หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลเด็ก กับวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


ปัจจุบันนี้ความผิดปกติ และความบกพร่องนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงร่างกายอย่างเดียว ความผิดปกติ และความบกพร่องทางจิตใจ และอารมณ์ หรือที่เราเรียกว่า "ความบกพร่องทางจิตสังคม” นั้นก็เริ่มมีเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลต่อข้อจำกัด ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน

            ปัญหาความบกพร่องทางจิตสังคมในเด็ก และวัยรุ่น (CAMH: Child and Adolescent Mental Health)
ยกตัวอย่างเช่น 

  • เด็กบกพร่องทางสติปัญญา( Mental Retardation )
  •  เด็กบกพร่องทางด้านการเรียนรู้( LD: Learning Disorder )
  •  เด็กสมาธิสั้น( ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder )
  • เด็กบกพร่องทางการพูด และสื่อสาร( Communication Disorder )
  •  ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ( Pervasive Developmental Disorders - PDDs )
  •  โรคอารมณ์แปรปรวน ( Mood disorders หรือ Affective disorders )  
     Etc.

          ความบกพร่องเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็ก และวัยรุ่น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถอย่างต่อเนื่องจนถึงในวัยผุ้ใหญ่  

      วัยเด็ก(Child)

      บทบาท และหลักสำหรับกิจกรรมบำบัด

      ประเมินโดย สัมภาษณ์พฤติกรรมจากผู้ปกครองทางบ้าน และคุณครูในโรงเรียน ใช้แบบคัดกรอง และแบบประเมินถึงปัญหาอื่นๆเพิ่มเติมด้วย เช่น ปัญหาระบบการประมวลผลการรับความรู้สึก(Sensory integration) เป็นต้น เพื่อหาปัญหาที่ขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ส่งผลต่อกิจกรรมชีวิตประจำวัน การเรียน และจิตสังคม     

      ในวัยเด็กกิจกรรมบำบัดจะดูแลความบกพร่องทางจิตสังคม โดยเน้นหาโอกาสให้พ่อแม่ และบุคคลรอบข้างในครอบครัวมีส่วนสำคัญในการมีส่วนร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดเชิงบวก ให้เด็กได้เรียนรู้ แสดงออกทางความรู้สึก เช่น  เมื่อโกรธก็ต้องรับรู้ว่ารู้สึกโกรธแสดงออกด้วยคำพูด และสีหน้า, ความเสียใจ ความกลัวก็ต้องแสดงออกด้วยการร้องไห้ หรือคำพูด, แสดงออกให้เด็กเห็น รับรู้ถึงความรัก และดูแลด้วยความเอาใจใส่  เป็นต้น โดยอาจส่งเสริมสิ่งเหล่านี้ผ่านการเล่าเรื่อง เล่านิทาน หรือสื่อสารโดยตรงตามสถานการณ์
      มีการตั้งเงื่อนไข และให้รางวัล หรือคำชม เมื่อเด็กทำในสิ่งที่ดี และถูกต้องเหมาะสม เพิกเฉยในสิ่งที่ไม่เหมาะสม มีการลงโทษ และปฏิเสธพฤติกรรมนั้นๆ
      ส่งเสริม และร่วมมือกับผู้ปกครองในการจัดตารางเวลา เพื่อสนับสนุนให้เด็กมีการพักผ่อน และนอนหลับที่ดี 
      ส่งเสริมให้เด็กสามารถดูแลตนเอง (self-care) เบื้องต้น ในกิจกรรมพื้นฐานตามระดับความสามารถ พัฒนาการผ่านกิจกรรมการเล่น (play) ทั้งเล่นกับบุคคลใกล้ชิดในบ้าน และเล่นกับเพื่อนที่โรงรียนจะช่วยเพิ่มทักษะทางสังคม ที่สำคัญเด็กจะต้องสื่อสารบอกความต้องการได้ด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม

      วัยรุ่น(Adolescent)

      บทบาท และหลักสำหรับกิจกรรมบำบัด

      ผู้รับบริการกลุ่มนี้ ได้แก่

  • Child abuse & neglect
  • Crime and conduct disorder
  • Alcohol and drug abuse
  • Depression & suicide

       มีการประเมิน และการสัมภาษณ์ที่ผู้รับบริการมากขึ้น นอกเหนือจากสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เนื่องจากวัยรุ่นมีระดับพัฒนาการ วุฒิภาวะ เพิ่มขึ้นมากกว่าวัยเด็ก การเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดจะต้องถามผู้รับบริการว่ามีข้อมูลที่ไม่ต้องการเปิดเผย หรือแจ้งให้ผู้ปกครองทราบหรือไม่ เพื่อสร้างความไว้วางใจ เชื่อใจ และเป็นเงื่อนไขในการให้ความร่วมมือกับกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดมากขึ้น 

       การทำ Psychoeducation กิจกรรมการให้ความรู้ แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับโรค หรืออาการที่เป็นอยู่ให้แก่ผู้รับบริการ ผู้ปกครอง รวมถึงบุคคลใกล้ชิด ร่วมกับ การทำ Cognitive behavior therapy (CBT) กิจกรรมที่ช่วยโน้มน้าวใจให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงอาการทางลบ และรูปแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี แล้วให้คิดวิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือแนวทางการดำเนินชีวิตด้วยตนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เรียกว่า "Psychotherapy" และนักกิจกรรมบำบัดยังสามารถต่อยอดในการให้กิจกรรมที่มีผลงาน และมีคุณค่า(Self-value)กับผู้รับบริการได้อีก จนกระทั่งผู้รับบริการสามารถตระหนัก และรับรู้ความสามารถของตน(Self- efficiency)
        ส่งเสริมให้เด็กสามารถดูแลตนเอง (self-care)
        ส่งเสริมทักษะทางสังคม โดยการจัดกลุ่ม Meaning full friendship เนื่องจากความสัมพันธ์ของเพื่อนในวัยรุ่นจะมีความชัดเจน และแน่นแฟ้นกว่าเพื่อนในวัยเด็ก รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีระหว่างวัยรุ่น กับพ่อแม่ ผ่านกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว เช่น การทำกับข้าว และรับประทานอาหารร่วมกัน ท่องเที่ยว
หรือ shoping ด้วยกัน เป็นต้น 

           ในวัยรุ่นจะเน้นการเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตัวเองเพิ่มมากขึ้นจากในวัยเด็ก โดยเฉพาะการจัดการทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ประกอบความเข้าใจ และการดูแลที่เหมาะสมของผู้ปกครอง 
            ปัญหาความบกพร่องทางจิตสังคมของวัยรุ่นจึงต้องได้รับการบำบัด ฟื้นฟู และแก้ไข เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดการมีพฤติกรรมรุนแรง พฤติกรรมต่อต้าน เป็นสาเหตุของการใช้สารเสพติด เพศสัมพันธ์ การก่อความวุ่นวาย ปัญหาความรุนแรง การฆ่าตัวตาย ตามมาจนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศได้ 

 

             

หมายเลขบันทึก: 515994เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2013 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท