การราดสารลำไย : คำตอบ สำหรับ "คำถามคาใจ 13 ประการยอดฮิต ของเกษตรกรที่จะราดสารลำไย" ตอนที่ 1 (ตอบคำถามข้อ 1 - 5)


ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

บทที่....  ว่าด้วยตอบข้อสงสัย ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการราดสารลำไย  (นอกฤดู ที่ อ.สอยดาว จันทบุรี) เทคนิคการราดสารลำไย 

              ที่เขียนบทนี้ เพราะเกรงว่าอ่านบทที่แล้ว แล้วทำคะแนนได้ไม่ถึงที่ประเมิน กลัวจิตจะหลอน ไม่ก็ประสาทจะรับประทานชาวเกษตรกรสวนลำไย....ไปซะก่อน

              พี่ๆ เพื่อนๆ ชาวเกษตรกรสวนลำไยแต่ละคน เชื่อว่า น่าจะมีความรู้ในการดูแลลำไยอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นไม่มีทางที่ต้นลำไยจะโตมาได้ พอให้คาดว่าน่าจะถึงเวลาทำสารฯ ลำไยกันแล้ว.....จริงไหมคะ

เข้าเรื่องตอบข้อสงสัยจากบทที่แล้ว....นะคะ

ปัญหาเดิมๆ มันก็ว๊ก..ๆ วน..ๆ อยู่ให้หัวของเรา พอสรุปได้.....ดังต่อไปนี้

          1. ต้นลำไยที่ปลูกพร้อมจะราดสารฯ หรือยัง....?   

คำตอบ :  อายุที่เหมาะสมสำหรับลำไยพันธุ์ดอ ที่ใช้วิธีตอน และนำมาเพาะชำในถุงพลาสติกนั้น  หากนับจากวันนำลงในแปลงลำไย ที่ได้จัดเตรียมเรื่องหลุมไว้ตามมาตรฐานการปลูกลำไย และได้ผ่านกระบวนการปลูก และดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างถูกต้องแล้ว  จะมีระยะเวลา 3 ปีเต็ม นับตั้งแต่วันนำลงปลูกในแปลง...ค่ะ

              แต่ในกรณีที่ได้มีการนำกิ่งพันธุ์ลำไยดังกล่าว มาทำการชำต่อในโซนที่จัดทำไว้เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการดูแลให้ปุ๋ย ให้น้ำ และควบคุมอุณหภูมิ อยู่ในระยะ 3 - 6 เดือน  ก่อนนำลงแปลง  จะสามารถย่นระยะเวลาดำเนินการได้ประมาณ 6 เดือน  คือใช้เวลาเพียง 2 ปี 6 เดือน  ก็จะสามารถทำสารฯ ได้ค่ะ (กรณีนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มปลูกใหม่ และอยู่ในขั้นเตรียมแปลงเพาะ ต้องการประหยัดเวลา จึงนำกิ่งพันธุ์ที่ซื้อมา มาทำการชำเตรียมไว้ล่วงหน้า...ค่ะ

              ในรายงานผลการวิจัยบางฉบับ สามารถชำได้ถึง 1 ปี  แต่ไม่ค่อยแนะนำ เนื่องจากรากของลำไยจะกระจุกตัวขดแน่นอยู่ในถุง เมื่อนำกิ่งพันธุ์ดังกล่าวลงแปลงปลูกการกระจายตัวของรากจะไม่สมบูรณ์  ซึ่งในระยะยาว รากบางส่วนจะเติบโต และกดทับกันเองค่ะ  ทำให้การนำธาตุอาหารจากดินขึ้นสู่ลำต้นไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร   จึงขอแนะนำว่าหลังจากตัดกิ่งพันธุ์ที่ตอนมาแล้วนั้น ให้มาทำการเพาะชำในพื้นที่ควบคุม อยู่ระหว่า 3 - 6 เดือน แต่ไม่ควรเกินกว่านั้นนะคะ ต้องสังเกตด้วยว่า กิ่งพันธุ์ที่นำมาอาจมีอายุชำมาก่ิอนแล้ว...ค่ะ

              การคัดเลือกกิ่งพันธุ์ ควรมาจากแหล่งที่มีคุณภาพ  ไม่แนะนำให้ซื้อจากหน้าถนนเพราะผู้ค้ากิ่งพันธุ์หลายรายไม่ได้มีสวนลำไยเป็นของตนเอง บางรายขอซื้อโดยตัดกิ่งพันธุ์ลำไยที่ตอนไว้ในราคาถูก เพื่อมา่ชำเอง   บางรายก็ไปขอซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยที่ได้ทำการเพาะชำมาแล้วจากสวนต่างๆ   และนำมาวิ่งส่งขายต่อให้กับผู้ค้ารายย่อย ปนกับกิ่งพันธุ์จากสวนอื่นๆ ที่เห็นมีวางขายตามริมถนน   

              ดังนั้น ถ้าจะให้มั่นใจ  ขอแนะนำว่าควรไปสำรวจดูสวนที่มีผลผลิตลำไยคุณภาพสูง  การติดผลดก ขนาดของผลลำไยมีขนาดใหญ่  รสชาดดี และติดต่อเจ้าของสวนดังกล่าว เพื่อขอซื้อกิ่งพันธุ์จากสวนนั้นๆ  จะมั่นใจได้มากกว่า....ค่ะ 

              ปัจจุบันความต้องการกิ่งพันธุ์ลำไยมีเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ตอนกิ่งพันธุ์ลำไยหลายรายจึงประหยัดต้นทุน และเวลาในการตอนกิ่งพันธุ์  ด้วยการใช้ดินเพียงเล็กน้อย   เพียงพอให้เห็นรากแทงออกมา  แล้วจึงรีบตัดกิ่งมาทำการชำในถุงเพาะชำ  ซึ่งในถุงเพาะชำดังกล่าวส่วนมากจะมีส่วนผสมของแกลบสุก และขุยมะพร้าวจำนวนมากกว่าที่จะเป็นดินแท้ๆ  เพื่อให้รากสามารถเดินเร็ว  มองดูแล้วเหมือนว่าได้ทำการเพาะชำมานาน   แต่ผลเสียที่จะเกิดกับเกษตรกรผู้ซื้อกิ่งพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกในแปลง คือ เกษตรกรผู้ปลูกที่ไม่มีประสบการณ์ในขนย้าย  การเพาะ่ชำต่อ หรือการแกะถุงเพาะชำเพื่อนำกิ่งพันธุ์่ลงปลูก  มักจะทำให้ดินแตก รากขาด  เมื่อนำกิ่งพันธุ์ดังกล่าวลงปลูก ก็มักจะไม่ตาย แต่ว่าเลี้ยงเท่าไร มันก็ไม่โต ไม่มีการพัฒนาของยอดใหม่   ทำให้เกษตรกรเสียเวลาไปเปล่าๆ ไม่ต่ำกว่า 4-6 เดือน กว่าจะรู้ตัว  และทำการเปลี่ยนกิ่งพันธุ์กิ่งใหม่ลงไปแทน   

              จากปัญหาดังกล่าวทำให้  เกษตรกรที่มีทุนอยู่บ้าง ต้องการความมั่นใจ จึงมักจะนำกิ่งพันธุ์ลำไย จำนวน 2 - 3 ต้น มาปลูกในหลุมใกล้ๆ กัน มากกว่าจะปลูกเพียงกิ่งพันธุ์เดียว   แต่วิธีการดังกล่าวทำให้เปลืองค่ากิ่งพันธุ์ เพราะราคากิ่งพันธุ์ในปัจจุบันมีราคาแพงมาก...ค่ะ

              แต่สำหรับเกษตรกรที่มีความมรู้ มีความชำนาญในการเคลื่อนย้ายกิ่งพันธุ์จากสวนมาแปลงเพาะชำ หรือนำมาลงในแปลงปลูกนั้นจะไม่ประสบปัญหาดังกล่าว   ปัจจุบันจึงเกิดอาชีพ  "รับชำกิ่งพันธุ์  ดูแลหลุมปลูก นำกิ่งพันธุ์ลงแปลงปลูก  และดูแลต้นลำไยให้ในระยะ 4 - 6 เดือนแรก"....ค่ะ ซึ่งมีราคาจ้างค่อนข้างสูง  แต่ว่า เกษตรกรจะมั่นใจได้มากกว่า  อีกทั้งยังไม่ต้องเสียเวลามาดูแลเอง  หรือเสียค่ากิ่งพันธุ์ที่จะต้องนำมาปลูกเพิ่มในหลุมใกล้ๆ  หรือว่าความเสียหายจากการตายของลำไยจากการที่เราไม่มีประสบการณ์ในการปลูกลำไยด้วยคะ   

              ผู้รับจ้างเหมาดำเนินการดังกล่าว  บางรายได้ทำการรคัดเลือก และทำการชำกิ่งพันธุ์ลำไยไว้ล่วงหน้าแล้ว 2 - 6 เืดือน ยิ่งทำให้เกษตรกรผู้คิดจะปลูกลำไย  ประหยัดเวลา และเงินทุนที่จะต้องนำมาเสี่ยงดวงช่วงการเตรียมแปลง และการปลูกกิ่งพันธุ์ลำไย รวมไปถึงการดูแลในระยะแรกได้เป็นอย่างมาก เกษตรกรที่สนใจ และคิดจะเริ่มปลูกลำไย และไม่อยากเสี่ยงดวงในครั้งแรก ควรปรึกษาผู้มีประสบการณ์ในการปลูก จดลดความเสี่ยงลงได้มาก...ค่ะ

          2. ถ้ายัง แต่เราอยากราดสารฯ อ่ะ มันจะสำเร็จไหมนะ หรือจะพาล....ตาย....เอาดื้อๆกันนะ...?            

คำตอบ : ถ้าต้นลำไยไม่พร้อม การราดสารจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนค่ะ  มีเกษตรกรหลายรายรับฟังมาจากเกษตรกรบางรายที่ได้เคยราดสารฯ ลำไย ที่อายุน้อย  พบว่าสิ่งทีเ่กิดขึ้นมี 2 อย่าง คือ 

             2.1  เมื่อราดสารลำใยที่ยังไม่พร้อม  ต้นลำไยอายุน้อยนั้นจะแสดงออกเหมือนจะตาย  กล่าวคือ สารฯ ที่ราดไปจะไปทำลายราก หรือไปเคลือบปิดกันรากฝอยที่ทำหน้าที่ดูดน้ำ และธาตุอาหารเพื่อไปเลี้ยงต้น   โดยปกติธรรมในธรรมชาติ ค่า C/N Ratio  จะเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน  เกิดอาการใบสลด เนื่องจากขาดน้ำ  ทำให้ลำไยประเมินตนเองว่าอาจจะตาย  ดังนั้นต้นลำไยที่มีกิ่งก้าน และใบที่สมบูรณ์พร้อมอยู่แล้ว  จะทำการแตกยอดใหม่ และเปลี่ยนเป็นตาดอกออกมาเพื่อความพยายามที่จะดำรงค์พันธุ์ต่อไป   

             2.2  แต่ในกรณีที่ต้นลำไยดังกล่าวยังมีลำต้นกิ่งก้าน และใบที่ไม่พร้อม  เมื่อรากฝอยถูกทำลาย หรือสกัดกั้นไม่ให้สามารถดูดน้ำ และธาตุอาหารได้  ใบลำไยจึงแสดงออกให้เห็นถึงผลกระทบดังกล่าว  โดยจะมีอาการจะสลด ใบตก ใบเหลือง  ใบเหี่ยว  ใบร่วง  ตามลำดับ   ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นไปธรรมชาติของลำไยที่ยังไม่พร้อมสำหรับการราดสารฯ  เพียงแต่ต้องการจะอยู่รอด จะทำการสลัดใบทิ้่ง เพื่อให้เหลือใบที่จะต้องดูแลให้น้อยที่สุด   หลังจากนั้นจะทำการแทงยอดเพื่อแตกตาใบใหม่  ในช่วงเวลาระยะแรกดังกล่าวที่เกิดขึ้น เกษตรกรที่ไม่มีความรู้ หรือความเข้าใจในบริบทของลำไย   จึงตัดสินใจตัดกิ่งทิ้ง (ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง)  แต่เกษตรกรบางรายไม่รู้ เพียงแต่ไม่อยากให้ลำไยตาย  เลยแต่งกิ่งให้เหลือน้อยลง  ( ซึ่งเป็นสิ่งที่บังเอิญกระทำได้ถูกต้อง ถูกเวลา )  การกระทำประการหลังจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ลำไยอยู่รอดได้ 

              การแต่งกิ่งนั้น ทำให้เกิดกิ่งใหม่หลายกิ่ง ดังนั้นการพัฒนาการจึงเหมือนเรามีกิ่งพันธุ์หลายกิ่ง หลายยอด ใบที่ออกมาใหม่จะมีมากขึ้น ทำให้ต้นโตเร็วขึ้น เกษตรกรหลายรายที่บังเอิญ..."ฟลุ๊ค"...  จึงคิดว่า การราดสารฯ ในต้นลำไยที่อายุน้อยนั้น  จะช่วยให้ลำไยโตเร็ว   จึงเป็นความคิดที่ผิดอย่างแรง  บางรายเชื่อในความเชื่อดังกล่าว จึงใช้สารฯ ในปริมาณความเข้มข้นสูงขึ้น  ด้วยคิดว่าสารฯ เป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโต  ผลที่ได้รับคือ ลำใย.... "ตายสนิท"  

              ดังนั้นการตัดแต่งกิ่งในช่วงลำไยอายุน้อยเป็นระยะๆ  ต่างหาก  ที่ช่วยให้ลำไยเติบโตได้ และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว  อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือช่วงที่ลำไยที่ได้ราดสารฯ แล้วดูเหมือนจะตาย  เกษตรกรจะใส่ใจ ให้เวลาดูแล ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ พลางเงาแสงแดด หรือหาวัสดุมาคลุมโคนต้นให้มากขึ้นนั้น  แท้ที่จริงเป็นวิธีการดูแลลำไยที่ถูกต้องทำให้ลำไยมีการพัฒนาการของราก  กิ่งก้าน และใบ ที่เหมาะสมทำให้โตเร็วขึ้นกว่าปกติ...นั้นเองค่ะ

          3. ( ต่อเนื่องจากข้อ 2.)  เอ.... ถ้าราดไปแล้ว....มันเกิดไม่สำเร็จขึ้นมา  ปีหน้าถ้าจะราดใหม่  ผลกระทบของการราดสารฯ ในปีนี้.....จะมีไหมนะ   แล้วมันจะส่งผลให้ปีหน้าสำเร็จ หรือไม่...ล่ะ   หรือถ้ามันสำเร็จ  มันจะมีผลเสีย หรือผลดี  หรือว่า...."เก็บไว้ชัวร์ๆ เอาไว้ราดมันตอนอายุครบ 4 ปีเลย เผื่อเหลือ เผื่อขาด"....?

คำตอบ :  คำถามนี้มีคำถามอยู่ 5 คำถาม   

             3.1 ปีนี้ราดสารฯ ไม่สำเร็จ ปีหน้าจะสำเร็จหรือไม่  

คำตอบ :  จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า ต้นลำไยของเกษตรกรนั้น ณ บริเวณราก หรือบริเวณจุดที่ทำการราดสาร   ลำไยได้รับความเสียหายในระดับมาก หรือน้อย   

                โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรากของลำไย  ซึ่งโดยปกติรากลำไยที่ถูกทำลายไปจากการราดสารฯ นั้น   รากแขนงจะแตกรากฝอยใหม่ขึ้นมาทดแทน  โดยช่วงปกติจะอยู่ที่ประมาณ 45 - 60 วัน...ค่ะ  แต่ถ้าการราดผิดวิธีเช่นราดใกล้โคนต้นมาก  จะเข้าทำลายรากแขนง ซึ่งอาจจะทำให้ลำไยไม่ตาย และเลี้ยงไม่โตได้  นอกจากนั้นลำไยที่มีอายุแตกต่างกัน ปริมาณสารฯ และความเข้มข้นที่ใช้ ยังมีผลต่อลำไยด้วยค่ะ  ดังนัี้น....ข้อมูลการปลูกและการดูแลลำไย จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ  เกษตรกรจึงควรทำการจตบันทึกประวัติการดูแลสวนลำไยของท่านไว้ด้วย....นะคะ

             3.2 ผลกระทบจากการราดสารฯ มีหรือไม่  

คำตอบ :  มีแน่นอนค่ะ  ขึ้นอยู่กับวิธีการ ปริมาณ และความเข้มข้นของการทำสารฯ ลำไย ที่ได้กระทำลงไป...ค่ะ

             3.3 ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลถึงการราดสารฯ ในปีหน้าหรือไม่  

คำตอบ :   มีผลกระทบ....แน่นอนค่ะ  แต่จะผลมีทาง + หรือทาง -  เท่านั้นเอง   

                แนะนำให้กลับไปอ่านคำตอบข้อที่ 2.1 (ทาง-) และ 2.2 (ทาง+) ....ค่ะ

             3.4 ถ้าราดสารฯ ได้สำเร็จ จะมีผลดี ผลเสีย (ต่อต้น และผลผลิตลำไย) หรือไม่ 

คำตอบ :   หากบังเอิญลำไยของเกษตรกร ที่มีความพร้อมจะออกผลผลิต  การทำสำเร็จ ย่อมถือว่าเป็นผลดีค่ะ

                แต่ถ้าบังเอิญ ลำไยของเกษตรกร ยังไม่พร้อมมาก ไม่ว่าจะเป็น ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ และดอก  ผลที่ได้คือ สูญเสียเวลา และโอกาสในการพัฒนาของส่วนต่างๆ ของต้นลำไย...ค่ะ  อีกประการคือ ดอกที่ออกมาจะไม่สมบูรณ์ การติดผลน้อย ผลผลิตที่ได้รับ จะมีขนาดเล็ก ไม่สมบูรณ์ 

                ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับคนเรา : ในเด็กหญิงอายุ 12-15 ปี  ปัจจุบันมีความสมบูรณ์ืทางเพศรวดเร็วจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อ นม และไข่ ในระบบอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต โดยมีสารดังกล่าวตกค้างอยู่ในอาหารมาก  ดังนั้นหากเด็กหญิงคนดังกล่าวตั้งท้อง และสามารถคลอดบุตรได้ก็จริงอยู่  แต่พัฒนาการทางกระดูก และเซลล์ต่างๆ ของเด็กหญิงซึ่งเป็นมารดาจะทรุดโทรม รวมไปถึงสุขภาพจิตของเด็กหญิงนั้นจะเสีย   เนื่องจากไม่มีความพร้อมทางด้านอารมณ์....ค่ะ   นอกจากนั้นเด็กทารถที่เกิดมา อาจจะมีพัฒนาการทางร่างกาย และสมอง ที่ไม่สมบูรณ์....ค่ะ

             3.5 เก็บลำไยไว้ครบ 4 ปี น่าจะดีกว่าไหม? 

คำตอบ : ก็เป็นวิธีการที่ดี....ค่ะ   ถ้าคุณไม่รู้แหล่งที่มาของการเพาะชำ หรือการดูแลลำไยที่ผ่านมาก่อนว่าสมบูรณ์หรือไม่  แต่เมื่อคุณได้ดูแลเองมากับมือตลอด เชื่อว่า คุณนั้นแหละจะรู้ว่า "พร้อม" หรือ "ไม่พร้อม" ที่จะราดสารฯ   แต่ว่าถ้าลำไยต้นนั้น พร้อมจะราดสารฯ ได้  แต่เราไม่ทำก็อาจทำให้เราเสียโอกาสในเื่รื่องรายได้ที่น่าจะได้กลับคืนมา  เป็นเวลา 1 ปี....นะคะ  ถ้ามีทุนอยู่ต่อได้ ไม่เดือดร้อนก็สามารถทำได้ค่ะ  และที่แน่ๆ คือ ลำไยของคุณจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม เป็นเวลา 1 ปี ....แน่นอนค่ะ

            4. เอา...ก็เอา...ว่ะ!  ใจก็อยากจะราดสารอ่ะ คนก็เชียร์กันจัง  แต่ลึกๆ กลัวว่ะ... เดี๋ยวไม่สำเร็จ หน้าแตก...แน่ เอางัยดี...?

คำตอบ :  ขอให้เชื่อมั่นในตนเองค่ะ   "ถ้าพร้อม....ก็ทำ  แต่ถ้าไม่พร้อม ไม่มั่นใจ....อย่าทำค่ะ"  

                 เชื่อมั่นตนเอง อย่าฟังคนอื่นมากนัก  พึงระลึกไว้เสมอว่า "คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ" ระวังจะเจอ "ผู้หวังดี แต่ประสงค์ร้าย"....นะคะ  คนอิจฉาเรา....มีเยอะ...ค่ะ  

                 บางทีที่เขาเชียร์ให้คุณทำ เพราะถ้าคุณทำสำเร็จ เขาจะได้อ้างได้ว่า "เขามีส่วนส่งเสริมให้คุณทำได้สำเร็จ" อาจเลยเถิดไปถึงเรื่องขอแบ่งรายได้  หรือขอยืมเงินคุณด้วย...นะคะ   

                 แต่ถ้าคุณทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เสียเงิน เสียเวลา เสียใจ  เขาก็จะมีความ "สะใจ" ลึกๆ ที่เห็นคุณล้มเหลว  แลก็จะไม่แสดงออกต่อหน้าให้คุณเห็นหรอก...ค่ะ   รวมไปถึงการปฏิเสธที่จะรับผิดชอบในความคิดเห็นใดๆ ที่เขาได้เสนอให้กับคุณไปแล้วนั้น   ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า "คุณดูแลลำไย ไม่ดีเอง" ...นิ

                 เรื่องหน้าแตก หรือไม่หน้าแตกนั้น  เป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็น "ความกลัวส่วนตัว" ของคุณเอง...ค่ะ   อย่ากลัวความกลัวของตนเองเลย เป็นนายความกลัวของเรา.....เถอะค่ะ  

      "ผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว ย่อมก่อให้เกิดปัญญาที่่จะพิจารณาว่าสิ่งใดพึงปฏิบัติ หรือสิ่งใดพึงหลีกเลี่ยงการปฎิบัติ"

                                    (พระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9)     

"สติมา ปัญญาก็เกิด"...ค่ะ  แล้วจะทำการสิ่งใด ผลสำเร็จก็อยู่เบื้องหน้าอยู่ไม่ไกลหรอกค่ะ

"ปัญหามีไว้แก้ อุปสรรคมีไว้ลุย.... สู้...สู้..."ค่ะ 

          5. เขาบอกราดตอนใบเพสลาด แล้วไอ้ที่เรียกว่า "เพสลาด"...อ่ะ  มันเป็นยังไง ใบมันขนาดไหนกัน เปิดดูกี่เว็ป ก็มีแต่คำพูด ไม่เคยเห็นใครลงรูปภาพใบเพสลาดให้ดูกันบ้างเลย ( หรือมี แต่ไม่เคยเปิดเจอ )....?

คำตอบ :  ระยะที่ดีที่สุดที่จะราดสารฯ คือ ระยะใบเพสลาด...ค่ะ 

        เพราะจะทำให้เราประหยัดเวลาในการที่ลำไยจะแทงช่อใหม่แล้วพัฒนากลายเป็นช่อดอกได้รวดเร็วที่สุด

ดังนั้นก่อนที่จะถึงขั้นราดสารฯ ในระยะเพสลาด

เราต้องทำการเร่งทั้งใบอ่อนๆ ทั้งใบอ่อนใบเล็ก และใบอ่อนใบใหญ่ที่มีอยู่บนต้นให้แก่ไปพร้อมๆกับ

ใบชุดที่จะที่จะเข้าสู่ระยะเพสลาด ....นะคะ   ด้วยการให้ 

1. ธาตุอาหารทางดินสูตร 8-24-24  ต้นละ 1 กิโลกรัมสำหรับลำไยทรงพุ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เมตรโดยทะยอยให้ครั้งละประมาณ 330 กรัมทุก 7-10 วันจำนวน 3  ครั้งในช่วงสปริงเกอร์ให้น้ำ...นะคะ

เพื่อสะสมอาหารในใบ และ 

2. ควรให้ธาตุอาหารทางใบ 0-52-34 + ธาตุรอง อัตรา 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร 

สำหรับฉีดพ่นทางใบช่วยเสริมเพื่อป้องกันลำไยแตกยอดใหม่...ค่ะ


ทรงพุ่มลำไยที่มีใบระยะเพสลาด


ใบลำไยระยะเพสลาด

ลักษณะใบระยะเพสลาด : ใบอ่อนที่มีมากที่สุดของทรงพุ่มจะแผ่ใหญ่

สีใบเริ่มเปลี่ยนไปจาก ใบสีตองอ่อนจะค่อยๆ มีสีเขียวเข้มขึ้น จนเริ่มเป็นสีเขียวเข้ม

ใบมันวาวแผ่เต็ม แต่ไม่ตึง ยังคงห้อยคอตก ใบยังไม่ตั้งตัวยกขึ้น

ที่ส่วนปลายยอดของกิ่ง และบริเวณโคนใบจะต้องยังไม่แสดงตุ่มยอดใดๆ

โคนของกิ่งใบสุดท้ายจะต้องยังไม่มีตาใบชุดต่อไปแตกออกมา....นะคะ

ใบเพสลาด (สีเขียวอ่อน) เปรียบเทียบกับใบแก่ (สีเขียวเข้ม)

ถ้าราดสารฯ ในช่วงนี้ ลำไยจะแทงยอดชุดใหม่ และจะแตกตาดอกพัฒนาเป็นยอดช่อดอกเลย...ค่ะ

ในกรณีที่แตกเป็นช่อใบ ไม่ต้องตกใจนะคะ  แสดงว่าต้นลำไยได้ประเมินตนเองว่าชุดใบที่มีอยู่นั้น

ไม่พร้อม และมีไม่พอ เขาจะแตกช่อใบชุดใหม่ก่อน ซึ่งก็ถือว่าปกติ...ค่ะ

ในรูปนี้ ระยะการพัฒนาของใบของลำไยยังอ่อนเกินไป (ใบยังคงมีสีเหลืองอ่อนมาก และใบอ่อนนิ่ม)

แต่ถ้าใบยังอ่อนเกินไป หากราดสารฯ โอกาสที่ใบจะหลุดล่วงมีมาก  ทำให้การติดดอกจะได้น้อย..นะคะ

ลำไยกำลังแตกยอดใหม่ ซึ่งยังเป็นยอดขอ (ยอดนั้นยังไม่ดีดออกจากกัน) 


ระยะแตกยอดใบใหม่ และได้พัฒนาไปเป็นใบอ่อนแล้ว ไม่สามารถราดสารฯ ได้ในช่วงนี้

แต่ถ้าใบตั้งตัวแล้ว หรือมียอดใหม่ (เป็นรูปขอ) หรือแตกยอดใหม่ที่ปลายกิ่งแต่ใบเล็กๆ นั้นยังไม่ดีดตัวออกจากกัน

อย่างนั้นราดไม่ได้.....นะคะ  ต้องรอให้ใบใหม่ชุดนี้พัฒนาไปอีกจนถึงระยะเพสลาด ...ค่ะ 

แต่ถ้าขืนราดสารฯ ไปในช่วงนี้  จะส่งผลให้ยอดใบอ่อนชุดใหม่นี้ชงักการเจริญเติบโตได้

และโอกาสที่จะติดช่อดอกจะมีน้อยลง...ค่ะ


ระยะใบเขียวแก่ แต่ไม่ถึงกับแก่จัด

แต่ถ้าใบเขียวแก่  แต่ไม่ถึงกับแก่จัด

               เราสามารถราดสารฯ ในครั้งที่ 1 ได้ (ใช้สารฯ 5 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร พ่นได้ 50 ต้น เฉลี่ยต้นละ 100 กรัม) จากนั้นให้เราราดสารฯ ซ้ำอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2  ณ จุดเดิม โดยให้ใช้ปริมาณสารฯ เพียงครึ่งหนึ่งจากที่เคยราดไปในครั้งแรก (ใช้สารฯ 2.5 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร พ่นได้ 50 ต้น เฉลี่ยต้นละ 50 กรัม)  มีช่วงระยะเวลาห่างจากการราดสารครั้งแรก ประมาณ 5-7 วันค่ะ    

                ซึ่งในเวลาต่อมาต้นลำไยจะแทงยอดใหม่ออกมาตามปกติ  แต่ว่ายอดชุดใหม่นี้จะกลายเป็นใบทั้งหมด โดยที่ใบยอดชุดใหม่นี้ จะกลายเป็นใบหลักซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูแลการพัฒนาของช่อดอกลำไย ซึ่งกำลังจะแทงช่อดอกติดตามช่อใบชุดนี้ รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มราดสารฯ ครั้งที่ 1 จนถึงการออกช่อดอกลำไย รวมแล้วไม่เกิน 45 วัน  ถ้าใช้เกินกว่า 45 วันแล้ว ยังไม่ปรากฎช่อดอก คงต้องถือว่าการราดสารฯ ช่วงนี้ ไม่สำเร็จ...ค่ะ

เหตุผล คือ ต้นลำไยของเกษตรกร ยังไม่มีความพร้อมในการแทงช่อดอก...ค่ะ

ส่วนมากจะเกิดจากปริมาณค่า N (ไนไตรเจน) มีค่าสูงกระเถิบเข้ามาใกล้ค่า C (คาร์บอน)

แปลง่ายๆ คือ ต้นลำไยยังไม่พร้อม โดยปริมาณใบ และคุณภาพของใบยังสะสมอาหารไม่เพียงพอนั้นเอง

                 แต่เกษตรกรไม่ต้องตกใจนะคะว่าปีนี้ทั้งปีจะไม่ได้ผลผลิต เพราะท่านยังสามารถให้ปุ๋ย เพื่อบำรุงช่อใบชุดนี้ให้สมบูรณ์ต่อได้ ให้มีจำนวนใบ และการสะสมอาหารของใบชุดนี้  เพื่อให้ต้นลำไยพร้อมที่จะราดสารฯ ในช่วงเวลาถัดไป  (แนะนำให้เลี้ยงชุดใบเพิ่มอีก 1 ชุด รวม 45 วัน....ค่ะ)

สรุปคือ : ใบลำไยชุดที่ราดสารฯ ไม่สำเร็จ ซึ่งขณะนี้ได้กลายเป็นใบไปหมดแล้ว

ก็ให้เกษตรกรบำรุงใบชุดนี้ไปอีกประมาณ 30 วัน

ลำไยจะแตกยอกใบชุดใหม่ออกมาอีกครั้งหนึ่ง

ให้เกษตรเริ่มใช้ ธาตุอาหารทางดิน 8-24-24 อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสะสมอาหาร และเร่งใบทุกใบให้แก่พร้อมๆ กัน รวมถึงใช้ธาตุอาหารทางใบ 0-52-34 อัตราส่วน 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อป้องกันการแตกยอดใบอ่อนเพิ่มขึ้นมาอีก จากนั้นเมื่อใบชุดใหม่นี้เข้าสู่ระยะเพสลาด

ท่านก็จะสามารถทำการราดสารฯได้อีกครั้งหนึ่ง....ค่ะ  (ดูภาพข้างล่าง)

ลำไยยอดแรกหลังการราดสารฯ จะกลายเป็นใบทั้งหมด ก่อนที่จะแทงยอดใหม่เป็นยอดตาดอก

ลำใยจะใช้ใบชุดนี้พัฒนาความพร้อมของตนเอง รวมระยะเวลา 30-45  (หลังจากราดสารครั้งที่ 1)

จากนั้นจะแทงยอดใหม่ออกมา ซึ่งจะมีทั้งตาใบ และตาดอกเกิดขึ้น

ลักษณะตาดอกจะเป็นเหมือนจุดไข่ปลาเล็กๆ สีขาว  ออกแทรกก้านของใบชุดใหม่นี้...ค่ะ  (ดูภาพข้างล่าง)


ภาพยอดที่ออกเป็นตาดอก (จุดสีขาวๆ กลมเหมือนไข่ปลา) เกิดแทรกตาใบ

ช่วงนี้ควรงดการให้น้ำ เพื่อไม่ให้ตาใบพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นใบ ควรให้ยอดดอกพัฒนายาวขี้นมาอีกประมาณ 

3 นิ้วฟุตก่อนหลังจากนั้นค่อยเริ่มให้น้ำ และค่อยๆ เพิ่มการให้น้ำขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

                   ช่วงนี้หากให้น้ำในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีฝนตกลงมา หรือให้ปุ๋ยที่มี N สูง
                                                   ตาใบจะพัฒนาเบียดตาดอกได้...ค่ะ

           ดังนั้นก่อนที่จะมีฝนตกลงมาให้เกษตรกรฉีดพ่นธาตุอาหารทางใบ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ตละลายน้ำสูตร 0-52-34  ฉีดพ่นทางใบ  ในอัตรา 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน  เพื่อช่วงเร่งการพัฒนาสร้างตาดอก  และช่วยกดตาใบไว้ ไม่ให้ใบใหม่เกิดขึ้นมาเบียดแทรกตาดอกได้....ค่ะ  (อย่าลืมผสมธาตุรองลงไปด้วย สำหรับการฉีดพ่นทางใบ...นะคะ) หลังจากนั้น ช่อดอกจะพัฒนายืดยาวขึ้น ไปเรื่อยๆ และแตกกิ่งก้านออกรอบๆ ช่อดอกที่ยาวขึ้น และเกิดตาดอกอย่างชัดเจน ก่อนที่จะพัฒนาเป็นดอกตัวผู้ หรือดอกตัวเมียต่อไปนั้น  ระยะนี้เราเรียนกันว่า "ระยะยอดสะเดา" 

ระยะช่อดอกยืดตัวออก เรียกว่าระยะ "ยอดสะเดา"

                   ช่อดอกนี้จะค่อยๆ ยืดตัวออกไป ระยะนี้หากต้องการให้ช่อดอกยืดยาวออกไป เราสามารถให้ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนของ N สูงช่วยในการยืดช่อดอกได้แต่ถ้าหากต้นลำไยดังกล่าว เป็นการราดสารฯ ลำไยเป็นครั้งแรกเราไม่ควรให้ N ในอัตราที่สูง เนื่องจากการยืดช่อดอกจะทำให้มีปริมาณของดอกมาก มีโอกาสที่ลูกลำไยจะดก ซึ่งลำไยปีแรกปริมาณลำต้น และใบใบอาจไม่สามารถเลี้ยงลูกลูกไยจำนวนมากให้มีคุณภาพได้ ในท้ายสุดก็ต้องตัดแต่งกิ่งและลูกลำไยทิ้งไป เปลืองปุ๋ยที่ใส่เพื่อยืดช่อดอกเปล่าๆ





คำตอบข้อ 6- 13  ดูในบทต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 514235เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณเกษตรกร เจ้าของสวน ที่แวะไปเยี่ยม 

วันหลังคงต้องขอคำแนะนำ ในการทำเกษตร

ตามมาอ่าน หายไปนานมากๆๆๆๆ

  •  สุขสันต์สุขศรีปีใหม่ 2556 ตลอดปีและตลอดไปครับ
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ

สวัสดีครับ

ปีใหม่นี้ขอให้ครอบครัว มีความสุข ความสมหวังตลอดปีและตลอดไปครับ

ขอบคุณ น้องยุ้ย ลุงเพิ่งไปพ่นทางใบ ลำไย 3 ปีแรก. วันนี้ใบมันร่วง ยอดไหม้ เอาไงดี?


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท