดีครับคุณยุ้ย

รักเกษตร

คุณ นโม....ต้องขอโทษด้วย ไม่ได้เข้ามาอ่านนานมากเลย ส่งสัยป่านนี้ คงออกหัว ออกก้อยไปแล้ว ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร เล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ใส่สารตั้ง 2 กิโล ไม่ทราบต้นลำไยอายุกี่ปี และรอบทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไรค่ะ จะได้ประเมินถูก ใส่สารมากระวังต้นกรอบนะคะ ผลผลิตในหลายๆ ปีถัดไป จะได้น้อยลง ต้องพึงระวัง...ค่ะ

ตอบคุณนพมาศ เชียงใหม่ ต้องขอโทษด้วยค่ะ ไม่ได้เข้ามานาน ป่านนี้คุณนพมาศคงได้คำตอบไปแล้ว ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไรเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ แต่ที่แน่ๆ ก็ทำได้ถูกต้องสมบูรณ์ดีค่ะ แต่ในรายละเอียดอาจมีความแตกต่างกันไปบ้าง เล็กน้อย เชื่อว่าที่ทำไป จะได้ผลค่ะ

เชื่อว่าการใช้ 0-42-56 ในช่วงฝนตกชุกจะได้ผลดีกว่าใช้ 0-52-34 ค่ะ เพราะ 0-52-34 จะใช้ดีในช่วงหน้าแล้งค่ะ การใช้ ปุ๋ยทั้งสองประเภท จะทำให้ลำไยชงักการแทงยอดค่ะ ช่อดอกจะนิ่ง และสั้น เนื่องจากนอกจากจะกดใบแล้ว จะส่งผลกระทบยอดจะนิ่งไปด้วยค่ะ เพื่อให้เลยระยะเวลาเปลี่ยนเป็นใบ (กดใบอ่อนไม่ให้พุ่ง) หลังจากนั้น ยอดจะพัฒนาต่อ และจะพุ่งอีกครั้ง...ค่ะ ถ้าฝนไม่ตกควรให้ปุ๋ย 5-25-30 จะช่วยให้ลำใยยืดช่อดอกได้ดีค่ะ แต่ต้องใช้เพียงคร้งเดียวก็พอค่ะ เอทีฟอน ไม่ควรให้ค่ะ ทำให้ลำไยแก่ตัวเร็ว ยับยั้งการเจริญเติบโตของยอดค่ะ แม้ว่าจะช่วยปลิดใบอ่อนได้ แต่ว่าถ้าให้มากเกิน จะทำให้ยอดดอกนิ่ง แดง และมีโอกาศไม่พัฒนาต่อ...ค่ะ น้ำตาลทางด่วนเป็นกลุ่มสารคีเลท ช่วยให้ต้นลำไยได้รับธาตุอาหารกลุ่มโปแทสเซี่ยมรวดเร็วขึ้น ช่วยได้ในด้านของการสร้างสมดุลย์ไม่ให้ฟอสฟอรัสมีมากเกิน ทำให้ลำใยไม่เกิดอาการธาตุเหล็กเป็นพิษ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการใบเหลือง ยอดเหลือง ใช้เพื่อปรับสมดุลย์ทำให้ลำไยพัฒนาต่อได้ค่ะ แต่ถ้าใช้มากสิ่งที่ตามมาคือ เชื้อราดำค่ะ จะเป็นคราบเหมือนฝุ่นผงสีดำ จับบนใบลำไย..ค่ะ เพราะน้ำตาลที่เหลือจะเป็นอาหารของเชื้อรา...ค่ะ ดังนั้น ไม่จำเป็นอย่าใช้ และถ้าจะใช้ อย่าใช้มากเกินค่ะ

นู่่ยุ้ย แนะนำการดูแลลำไยช่วงใกล้จะเก็บผลผลิตหน่อยนะ ว่าควรให้ปุ๋ยทางใบและทางดินอะไรบ้าง

ที่ผมสนใจคือ อยากให้ลำไยอยู่ได้นาน ไม่ร่วงก่อน ที่จะแก่เต็มที่ ขอบคุณนะครับ

ป่านนี้ลำไย คงเก็บขายไปแล้ว ต้องขอโทษด้วยค่ะ เพิ่งเข้ามาอ่าน.... แต่จะตอบสำหรับผู้ที่สนใจจะได้รับทราบ ส่วนมากถ้าเราดูแลลำไยได้ดีตามปกติ เราต้องมีการพัฒนาในเรื่องความหวานของลำไย ซึ่งต้องดูบริบทสวนลำไยว่า ได้รับธาตุอหารในกลุ่มโปรแทสเซี่ยมมากน้อยเพียงใด เนื่องจากเป็นการให้ธาตุอาหารที่เพิ่มความหวานให้กับลำไยค่ะ ถ้าน้ำมากลำไยจะแฉะ ถ้าน้ำพอดีลำไยจะหวานกรอบดีค่ะ ถ้าน้ำน้อยลูกลำไยจะเบา ไม่ได้น้ำหนัก ขายไม่ค่อยได้ราคาค่ะ

ปกติเราจะให้ 0-0-60 ทางดิน ให้ประมาณ 300 กรัม/ทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ผลผลิตคาดว่าประมาณ 50 กก.ต้นค่ะ ให้ประมาณ 30 วันก่อนการเก็บผลผลิต..นะคะ แต่ต้องระวังอย่าให้มากเกินเดี๊ยวจะได้เชื้อรามาแทนค่ะ

ลำไยจะรู้ตัวดีกว่าจะสุกเมื่อใด จากนั้นต้นลำไยจะสร้างฮอร์โมนในกลุ่มเอทีลีน ซึ่งเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต (ทำให้ผลสุก) ออกมาในลักษณะของแก๊สค่ะ ทำให้ลำไยโดยรวมในสวนแก่พร้อมๆ กันค่ะ

ส่วนการชลอการเจริญเติบโตนั้น จะให้ฮอร์โนในกลุ่ม ไซโคไตรนิน แต่จะใช้ช่วงการพัฒนาของชอดอกค่ะ กล่าวคือให้ยืดช่อดอกช้า แต่จะเพิ่มกิ่งก้านด้านข้างแทนค่ะ ทำให้ได้ช่อดอกเพิ่มขึ้น จากนั้นเมื่อหยุดใช้ ยอดจะค่อยๆ เติบโตต่อค่ะ ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่า เราได้หยุดการเจริญเติบโต หรือชลอการเจริญเติบโตไปได้ระยะหนึ่งค่ะ แต่จะนำมาใช้ช่วงลำไยใกล้สุก จะไม่ได้ผล...ค่ะ

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

นู๋ ยุ้ย งงกับบล๊อกของหนุ่มดอยเต่า เมื่อก่อนเข้าดูจะเจอกระทู้ของหนุ่มสอยดาว แต่เดี๋ยวนี้มีของหนุ่มดอยเต่าแต่เก่ามากตั้ง 2 3ปี กระทู้ใหม่ๆหายไปไหน บอกที ขอบคุณครับ

บอกตงจะร้องไห้. ผมอยู่ราชบุรีครับ ราดสารลำใยปีแรก. อะไรเป็นอะไรไม่รู้เลย. ราดเมื่อวันที่ 1 ตอนนี้เริ่มแทงยอดดอกแล้วครับ แต่ยอดดอกไม่ยาวเท่าไร พออ่านคำแนะนำแล้วค่อยโล่งใจว่ายังมีเวลาแก้ไข ตอนนี้ใช้ปุ๋ยเกร็ด 

13-0-46 ฉีดพ้นทางใบจากคำบอกเล่าของคนข้างบ้าน ไม่แน่ใจจะดีไหม. ขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ. ขอบพระคุณอย่างสูง

นู๋ ยุ้ย งงกับบล๊อกของหนุ่มดอยเต่า เมื่อก่อนเข้าดูจะเจอกระทู้ของหนุ่มสอยดาว แต่เดี๋ยวนี้มีของหนุ่มดอยเต่าแต่เก่ามากตั้ง 2 3ปี กระทู้ใหม่ๆหายไปไหน บอกที ขอบคุณครับ

ตอบคุณสมชาย    กระทู้ของคุณหนุ่มดอยเต่า มีหลายกระทู้ ตั้งแต่หลายปีก่อน ดังนั้นหากเปิดโดยเลือกหาจากชื่อ "หนุ่มดอยเต่า" ต้องค่อยๆ คลิกดูแต่ละอันค่ะ  แบบว่าพี่เขาเขียนไว้นาน และเยอะมาก ดีที่สุดคือให้ทำการเซฟไว้ จะได้ไม่เสียเวลาในการหามาก... และเมื่อเปิดเข้าอ่านแล้ว ต้องเปิดไปที่หน้าท้ายๆ หรือหน้าสุดท้าย จะพบกับคำตอบ คำถามของคุณหนุ่มสอยดาว ซึ่งเข้ามาถามตอบบ่อยมากๆ ในช่วงหลังๆ นี้.....ค่ะ

บอกตงจะร้องไห้. ผมอยู่ราชบุรีครับ ราดสารลำใยปีแรก. อะไรเป็นอะไรไม่รู้เลย. ราดเมื่อวันที่ 1 ตอนนี้เริ่มแทงยอดดอกแล้วครับ แต่ยอดดอกไม่ยาวเท่าไร พออ่านคำแนะนำแล้วค่อยโล่งใจว่ายังมีเวลาแก้ไข ตอนนี้ใช้ปุ๋ยเกร็ด 

13-0-46 ฉีดพ้นทางใบจากคำบอกเล่าของคนข้างบ้าน ไม่แน่ใจจะดีไหม. ขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ. ขอบพระคุณอย่างสูง

ตอบคุณออฟ น๊ะจ๊ะ

ไม่ต้องร้องไห้ค่ะ  ปกติถ้าราดสารในช่วงที่ใบลำไยไม่พร้อม โอกาสที่จะเห็นแทงยอดลำไย ก็จะนานขึ้น กว่าจะจบกระบวนการก็ใช้เวลา 25-35 วันอยู่แล้ว เพิ่งจะราดสารเมื่อวันที่ 1 วันนี้เพิ่งวันที่ 25 เอง ก็เพิ่งจะเห็นยอด แสดงว่าราดสารตอนใบยังไม่ถึงกับเพสลาด อีกอย่างเดี๋ยวนี้สารที่ใช้ราด เขาผสมแป้งเยอะมาก แบบว่าชาวสวนแถวบ้านยุ้ย ต้องใช้ถึงสองเท่าของอัตราปกติ ถึงจะบังคับให้ลำไยออกดอกได้ ไม่สมกับคำโฆษณาที่พิมพ์ไ้ว้ข้างถุงเลยว่า บริสุทธิ์ 99.9 %

ปุ๋ย 13-0-46 เป็นปุ๋ยที่เริ่มนำมาใช้ โดยระยะแรกนำมาผสมกับ สารโปรตัสเซียมคลอเรต เพื่อฉีดพ่นซ้ำหลังจากราดสารไปได้ประมาณ7 และ 15 วันตามลำดับ  

แต่ช่วงหลังๆ นี้ 13-0-46 ได้นำมาผสมไปพร้อมกับการราดสารเลยก็มี เพียงแต่ใช้ในอัตราที่น้อยลง อีกประการ 13-0-46 มีราคาถูกกว่าสารโปรตัสเซียมคลอเรตที่นับวันจะผสมแป้งมากขึ้น แถมมีราคาแพงขึ้นอีก เริ่มใช้ไม่ได้ผล เกษตรกรจึงหันมาใช้ 13-0-16 กันมากขึ้น

13-0-46 ได้มีอาจารย์ที่จบจากเกษตรภาคเหนือ นำมาผสมกับกำมะถัน และเพิ่มเติมแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลำไยแล้วใส่ถุงขายเป็น แจ้งว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ (เขาเขียนไว้ข้างถุง...ค่ะ แต่ไม่เขียนบอกว่ามีอะไรผสมในอัตราส่วนเท่าไร...บ้าง แต่มองดูก็พอคาดเดาได้ ว่าสิ่งใดจำเป็นในช่วงเวลาของการชักนำให้เกิดดอกลำไยได้บ้าง)  

13-0-46 หากใช้หลังการราดสาร ต้องใช้หลังราดสารไม่เกิน 25 วัน โอกาสที่ลำไยจะแทงยอดจะมีสูงกว่า  แต่ถ้าเกิน 25 วัน โอกาสก็จะได้ยอดลำไย ก็จะน้อยลงไปค่ะ

ยังไม่มีการวิจัยผลกระทบของการใช้ 13-0-46 ตัวนี้  ก็คงต้องรอดูในระยะยาวว่า  สวนลำไยที่ใช้สารโปรตัสเซียมคลอเรตในปริมาณมาก  รวมไปถึงการใช้ 13-0-46  และสารเคมีอื่นๆ  จะทำให้ลำไยมีอาการต้นกรอบ ลำต้นแคระแกน ใบเล็ก ได้ผลผลิตน้อยหรือไม่  

อีกประการดินในบริเวณสวนลำไยทีได้ราดสารเหล่านั้น และยังแถมพ่นยาฆ่าหญ้า ซึ่งพวกเศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้ง หรือใบหญ้าสดที่ได้ตัด หรือไถ่กลบไว้  จะมีระยะเวลาในการย่อยสลายช้าลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน หรือไม่ เนื่องจากบรรดาพวกไส้เดือน แ่ละจุลินทรีย์ที่จะช่วยย่อยสลาย ได้พากันอพยพหนีหายไปหมดหรือไม่...ค่ะ

สรุป ใช้ได้ค่ะ 13-0-46 รับรองว่าแทงยอดได้ค่ะ แต่ผลสุดท้ายระยะเวลา ไม่รับประกันว่าจะเป็นเช่นไร

หากต้องการยืดช่อดอก ก็ใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ที่ผสมฮอร์โมน "จิบเบอเลอริน" และ ฮอร์โมน "ไซโตไคนิน" ได้...ค่ะ  ให้ใช้รวมกับ 5-25-30 ฉีดพ่นในช่วงหลังจากที่ลำไยได้แทงยอดดอกออกมาแล้วมีความยาวสักประมาณ 3 นิ้วค่ะ  จะทำให้ได้ช่อดอกยืดยาว ทั้งแนวตรง และด้านข้าง  แต่อย่าลืมใช้ "โบรอน" ผสมลงไปด้วย เพื่อทำให้ผนังเซลของก้านช่อดอก มีความหยุ่นตัว ทำให้ยอดพุ่งได้ดีค่ะ

แต่ต้องระวังอย่าไปเลือกใช้ฮอร์โมนในกลุ่ม "ออกซิน" หรือใช้ "พาโคลบิวทาโซน" หรือสารอื่นๆ ในกลุ่ม ที่ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับฮอร์โมน "จิบเบอเลอริน" หรือ "ไซโตไคนิน" มาใช้...นะคะ  ไม่อย่างนั้นจะพบเห็นอาการของยอดช่อดอกที่ออกมา มีอาการนิ่งสนิท ทำให้ลยอดยดอกกลำไยชงักการเจริญเติบโตได้...ค่ะ  

ขออนุญาติครับน้องยุ้ยI ผมโพสไม่ได้ครับเลยเปิดบล็อคใหม่ครับhttp://www.gotoknow.org/posts/543308

เพื่อร่วมแชร์ประสบการณ์ครับ ขอบคุณครับ

เวลาที่ดอกลำไยบานเต็มที่กำลังจะโรยจะมีลูกลำไยโผล่มาให้เห็นแทนที่ของดอกเลยหรือไม่ หรือว่าต้องรอให้ดอกร่วงหมดก่อนถึงจะมีลูกตามมาคะ เคยมีหรือไม่ที่ลำไยออกดอกแต่ไม่มีลูก

หลังจากดอกลำไยบานเต็มที่ จะเริ่มโรย  หากดอกลำไยนั้นเป็นตัวเมีย และได้รับการผสมแล้ว   หลังจากดอกโรยไป เราจะเห็นตุ้มสองข้างเป่งค่อยๆ เป่งออกมา ในขณะที่ก้านเกสรตัวเมียยังมีก้านยอดชูอยู่   มองดูเผิ่นๆ แล้วเหมือน (ขอโทษ..นะคะ) เหมือนบักห่ำน้อยเด็กๆ...อ่ะค่ะ

สังเกตุดีๆ ว่าลูกลำไยมักจะออกมาเป็นคู่เสมอ ยกเว้นมีหนอนเจาะขั่วลำไยมารบกวน จะเจาะกวนทำลายข้างใด ข้างหนึ่งไป หรือทั้งสองข้าง ลูกลำไยก็จะเกร็ง และไม่พัฒนาต่อ...ค่ะ

ส่วนมากดอกจะเริ่มบานจากโค่นก้านช่อดอกก่อน ก็จะได้รับการผสมก่อน...ค่ะ

ดอกไหนไม่ได้รับการผสมก็จะหลุดร่วงไป  หรือแม้แต่ดอกที่ได้รับการผสมแล้ว แต่ถ้าดูแลไม่ดี ขาดน้ำ ขาดปุ๋ย หรือเราดันไปพ่นยาโดยใช้แรงดันน้ำสูงเกิน ดอกลำไยก็จะร่วงได้เหมือนกัน...ค่ะ

ลำไยออกดอก แต่ไม่มีลูก...มีค่ะ ส่วนมากมาจาก 2 ประการนี้ คือ

1. ช่อดอกลำไย มีแต่ดอกเกสรตัวผู้มากกว่าดอกเกสรตัวเมีย เลยไม่ค่อยมีดอกตัวเมียให้ผสม

2. ช่อดอกลำไย มีดอกเกสรตัวเมีย แต่ไม่ได้รับการผสม หรือมีดอกที่ได้รับการผสมเกสรน้อยมากๆ อย่างนี้มีโอกาสดอกโรย โดยไม่ติดผลได้...ค่ะ  หรือถ้าจะได้ก็จะได้น้อยมาก

จ่าหมี คนหลังเขา (สอยดาว)

ขอคารวะน้ำใจงามๆ ของนู๋ยุ๋ย แก้ตุ่ย และทุกๆ ท่านครับ

     ผมกำลังรออนุมัติให้ลาออกจากราชการครับ อยากมาทำสวนลำไยบ้าง บ้านอยู่ทับช้าง อ.สอยดาว เรียนขอคำแนะนำการเตรียมการปลูกลำไย ระยะการปลูก พันธุ์ ครับ อย่างอื่นไว้ถึงเวลาจะรบกวนครับ ขอคุณครับ

ยินดีค่ะ...คุณจ่ามี

อยู่ทับช้าง ใกล้ๆ กันแค่นี้เอง

1. ตั้งใจจะเริ่มปลูกเมื่อใด และ

2. ที่ดินจำนวนกี่ไร่ ปัจจุบันปลูกอะไรอยู่้

3. สภาพของที่ดิน และดินที่ตั้งใจไว้ว่าจะปลูกลำไย มีลักษณะอย่างไร

4. มีต้นลำไยเดิมอยู่้แล้ว หรือเริ่มกันใหม่เลย...คะ

5. มีแรงงาน (จ้างเหมาทำงานเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ควรอยู่ประจำ ไม่คุ้ม

6. มีแหล่งน้ำหรือไม่

7. ทุนมีพอหรือไม่

8. มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกลำไยมากน้อยเพียงใด

ฯลฯ

ลองพิมพ์เล่าบริบทของสวนลำไยมาคร่าวๆ ก็ได้ค่ะ ยุ้ยจะสามารถประเมินได้ว่า คุณจ่ามี ควรจะเริ่มต้นจากอะไรก่อน....หลัง

แต่ถ้าตอนนี้หากทำได้  ระหว่างรอการอนุมัติให้ออกจากราชการ    ควรทำการเพาะชำต้นกล้าลำไยที่จะนำมาปลูกเอาไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ จะประหยัดเวลาการดูแลได้มาก  และจะได้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงเพราะปลูกจริง...ค่ะ

ให้เลือกซื้อกิ่งพันธุ์จากสวนเดียวกัน  ไม่ต้องเอาต้นโตมาก  อย่าใจร้อน  เอาต้นเล็กแน่นอนกว่า  แต่อย่าถึงกับให้เล็กจัด..นะคะ  เสียเวลาปลูก...ค่ะ

เลือกกิ่งที่ใบสด ไม่มีโรค เชื้อรา หรือแมลงรบกวน  สีผิวกิ่งยังสด ไม่แห้งแข็ง หรือแก่จนเป็นสีออกขาว หรือแข็งจนเปลือกแตก  

อย่าไปซื้อกิ่งพันธุ์แบบวางขายริมถนน  เพราะเขาไปเหมารับซื้อมาจากสวนหลายๆ แหล่ง   แล้วเขามารวมวางขายไว้ด้วยกัน พวกนี้โตไม่พร้อมกันค่ะ

แต่ถ้าไปถามเขา เขาก็จะบอกว่า เอามาจากสวนเดียวกันหมด เชื่อไม่ได้...ค่ะ  

ต่อให้ถามว่ามีสวนลำไย...ไหม   เขาก็จะบอกว่ามี ไม่เชื่อจะพาไปดู  แล้วเขาก็จะพาไปสวนลำไย ที่เตี้ยมกันไว้ล่วงหน้า

ไม่เวิร์ค...ค่ะ  ถ้าต้องการจริงๆ จะแนะนำให้ใช้พันธุ์ที่มาจากสวนที่ยุ้ยซื้อมาปลูกจะดีกว่า (ที่จริงก็ว่า ปีหน้า จะตอนกิ่งขายเองอยู่ 555)

 

แนะนำให้ซื้อจากสวนที่เขาปลูกเลย และตอนขายเอง  จะเห็นๆว่าสายพันธุ์เป็นอย่างไร ได้ดูลูกลำไยของเขาด้วย ว่าจะออกมาหน้าตาแบบไหน ผิวสีอย่างไร 

เมื่อได้กิ่งพันธุ์มาแล้วก็ให้นำมาเพาะชำไว้ในถุงขนาดใหญ่  หรือถังใบใหญ่ๆ  เพาะชำ กึ่งปลูกกันไว้ล่วงหน้าไว้เลย...ค่ะ

ให้ต้นลำไยเติบโตไปเรื่อยๆ  รอจนกว่าจะเตรียมสถานที่  ถากถ่าง ไถ่ ตากดิน บ่มดิน เดินท่อน้ำ และอื่นๆ เสร็จ ก็จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี   ก็จะพอดีต้นลำไยที่เราได้ชำไว้เจริญเติบโตขึ้นมาก  เมื่อนำไปปลูก จะช่วยย่นระยะเวลาการคืนเริ่มราดสาร และได้ทุนคืนเร็วกว่า...ค่ะ

จากประสบการณ์ที่เคยได้ทำมา  ขอแนะนำให้ปลูกระยะประชิด...ค่ะ  เป็นการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สุงสุด  ทำผลผลิตในการราดสารปีที่ 1 และ 2 ได้มาก   เมื่อต้นลำไยโตขึ้นในช่วงการราดสารครังที่ 3 หรือ 4  เราสามารถที่จะตัดต้นลำไยออก เพื่อให้ได้ระยะตามที่ตั้งใจ...ค่ะ  อย่าไปเสียดาย...ค่ะ  แต่ถ้าเสียดายให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

ต้นที่เราไม่ต้องการ ก็ให้ตัดออก  หากลำไยยังไม่โตมาก  เราสามารถใช้กรรมวิธีการการขุดรอบๆ แล้วให้คนงานช่วยกันยกเคลื่อนย้ายทั้้งต้นเลยค่ะ  

นำไปชำในต่อ ในกระบะใหญ่ๆ  เพื่อขายต่อ เป็นต้นลำไยขนาดใหญ่  สามารถทำราคาดี...ค่ะ หรือ

จะทำการตอนกิ่งเล็กทั้งหมดก่อนจะตัดทิ้งก็ได้...ค่ะ  ก็จะได้กิ่งพันธุ์ไว้จำหน่ายจำนวนมาก เอาทุนคืนก้อนแรกมาก่อนเลย...ค่ะ

 

แค่นี้ก่อน...นะคะ

 

สนใจแบบไหน เลือกได้ค่ะ

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

  นู๋ยุ้ย แนะนำหน่อยนะครับ ปีนี้ลำไยที่เชียงรายลูกเล็กมาก ต่างกับทุกปีนะเวลานี้มีแตจับโบ้ เอเอ

แต่ปีนี้เร่งเท่าไหร่ก็ไม่โต สาเหตุจากช่วงระยะเรีิ่มสร้างเนื้อมันขาดน้ำหรือเปล่า จำได้ว่า 15 กค.

ใส่ปุ๋ย 0 0 60 บวก 13 13 21 มันก็ไม่ค่อยโตเท่าไหร่ มีวีธีไหนบ้างบอกด้วย ขอบคุณ

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

นู๋ยุ้ย แนะนำหน่อยนะครับ ปีนี้ลำไยที่เชียงรายลูกเล็กมาก ต่างกับทุกปีนะเวลานี้มีแตจับโบ้ เอเอ

แต่ปีนี้เร่งเท่าไหร่ก็ไม่โต สาเหตุจากช่วงระยะเรีิ่มสร้างเนื้อมันขาดน้ำหรือเปล่า จำได้ว่า 15 กค.

 

ใส่ปุ๋ย 0 0 60 บวก 13 13 21 มันก็ไม่ค่อยโตเท่าไหร่ มีวีธีไหนบ้างบอกด้วย ขอบคุณ

 

ตอบคุณสมชาย

        สิ่งที่คุณสมชายถามนั้น เป็นคำตอบในตนเอง เนื่องจากคุณสมชายพิจารณาลักษณะการดูแลว่าขาดน้ำหรือไม่นั้น ก็เป็นสาเหตุประการหนึ่ง  การไม่ใช้แคลเซี่ยม และโบรอน ก็อีกประการหนึ่ง และการใช้ 0-0-60 หรือ 13-13-21  จะเป็นการใช้สำหรับ 30 วันสุดท้ายก่อนการเก็บผลผลิต

        แต่ในช่วงที่ลำไย พัฒนาจากลูกเท่าหัวไม้ขีด หรือเมล็ดถั่วเขียวนั้น มีกระบวนการที่จำเป็นต้องดำเินินการ คือการล้างสารพิษตกค้าง เพื่อช่วยไม่ให้รากลำไย ถูกปิดกั้น จนไม่สามารถดูซึม ธาตุอาหาร และแร่ธาตุเข้าไป เพื่อการเจริญเติบโตได้  แม้ว่าเกษตรกรจะใส่ปุ๋ย ให้ยา หรือสารเคมี ให้น้ำอย่างดี เรียกได้ว่าถูกต้องทุกประการ  ก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกลำไยมีการพัฒนาแต่อย่างใด  เพราะไม่ได้มีการกำจัดสารพิษตกค้าง ซึ่งทำให้รากถูกปิดกั้นการดูดซึมไว้หมดแล้ว  จะมีก็แต่หญ้าภายในสวนลำไย เติบโต ออกดอกอย่างดีแทน

        คุณสมชายไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ราดสารวันที่เท่าไร หรือว่า ดอกลำไยเริ่มร่วงจนเห็นเป็นลักษณะที่รู้ได้เ่ลยว่า ดอกลำไยดอกนี้ติดลูกแน่นอน หรือที่ยุ้ยเรียกเอาเองว่า ระยะ "บักห่ำน้อย" ซึ่งจะสามารถประเมินสถานะการณ์ และแก้ไขปัญหาในแต่ละช่วงได้ อย่างไร ช่วยแจ้งมาด่วน...ค่ะ  เพราะการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ถึงแม้วิธีการจะถูกต้อง แต่ในความเป็นจริงมันผิดเวล ซึ่งกลับทำให้การแก้ปัญหาด้วยวิธีนั้นกลับไม่ถูกต้อง และจะสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้นมาทันที

ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้...ค่ะ

      1. วันที่ ที่ดอกลำไยร่วงโรย จนเห็นการติดผลลำไย (ระยะบักห่ำน้อย) คือ วันที่เท่าใด เดือนอะไร

      2. ประวัติการดูแล การให้น้ำ ให้ปุ๋ยยา หรือสารเคมี (ควรมีการจดบันทึกไว้อย่างละเอียด และจดบันทึกสม่ำเสมอทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงานภายในสวนลำไย  เพื่อประกอบการวินิจฉัย)

 

แต่ระหว่างนี้ ขอขยายสาเหตุของลำไยมีลูกขนาดเล็ก....หน่อยค่ะ

     สาเหตุที่ลำไยมีลูกขนาดเล็กลงนั้น อาจมีปัจจัยดังต่อไปนี้

             ประการที่ 1. เิกิดจากผลจากผลกระทบของสารเคมีที่คงเหลือตกค้างอยู่ในดิน ลำต้น และ ใบ  ซึ่งได้แก่ สารโพแทสเเเซียมคลอเรต ซึ่งเราใช้สำหรับราดสารทำลูกลำไย และยากำจัดแมลง และกำจัดเชื้อราทุกประเภท ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้สิ่งมีชีวิตในดินตาย หรือหนีหายไป เช่นไส้เดือน มดแมลงใต้ดิน รวมถึงจุลินทรีย์ภายในดินซึ่งหนีไม่ได้ ตายสถานเดียว 

             ซึ่งโดยปกติหลังการเก็บเกี่ยว เราจำเป็นต้องกำจัดสารพิษตกค้างเหล่านี้ด้วยการใช้

                1.1  ใช้ EM ผสมน้ำฉีดพ่นทรงพุ่มต้นลำไยทั้งต้น และพ่นบริเวณพื้นดินให้ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณที่ราดสารควรพ่นให้มากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งจะได้ผลรวดเร็วกว่า

                1.2  ใช้กากน้ำตาลผสมน้ำเทราดใต้ทรงพุ่มลำไย และเพิ่มมากขึ้นในบริเวณที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรต

                1.3  ใส่ปุ๋ยคอก (ปุ๋ยขี้วัว) เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน โดยใส่บริเวณใต้ทรงพุ่ม และรอบๆ บริเวณที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรตครั้งสุดท้าย

                1.4 สปริงเกอร์น้ำ เพื่อให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการเจริญเติบโต และช่วยในการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน

หมายเหตุ : กากน้ำตาลเป็นอาหารของจุลินทรีย์

 

ผลของสารเคมีตกค้าง

        โพแตสเซียมคลอเรต  จะรบกวนรากของต้นลำไย ด้วยการปิดกั้นการดูดซึมของราก ทำให้ต้นลำไยไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ต้นลำไยจะพัฒนาช้า ถึงไม่พัฒนาเลย  ซึ่งมีผลดังนี้

              1. หากเป็นระยะที่ลำไยต้องการสร้างใบก็จะได้ใบเล็ก แคระแกร่น ใบบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบซีดเหลือง หรือใบมีจุดสีม่วงกระจัดกระจาย   ทำให้ลำต้น และกิ่งก้านของลำไยมีขนาดเล็ก และเปราะ ฉีกขาด หรือแตกหักได้ง่าย

              2. ถ้าเป็นระยะที่ลำไยกำลังสร้างผล  สารตกค้างเหล่านี้ จะทำให้ลูกลำไยไม่พัฒนาเติบโต หรือมีการเจริญเติบโตช้า และได้ลูกลำไยที่มีขนาดเล็ก

         ดังนั้น ในระยะที่ลูกลำไยมีขนาดเท่าหัวไม้ขีด  สิ่งที่เกษตรกรควรทำคือ ใช้ EM ผสมน้ำ ฉีดพ่นทรงพุ่ม และโคนต้นลำไย เพื่อช่วยให้พิษสารตกค้างดังกล่าวสลายไปบ้าง และช่วยให้มีจุลินทรีย์ และแมลงผิวดิน และใต้ดินมากขึ้น จะช่่วยให้รากลำไยสามารถดูดซึมปุ๋ย หรือธาตุอาหารในดิน  เพื่อนำไปใช้สำหรับพัฒนาการด้านเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของต้นลำไย ซึ่งรวมถึงการเจริญเติบโตของลูกลำไยที่เราต้องการด้วย

หมายเหตุ : การกำจัดสารพิษสารเคมีตกค้าง

         สำหรับทรงพุ่มให้ใช้ EM ผสมน้ำฉีดพ่น เท่านั้น ไม่ควรใช้กากน้ำตาลเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกากน้ำตาลเป็นอาหารของเชื้อรา จะทำให้เกิดราดำเกาะเกาะที่ลำต้น ใบ และผล โดยเฉพาะบริเวณผิวของลูกลำไย ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (ผิวไม่สวย เป็นจุดกระสีดำ หรือเป็นคราบ ทำให้ลำไยลูกลาย)

         การฉีดพ่นจะกระทำเพียง 2 ครั้ง คือ

                   1. หลังจากลำไยติดผลได้ขนาดเท่าหัวไม่ขีดไฟ หรือเมล็ดถั่วเขียวแล้ว ให้ทำการพ่นอิมิดาคลอพิค เพื่อป้องกัน กำจัดหนอนเจาะขั่วผล และกำจัดแมลงในกลุ่มปากดูด เช่นพวกเพลี้ยไก่แจ้ลำไย และเพลี้ยไฟ ฯลฯ  หลังจากนั้น 10-15 วัน เมื่อพิษของยากำจัดแมลงหมดลง ให้ใช้ EM ผสมน้ำฉีดพ่นทรงพุ่ม ตามคำแนะนำเบื้องต้น

                   2. ให้ทำการฉีดพ่น EM ในครั้งที่ 2 ถัดจากครั้งแรก 10-15 วัน

หมายเหตุ :  - EM สามารถใช้ผสมพร้อมปุ๋ยทางใบทุกชนิดได้ ยกเว้นยากำจัดแมลง  เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ ใน EM ตาย

               - ในระยะลูกลำไยมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มสร้างเนื้อแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นทรงพุ่มด้วย EM หรือให้น้ำผสมกากน้ำตาลทางดินอีก  เนื่องจากจะทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อรา

               -  กรณีที่บริบทของสวนลำไยของเกษตรกร ซึ่งอยู่ในระยะการทำลูกลำไยนั้น เป็นช่วงที่มีอากาศเปิด ลมพัด หรือมีแดดจัด เพียงพอที่จะช่วยให้การระบายความชื้นภายในทรงพุ่มของลำไย หรือระบายความชื้นภายในบริเวณสวนได้ดี  เกษตกรจะสามารถใช้ EM ผสมน้ำฉีดพ่นเพิ่มเติมได้อีกทุก 10-15 วัน จะช่วยให้ประหยัดปุ๋ยได้ 

               -  ให้หยุดพ่น EM ในช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต  เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรต้องใส่ปุ่ย 0-0-60 ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพความหวานให้กับเนื้อลำไย ถ้าหากพ่น EM ในช่วงเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์ใน EM จะเข้าไปแย่งอาหาร และ EM จะเจริญเติบโตอยู่บริเวณกิ่ง ใบ และผล  ซึ่งอาจทำให้ผิวลำไยไม่สวยได้ 

               -  หากเกิดเชื้อราดำ จะช่วยได้ด้วยการพ่นยากำจัดเชื้อรา "อามิสตา"  ซึ่งนอกจากจะกำจัดเชื้อราแล้ว ยังมีสภาพเป็นกรดอ่อน ทำให้ผิวลำไยยุ่ย เป็นขุ๋ย หลังการใช้อามิสตาแล้ว  ถ้าหากไม่มีฝนตกลงมากชะล้าง จะทำให้ลำไยเป็นคราบ ผิวไม่สวย

               - หากเกิดเชื้อรา หรือคราบ บริเวณผิวลูกลำไย เกษตรกรสามารถแก้ไขได้ ด้วยการใช้เครื่องฉีดพ่นน้ำสะอาด         โดยพ่นให้เป็นละอองมีความแรงพอสมควร ไปยังช่อผลลำไย

               - การฉีดพ่นละอองน้ำนั้น จะต้องฉีดพ่นจากช่อลำไยที่อยู่ข้างบนสุด ลงมาช่อข้างล่างสุด  อาจจะทำให้เกษตรกรเสียเวลา เสียแรงงาน และเสียเงินค่าจ้าง แรงงาน  และไม่อาจรับประกันได้เลยว่า ผิวลำไยจะสวยงามทุกช่อ เนื่องจากอาจจะยังมีฤทธิ์ตกค้างของยา "อามิสตา" คงอยู่ตามช่อผลต่างๆ อีกหรือไม่ 

               - การจะเลือกใช้ยา "อามิสตา" ควรดูถึงปัจจัยที่จะทำให้เกิดเชื้อราภายในสวนลำไยของเกษตรกรก่อน ดังนี้

                        - บริบทที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดเชื้อรา ภายในสวนลำไย

                               1. ภายในสวนโดยรอบมีความชื้นสูง (ช่วยในการขยายเส้นใยของเชื้อรา)

                               2. ท้องฟ้าอรึมครึม ไม่มีแดดออกเลยต่อเนื่อง 3 วัน (ช่วงวันที่ 4 จะเกิดทั้งแปลงทันที)

                               3. อากาศร้อนอบอ้าวตลอด (ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อรา)

                               4. เดือนสุดท้ายเพิ่งใส่ปุ๋ย 0-0-60 ไป หรือให้สารอาหารทางใบในกลุ่มน้ำตาล (เป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา)

                      - บริบทที่เป็นปัจจัยที่จะช่วยบรรเทาการเกิดเชื้อราภายในสวนลำไย

                               1. เกิดฝนตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก (เม็ดฝนจะตัดเส้นใยเชื้อราขาด ต้องเริ่มเติบโตกันใหม่)

                               2. ท้องฟ้าเปิด มีแดดจัดตลอด 2 วัน (ทำให้ความชื้นภายในสวนลดลง)

                               3. ลมพัดต่อเนื่อง ไม่อบอ้าว (ลดอุณหภูมิภายในสวน แต่ก็อาจจะเป็นลมที่พัดพาเชื้อราใหม่เข้ามาได้เ่ช่นกัน)

                               4. งดเว้นการใส่ปุ๋ย 0-0-60  หรือสารอาหารทางใบในกลุ่มน้ำตาล (ลูกลำไย แม้จะไม่หวานมาก ก็ยังสามารถขายผลผลิตลูกลำไยได้ แต่ถ้าผิวลำไยเกิดลาย ก็จะเสียราคาทันที)

 

                ประการที่ 2  กระบวนการดูแลลำไย ไม่สอดคล้องกับจังหวะของสภาพบริบทสวน

บริบทหมายถึง สภาพแวดล้อมของสวนลำไย อันได้แก่

             - ปัจจัยภายนอก อันได้แก่สภาพอากาศ การให้ปุ๋ย หรือสารเคมี การให้น้ำ การดูแลป้องกันการกำจัดเชื้อรา และแมลงศัตรูพืช เงินทุนขาดแคลน  ตัวบุคคลผู้ดูแลสวนลำไย : ความรู้เชิงวิชาการด้านสรีรวิทยา ความรู้ในเรื่องการใช้ปุ๋ย และสารเคมีต่างๆ ความเชื่อมั่นในตนเองสูง และความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน การไม่ตรงต่อช่วงเวลาที่จำเป็นจะต้องดำเนินการ การสุ่มเสี่ยงกระทำการที่คิดเอาเองว่าน่าจะถูกต้อง (ซึ่งความจริงไม่ถูกต้อง)ฯลฯ

             - ปัจจัยภายใน อันได้แก่ สภาพของต้นลำไย ความพร้อม ความสมบูรณ์ โรคพืช โรคแมลง สภาพดิน  การได้รับสารพิษตกค้างสะสม ทำให้ความสมดุลของระบบสรีรวิทยภายในมีการผิดปกติ ฯลฯ

             จากที่บรรยายมาซะยืดยาว ทั้งหมด  เพื่อให้พอทราบหลักการ และเหตุผลที่ทำให้ลำไยลูกเล็ก  ให้คุณสมชายลองอ่าน และพิจารณาดูว่า  ปัจจับใดเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกลำไยมีสภาพอย่างที่เกิดขึ้น เพราะยุ้ยไม่ทราบบริบท และวิธีการดูแลของคุณสมชาย เหมือนตัวคุณสมชายเอง

             แต่ถ้าเชียงรายทั้งจัดหวัด ส่วนใหญ่เป็นเหมือนกันหมดเลย ก็พอจะสรุปประเมินได้ว่่า ได้เกิดผลค้างเคียงของสารพิษตกค้างในสวน ได้เข้าสู่ระดับเตือนภัยเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาวะที่ยุ้ยตั้งชื่อให้ว่า  สภาวะ "สวนชงักงัน"  ซึ่งจะเกิดขึ้นทั้งตำบล ทั้งอำเภอ หรือทั้งจังหวัด  ได้ออกอาการแล้ว....ค่ะ  

             แต่ภาวะดังกล่าวในปีนี้ จะส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนลำไยที่เพิ่งราดสารไปเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา  กล่าวคือ  "ผลผลิตลำไยในภาพรวมลดลง แต่ราคารับซื้อลำไยจะสูงขึ้นแทน"  เพราะพ่อค้าต้องแข่งขัน แย่งกันซื้อ และยอมทุมราคาซื้อเพิ่ม เพื่อหาลูกลำไยให้ได้ตามข้อตกลงในสัญญากับประเทศคู่ค้า ก่อนจะปิดตู้คอนเทนเนอร์...ค่ะ

 

อ่านเพลินถึงนี่ แล้วอย่าลืมตอบคำถาม ที่ยุ้ยถามไว้...นะคะ

 

นู๋ยุ้ย  ตอนนี้ลำไยเริ่มดอกบานแล้ว  แต่เป็นตัวผู้ไปมาก  และบางต้นก็ไม่ค่อยติดลูก  จะแก้ไขอย่างไรดี  ต้องใส่ปุ๋ยทางดินสูตรไหนช่วยไหมคะ  บอกหน่อย

ตอบคุณนพมาศ เชียงใหม่

สรุึปว่ามี 4 คำถาม...นะคะ

1. ดอกลำไยเริ่มบาน แต่เป็นตัวผู้ไปมาก  จะแก้ไขอย่างไรดี

2. บางต้นไม่ค่อยติดลูก จะแก้ไขอย่างไรดี

3. ต้องแก้ไขอย่างไรดี (คิดว่าคงหมายถึงคำถามทั้งสองคำถาม)

4. ต้องใส่ปุ๋ยทางดินสูตรไหนช่วย หรือไม่

 

คำถามสั้นๆ แต่คำตอบต้องอธิบายให้เข้าใจระบบสรีรวิทยาของลำไย..ค่ะ

1. ดอกลำไยเริ่มบาน แต่เป็นตัวผู้ไปมาก  จะแก้ไขอย่างไรดี

        ไม่ต้องตกใจ...นะคะ  เป็นปกติของการออกดอกของลำไย...ค่ะ

การบานของดอก และการผสมเกสร 

           - ระยะเวลาตั้งแต่ช่อดอกเริ่มโผล่จนถึงดอก เริ่มบานใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

           - ลักษณะการบานของดอกจะบานจากโคนไปหาปลายช่อ และ

           - การบานของช่อแขนงย่อย จะบานจากโคนไปหาปลายเช่นกัน

           - ลำไยต้นหนึ่ง ๆ จะมีระยะการบานประมาณ 1-1.5 เดือน 

 

สำหรับลำดับการบานของดอกนั้นพบว่า มี 2 รูปแบบ หลักๆ คือ

           รูปแบบ ที่ 1 ดอกตัวผู้บานก่อน โดยดอกตัวผู้จะบานต่อเนื่องกันตั้งแต่ดอกแรกถึงดอกสุดท้าย ใช้เวลา 25-28 วัน ส่วนดอกตัวเมียจะบานหลังดอกตัวผู้เริ่มบานประมาณ 14 วัน โดยดอกตัวเมียมีระยะเวลาการบาน 5-7 วัน แต่จะมีการบานมากที่สุดในวันที่สองของการบาน 

           รูปแบบที่ 2 คือ ดอกตัวเมียบานก่อน และมีการบานอยู่สองช่วง โดยแต่ละช่วงมีระยะการบาน 4-7 วัน หลังจากดอกตัวเมียชุดแรกบานได้ 4-6 วัน ดอกตัวผู้จะเริ่มบาน และบานต่อเนื่องกันไป 15-25 วัน 

              

           ลักษณะของดอกตัวเมียที่บานเต็มที่ และพร้อมที่จะรับละอองเกสร (receptive) สังเกตได้จาก

                 - ยอดเกสรตัวเมีย (stigma lobe) จะแยกออกเป็น 2 แฉก (bifurcation) และ

                 - มี น้ำหวาน (nectar) ที่จานรองดอก และมี

                 - ช่วงเวลาในการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 7.00-10.30 น. 

                 - อับละอองเกสรมีระยะการแตกหรือเปิดต่อเนื่องกันประมาณ 4 ชั่วโมง หลังดอกบาน จากงานวิจัยของมนตรีและคณะ (ไม่ระบุปีที่พิมพ์) พบว่าอับละอองเรณูมีการเปิด

                        - 14% ในเวลา 11.00 น.

                        - 40% ในเวลา 13.00 น. และ

                        - 27% ในเวลา 15.00 น. ส่วนที่เหลือจะมีการเปิดในเวลาอื่น 

            ดอกตัวผู้แต่ละดอกบานประมาณ 2-3 วัน

 

การผสมเกสรโดยธรรมชาติอาจเกิดได้สองกรณีคือ

      - ผสมข้ามดอกภายในต้นเดียว (self pollination) และ

      - ผสมข้ามต้น (cross pollination)

 

 

การผสมทั้งสองกรณีจะสำเร็จ โดยอาศัยแมลงเป็นสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงพวกผึ้ง  ส่วนลม และแรงดึงดูดของโลก มีบทบาทอยู่บ้างแต่น้อยมาก

การปฏิสนธิ (double fertilization) จะเกิดขึ้นในถุงต้นอ่อน (embryo sac) ประมาณ 4 วัน หลังจากมีการถ่ายละอองเรณู...ค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/posts/519598

 

2. บางต้น ไม่ค่อยติดลูกจะทำอย่างไรดี

   ถ้าดอกยังบานไม่มาก ให้หาแมลงมาช่วยในการผสมเกสร...ค่ะ  พวกผึ้ง หรือชันโรง  จะช่วยได้มาก  แถวจันทบุรีที่ยุ้ยอยู่ อาศํยเช่าผึ้งมาช่วยในการผสมเกสร...ค่ะ

   แต่ถ้าดอกบานมาก แต่ไม่ได้รับการผสม ก็จะร่วงหลุดไปค่ะ  หากว่าได้ร่วงไปแล้ว คงไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากป้องกันดอกที่เหลือไม่ให้ร่วงเพิ่ม...ค่ะ

 

สาเหตุการร่วงของดอกลำไย

     - ดอกเกสรตัวเมียไม่ได้รับการผสมเกสร

             วิธีแก้ไข อย่างที่บอก..ค่ะ ให้หาแมลงมาช่วยผสมดอกลำไยที่เหลือ

     - หนอนเจาะขั่วดอก จะมาเจาะขั่วดอก ดูดน้ำเลี้ยง แต่ะทำให้ดอกร่วง...ค่ะ 

             วิธีแก้ไขให้ใช้ยา "อิมิดาคลอพิค" เป็นยาดูดซึม..ค่ะ (ควรใช้ชนิดผงผสมน้ำ ที่มีขายอยู่กล่องละ 10 ซอง ราคาประมาณ 530.-บาท ถ้าซื้อแยกถุงละ 60.-บาท...ค่ะ)  1 ซองละลายน้ำได้ 200 ลิตรค่ะ  ฉีดพ่นที่ช่อดอก ในขณะที่ยังเป็นตุ่มอยู่ แต่ถ้าดอกบานแล้ว พ่นไม่ได้...ค่ะ จะทำให้แมลงผสมเกสรหนีไปหมด..ค่ะ

     - การพ่นปุ๋ยน้ำ จะทำให้น้ำหวานในจานรองหายไป ส่งผลให้การถ่ายละอองเรณูไปยังถุงต้นอ่อน เป็นไปได้ยากค่ะ           

             วิธีแก้ไขคือ หยุดการพ่นปุ๋ย หรือสารเคมีกำจัดแมลงทุกชนิดในช่วงดอกบาน...ค่ะ

     - การพ่นยากำจัดแมลง  นอกจากจะไล่แมลงได้แล้ว ยังไล่ผึ้ง และแมลงผสมเกสรอื่นๆ ไปด้วย ทำให้ลำไยไม่ได้รับการผสมเกสร...ค่ะ

             วิธีแก้ไขคือ หยุดการพ่นสารเคมีทุกประเภทในระยะที่ดอกเริ่มบาน..ค่ะ

 

กรณี ไม่ออกดอกทั้งต้น หรือออกกระหล่อม กระแหล่ม  แสดงว่าต้นลำไยยังไม่พร้อมในการออกดอก ซึ่งก็มีปัจจับหลายประการ

1. พักต้นลำไย ให้แตกใบใหม่ยังไม่ครบ 3 ยอด

2. ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตรบำรุงช่อดอก 8-24-24  ไว้ก่อน 1 เดือน ก่อนจะราดสารฯ

3. ไม่ได้เตรียมสภาพต้นให้พร้อมรับการออกดอก ด้วยการพ่นธาตุอาหารทางใบ (แคลเซียม โบรอน ม๊กนิเซียม และซิงค์) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับต้นลำไย ก่อนราดสารฯ

ดูลายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/534037/edit

3. ต้องแก้ไขอย่างไรดี (คิดว่าคงหมายถึงคำถามทั้งสองคำถาม)

        คิดว่าได้อธิบายไปแล้วในข้อที่ 1 และ 2 ค่ะ

 

4. ต้องใส่ปุ๋ยทางดินสูตรไหนช่วย หรือไม่ 

         เ้ข้าใจว่าคำถามนี้น่าหมายถึง  ปุ๋ยชนิดใดที่จะช่วยให้เกิดการติดดอก และช่วงไม่ให้ดอกรวง...ใช่หรือไม่ 

        เรื่องของการที่ลำไยจะติดดอกหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับว่าต้นลำไยมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด  นั้นหมายถึงเกษตรกรได้มีการเตรียมการที่ดีในเรื่องของ  การพักต้น เพื่อให้ได้ใบ 3 ชุด สำหรับลำไยอายุน้อย หรือ 2 ชุดสำหรับลำไยอายุมาก หรือเพียง 1 ชุด  สำหรับต้นลำไยขนาด 20 ปีขึ้นไป และใส่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ผ่านมาในปีก่อน  ได้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมาถูกต้องแล้วหรือไม่  ถ้าถูกต้อง ก็คงไม่ต้องกังวลใจหรอก...ค่ะ  ดอกจะออกมาแน่นอ

แต่้ถ้าไม่ทำ  หรือทำมาแต่ไม่ถูกต้อง  นี่สิ..งานเข้า

         อย่างไรก็ตาม ขอให้ช่วย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการเตรียมความพร้อม และการใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี และขอทราบประเภท และ อัตราส่วนของการใช้สารฯ  หรือมีการนำสารเคมีอย่างอื่นผสมลงไปในสารฯ ที่จะใช้ราดลำไยหรือไม่ เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นในสวนลำไยของคุณนพมาศ เชียงใหม่...ค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/534037

มีช่อดอกบานเกือบ 3 นิ้วแล้ว  ใส่ปุ๋ย 25 7 7  เพื่อบำรุง จะโอเคไหมครับ  วานบอกด้วยครับ  มือใหม่ครับ

จากคำตอบข้างต้น  ได้เปิดกลับไปอ่านข้อความที่เคยส่งมา พบประวัติการใช้ปุ๋ย และสารเคมีของคุณนพมาศ ดังต่อไปนี้

สอบถามเรื่องการใช้ปุ๋ยและขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู

1.  ก่อนราดสาร 20  วัน ใช้ 0-42-56 อัตรา 500  กรัม บวกน้ำตาลทางด่วน  500  กรัม ต่อน้ำ  200 ลิตร พ่นทางใบ  2  ครั้ง  ห่างกัน  7 วัน 

2.  ราดสารทางดิน  วันที่  9  มิ.ย  56  โดยใช้สาร 10 กก.  ผสมน้ำ  200  ลิตรพ่นรอบทรงพุ่ม  

3.  หลังจากนั้น  5  วัน  ใช้  สาร  400  กรัม บวก  13-0-46  อัตราส่วน  500  กรัมต่อน้ำ 200  ลิตร พ่น  2  ครั้ง  ห่างกัน  5 วัน  

4.  ราดสารได้  15  วัน  ใช้  ปุ๋ย  0-42-56  อัตราส่วน  500  กรัม  บวกเอทีฟอน  50  ซีซี  บวกน้ำตาลทางด่วน  500  กรัม  พ่นทางใบ  2  ครั้ง  ห่างกัน  5  วัน

                อยากขอคำแนะนำจากน้องยุ้ยว่าขั้นตอนการทำถูกต้องไหมและควรเพิ่มเติมอะไร บ้าง  ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวัน  เมื่อปีที่ใช้ 0-52-34  แล้วกดใบไม่อยู่  ปีนี้เลยเปลี่ยนมาใช้ 0-42-56  จะดีไหมและทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร  ถามต่ออีกนิด  ถ้าช่วงลำไยแทงช่อดอกออกมาแล้วยาวประมาณ 3 นิ้ว จะใช้ 0-42-56 อัตราส่วน 500  กรัม บวกน้ำตาลทางด่วน 500  กรัม  บวกเอทีฟอน  50  ซีซี ต่อ น้ำ  200  ลิตร  พ่นเพื่อป้องกันลำไยใบแรงได้หรือไม่  เพราะกลัวช่อดอกจะแห้งและมีผลต่อการเจริญเติบโตของช่อดอกหรือไม่  และน้ำตาลทางด่วนมีผลต่อลำไยอย่างไร

ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

 

คำตอบ : สำหรับคำถามของคุณนพมาศ เชียงใหม่

           ก่อนตอบคำถาม ต้องขอชมคุณนพมาศ...นะคะ ที่ไ้ด้มีการจดบันทึกประวัติการดูแลสวนไว้ ซึ่งช่วยได้มากสำหรับการวินิจฉัย  และจะดีมากกว่านี้ หากได้มีการบันทึกประวัติการดูแลในเรื่องของการให้น้ำ และปริมาณฝนที่ตกลงมา            

           ส่วนประวัติสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ก็ควรมีการจดบันทึก (เรื่องอุณหภูมินั้นให้นำเทอร์โมมิเตอร์ ไปแขวนไว้ในสวนเลยค่ะ เอาไว้ในทรงพุ่มต้นลำไย 1 อัน และเอาไว้นอกทรงพุ่ม แต่อยู่ในร่มเงา 1 อัน  เพื่อหาค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ...ค่ะ  ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ เอาบารอมิเตอร์ (หาซื้อได้ตามร้านเครื่องมือวิทยาศาสตร์) เอาอันเล็กๆ ก็พอค่ะ เอาไว้ใกล้ๆ กับปรอททั้งคู่นั่นแหละ จะได้เป็นข้อมูลสภาพของสวนในเวลานั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร  ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าในปีไหนทำแบบใด ได้ผลอย่างไร และอาจนำข้อมูลเหล่านี้มาใ้ช้ประกอบการพิจารณา เพื่อการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในสวนลำไยของเราได้...ค่ะ

 

ลักษณะการดำเนินการของคุณนพมาศ และการวินิจฉัย

1.  ก่อนราดสาร 20  วัน ใช้ 0-42-56 อัตรา 500  กรัม บวกน้ำตาลทางด่วน  500  กรัม ต่อน้ำ  200 ลิตร พ่นทางใบ  2  ครั้ง  ห่างกัน  7 วัน

คำตอบ : ลักษณะดังกล่าวเป็นการให้ปุ๋ยทางใบ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของใบลำไยก่อนการราดสาร  ซึ่งต้องให้ปุ๋ยทางดินเป็นหลัก ส่วนทางใบจะเป็นเพียงตัวเสริม..ค่ะ

จากประวัติพบว่า  ไม่มีประวัติการให้ปุ๋ยทางดินเพื่อเตรียมบำรุงดอกด้วยการใช้ 8-24-24  และ 0-52-34 เลย  ซึ่งปุ๋ยทั้งสองชนิดดังกล่าว จะช่วยทำให้ใบลำไยแก่พร้อมกันทั้งต้น ไม่ว่าใบเล็ก หรือใบใหญ่  จากนั้นจะเริ่มต้นการสะสมตาดอกไว้เพื่อความพร้อมในการราดสาร...ค่ะ   คุณนพมาศพลาดจุดนี้ไปแล้ว...ค่ะ
 
น่าจะเป็นคำตอบที่ทำให้พอมองเห็นแล้วว่า  ทำไมราดสารฯ แล้วลำไยไม่ยอมออกดอก หรือออกน้อย และหลุดร่วงไป....ค่ะ
 

2.  ราดสารทางดิน  วันที่  9  มิ.ย  56  โดยใช้สาร 10 กก.  ผสมน้ำ  200  ลิตรพ่นรอบทรงพุ่ม  

คำตอบ : เป็นอัตราส่วนที่สามารถใช้ได้.. ค่ะ  แม้ว่าจะเข้มข้นมากไป และสำหรับยี่ห้อนี้ ต้องผสมมากกว่าปกติ...ค่ะ เพราะไม่แน่ใจว่าความเข้มข้นเป็นไปตามที่ระบุข้างถุงหรือไม่  แต่ยี่ห้อนี้ ต้องผสมแบบที่กล่าวมาแล้ว ถือว่าพอใช้ได้...ค่ะ

แต่ไม่ให้รายละเอียดเลยว่า ให้น้ำอย่างไร หรือหลังให้สารแล้วฝนเทกระหน่ำ หรือเปล่า ซึ่งมีผลต่อการราดสารด้วย...ค่ะ  นี่ถ้าฝนตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ก็ต้องราดสารกันใหม่...ล่ะค่ะ

หรือราดสารในวันที่ไม่มีแดด ก็ไม่เวิร์ค...ค่ะ

 

3.  หลังจากนั้น  5  วัน  ใช้  สาร  400  กรัม บวก  13-0-46  อัตราส่วน  500  กรัมต่อน้ำ 200  ลิตร พ่น  2  ครั้ง  ห่างกัน  5 วัน  คำตอบ : เป็นระยะเวลาเหมาะสม แต่อัตราส่วน เมื่อผสมทั้งสองชนิดรวมกันถือว่ามีความเข้มข้นสูงไปค่ะ เพราะลำพัง 13.-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรท) ในระดับความเข้มข้น 5% นี้  ตามทฤษฎีถือว่าเพียงพอต่อความต้องการแล้วค่ะ  นีเล่นเอาไปผสมกับสารฯ อีก 400 กรัม เพิ่มเข้าไปอีก 2%  ถือว่าดุเดือดพอสมครว...  ยิ่งถ้าพ่นในช่วงอากาศร้อน แดดจัด เดาได้เลยว่า ปลายยอดใบลำไยของคุณนพมาศ คงจะไหม้ ใช่ไหม...ค่ะ

วันหน้าเพลาๆ มือลงบ้างนะคะ  เนื่องจากจะมีสารพิษตกค้างเยอะค่ะ ปีหน้าจะราดสารไม่ค่อยออกดอก หรือออก ก็ได้น้อยค่ะ เนื่องจากกิ่งลำไยจะเปราะ ใบลำไยจะเล็ก ...ค่ะ   ผลมาจาก 13-0-16 ค่ะ

4.  ราดสารได้  15  วัน  ใช้  ปุ๋ย  0-42-56  อัตราส่วน  500  กรัม  บวกเอทีฟอน  50  ซีซี  บวกน้ำตาลทางด่วน  500  กรัม  พ่นทางใบ  2  ครั้ง  ห่างกัน  5  วัน

คำตอบ : อัตราส่วนดังกล่าว คาดว่าสภาพอากาศของคุณนพมาศ ในช่วงนั้นเกิดฝนตกหนักมาก มากถึงกับต้องใช้เอทีฟอน และมีแถมน้ำตาลทางด่วนอีก และพ่นถึง 2 ครั้ง

0-42-56 สามารถใช้ได้ในกรณีฝนตกหนัก ต้นลำไยได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะมีธาตุไนโตรเจนมากพอสำหรับความต้องการของต้นลำไย  แต่การใช้เอทีฟอนนั้น คาดว่ามีวัตถุประสงค์จะใช้เพื่อปลิดใบอ่อนของต้นลำไย แต่ผลข้างเคียงทีไ่ด้คือ เขากดตาดอกไว้เช่นกัน...ค่ะ ทำให้ตาดอกเจริญช้าไปด้วยค่ะ  แล้วให้ใช้ครั้งเดียวพอค่ะ นี่เล่นพ่นถึง 2 ครั้ง ระวังใบแก่จะพลอยร่วงไปด้วย...นะคะ

 

อยากขอคำแนะนำจากน้องยุ้ยว่าขั้นตอนการทำถูกต้องไหมและควรเพิ่มเติมอะไร บ้าง  

คำตอบ : ได้ตอบไปพร้อมๆ กับคำตอบข้างต้น...แล้วค่ะ

 

ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวัน  เมื่อปีที่ใช้ 0-52-34  แล้วกดใบไม่อยู่  ปีนี้เลยเปลี่ยนมาใช้ 0-42-56  จะดีไหม

คำตอบ : ปุ๋ยทั้งสองชนิด ไม่ใช่ปุ๋ยที่จะใช้เพื่อกดใบ..นะคะ แ ต่เป็นปุ๋ยที่ช่วยให้ลำต้นได้รับธานุอาหาร และลำเลียงนำไปที่ใบ ทำการปรุงแต่งให้เป็นสารอาหาร เพื่อจะนำไปสะสมตาดอกลำไย...ค่ะ

 

 

และทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร  

คำตอบ : ต่างกันค่ะ เพราะ 0-52-34 ใช้สำหรับการเตรียมสะสมเพื่อสร้างตุ่มตาดอก  ส่วน 0-42-56 ใช้สำหรับการการบำรุงตาดอกที่พร้อมจะบานค่ะ หรือเรียกง่ายๆ ว่า "เปิดตาดอกค่ะ"

0-42-56 ส่วนมากนิยมใช้ยืดช่อดอก ในช่วงที่มีฝนตกชุกค่ะ  แต่ถ้าเป็นช่วงอากาศร้อน จะใช้ 13-0-46 ฉีดพ่นบางๆ กระตุ้นเสมือนได้รับอากาศเย็น แต่ถ้าบริเวณสวนมีอากาศหนาวเย็น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยตัวนี้เลยค่ะ 

แต่ถ้าฝนไม่ตก หรือตกน้อยก็จะใช้ 5-25-30 ได้เลย เลข 5 ตัวหน้า แทนไนโตรเจนที่ได้รับจากน้ำฝน...ค่ะ  แต่การยืดช่อนี้จะต้องใช้ฮอร์โมนจิบเบอเลอลิน และฮอร์โมนไซโตไคนิน ร่วมด้วยช่วยกัน จะทำให้ช่อดอกยืดได้ค่ะ(ผลจากจิบเบอเลอลิน) และก้านช่อดอกด้านข้างแตกแขนงออกมา (ผลของไซโตไคนิน) และต้องใช้แคลเซียม โบรอน แม๊กนิเซียม และซิงค์ ด้วยนะคะ จะช่วยให้เิกิดการยืดหยุ่นตัวของเซลล์ภายในลำต้น (ผลของโบรอน)  ช่วยทำให้เกิดการเผาพลาญไนโตรเจน (ผลของแคลเซียม)  ซึ่งจะทำให้เกิดการลำเลียงธาตุอาหาร และสารอาหารไปสู่ใบ และดอกมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้ใบพืชมีคลอโรฟิลทำให้การปรุงสารอาหารในใบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น (ผลของแม็กนิเซียม) และช่วยให้ต้นลำไยทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันของอากาศ และความแห้งแล้งที่ต่อเนื่องยาวนานได้...ค่ะ (ผลของซิงค์) 

 

 

ถามต่ออีกนิด  ถ้าช่วงลำไยแทงช่อดอกออกมาแล้วยาวประมาณ 3 นิ้ว จะใช้ 0-42-56 อัตราส่วน 500  กรัม บวกน้ำตาลทางด่วน 500  กรัม  บวกเอทีฟอน  50  ซีซี ต่อ น้ำ  200  ลิตร  พ่นเพื่อป้องกันลำไยใบแรงได้หรือไม่  เพราะกลัวช่อดอกจะแห้ง

คำตอบ : คุณนพมาศได้ใช้ธาตุอาหารนี้มากเกินความจำเป็นแล้วค่ะ ส่งผลให้เกิดการชงัก ระงับการเจริญของยอดดอก  มีผลทำให้ดอกลำไยไม่พัฒนาต่อ ผลที่ได้คือ จะได้ดอกยอดสั้น ตาดอกน้อย ดอกบานน้อย ติดผลน้อย...ค่ะ

 

มีผลต่อการเจริญเติบโตของช่อดอกหรือไม่  

คำตอบ : ผลคือ เอทีฟอน ที่มีความเข้มข้น และเกิดการสะสมต่อเนื่องมากเกินไป จะไปกระตุ้นให้ใบลำไยเกิดการสบัดใบทิ้ง รวมถึงการสลัดดอกด้วย...ค่ะ

 

น้ำำตาลทางด่วนมีผลต่อลำไยอย่างไร

คำตอบ : น้ำตาลทางด่วน ก็คือโพแทสเซียม ที่ปรุงแต่งให้อยู่ในรูปของสารคีเลต...ค่ะ

ปกติโพแทสเซียม จะมีประจุบวก ดังนั้นเราจึงใช้สารคีเลต (Chelate) ซึ่งมีทั้งในธรรมชาติ และการสังเคราะห์  มาเป็นตัวจับธาตุอาหารที่มีประจุบวกเหล่านี้  ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า คึเลตชั่น (chelation)  ซึ่ง จะเข้าไปล้อมธาตุอาหารเหล่านั้น ไม่ให้ประจุลบภายนอกเ้ข้ามาทำปฏิกริยาได้ (ประจุต่างกันพบกันจะดูดกันไว้ ทำให้เกิดการตกตะกอน)   จึงทำให้ธาตุอาหารดังกล่าวกลายเป็นสารประกอบที่ไม่มีประจุไฟฟ้า  ทำให้ไม่เกิดการตกตะกอน  และพืชสามารถปล่อยให้ผ่านเข้าทางปากใบ และเนื่องจากสารประกอบคีเลต สามารถละลายน้ำได้ดี  

ดังนั้น น้ำตาลทางด่วน จึงเป็นสารอาหารที่ พืชสามารถดูดซึมผ่านราก  หรือปากใบ และสามารถนำสารธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว และใช้ได้ในทันที..ค่ะ

 

ขอคำแนะนำด้วยนะคะ  

คำตอบ : ยินดีให้คำแนะนำ...ค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.gotoknow.org/posts/534466 เกี่ยวกับเรื่องการให้ปุ๋ยที่รูปแบบของ "คีเลต"...ค่ะ

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

 ขอบคุณ นู๋ยุ้ย มากๆ ขอขยายให้ฟังเท่าที่จะบรรยายได้นะครับ

ลำไที่เชียงรายส่วนมากเป็นลำไยตามฤดูนะครับ ยังไม่มีนอกฤดูกันเลย สวนของผมนับว่าเป็นสวนที่ดินดีพอใช้ได้ ลำไยที่ทำอยู่มีประมาณ 200ต้น เริ่มใส่สารทางดินเมื่อ 2 ธค. 55 โดยใช้โซเดียมคอเรต 10 กก.บวก 13 0 46 2 กก. แอปซ่า 20 cc. ต่อน้ำ 200ลิตร พ่นทางดิน ให้ได้ลำไย 40 ต้นเป็นอย่างนี้ทั้งสวน หลังจากนั้น15วันพ่น 0 52 34 บวก โฟแตสเซียม 2 ขีด พอปลายเดือน ธค.เริ่มเห็นช่อกลางเดือน มค. เห็นช่อทุกต้น ผมก็เริ่มพ่นโบรอนแคลเซียมบวกฆ่าเชื่อราและอะบา ก่อนดอกบาน 2 ครั้ง หลังจากนั้นหยุดพอเห็น บักหำพร้อมผมเริ่มล้างด้วยอะบา และหลังจากนั้นมาประมาณ10-20 วันจะพ่นโบรอนแคลเซียมตลอดมา ส่วนปุ๋ยให้ตามระยะ พอเริ่มติดผลให้ปุ๋ย 15 15 15 เริ่มสร้งเนื่อให้ 8 24 24 และ 15 กค. ให้ 13 13 21 บวก 0 0 60 เป็นอย่างนี้ทุกปีก็ไม่มีปันหา แต่ปีนี้มันผิดตรงที่เดือน มิย.เกิดแล้งลำไยขาดน้ำอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ที่สวนผมไม่น่าจะมีปันหามากนักเพราะติดระบบน้ำมินิสปริงเกอร์ แต่พอชุ่มนะเนื่องจากแหล่งน้ำมีจำกัด ผมสังเกตดูลำไยขณะนี้ไม่ร่วงเปลือกยังหนาเปรียบยั่งกับลำไยก่อนที่เราจะเก็บประมาณ 1 เดือน

แต่ที่แปลกใจทุกปีปานนี้เก็บเกือบหมดแล้ว เช่นปีที่แล้วลำไยผมเก็บแล้ว วันแม่พอดี แต่ปีนี้ลำไยยังไม่เต็มที่เลย เป็นงงมาก

ส่วนบริบทในสวนถือว่าใช้ได้นะครับไม่ทืบ โล่งๆลำไยของคุมกิ่งไม่ให้มุงกันมาก จะมีประเภทอากาศมีบ้าง อ๋อ ลืมบอกว่าลำไยผมปลูกปี 40 ทรงพุ่มประมาณ  6 7 เมตร แต่งแบบสุ่มหงาย (ปีนี้เข้าสวนไม่ตื่นเต้นเลย) แค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณมากๆ

น้องยุ้ย  ที่สวนลำไย ดอกบานแล้ว แต่พบแมลงตัวสีแดงๆ ไม่ทราบว่า ตัวอะไร ควรทำอย่างไรดี พ่นยาไม่ได้ใช่ไหม

 

ตอบคุณ เอ๋ จันทบุรี

แมลงตัวสีแดง น่าจะเป็นแมงแคง ระยะวัยอ่อน พวกนี้จะมาเจาะดูดน้ำเลี้ยงช่อดอก ถ้าไม่กำจัดเดี๋ยวตัวอ่อนจะออกมาอีกเพียบ ช่อดอกจะฝ่อ และร่วงค่ะ พวกนี้พอตอนเช้า ให้ใช้อิมิดาคลอพิค เป็นยาดูดซึม ผสมน้ำแล้วพ่น เวลามันกินอิ่มแล้ว มันจะทิ้งตัวลงพื้น อาศัยอยุ่บริเวณพื้นดิน  ส่วนบริเวณพื้นให้ใช้ฟูลาดาน ผสมทราย แล้วโรยรอบๆ  ทรงพุ่ม ก็จะกำจัดได้ค่ะ

หมายเหตุ ระวังอย่าเอามือไปโดนพวกมัน มันจะฉี่ใส่แบบว่า 360 องศารอบตัวเลยค่ะ จะทำให้ผิวเราไหม้ ถ้าเ้ข้าตาก็ถึงตาบอดได้ค่ะ

รีบกำจัด ซะก่อนจะเสียดอกลำไย..ค่ะ

ตอบ คุณสมชาย เชียงราย

ขอบคุณมากค่ะ ที่แลกเปลี่ยนความรู้ และเล่าประสบการณ์การราดสารดีๆ ให้ฟัง

คุณ เอ๋ จันทบุรี

นี่คือเนื้อหาตอนที่ตอบคำถามเรื่อง แมงแคง ค่ะ ลองดูสิ ใช่เจ้าตัวนี้ไหม

 

ตอบ คุณเกรียงไกร

ดูจากภาพแล้ว อาการเหมือนมีแมลงรบกวน โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะเป็นช่วงที่มวนลำไย หรือเรียกอีกอย่างว่า "แมงแกง" ระบาด ดังนั้นแมลงเหล่านี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกดูแดง เกร็ง ไม่พัฒนา และแห้งในทีึ่สุด  

                   

   

 

มวนลำไย Longan stink bug

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tessaratoma papillosa

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ            ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 - 31 มม. และส่วนกว้างตอนอก กว้างประมาณ 15 - 17 มม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ประมาณ 7 - 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 - 74 วัน จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

ลักษณะการทำลาย         มวนลำไยหรือแมงแกง นอกจากเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของลำไยแล้ว ยังเข้าทำลายลิ้นจี่เช่นเดียวกัน ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ช่อดอกและผลอ่อนทำให้ใบอ่อนและช่อดอกจะแห้ง และร่วง แมลงชนิดนี้พบตลอดทั้งปีในแหล่งปลูกลำไยทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบการระบาดเป็นประจำทุกปี ทำความเสียหายให้กับลำไยในระยะที่ออกดอกและติดผล คือในช่วงเดือนมกราคม ถึงสิงหาคม จำนวนไข่และตัวอ่อนมีปริมาณสูงสุดเดือนมีนาคม และเมษายน ตามลำดับ ส่วนตัวเต็มวัยพบปริมาณสูงสุด 2 ระยะ คือ เดือนกุมภาพันธ์ และกรกฎาคม

ศัตรูธรรมชาติ                 ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไยเท่าที่มีการสำรวจพบ ได้แก่                         - ตัวห้ำ : นกกะปูด                        - ตัวเบียน : แตนเบียนไข่ : Anastatus sp.,Ooencyrtus sp.
                        - เชื้อโรค : เชื้อรา Paecilomyces lilacinus

การป้องกันกำจัด                 1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลง
              2. ในระยะที่ลิ้นจี่และลำไยเริ่มติดช่อดอก มวนลำไยจะปรากฏตัวออกมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก จับคู่ผสมพันธุ์ และวางไข่ ให้ ปล่อยแตนเบียน Anastatus nr japonicus ในอัตรา 30,000 ตัวต่อไร่ เพื่อช่วยทำลายไข่มวนลำไยในช่วงต้นฤดูซึ่งแตนเบียนทำลายไข่มวนลำไยยังมี ปริมาณน้อยในสภาพธรรมชาติ (ติดต่อขอ แตนเบียนชนิดนี้ได้จากกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กองกีฎและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร หรือศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการผลิตขยายแตนเบียนชนิดนี้เป็นปริมาณมาก
                 3. เก็บรวบรวมไข่ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย นำไปทำลายเสีย โดยทำการเขย่าต้นลิ้นจี่หรือลำไยในตอนเช้าตรู่ ซึ่งมวนลำไยยังไม่ตื่นตัว มวนลำไยตัวเต็มวัยทิ้งตัวตกลงมาบนพื้น จึงทำการเก็บทำลายให้ได้มากที่สุดสำหรับการเก็บไข่ให้เดินสำรวจช่อดอกและใบ เมื่อพบไข่มวนลำไยก็เก็บทำลายทิ้ง
              4. เมื่อช่อดอกเริ่มร่วงและติดผลอ่อนแล้วให้ทำการประเมินจำนวนตัวอ่อนมวนลำไย ต่อช่อว่ามีมากหรือไม่ หากเกินระดับ 4 ตัวต่อช่อ ก็จะทำความเสียหายแก่ผลอ่อนได้ ควรพ่นสารเคมีคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี)

 

รูปภาพประกอบ

                                                                            ไข่มวนลำไย เทสซาราโทม่า พาพิลโลซ่า
ตัวอ่อนมวนลำไย
มวนลำไยตัวแก่ไข่มวนลำไย ถูกแตนเบียน Anastatus sp. ทำลายไข่มวนลำไย ถูกแตนเบียน Ooencyrtus sp. ทำลาย

ปรับขนาดภาพ ให้เท่าตัวจริง....ค่ะตัวอ่อนมวนลำไย (ถ้าตัวอ่อนกว่านี้จะเล็กกว่า ตัวสีสม ออกแดงเลย...ค่ะ)
ตัวแก่มวนลำไย

ไม่ทราบว่าสวนคุณเกรียงไกรอยู่ที่ไหน  ถ้าเป็นภาคเหนือ  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ก็คงไม่พ้นเรื่องนี้แหละ...ค่ะ

ขอบคุณน้องยุ้ยมากครับที่ให้ข้อมูลเรื่องแมงแคงตอนนี้พ่นยาไปเรียบร้อยแล้วครับและขออนุญาตสอบถามเรื่องการใส่ปุ๋ย46-0-0กับ15-15-15ในอัตร1:1ควรจะเริ่มใส่ตอนลูกขนาดไหนครับ

 

46-0-0 ผสมกับ 15-15-15 อัตรา 1:1 จะใช้ในช่วงที่ลูกลำไยกำลังพัฒนา เราเน้นที่จะสร้างเปลือกให้หนาไว้ก่อน เพื่อจะใช้ในช่วงระยะลูกขยาย เปลือกที่หนาจะค่อยๆ บางลง

สรุป ใช้ช่วงลูกขนาดเมล็ดถั่วเหลือง จนถึงขนาดลูกเท่าเหรียญ 5 บาท...ค่ะ

แล้วค่อยเปลี่ยนเป็น 13-13-21 ในช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว...ค่ะ

 

สวัสดีครับน้องยุ้ยก่อนอื่นต้องขอขอบคุณน้องยุ้ยที่นำความรู้ดีๆและมีประโยชน์มากมาแนะนำเกษตรกรสวนลำใยมือใหม่อย่างพวกเราที่จะพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพให้กับผู้บริโภคอีกประการหนึ่งที่ผมอยากจะรบกวนน้องยุ้ยช่วยหาข้อมูลและวิเคราะห์ความน่าจะเป็นราคาลำใยของแต่ละเดือนล่วงหน้าให้ด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการขายลำใยไห้ได้ราคาไม่ถูกพ่อค้ากดราคาครับและอัพเดตข้อมูลสถานการณ์ลำใยเพื่อให้เป็นข้อมูลช่วยในการวางแผนการผลิตของเกษตรกรในปีต่อๆไปด้วยครับขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

มนตรี คนโคราช ครับ

ที่โคราชเป็นดินร่วนปนทราย ไม่เก็บนำ อากาศรอ้น จะเลิกปลูกมันสำปะหลัง คิดอยากจะปลูกลำใยครับ น้ำบาดาลรดต้นลำใยใด้ใหมครับ ถ้าใด้เหนื้อที่ 4 ควรจะปลูกกี่ต้นครับ ผมเป็นลูกชาวไร่มันสำปะหลัง ครับไม่มีความรู้เรื่องลำใยเลย แต่ชอบกินลำใยที่สุด และคิดอยากปลูกมานานแล้วครับ ขอถามเรื่อง 1 ดิน 2 น้ำ 3 จำนวนต้น 4 อากาศคอ่นข้างรอ้น ขอความกรุณาคุณยุ้ย ให้ข้อมูลด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ลำไยต่อยอด กัวไม่ยาวฉีดยาอะไรดีคับ

ตอบ คุณเอ๋ จัันทบุรี

สถานการณ์ลำไย ปี 2556 ในพื้นที่แหล่งผลิตที่สำคัญ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 447,108 ตัน คือ จังหวัดเชียงใหม่ 266,937 ตัน เชียงราย 56,270 ตัน ลำพูน 192,067 ตัน ลำปาง 5,605 ตัน พะเยา 26,685 ตัน แพร่ 2,670 ตัน น่าน 14,890 ตัน และตาก 13,389 ตัน ลดลงจาก ปี ๒๕๕5 (473,686 ตัน) ร้อยละ 5.61  ขณะนี้ลำไยในฤดู (เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม) ออกสู่ตลาดมากกว่า 90% แล้ว ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ปี 2555 เท่ากับ 900 – 1,100 กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตลำไย 1 ไร่ปี 2555 เท่ากับ 8,362.07 บาท

ข่าวแนวหน้า

http://www.naewna.com/local/68869

จากข่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผลผลิตภายในประเทศปีนี้ลดลงมาก เนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน หนักไปทางร้อน และปริมาณน้ำฝนภายในประเทศลดลง ทำให้ผลผลิตลำไยลดลง ในขณะที่ความต้องการลำไยของล้งภายในประเทศมีมากขึ้น เนื่องจากมีนักธุรกิจชาวจีนเ้ข้ามาเปิดกิจการมากขึ้น จากเดิมในอำเภอสอยดาวมีล้งรายใหญ่ๆ อยู่ 3 ราย แต่ปัจจุบันมีอยู่เกือบ 40 รายภายในช่วงเวลา 3 ปี แนวโน้มราคาซื้อขายลำไยราดสารในเดือนมีนาคม (เก็บตุลาคม) ในปี 2555 ราคาเฉลี่ย 28-31 บาท เพิ่มเป็น 32-36  และราคาราดสารในเดือนสิงหาคม 2556 (เก็บมีนาคม) เฉลี่ย 42-45 บาท  เพิ่มขึ้นเป็น 48-52 บาท 

ราคาของลำไย ขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply  ราคาขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละปี ในการเหมาสวนปี 2556 และเก็บผลผลิตปี 2557 นี้ เนื่องจากผลผลิตลำไยลดลง ทำให้ลำไยขาดตลาดมากราคจึงสูงขึ้นจึงมีการแข่งขันเหมาแย่งพื้นที่สวนที่ผลิตลำไย ในช่วงฤดูกาลผลิต ปี 2557 (เก็บ 2558) จะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น

แต่ปี 2558 (เก็บ 2559) แนวโน้มราคายังไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และผลผลิตของพื้นที่การปลูกลำไยทีเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศซึ่งจะสามารถเก็บได้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นเีดียวกัน

ปัจจุบันลำไยเป็นผลไม้ที่สามารถผลิตได้ในหลายประเทศทั่วโลก แต่คุณภาพของลำไย และต้นทุนในการผลิตในประเทศไทยยังถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มพื้นที่สวนลำไยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงประเทศกัมพูชาด้วย ซึ่งจะเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในอนาคต 

แต่เนื่องจากกัมพูชามีปัญหาเรื่องพายุเกือบตลอดปี  ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณน้ำจะมีมากกว่าประเทศไทย  แม้ว่าคุณภาพความหวานจะด้อยกว่าประเทศไทย แต่ลูกลำไยจะมีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยมาก ดังนั้นหากกัมพูชาแก้ปัญหาเรื่องมีน้ำมากเกินจนทำให้เปลือกแตกได้ รวมไปถึงค่าแรงงานที่มีราคาถูกกว่าประเทศไทย  จะทำให้ลำไยของกัมพูชาทะลักเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น จนทำให้ราคาลำไยภายในประเทศไทยมีแนวโน้มราคาตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย

(เหมือนสถานการณ์ข้าวโพดในปี 2552-2554 จนเมื่อข้าวโพดขาดตลาด เพราะเกษตรกรหนีมาปลูกยางพารา และลำไยกันมากขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาข้าวโพดสูงขึ้นอย่างมากในปี 2556 นี้ ปัจจุบันเกษตรกรหลายราย จึงเริ่มหันกลับมาปลูกข้าวโพดกันมากขึ้น เพราะเก็บผลผลิตได้เร็ว และมีแนวโน้มดีกว่าปลูกยาง มันสัมปะหลัง และลำไยมาก)

ดังนี้สรุปว่า  คาดการณ์ว่าราคาซื้อขายลำใยในประเทศไทยในปี 2558 (เก็บ 2559) จะมีแนวโน้มลดลงมาก ดังนั้นเ้จ้าของสวนลำไย และผู้ที่คิดจะปลูกลำไยใหม่ในช่วงปี 2555-2558 ต้องเตรียมใจหากราคาลำไยของจันทบุรี ที่ราดสารในเดือนมีนาคม 2558 (เก็บตุลาคม 2559) อาจจะมีราคาลดลงเหลือเพียง 25-30 บาท  และลำไยที่ราดสารในเดือนสิงหาคม 2558 (เก็บมีนาคม) 2559  อาจมีราคาลงเหลือเพียงประมาณ 38-42 บาท  ซึ่งจะเป็นราคาที่ให้กับสวนใหญ่ที่มีผลผลิตปริมาณมากเท่านั้น ส่วนสวนขนาดเล็ก หรือลำไยตามบ้านอาจจะมีราคาต่ำกว่าที่ประมาณการไว้มาก หรืออาจจะไม่มีนายหน้ามารับซื้อเลยก็เป็นไปได้..ค่ะ

ที่โคราชเป็นดินร่วนปนทราย ไม่เก็บนำ อากาศรอ้น จะเลิกปลูกมันสำปะหลัง คิดอยากจะปลูกลำใยครับ น้ำบาดาลรดต้นลำใยใด้ใหมครับ ถ้าใด้เหนื้อที่ 4 ควรจะปลูกกี่ต้นครับ ผมเป็นลูกชาวไร่มันสำปะหลัง ครับไม่มีความรู้เรื่องลำใยเลย แต่ชอบกินลำใยที่สุด และคิดอยากปลูกมานานแล้วครับ ขอถามเรื่อง 1 ดิน 2 น้ำ 3 จำนวนต้น 4 อากาศคอ่นข้างรอ้น ขอความกรุณาคุณยุ้ย ให้ข้อมูลด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ตอบคุณ มนตรี คนโคราช

1. ลำไยขึ้นได้ดีกับดินทุกประเภท หากดินไม่ดีสามารถปรับปรุงดินเพิ่มเติมได้...ค่ะ

ยุ้ยว่า ปลูกมันสัมปะหลัง จะเหนื่อยน้อยกว่า ไม่จุกจิกเหมือนทำลำไย และราคาลำไยในช่วง 4 ปีข้างหน้า ได้วิเคราะห์ประเมินไว้ในคำตอบข้างต้นนี้แล้ว ลองค่อยๆ อ่านดูนะคะ

2. น้ำบาดาลสามารถใช้รดลำไยได้ แต่ต้องนำมาพักไว้ในบ่อพักก่อนอย่างน้อยที่สุด 1 วัน ค่ะ และถ้าชั่วลองวัดค่า ความเป็นกรดด่าง (ph) ด้วยนะคะ ให้อยู่ในช่วง 5.0-7.0

ถ้าคิดจะปลูกจริงๆ แนะนำให้ปลูกลำไยทรงเตี้ย แถวคู่ระยะประชิด 2x2 และเว้นระหว่างแถว 4 เมตร เพื่อความสะดวกในการเข้าไปดูแล...ค่ะ

3. จำนวนกิ่งพันธุ์ลำไย 342 ต้น/ไร่...ค่ะ แบบว่าปลูกเต็มพื้นที่ แตถ้าต้องขุดบ่อพักน้ำ และโรงเรือนก็ปรับลด...ดูนะคะ

ลำไยชอบแดดจัด อากาศเย็น พื้นชุ่มชื้น..ค่ะ  ปลูกมันสัมปะหลังอย่างเดิม น่าจะดีกว่า..มั๊ง ค่ะ แต่ถ้าอยากลองก็ตามแต่ประสงค์..ค่ะ แล้วต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเลยว่า ปลูกแล้ว จะขายที่ไหนด้วยค่ะ จะมีคนมารับซื้อไหม.... คิดหนักๆ นะคะ แม้จะเก่งปลูกได้ แต่ถ้าขายไม่ได้ ก็จบ....ค่ะ

2 ปีแรก แนะนำให้ปลูกกล้วย หรือพืชคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดินด้วย..ค่ะ แต่ราคาขายกล้วยอาจได้ไม่มากนัก

แต่ถ้าจะให้มีเงินหมุนดี แนะนำให้ปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำไว้ในสวนด้วย..ค่ะ  จะได้ราคาดีกว่ากลัวย แต่ความชื้นในดินจะสู่กล้วยไม่ได้ 

พอขึ้นปีที่ 3 ก็ไว้คิดดูละกัน ว่าจะเลือกลำไยไว้ (เพราะหาคนรับซื้อได้) หรือจะเลือกมะละกอไว้(เพราะขายได้แน่ๆ อยู่แล้ว)...ค่ะ

ไม่มั่นใจก็ลองปลูกเล่นๆ สัก 1 ไร่ก็ได้ค่ะ

ลำไยต่อยอด กัวไม่ยาวฉีดยาอะไรดีคับ

ตอบคุณ สุรศักดิ์

ไม่ให้บริบทสวนมาเลยนะคะ  จะให้ตอบแบบไหน...ล่ะ

ไม่ต้องกลัวหรอกค่ะ ถ้ากิ่งพันธุ์เดิม เติบโตได้ดี รับรองลำไยยอดยาว....ชัวร์

1. ทางดิน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสม 15-15-15 อัตราส่วน 1:1  ปริมาณตามขนาดของต้น (ซึ่งไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมาเลย) ใส่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือใส่ให้น้อยลงครึ่งหนึ่ง แต่เพิ่มจำนวนครั้งเป็น ทุกๆ 15 วัน ก็ดีกว่า...ค่ะ ถ้ามีเวลา

2. ทางใบ พ่น EM ผสมน้ำ  พ่นทีดินใต้ทรงพุ่ม ลำต้น และใบ พ่นให้ชุ่มเลย ก็ใส่้ปุ๋ยเกล็ดผสมน้ำ สูตร 25-7-7 ลงไปด้วยก็ดีนค่   เหมือนกันค่ะ  ทุกๆ 7-10 วัน

ให้รายละเอียดมากกว่านี้ คงจะแนะนำได้ดีกว่า...นี้ค่ะ

ยาป้องกันเชื้อราตอนดอกใกล้บาน ใช้ตัวไหนดีคับ ลำไยอายุได้ 6 เดือน ใส่ปุ๋ย 0-0-50 บวกกับ 13-0-46 ได้ไหมคับ(ปุ๋ยทางดิน)

ยาตรึงคลอโรฟิวล์ มีประโยชน์อย่างไร คือตัวยาอะไร ผมเห็นเขานิยมใช้กัน นำ้ตาลกลูโคส ของคนใช้กับต้นไม้ได้ไหมคับ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ที่ทีส่วนผสมของ ไทอามีน ใช้ฉีดลำไยได้ไหมคับ ไทโอยูเรียใช้กับลำไยยังไงถึงจะได้ผล
ใช้ พด.ตัวไหนแทน EM ได้มั่งคับ

ตอบ คุณสุรศักดิ์ สุรัสวดี

1. การจะนำภาพมาใช้ ลองใช้วิธีนำลูกศรไปชี้ที่ ไอคอน "ใส่รูปหรือไฟล์" ซึ่งอยู่ด้านหล้าง มุมซ้าย ใต้คำว่า ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่องรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม ดู...สิคะ

2. ตอนลำไยดอกใกล้บาน มีโอกาสเป็นเชื้อราได้น้อย นอกจากมีแมลงพวก เพลี้ยไฟ มาดูดกินน้ำเลี้ยงของช่อดอกในช่วงเวลาที่เริ่มแทงยอด แล้วถ่ายมูลเป็นของเหลว ที่มีส่วนผสมเป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา โดยเฉพาะ ราดำ ซึ่งจะเห็นเกาะเป็นเขม่าตามใบลำไย...ค่ะ      การป้องกันทำได้ด้วยการฉีดพ่นยาป้องกัน และกำจัด "เพลี้ยไฟ" ที่มีชื่อทางเคมีว่า "ไซเปอร์เมทิล" หรือหากเป็นแมลพวก "เพลี้ยไก่แจ้"  ก็ให้ใช้ "อิมิดาคอพิค" ในช่วงระยะที่ลำไยแทงช่อดอกขึ้่นมาเป็น "ยอดสะเดา" ซึ่งจะมีระยะเวลาประมาณ 7-15 วันที่ยาจะหมดกลิ่น ทำให้แมลงบินกลับมาผสมเกสรดอกที่เิริ่มบานได้พอดี...ค่ะ

3. ไม่เข้าใจคำว่า "ลำไย 6 เดือน" หมายถึงอะไร...ค่ะ  นำกิ่งพันธุ์ลงปลูกในแปลงได้ 6 เดือน ใช่หรือไม่  ถ้าใช้  ปุ๋ยทางดิน ช่วงนี้ให้ใช้ 46-0-0 ผสม สูตรเสมอ 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 โรยรอบโคนต้น และรอบๆ ทรงพุ่ม ประมาณยิบมือเดียว...พอค่ะ ใส่ทุกๆ 15 วัน แล้วสปริงน้ำตามทันทีเลย..นะคะ  เพื่อไม่ให้ไนโตรเจนในปุ๋ยสลายไปกับความร้อนจากแสงแดด..ค่ะ  ส่วนปุ๋ยทางใบให้ใช้ ปุ๋ยเกล็ดสีเขียว 25-7-7 ละลายน้ำ  ผสมตามคำแนะนำที่พิมพ์ไว้ข้างซอง  แ่ละให้ผสม EM ลงไปในถังด้วยค่ะ อัตราส่วน EM 4 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตรค่ะ พ่นรอบๆ พื้นดิน และที่ต้นลำไย และทรงพุ่มให้เปียกโชกเลย...ค่ะ

 

คำถามต่อไปนี้ มีหลายๆ คำถาม....มากเลย

คำตอบ  ถ้าตอบแบบไม่ขยายความ ก็คงไม่เข้าใจ

 

4. ยาตรึงคลอโรฟิลล์ มีประโยชน์อย่างไร คือตัวยาอะไร 

          ตัวยาที่ถามมานั้น ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยในการป้องกันการสูญเสียคลอโรฟิลล์ในใบของพืช...ค่ะ

ซึ่งคงต้องอธิบายเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจ กระบวนการในธรรมชาติ ดังนี้

          คลอโรฟิลล์ เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด

          คลอโรฟิลล์ เป็นโมเลกุล ซึ่งจะทำหน้าที่รับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้ เพื่อการดำรงชีวิตของพืช

          คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้า และสีแดง แต่จะดูดกลืนช่วงแสงสีเหลือง และเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว

           การสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในพืช จะเกิดจากสารมลพิษโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน สารประกอบคลอรีน และสารกำจัดหรือวัชพืช เช่นไกลโฟเสต จะทำให้ คลอโรฟิลล์ ที่มีอยู่ทั่วไป และในพืช ลดลง

           ในสารโปแตสเซียมคลอเรต ที่เราใช้เพื่อการชักนำการออกดอกลำไยนั้น จะมี คลอเรต (ซึ่งเป็น 1 ใน 14 สารประกอบคลอรีนนั้น) จะไปทำลายแบคที่เรีย และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน และในน้ำ  จุลินทรีย์เหล่านี้ซึ่งเคยทำหน้าที่ใน การย่อยสลายอินทรีย์ และอนิทรีย์วัตถุ โดยเฉพาะสารโพลีไซคลิกอะโดรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ซึ่งมีปนเปื้อนสะสมอยู่ในดินเป็นจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ก่อให้เกิดมลภาวะดังกล่าว

           โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)  คืออะไร

                      PAHs มีอยู่ั่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม มักเกาะกับอนุภาคฮิวมิคในดิน หรือสะสมในสิ่งมีชีวิต ที่พบได้ทั้งในน้ำ ดิน ดินตะกอน อากาศ ชั้นหินอุ้มน้ำ และบริเวณริมถนน ซึ่งเกิดจาก

 

  • ไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ในสภาพที่เป็นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และเครื่องจักรกล
  • การเผาไหม้ของสารอินทรีย์ รวมทั้งการเกิดไฟป่า การเผากิ่งไม้ใบไม้ และซังข้าวโพด และตอฟางข้าวของเกษตรกร
  • การปนเปื้อนของน้ำมันเครื่องเก่าที่ผ่านการใช้แล้ว ซึ่งมีสะสมอยู่ในน้ำ และดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะตะกอนดินบริเวณปากแม่น้ำที่ถูกน้ำชะมารวมกัน
  • กระบวนการแปรรูปอาหาร เช่น การอบขนม การเคี่ยวน้ำตาลเป็นคาราเมล การคั่วกาแฟซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาสีน้ำตาล หรือเกิดขึ้นระหว่างการหมักดอง เช่นผักดองกิมจิ ซีอิ๊ว  การปรุงอาหารโดยการอบ ปิ้ง ย่าง เช่น ไส้กรอกรมควัน หมูปิ้ง ไกย่าง ที่ไหม้เกรียม

                    การปนเปื้อนของ PAHs ในสิ่งแวดล้อม  มักจะพบการปนเปื้อนร่วมกับสารมลพิษอื่นๆ เช่น สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท นิกเกิล และสังกะสี  ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการย่อยสลาย PHAs โดยจุลินทรีย์ในดิน ทำให้การกำจัดพีเอเอชด้วยวิธีทางชีวภาพยากขึ้น

         สรุป  จากที่อธิบายมานั้น จะพอเข้าใจได้ว่า ในกระบวนการหน้าที่ ขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กล่าวมา  หากมีนวัตกรรมใดที่จะสามารถทำใหสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PAHs คลอรีน หรือสารกำจัดวัชพืชเช่น ไกลโฟเซต ฯลฯ  โดยจะทำให้สารเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ทำให้สารเหล่านั้นมี ความเป็นพิษต่อพืชลดลง หรือทำให้สูญสลายไป รวมไปถึงถ้านวัตกรรมนั้นทำให้ชลอ ผล หรือยับยั่ง หรือเปลี่ยนขั้นตอนจากการทำหน้าที่ทำลาย ไปสู่การเสริมสร้างคลอโรฟิลล์  ผู้คิดค้น หรือผู้ผลิตก็สามารถกล่าวอ้างหรือโฆษณาไ้ด้ว่า สามารถทำการตรึง การรักษา หรือป้องกันการทำลาย คลอโรฟิลล์ ได้ทั้งสิ้น...ค่ะ

 

5. น้ำ้ตาลกลูโคส ของคนใช้กับต้นไม้ ได้ไหม

          ได้ แต่ไม่แน่นำให้ใช้ เพราะสิ้นเปลืองแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราด้วย..ค่ะ  เนื่องจากกระบวน การในการผลิตกลูโคสจากพืช ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ มากมาย จึงทำให้น้ำตาลกลูโคส มีราคาแพง  การนำกลูโคสกลับไปใช้ประโยชน์เพื่อการฉีดพ่นทางใบ หรือหมักในดิน นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว ยังอาจทำให้เกิดเ่ชื้อรา โดยเฉพาะราดำ เกาะตามใบได้อย่างรวดเร็ว

           แนะนำให้ใช้ กากน้ำตาล ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายจากพืช  และยังนำไปใช้ในกระบวนการหลายชนิดเช่นการหมักซีอิ้ว เหล้า น้ำส้มสายชู แอลกอฮอร์ ผสมในอาหารสัตว์ และผลิตกระแสไฟไฟ้ ฯลฯ

           ในด้านการเกษตรเราใช้ในสำหรับเป็นอาหารของเชื้อราในการเลี้ยงจุลินทรีย์ ชีวภาพ EM หรือ จุลินทรีย์ พด. ต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อนำมาเจือจางในน้ำ และใช้ฉีดพ่น  หรือนำไปใช้หมักกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยดินทรีย์ เพื่อบำรุงดินต่อไป นอกจากนั้นจะนำน้ำหมักชีวภาพยังใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ด้วย

 

6. เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ที่ทีส่วนผสมของ ไทอามีน ใช้ฉีดลำไยได้ไ

          ในธรรมชาติของโลกใบนี้ ทุิกสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะพืช จะประกอบด้วยธาตุหลักคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน ส่วนในคน และสัตว์จะมีืซัลเฟอร์ เพิ่มเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

          ในกระบวนการสร้างของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ หรือว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ในโลก ล้วนแล้วแต่มีการก่อกำเำหนิด การเจริญ การเสื่อมสลาย หรือการดับสูญนั้น  ดังนั้นธาตุต่างๆ ที่กล่าวถึงไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ในที่สุดแล้วก็จะเกิดการแปรสภาพ แยกสลายโมเลกุล กลับไปสู่สภาพของธาตุเดิมๆ ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปตามสมดุลย์ของธรรมชาติเอง

        ไทอามีน หรือวิตามินบี 1 เป็นสารเอมีน และมีธาตุ กำมะถันเป็นองค์ประกอบในโมเลกุล จึงได้ชื่อว่าไทอะมีน มีลักษณะเป็นสารประกอบสีเหลืองละลายน้ำได้ดี  มีรสและกลิ่นคล้ายถั่ว 

          ปัจจุบันมีสารสกัดบริสุทธิ์ขายในรูปของไทอะมีนไฮโดรคลอไรด์ ดังนั้นหากวิตามินนี้อยู่ในสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะสลายตัวได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน  แต่ถ้าสารละลายดังกล่าวมีฤทธิ์เป็นกรด  วิตามินนี้จะค่อนข้างเสถียรและจะทนความร้อนได้ดีหากอยู่ในภาวะที่แห้ง

         ไทอะมีนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเมแทบอลิซึมของพลังงาน ร่างกาย ของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แม้ว่าแบคทีเรียในลำไส้เล็กจะสามารถสร้างไทอามีนได้ แต่ก็สร้างได้ปริมาณที่น้อยมาก ไทอามีนที่ได้จึงอยู่ในรูปที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ จำเป็นต้องได้รับไทอามีนจากเพิ่มเติมจากภายนอกด้วยการการรับประทาน อาหาร       

          พืชใช้กระบวนการสังเคราะห์แสง เปลี่ยนธาตุอาหารให้เป็นพลังงาน ในรูปแบบของน้ำตาล และนำกลับมาใช้หล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชเอง สารอาหารส่วนหนึ่งนำมาใช้ในการสะสมสร้างเนื้อเยื้อเพื่อห่อหุ้มเมล็ดของผล เมื่อถึงระยะที่พืชจะขยายพันธุ์ ก็จะนำสารอาหารทีสะสมเหล่านี้กลับมาเพื่อให้เมล็ดได้นำกลับเปลี่ยนกลับไปใช้ เพื่อใช้ในการเจริญของรากอ่อน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะหลุดร่วง และขยายพันธุ์ต่อไป 

          ตัวอย่างเช่น เช่นการสร้างเนื้อลำไยห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้ โดยปกติเนื้อลำไยจะมีความหวาน ครั้นเมื่อลำไยเริ่มแก่ความหวานในเนื้อจะลดลง เนื่องจากน้ำตาลในเนื้อลำไยถูกนำกลับไปเปลี่ยนสภาพให้เป็นพลังงานสำหรับการ เจริญเติบโตของรากในเมล็ดลำไย เพื่อพร้อมที่จะหลุดร่วงและแทงรากลงดินเพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป

         คนเราใช้ไทอามีนเพื่อเป็นตัวเชื่อมสัญญานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ ไทอามีนที่ได้รับอยู่ในรูปแบบของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการปรุงแต่งไทอามีนในรูปแบบของเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ นั้น ไทอามีนส่วนหนึ่งจะสูญสลายไป เพราะคุณสมบัติของไทอามีน จะสูญสลายได้เมื่ออยู่ในสาระลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง โดยเฉพาะในน้ำ และจะสูญสลายได้รวดเร็วเมื่อถูกความร้อน 

         การนำไทอามีนที่มีการสังเคราะห์ กลับไปใช้กับพืชแม้ว่าจะใช้ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกกับจังหวะที่พืชต้องการ เช่นในช่วงของการงอกของเมล็ด ฯลฯ หากนำไปฉีดพ่นทางใบด้วยความเชื่อว่าจะช่วยเสริมให้มีการดูดซึมผ่านทางปากใบ และนำไปใช้ตามส่วนต่างๆ เช่นราก หรือช่วยสนับสนุนกระบวนการสร้างผล หรือแม้แต่การช่วยสะสมในเนื้อของผลไม้ ก็สามารถทำได้ 

         แต่้ปัจจุบันการนำเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเป็นของผสมที่มีส่วนประกอบของสารต่างๆ อาทิ น้ำตาลซูโครส ทอรีน แคฟเฟอีน อินดนซทอล วินามินบี3 เด็กซ์เพนธินอล วิตามินบี6 และกรดซิตริก  จะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะมีน้ำตาลที่พืชพอจะนำกลับไปใช้ได้ แต่ว่าในยาชูกำลังดังกล่าว ยังคงมีสารตัวอื่นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบการทำงานของพืชได้เช่นเดียวกัน 

         อีกประการหนึ่งดังนี้ เราต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อผลิตภัณฑ์ ที่เชื้อว่าจะช่วยเสริมการทำงานของพืชให้รวดเร็วขึ้นในรูปแบบของน้ำตาลทาง ด่วน ซึ่งอันที่จริงพืชก็สามารถสร้างด้วยตัวของเขาเองได้ และอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของเขาเอง ดังนั้นหากมีกระบวนการที่มีการทำงานของด้านใดด้านหนึ่งผิดปกติไป ผลที่ได้รับอาจจะมีความผิดปกติไปจากที่เราคาดหวังก็เป็ฯได้

         ยกตัวอย่างเช่น หากเราคาดหวังว่าจะใช้ไทอามีนเพื่อช่วยกระตุ้นราก และใบ ในช่วงที่กำลังติดผล และคิดว่าจะช่วยให้ผลมีการติดลูกที่ดี หรือมีขนาดใหญ่ หรือช่วยให้เนื้อลำไยมีความหวานขึ้น สิ่งทีได้อาจกลับเป็นว่ารากพัฒนาดีขึ้น แต่ได้ใบอ่อนเพิ่มขึ้น รากจำเป็นต้องหาสารอาหารไปเลี้ยงใบอ่อนดังกล่าว ขณะเดียวกัน แมลงที่ชอบใบอ่อนก็จะเข้ามากินเพิ่มขึ้น ทำให้เพิ่มปริมาณศัตรูพืชมากขึ้น ขณะติดผลเมื่อมีใบแทรกทำให้น้ำตาลที่จะไปที่ผลต้องไปเลี้ยงใบใหม่ที่เกิด ขึ้นทำให้การพัฒนาผลลดลง  ในช่วงผลแก่ใกล้เก็บการพ่นน้ำตาลทางด่วนอาจกลับเป็นการกระตุ้นให้เกิดเชื้อ รา กลับเป็นว่าสิ่งที่เราคาดหวังนั้น นอกจากจะเสียเงินจำนวนมากซื้อเครื่องดื่มชูกำลังมาเทใส่ถังน้ำพ่นยา เรากลับต้องเสียเวลา และเสียเงินเพื่อซื้อสารเคมีมาจำกัดแมลง และเชื้อราที่เกิดขึ้นอีก

       

 

7. ไทโอยูเรียใช้กับลำไยยังไงถึงจะได้ผล

ตอบ  ติดไว้ก่อนนะคะ  วันนี้ขอพักหน่อย

 

8. ใช้ พด.ตัวไหนแทน EM ได้มั่งคับ

ตอบ  แนะนำให้หาความรู้จากไฟล์นี้ก่อนนะคะ  แล้วว่างๆ จะวิเคราะห์สรุปให้ วันนี้ ตาลายแล้ว...ค่ะ

http://latbualuang.ayutthaya.doae.go.th/fertilizer/fertilizer_007.pdf

http://www.ldd.go.th/menu_5wonder/pd_2.html

รอคำตอบด้วยครับน้องยุ้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท