องค์กรสาธารณะประโยชน์มีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาสุขภาพ ?


จากอุดมการณ์ของกลุ่มคนส่วนหนึ่งในอดีต เข้ามาให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทย หลายครั้งที่ล้มจากการถูกต่อต้านทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชน และหลายครั้งที่ลุกขึ้นมาอย่างสง่างาน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันองค์สาธารณะเหล่านี้มีหลายองค์กรที่มีความเข้มแข็งและมีส่วนช่วยเหลือสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องชาวไทยที่ด้อยโอกาส และอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ที่ประสบปัญหาทั้งด้านปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่มาของการทำความจักหน่วยงานดังกล่าว

                       บทบาทขององค์กรสาธารณประโยชน์และมูลนิธิในการพัฒนาสุขภาพ                        

(Public & Civil Society Organization Roles in Health Development )

แลกเปลี่ยนความรู้โดย รศ.นพ.ปัตพงต์ เกษสมบูรณ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดย กาญจนา นิ่มสุนทร นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

      องค์กรสาธารณประโยชน์ (ในสังคมไทยได้เรียกขาน “องค์กรพัฒนาเอกชน” หลายอย่างด้วยกัน เช่น องค์การสาธารณประโยชน์ , องค์กรเอกชน, องค์การเอกชนเพื่อการพัฒนา แต่ทั้งหมดมีความหมายเดียวกัน) หรือชื่อที่คนทั่วไปรู้จักกันว่า “องค์กรพัฒนาเอกชน” ในภาษาอังกฤษคือ (Non Government Organizations : NGOs) ได้ก่อกำเนิดในสังคมไทยมาช้านาน และมีพัฒนาการที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ควบคู่กับพัฒนาการทางสังคม ทั้งนี้การทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานขององค์การสาธารณประโยชน์ ความเข้าใจและการยอมรับของประชาชนต่อบทบาทขององค์การสาธารณประโยชน์ ประชาชนรับรับรู้ในฐานะของผู้ใจบุญ โดยประชาชนจำนวนหนึ่งพิจารณาจากข้อมูลข่าวสารที่ปรากฎผ่านสื่อมวลชน โดยเฉพาะมูลนิธิบางแห่งเน้นการบริจาคทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม หรือการที่บุคคลมีฐานะทางสังคมได้สมัครเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิกู้ภัย เป็นต้น การรับรู้ในฐานะของอาชีพหนึ่งโดยประชา -ชนกลุ่มหนึ่งมีมุมมองว่าบุคลากรขององค์การสาธารณประโยชน์ เป็นอาชีพหนึ่ง ๆ ซึ่งมีผลประโยชน์ตอบแทน ในรูปของเงินเดือน เงินสวัสดิการต่าง ๆ และต้องทำงานไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ๆ     

      สามารถสรุปได้ว่า องค์การสาธารณประโยชน์มีการดำเนินงานมาเป็นระยะเวลานาน และมีรูปแบบกิจกรรมค่อนข้างหลากหลาย ในปัจจุบันไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่ชัดได้ กลุ่มที่เข้มแข็งมีมากกว่า 1,000 องค์กร แหล่งทุนที่สนับสนุนมีทั้งภาครัฐ หน่วยงานราชการและแหล่งทุนจากต่างประเทศในด้านของบทบาทและรูปแบบของกิจกรรม พบว่าหลากหลายมาก อาทิเช่น การรณรงค์ การจัดสัมมนา การพิมพ์เอกสาร การประชุมชาวบ้าน การรณรงค์เพื่อรับการสนับสนุนต่างๆ เช่น การระดมทุน การรวบรวมรายชื่อเพื่อออกกฎหมาย ฯลฯ และโดยมากรูปแบบของกิจกรรม มักเป็นไปในทางเดียวกับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ และ วัตถุประสงค์ขององค์กร อย่างไรก็ตามในระยะหลังจะมีองค์การสาธารณประโยชน์เน้นงานเชิงเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีลักษณะของการร่วมมือด้านเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าบางเครือข่ายจะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยตรงทางด้านความร่วมมือ ระหว่างองค์การสาธารณประโยชน์กับหน่วยงานราชการ พบว่ามีความร่วมมือกันมากขึ้นโดยพิจารณาจาก ตัวชี้วัดสำคัญคือ อัตราเพิ่มของงบประมาณที่หน่วยงานราชการให้การสนับสนุน รวมถึง การสร้างกระบวนการ การปรับกลไกให้เอื้อต่อการทำงานขององค์การสาธารณประโยชน์ รวมถึงมีความพยายามปรับรูปแบบของการกำกับ ควบคุม มาเป็นการสนับสนุน และการทำงานร่วมกัน

         จากการวิจัยของThe Johns Hopkins Center for Civil Society Studiesที่ทำการวิจัยองค์กรภาคประชาสังคมทั่วโลก จำนวน 40 ประเทศ มีข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี้  ลักษณะที่สำคัญที่แตกต่างจากหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่นของ NPIs ดังนี้1. สินค้าและบริการคนละอย่าง มักจะเป็นสิ่งที่ขาดแคลนในสังคม เช่น การรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้น 2. สินค้าสาธารณะ (Public– goods production)การใช้ประโยชน์จากสินค้าและผลกระทบในทางบวก เช่น การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นเป็นโรค 3. Governance โดยจะมองหลายมิติตั้งแต่ผู้รับประโยชน์ การเผยแพร่สินค้า และการบริการสาธารณะเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งแตกต่างจากภาคธุรกิจที่จะเน้นแต่กำไรเท่านั้น 4. Revenue Structure รายได้ส่วนใหญ่มาจากการบริจาคและรัฐให้การสนับสนุนในบางส่วน 5. Staffing พนักงานส่วนใหญ่จะมีจิตอาสาเข้ามาทำงาน 6. Tax treatment ยกเว้นภาษีได้ 7. Legal treatment มีการจดทะเบียนให้ถูกต้องทำตามกฏหมาย

           How Can Better Data on Civil Society Help? ทัศนวิสัย / กฎหมายปรับปรุงนโยบายการทำงาน เพิ่มความโปร่งใส / รับผิดชอบ ปรับปรุงบัญชีแห่งชาติ ผลงานกราฟ NPO แนวโน้ม / ปัญหา

          ตัวอย่าง จิตอาสาฉือจี้ที่ไต้หวันอุดมการณ์ที่กินได้ Tzu Chi Buddhist Foundation หรือที่หลายคนเรียกว่า “สำนักพุทธฉือจี้”คนที่อยู่ในแวดวงอาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ คงต้องเคยได้ยินชื่อ มูลนิธิพุทธฉือจี้ มาแล้ว บางอย่างแน่นอน เป็นเรื่องของท่านเจิ้งเอี๋ยน มูลนิธิฉือจี้ (Tzu Chi Buddhist Foundation) ปัจจุบันได้กำหนดภารกิจไว้ถึง 8 ด้าน คือ (1) งานการกุศล สงเคราะห์ผู้ยากไร้(2) บรรเทาอุบัติภัย ทั้งระดับท้องถิ่นและสากล (3) บำบัดความเจ็บป่วยด้วยการแพทย์เปี่ยมจริยธรรม (4) การศึกษาที่ทำให้เป็นคนทีสมบูรณ์มีความละเมียดละไมในชีวิตและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น (5) การสร้างสรรค์สังคมคุณธรรม(6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (7) ศูนย์ข้อมูลไขกระดูกหรือ stem cell (8) อาสาสมัครชุมชน  แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมูลนิธิในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมในด้านต่างๆรวมทั้งด้านสุขภาพ อย่างเด่นชัด 

         จากตัวอย่างข้างต้นทำให้สามารถสรุปบทบาทที่สำคัญขององค์กรสาธารณประโยชน์ ทางด้านสุขภาพ คือ เพื่อบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการแลกเปลี่ยนข้อมูลการตั้งค่านโยบาย การระดมทรัพยากรและการจัดสรร ติดตามตรวจสอบคุณภาพและการตอบสนองความต้องการของชุมชน และนอกจากนี้ยังพบว่า คุณลักษณะเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ดีควรจะ(1) ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์ (2) ดำเนินงานอย่างเอกเทศ (3) ไม่แสวงหากำไรและไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์แก่สมาชิก(4) ไม่ใช่องค์กรรัฐ (5) ไม่ใช่องค์กรศาสนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศาสนาอย่างเดียว(6) ไม่ใช่องค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเมือง (7) ไม่รวมสหภาพ แรงงาน และ (8) ไม่รวมองค์กรประชาชนท้องถิ่น     

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaingo.org/story/book_047.htm
อมรา พงศาพิชญ์และคณะ. องค์กรสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

หมายเลขบันทึก: 513720เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


ขอบคุณนะคะพี่ทั้ง 2 ที่ให้ดอกไม้ให้กำลังน้องน้อย ประสบการณ์ที่เริ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท