นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และพรบ.สุขภาพแห่งชาติ สำคัญไฉน?


พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ได้เปิดช่องทางการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปัจจัยกำหนดสุขภาพ ยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นและสร้างสุขภาวะจะทำให้ประชาชนดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี

 นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ   การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและพรบ.สุขภาพแห่งชาติ2550

แลกเปลี่ยนความรู้โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น     

   ส่งต่อความรู้โดย          กาญจนา  นิ่มสุนทร  นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ(HealthyPublic Policy หรือ HPP)

       มุมมองทางสุขภาพที่เปลี่ยนผ่านจากการเกิดโรคมาเป็นสุขภาวะมีปัจจัยมากมายมาเกี่ยวข้องนั้นเป็นจุดที่ทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมเพื่อเอื้อต่อสุขภาวะที่ดีในสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งสามารถอธิบายทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพได้โดยใช้หลักอริยสัจ4  ของพระพุทธศาสนา ดังนี้ ทุกข์ป่วย ตาย โดยไม่สมควรและเกินความจำเป็นทำให้เกิดการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ สังค มเช่น การเกิดอุบัติเหตุการเจ็บด้วยโรคเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ และการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์  สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์ความ ไม่สมดุลของการพัฒนาการที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลักการพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างเพียงพอ เช่น ปัญหาโรคเอดส์เป็นปัญหาร่วมกันของสังคม มิใช่ปัญหาสาธารณสุขเท่านั้น ทิศทางการพัฒนา, นโยบายสาธารณะที่ไม่ดี นิโรธ: การดับทุกข์ทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง มรรค : นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550                                                                                                                        

สุขภาพ  ประกอบไปด้วย กาย จิตใจ สังคม  และจิตวิญญาณ   วิสัยทัศน์ในการดูแลสุขภาพเดิม มุ่งการซ่อมสุขภาพเน้นที่ป่วยเป็นโรค ปัจจุบันปรับไปสู่การมุ่งเน้นการสร้างสุขภาพเน้นที่สุขภาวะ            

ปัจจัยกำหนดสุขภาพ  ประกอบไปด้วย ศรษฐกิจ รายได้และสถานะทางสังคม สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และทักษะชีวิต พัฒนาการที่ดีวัยเด็ก ปัจจัยทางชีววิทยาและพันธุกรรม บริการสุขภาพ  สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมทางสังคมสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สังคม  เครือข่ายความช่วยเหลือทางสังคม การศึกษา การมีงานทำและสภาพการทำงาน                                                                                                                                                 

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ(Healthy Public Policy หรือ HPP) หมายถึง แนวทางการพัฒนาที่มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพหรือสุขภาวะทำให้ประชาชนเข้าถึงทางเลือกที่ก่อให้เกิดสุขภาวะนั้น                                                                                                                                  

พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ได้เปิดช่องทางการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปัจจัยกำหนดสุขภาพ ยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นและสร้างสุขภาวะจะทำให้ประชาชนดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี                                                                                                       

ทิศทางการพัฒนาสุขภาวะ มีเป้าหมาย มั่นคง เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างสุขภาวะไม่ทำลายโอกาสคนรุ่นต่อไป อาทิเช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน มีสติปัญญา เข้าสู่ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ความพอเพียง
นำไปสู่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมี

Ottawa Charter(2529) ซึ่งประกอบไปด้วย1.มีนโยบายสาธารณะที่สนใจสุขภาพ (สุขภาวะ สมดุล)  2.สร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทางสังคม ที่เอื้อหนุน เกื้อกูล ต่อสุขภาวะ มีทางเลือกให้ประชาชน 3.พัฒนาทักษะประชาชนและครอบครัว4.สร้างชุมชนเข้มแข็ง 5.ปรับทิศทางการลงทุนด้านสุขภาพให้มาเน้นบริการปฐมภูมิส่งเสริมและป้องกัน       

 "ในปัจจุบันการดูสุขภาพส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการรับการรักษาที่โรงพยาบาล รองลงมาบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานการควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพ ตามลำดับ ซึ่งหมายถึงเมื่อมีความเจ็บป่วยจะต้องไปรับการรับการรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งมุ่งเน้นการซ่อมนำสร้างแต่วิสัยทัศน์ใหม่จะต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ รองลงมาคือ การควบคุมโรคการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามลำดับ ซึ่งหมายถึง ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมโรค ของประชาชนให้ร่างกายแข็งแรงลดการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างนำซ่อม"

  สรุป: ระบบบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน  จะมุ่งเน้นการปรับปรุงสุขภาพ(ปรับปรุงประสิทธิภาพ) และความสามารถในการจัดการกับต้นทุนการรักษาพยาบาล(ปรับปรุงประสิทธิผล) 

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health ImpactAssessment: HIA)

       นโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ อาทิเช่น การเกษตร การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
การพัฒนาเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ และการก่อสร้างเขื่อน ซึ่งนโยบายดังกล่าวส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
คือ การทำลายระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ น้ำเน่าเสีย ปลาตาย และยังส่งผลกระทบสำคํญต่อสุขภาพของประชาชน
คือ ป่วยเป็นโรคผิวหนังเน่าเปื่อย
นอกจากนี้ ยังพบว่าส่งผลกระทบระหว่างประเทศ อาทิเช่น ผลกระทบจากข้อตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-สหรัฐ และ การเข้าถึงยา (จิราภรณ์ ลิ้มปานานนท์ และคณะ, 2551)                                     

ขั้นตอนของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ได้แก่ การกลั่นกรองกำหนดขอบเขตการวิเคราะห์ผลกระทบการให้ข้อเสนอแนะทางเลือก  และการติดตามควบคุมซึ่งการประเมินผลดังกล่าวจะต้องประยุกต์
ใช้แนวคิดทฤษฎี ของ Ottawa Charter(2529)มาประกอบการพิจารณา                                                  

ลักษณะพิเศษของ HIA : มุ่งหาผลกระทบเชิงซ้อน ทั้งต่อสถานะสุขภาพและปัจจัยของสุขภาพใช้ข้อมูลหลายแหล่ง ฟังทุกฝ่าย เวลาจำกัด ทรัพยากรจำกัด และควรมีผลต่อการตัดสินใจ

พรบ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 (National Health Act 2007)

  พรบ.สุขภาพแห่งชาติเป็นกฎหมายเชิงนโยบายที่กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชนมีส่วนสำคัญที่จะสร้างระบบประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเป็นธรรม และมีคุณภาพ หลายประเด็นที่กล่าวไว้ใน พรบ.เกี่ยวข้องกับค่านิยมที่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าพึงมีและต้องสร้างให้เกิดเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ โดยที่สุขภาพหมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล การวางระบบ เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนจึงไม่อาจมุ่งเน้นที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเพียงด้านเดียว เพราะจะทำ ให้รัฐและประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในขณะเดียวกันโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงและมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้นจำเป็นต้องดำเนินการให้ประชาชนมีความรู้เท่าทัน มีส่วนร่วม และมีระบบเสริมสร้างสุขภาพและระวังป้องกันอย่างสมบูรณ์สมควรมีกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ เพื่อวางกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ
      รวมทั้งมีองค์กรและกลไกเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
อันจะนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งสามารถดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เป็นรูปธรรม                                                       

สรุป : สำหรับประเทศไทยได้มีธรรมนูญสุขภาซึ่งประกาศใช้เป็นกรอบภาพรวมของระบบสุขภาพระยะยาว
(2552-2563)โดยมีปรัชญา และ แนวคิดพื้นฐานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์มั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีระบบบริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นส่วนของความมั่นคงของประเทศรัฐและทุกภาคส่วนในสังคมพึงให้ความสำคัญอย่างสูงแก่การพัฒนาระบบสุขภาพโดยได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและ เป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐ และ ส่วนต่าง ๆ
ได้พัฒนานโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ใช้องค์ความรู้เป็นฐานทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมอย่างจริงจังทุกกระบวนการซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของการทำงานพัฒนาระบบสุขภาพโดยรวมของประเทศ

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :  www.hsri.or.th  และwww.nationalhealth.or.th

หมายเลขบันทึก: 513710เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 05:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 05:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท