โครงการรับจำนำข้าวจะทำให้ชาวนารายย่อยของไทยยากจนลงในระยะยาว


ในระยะยาว ชื่อเสียงของคุณภาพข้าวไทยในตลาดโลกจะตกต่ำ ผู้ถูกกระทบมากที่สุดคือชาวนารายย่อย

โครงการรับจำนำข้าวจะทำให้ชาวนารายย่อยของไทยยากจนลงในระยะยาว

โครงการรับจำนำข้าวจะทำให้ชาวนารายย่อยของไทยยากจนลงในระยะยาว  เพราะ

1.  เบี่ยงเบนวิธีคิดที่ถูกต้อง  จากกำไรสุทธิในการทำนา  ไปหมกมุ่นกับราคาขาย  ทำให้ลืมทำนาแบบลดต้นทุน  ซึ่งก็คือการทำนาแบบปลอดสารเคมี 

2.  ทำให้ไม่มุ่งผลิตข้าวคุณภาพสูง  เพราะหลงคิดว่าตัวกำหนดเงินที่ได้รับ คือน้ำหนักข้าวเปลือก 

3.  จริงๆ แล้ว ชาวนารายย่อยขายข้าวได้ราคาต่ำกว่าที่รัฐบาลประกาศมาก  เพราะโรงสีที่รับซื้อจะหักโน่นหักนี่  เช่น แทนที่จะขายได้ตันละ ๑๕,๐๐๐ ก็ขายได้เพียง ๙,๐๐๐  ผู้ได้เงินในราคาเต็มคือโรงสีที่ฮั้วกับพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล 

4.  ในระยะยาว ชื่อเสียงของคุณภาพข้าวไทยในตลาดโลกจะตกต่ำ  ผู้ถูกกระทบมากที่สุดคือชาวนารายย่อย

ผมเอาข้อมูลจากนักวิชาการมาทำให้ง่ายเพื่อบอกสังคมไทย  ไม่ทราบว่าผมตีความถูกต้องหรือไม่

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 513819เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 05:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 05:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แล้าจะลืม .... เศรษฐกิจพอเพียง .... พออยู่ ...พอกิน ... มีเหลือใช้ก็แจกจ่าย ขายบ้าง .... ถ้ามองเป็นราคาๆๆ ก็จะผิดไปจากทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง .... นะคะท่่าน อจ.หมอ 

อาจารย์ยังไม่ได้กล่าวถึงผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการทุ่มใช้สารเคมีอันตรายต่าง ๆ ทุกชนิดที่จะทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น  เพราะคิดว่ายังไงก็คุ้ม

ฟังจากอาจารย์เดชา ศิริภัทรบอกว่าต้นทุนการผลิตข้าวเปลือกของไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 7,000 บาท ในขณะที่เพื่อนบ้านต้นทุนไม่ถึงครึ่งของจำนวนนี้  ถ้ารัฐบาลไม่รับ"จำนำ"ต่อไปชาวนาไทยส่วนใหญ่ก็จะลำบากและน่าเป็นห่วงมาก  และต่อไปก็จะกระทบต่อสังคมทั้งระบบ

การสร้างนิสัยไม่ดีให้คนทำนา ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ ก็คือ การทำลายประเทศอย่างสิ้นซากค่ะ  กว่าจะกู้นิสัยดีๆ กลับมา ก็คงใช้เวลาอีกนาน การมองโลกบนความดีและความจริงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความอยู่รอดของสังคมมนุษย์ค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับโดยเฉพาะเรื่องแรก คือ การเอาข้อมูลมาทำให้ง่ายเพื่อบอกสังคมไทย เรื่องนี้สลับซับซ้อน คล้ายกับเรื่องน้ำมันและก๊าซ

เรื่องที่สอง จากประสบการณ์ของมูลนิธิธนาคารข้าวเพื่อประชาไทย ที่ผมคลุกคลีอยู่ทำให้ทราบว่า สิ่งที่ชาวนาปรารถนาที่สุดคือ ความยุติธรรมในกระบวนการรับซื้อข้าว มากกว่าเรื่องของราคา แน่นอนขายข้าวได้ราคาชาวนาต้องชอบ แต่ในกระบวนการรับซื้อข้าวระหว่างโรงสีและชาวนานั้น ชาวนาได้แต่ทำตาปริบๆ หรือบางครั้งก็กลืนเลือดลงท้องไป ขนข้าวมาถึงโรงสี ยังไงเสียก็ต้องขาย ไม่มีทางเลือก ดั่งสุภาษิตที่ชอบยกมาในกรณีนี้ว่า “ผีมาถึงป่าช้า ยังไงก็ต้องเผา”

ชาวนาถูกเอารัดเอาเปรียบใน ๔ ประเด็นเป็นอย่างน้อยคือ 

๑.การหักค่าความชื้นเกินจริง

๒.การพิจารณาสิ่งปลอมปนในข้าวเปลือกที่ไม่ได้มาตรฐาน

๓.การชั่งน้ำหนักที่ไม่ได้มาตรฐาน และ

๔.การพิจารณาคุณภาพ(พันธุ์)ข้าวเปลือกตามใจชอบของผู้รับซื้อ

เรื่องหักค่าความชื้นเป็นนิยายเก่าแก่ ที่เล่ากันมาตลอด เราได้ยินกันมาตลอด เหมือนๆกับเรื่องสิ่งเจือปน และการโกงตาชั่งซื่งใช้เศษโลหะชิ้นไม่ต้องใหญ่นัก ไปเบี่ยเบนกลไกตาชั่ง น้ำหนักก็เพี้ยนไปมากแล้ว ที่กล่าวมานี้แม้ไม่ได้เห็นกับตาตนเอง แต่เสียงที่ชาวนาพูดถึงทุกที่สอดรับคล้ายกันหมด

แต่ประเด็นที่ ๔ นี่ซิครับ ฟังแล้วขำ แต่ก็ขำไม่ออก เพราะไม่ว่าข้าวที่โรงสีรับซื้อต่างคุณภาพต่างราคานั้น ท้ายที่สุดก็ถูกเทกองรวมกันเป็นกองเดียว ราวกับว่าทั้งหมดคุณภาพเดียวกัน

เขียนมาอย่างนี้ผมตั้งจะจะเอาความเห็นไปแสดงไว้บนหน้าเฟสบุ๊คของตัวเองด้วย หากถูก Like & Share ไปเรื่อยๆ ก็คงจะถึงหูสมาคมโรงสีฯเข้า เรื่องข้างบนดูเหมือนจะกล่าวหาโรงสีอยู่ฝ่ายเดียว ซึ่งไม่เป็นธรรม เรื่องนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย แต่ที่ยกโรงสีขึ้นมาเพราะนั่นคือรอยต่อที่สำคัญระหว่างชาวนา กับกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวทั้งหมดไปจนถึงผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

สรุป สิ่งที่ชาวนาปรารถนาที่สุดคือ เวลาซื้อข้าวเปลือกอย่าโกงกันได้ไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท