เริ่มต้นแต่งร้อยกรอง : กาพย์ฉบัง ๑๖


หลังจากหัดแต่ง ร่ายยาว แล้ว
ร้อยกรองที่อยากให้ฝึกฝนคือ กาพย์ฉบัง ๑๖
ทำนองเดียวกันกับ ร่ายยาว กาพย์นี้มีกฎเกณฑ์น้อย (แต่แต่งให้ไพเราะ ไม่ง่ายนัก) คือ
บทหนึ่งมี ๓ วรรค แต่ละวรรคอ่านทีละ ๒  ดังนี้

* XX  XX  XX.........XX  XX...........XX  XX  XX


* YY  YY  YY.........YY  YY...........YY  YY  YY

สีแดง คือ สัมผัสในบท
สีน้ำเงิน คือ สัมผัสระหว่างบท แต่จะบังคับให้ สัมผัสในบท ไปด้วย

ตัวอย่าง
* แว่วแว่ว แผ่วเสียง ถามไถ่.....จากกาล นานไกล.....ถามใจ ถามเรา เยาวชน
* ท่านถาม ถามไย ให้ฉงน.......ถามแห่ง ถามหน......เหล่าเรา ดั้นด้น ดาวไหน

วรรคหน้า และหลัง ซึ่งมึ ๖ พยางค์ บางครั้งเพื่อความเข้าใจในเนื้อหา อาจอ่านแบบ ทีละ ๓ ได้
อย่างตัวอย่างล่าง หากอ่าน ธรรมพิ  สิฐพิ  สุทธิ์เผย จะไม่เข้าใจ

* ธรรมพิสิฐ พิสุทธิ์เผย.........อันใด อ้างเอ่ย............อัปลักษณ์ พิกล พิการ
* ราคะ ตัณหา เผาผลาญ.......โลภหลง โกรธพาล.......สามานย์ อัปลักษณ์ แท้จริง

สังเกต : เราอาจเพิ่มความไพเราะได้ด้วยการ เพิ่มสัมผัส
โดยส่งสัมผัสคำท้ายวรรค ๒ แล้วไปรับสัมผัสคำที่ 2 หรือ 4 ของวรรค ๓
จากตัวอย่าง คือ พาล กับ สามานย์

หมายเลขบันทึก: 515967เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2013 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท