“ตีนเสา” ส่วนประกอบของบ้านเรือนไทยภาคใต้


  •  ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกมากจนมีคำกล่าวว่า “ฝนแปดแดดสี่” กล่าวคือจะมีฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ ยาวนานถึง ๘ เดือน ส่วนฤดูร้อนมีเพียง ๔ เดือน คือกลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนมิถุนายน ดังนั้นชาวใต้จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่มีฝนตกบ่อย ซึ่งสังเกตได้จากรูปแบบบ้านเรือนสมัยก่อนที่สร้างในภาคใต้
  • สมัยก่อนบ้านเรือนตามชนบทจะสร้างมาจากไม้  “ไม้” เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ ยิ่งเมื่อไม้โดนแดดโดนฝนสลับกันบ่อยๆ ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้ไม้ผุพังเร็วขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยกับบ้านเรือนในภาคใต้ คนสมัยก่อนจะไม่ฝังเสาบ้านลงในดิน เพราะทำให้เสาบ้านผุพังได้ง่าย แต่จะทำตีนเสาซึ่งทำมาจากไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือก่ออิฐฉาบปูน มารองรับเสาไม้ ประโยชน์อีกอย่างของตีนเสา คือ เมื่อต้องการจะย้ายบ้านไปไว้ที่อื่น ก็สามารถยกบ้านทั้งหลังไปได้เลยโดยไม่ต้องรื้อถอนบ้าน

  • ปัจจุบันการสร้างบ้านด้วยไม้ลดน้อยลง ความจำเป็นในการทำตีนเสาจึงลดลงตามไปด้วยแต่ยังคงมีบ้านเก่าที่ใช้ตีนเสารองรับในเห็นในภาคใต้ เช่น ในแถบอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอจะนะ สทิงพระ จังหวัดสงขลา อำเภอสวี จังหวัดชุมพร บ้านเก่าเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม การซ่อมแซมก็ทำได้ยากเพราะขาดวัสดุอุปกรณ์ ดังนั้นควรที่จะทำการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เอาไว้ ก่อนที่บ้านเก่าเหล่านี้จะผุพังหายไปกับกาลเวลา

เอกสารอ้างอิง

สมภพ ภิรมย์ และคณะ. บ้านไทย. กรุงเทพฯ: แอ็ดว๊าน อินเตอร์เนชั่นเนล พริ้นติ้ง, ๒๕๓๘.

หมายเลขบันทึก: 515388เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2013 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2013 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วัฒนธรรม ที่ควรอนุรักษ์ .... เพื่อชนรุ่นหลัง ... ที่ดีมากๆ เลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท