" การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of Life Care) "


การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เป็นหนึ่งบทบาทที่นักกิจกรรมบำบัดรวมทั้งทีมวิชาชีพทางการแพทย์ควรตระหนัก และควรดูแลรักษาแบบองค์รวม (Holistic care)

       ขอขอบคุณ คุณรัชณีย์ ป้อมทอง จากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ผู้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง " การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of Life Care) " ณ ห้อง Auditorium คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในบ่ายวันพุธที่      9 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 13.00-15.00 น. ข้าพเจ้าได้สรุปความรู้ และเชื่อมโยงกับกิจกรรมบำบัด ดังนี้

       ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminal stage) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคต่างๆ ลุกลามจนรักษาไม่หาย และแพทย์ไม่มีแผนการรักษาเฉพาะโรคนั้นๆอีกต่อไป นอกจากรักษาดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ตามอาการจวบจนเสียชีวิต 

        การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายที่ดี นอกเหนือจากการดูแลด้านสภาพร่างกาย (Physical) จากผลของโรค หรือความเสื่อมของร่างกายในผู้สูงอายุ นักกิจกรรมบำบัด และทีมสหวิชาชีพทางการแพทย์ควรดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic care) คือการดูแลทั้งในด้านจิตวิญญาณ (Spirituality), จิตสังคม (Psychosocial), และบริบทแวดล้อม (Contexts)  รวมถึงการให้ความเข้าใจของครอบครัว และผู้ดูแล

         กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ

          Psychospiritual integration Frame of Reference 

    1. Becoming : ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายสามารถได้รับรู้ และเข้าใจถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงตนเอง จากโรคที่ตนกำลังเป็นอยู่
    2. Meaning : นักกิจกรรมบำบัดส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่า และมีความหมายในชีวิตของผู้ป่วย  เป็นการสร้างแรงจูงใจในการใช้ช่วงสุดท้ายของชีวิตอย่างคุ้มค่า
    3. Centredness : เมื่อทำในสิ่งที่ตนเองรู้สึกมีคุณค่า สิ่งที่มีความหมายแล้ว ก็จะต้องชื่นชมตนเอง ระลึกถึงสิ่งดีๆที่ตนได้สร้างคุณค่า ประโยชน์กับตนเอง และสังคม
    4. Connectedness : เชื่อมโยง และปรับตนเองให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ทางวัฒนธรรม ประกอบกับบริบท ความเชื่อ ศาสนา และธรรมชาติที่ทำให้ผู้สูงอายุตายอย่างมีความสุขสงบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมของบ้านให้เสมือนโรงพยาบาล หรือการทำโรงพยาบาลให้เสมือนบ้าน( Hospice Environment )
    5. Transcendence : การที่ผู้รับบริการสามารถมีความสุข(spiritual well-being) ในช่วงสุดท้ายโดยเป้าหมายสูงสุดของวาระสุดท้ายคือการได้มีคุณภาพชีวิต-และตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

           มนุษย์เมื่อมีเกิด และก็ต้องมีตาย เราไม่ควรกลัวเรื่องความตาย เพราะความตายเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ละศาสนาก็กล่าวถึงความตายแตกต่างกัน ศาสนาพุทธกล่าวเกี่ยวกับเรื่องความตายว่า ชีวิตเป็นสิ่งไม่เที่ยง(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ศาสนาอิสลามกล่าวว่า โลกมนุษย์เป็นเพียงทางผ่านสู่โลกหน้า ควรระลึกถึงความตายไว้เสมอ เป็นต้น แต่ทุกๆศาสนาสอนเหมือนกันในความที่ว่า ควรทำความดี(ทำบุญ) เพื่อการไปสู่โลกหน้าที่ดี ....

หมายเลขบันทึก: 516043เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2013 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครับเป็นสาระที่ดีมากๆสำหรับผู้สูงอายุเองและผู้ดูแลด้วย

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท