จะวางแผนยุทธศาสตร์/แผนกลยุทธ์อย่างไรให้องค์กรก้าวถึงจุดหมาย?


แผนกลยุทธ์คือ การตัดสินใจวางแผนอย่างมีระบบมีทิศทาง มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคตโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามพันธกิจ (Mission) ขององค์กรและทำให้องค์กรอยู่รอดในระยะยาวได้

จะวางแผนยุทธศาสตร์/แผนกลยุทธ์อย่างไรให้องค์กรก้าวถึงจุดหมาย

แลกเปลี่ยนความรู้โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดย         กาญจนา  นิ่มสุนทร นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

   ถ้าพูดถึงเรื่องการวางแผนยุทธศาสตร์ หลายคนในองค์กรเคยทำแต่อาจจะไม่ทราบว่ามันต่างกันอย่างไร แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นสิ่งที่องค์กรทำเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จซึ่งยุทธศาสตร์ไม่ใช่งานประจำ แต่หมายถึง การพัฒนางานประจำหรือ การสร้างงานใหม่ แผนกลยุทธ์คือ การตัดสินใจวางแผนอย่างมีระบบมีทิศทาง มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคตโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามพันธกิจ (Mission) ขององค์กรและทำให้องค์กรอยู่รอดในระยะยาวได้ ส่วน “การวางแผนกลยุทธ์”นั้น เป็นกระบวนการกำหนดเป้าหมายระยะยาวขององค์กร (Long Range Goals) การเลือกวิถีทาง (Means) เพื่อให้บรรลุจุดหมายนั้น
ทั้งนี้ การวางแผนกลยุทธ์ซึ่งเป็นแผนของผู้บริหารระดับสูงจะมีความเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการ ซึ่งเป็นแผนของผู้บริหารหรือแผนงานระดับล่า'

  การบริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบไปด้วย การสังเคราะห์กลยุทธ์  ดำเนินการตามกลยุทธ์
และการกำกับและประเมินกลยุทธ์

  แตกต่างจากการวางแผนอื่นๆอย่างไร  ?ลักษณะแผนกลยุทธ์ เป็นแผนระยะยาว  เป็นการตัดสินใจ(ทำ /ไม่ทำ)ในปัจจุบันที่จะส่งผลในอนาคต คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม
การดำเนินการเป็นทีม เพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

  ทำไมต้องเป็นแผนกลยุทธ์ นโยบายรัฐบาล สังคมเปลี่ยน การปกป้องสิทธิของผู้ป่วย
คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ลด ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น  แต่คุณภาพต้องดีขึ้น

  ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 1.ผู้บริหารประกาศเจตนารมณ์และความมุ่งมั่น 2.  หัวหน้างานให้การยอมรับและ เข้าร่วมดำเนินการอย่างเต็มใจ  3. กำหนด วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ค่านิยม (VISION, MISSION,  VALUE) 4.  วิเคราะห์สถานการณ์  (SWOT  ANALYSIS) 5.  กำหนด เป้าประสงค์  6. สังเคราะห์กลยุทธ์ 7. เลือกกลยุทธ์  8.  วางแผนควบคุมกำกับกลยุทธ์

  เงื่อนไขความสำเร็จของแผนเชิงกลยุทธ์ 1. 
ผู้นำองค์กรต้องถือเป็นพันธะสัญญา
2.  เป็นแผนของทั้งหน่วยงานทุกคนผูกพัน  3.  ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร ย้ำเตือนเสมอ 4.  ยืดหยุ่นพอเหมาะตามสถานการณ์

  วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม  คือ เข็มทิศชี้นำทาง  (GUIDING  PRINCIPLES)คำถามสำคัญ เราคือใคร?  ทำไมต้องมีเราอยู่ ?ลูกค้าของเราคือใคร  ? ภาพอนาคตของเราเป็นอย่างไร  ? พันธะกิจของเราคืออะไร  ? ค่านิยมที่เรายึดถือคืออะไร ? หน่วยงานของเราคือใคร? ภาพอนาคตของหน่วยงานเราเป็นอย่างไร  ? พันธกิจของหน่วยงานเราคืออะไร? ค่านิยมที่หน่วยงานเรายึดถือคืออะไ? 

  ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่มีพลัง1.  ผลักดันให้ต้องทำ2.  เข้าใจง่าย  จำง่าย 3. เร้าใจ 4. สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ 5. กระตุ้นการสร้างวิสัยทัศน์ของตน 
  การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS)  SWOT คืออะไร: Strengths :  จุดแข็ง  Weaknesses  : จุดอ่อน Opportunities  :  โอกาส Threats  :  อุปสรรค/สิ่งคุกคาม 

 ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก(สิ่งแวดล้อม)สำรวจตรวจสอบสถานการณ์เบื้องต้น
รวบรวมข้อมูลที่สำคัญ คาดการณ์อนาคตและแนวโน้มประเมินผลกระทบต่อองค์กร

เครื่องมือรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มแบบพื้นฐาน การใช้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  การวาดภาพอนาคต การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน การวิเคราะห์การแผ่ขยายของเหตุการณ์ การใช้เครื่องมือทางมนุษยวิทยา 7 อย่าง

  การสร้างกลยุทธ์ (STRATEGY  FORMULATION)

  ประเภทของกลยุทธ์: กลยุทธ์บอกทิศทาง วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม เป้าหมายกลยุทธ์บอกวิธีทำงาน  กลยุทธ์การผลิต / การบริการ(กระบวนการผลิต,เทคโนโลยี,วัตถุดิบ) กลยุทธ์การตลาด
(คุณค่า, ราคา, ตำแหน่ง,โปรโมชั่น, การสื่อสาร) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากร (คน,เงิน, ข้อมูล, เครือข่าย, องค์กร)

  การสังเคราะห์กลยุทธ์โดยการพิจารณาจากSWOTขั้นตอนการสังเคราะห์กลยุทธ์ 1. เพ่งไปที่  วิสัยทัศน์
พันธกิจ  ค่านิยม และเป้าประสงค์ ขององค์กร
2. ประมวล สถานการณ์ เพื่อหาจุดต่อสู้ 
3. สังเคราะห์กลยุทธ์และทางเลือก จากข้อ 1 และ 2

  การจัดกลุ่มกลยุทธ์และการปรับปรุงกลยุทธ์เสริมข้อมูล คิดข้างทาง มองต่างมุม สวมหมวก 6 สี

  การเลือกกลยุทธ์เกณฑ์การตรวจสอบ / เปรียบเทียบ
กลยุทธ์ ความเป็นไปได้ เหมาะสมกับสถานการณ์ การยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดลำดับกลยุทธ์โดย
เปรียบเทียบกลยุทธ์ต่างๆ

  สรุปขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์1.  พิจารณา  VISION,  MISSION, VALUES,  GOALS, SWOT 2. 
สังเคราะห์กลยุทธ์จาก
SWOT SO, WO,  ST,  WT 3.  จัดกลุ่ม,รวมกลยุทธ์ 4. ปรับปรุงกลยุทธ์ 5.  เลือกกลยุทธ์ 6.  จัดลำดับกลยุทธ์ 7. สื่อสารและส่งเสริมกลยุทธ์

  ข้อสังเกต และคำแนะนำ KEY WORDS  ของกลยุทธ์ควรเป็น  คำกริยา พัฒนา… ส่งเสริม… สนับสนุน… 
เร่งรัด… จัดระบบ…  เสริมสร้าง… สร้างกลไก… ส่งเสริมและสนับสนุน … ฯลฯ

  ทั้งหมดนี้เป็นการเล่าสู่กันฟังจากการเก็บมาจากสรุปบทเรียนวิชาการจัดการระบบสุขภาพ หวังว่าผู้อ่านจะได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้นะคะ

                                                If you failto plan,  "ถ้าคุณล้มเหลวในการวางแผน

                                                       you plan to fail.คุณวางแผนที่จะล้มเหลว"

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: http://sci.hcu.ac.th/attach/news_1316658612_Strategic.pdf

 

หมายเลขบันทึก: 513712เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 05:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

" แผนกลยุทธ " ที่กล่าวถึงกันทั่วๆไปนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของ กลยุทธที่จัดไว้เป็น ประเภท การวางแผนล่วงหน้า

( planned strategy ) ยังมีกลยุทธ/แผนกลยุทธอีกหลายประเภทที่นักวิชาการไทยละเลยไม่เอ่ยถึง เช่น กลยุทธเฉพาะหน้า

(Emergent strategy ) ซึ่งคิดขึ้นทันทีในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ตัวอย่าง เมื่อนายพล รอมเมล รุกสายฟ้าแลบ

เจาะแนวตั้งรับอังกฤษ/ฝรั่งเศส ได้ที่เมืองArras เมื่อมิถุนายน 1940 เขาเห็นโอกาสที่จะทำลายกองกำลังพันธมิตรอย่าง

สิ้นเชิงจึง เปลี่ยนเป้าหมายจากการมุ่งยึดนครParis ( ซึ่งจะได้เพียงพื้นที่ และ คุณค่าทางการโฆษณา ) ไปเป็นการตีตลบขึ้นเหนือ

ทำลายกองทัพอังกฤษจดทะเบียนที่เมือง Dunquirque

    กลยุทธอีกประเภทหนึ่งคือ " จินตนกลยุทธ ( Intuitive strategy ) " ซึ่งเกิดจากการใช้ความรอบรู้/ประสบการณ์

สร้างกลยุทธ โดยไม่ทันต้องทำSWOT ตามขั้นตอนของ Planned strategy. ตัวอย่าง  กลยุทธ 4ทันสมัย ของ

เติ้ง เสี่ยว ผิง. หรือ "เปลี่ยนสนามรบ เป็นตลาดการค้า " ของ พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ หรือ  กลยุทธ " Look East "

ของ มหาเดร์ เป็นต้น

        ผมสอนนอกสถาบันการศึกษามาตั้งแต่ 1986 ยังไม่เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการจากสถาบันใดๆ

  ถ้านักวิชาการโดยอาชีพท่านใดจะช่วยนำเสนอว่ามีสำนักทฤษฎีกลยุทธถึง 10สำนัก ซึ่งมีวิธีการแตกต่างกันให้สาธารณชนไทย

  ได้รับรู้ก็จะเป็นคุณูปการแก่วงการวางแผนกลยุทธในไทยเป็นอย่างมากๆ

       ผมเคยเขียนบันทึกสั้นๆเรื่องนี้ไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว แต่เจียมตัวว่ายังชีพด้วยการรับจ้างรายชั่วโมง คงไม่มีเวลาค้นคว้า

  ให้ลึกซึ้งเ่ทานักวิชาการอาชีพมีสังกัด จึงเผยแพร่ในวงแคบๆเท่านั้น

         ขอฝากให้ช่วยกันคิดสร้างสรรกันต่อไปด้วยครับ

    



  






ขอบพระคุณที่ให้ข้อชี้แนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท