มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พุทธสัจจะ


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

พุทธสัจจะ

ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

สารบัญ

บทที่ ๑    พุทธสัจจะ

บทที่ ๒    ลักษณะของพุทธสัจจะ

บทที่    หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

บทที่ ๔    การเข้าใจและเข้าถึงพุทธปรัชญา

บทที่ ๕    วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

บทที่ ๑

พุทธสัจจะ

วิธีการเข้าถึงพุทธสัจจะจำแนกเป็นประเด็นดังนี้

1111111111 พุทธสัจจะ

1111111112 การเข้าใจและเข้าถึงพุทธสัจจะ

1111111113 วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

สรุปเป็นทัศนะจำแนกประเด็นพุทธปรัชญาได้ดังนี้

1111111111.1 ประวัติศาสตร์พุทธปรัชญา

111111111พระพุทธเจ้ามีนามเดิมว่าสิทธัตถะประสูติที่ลุมพินีตั้งอยู่ระหว่างนครกบิลพัสดุ์และเทวทหะเมื่อ 623 ปีก่อนคริสตศักราช (ก่อนพุทธศักราช 80 ปี) พระบิดานามว่าสุทโธทนะมารดานามว่าพระนางมหามายาประสูติได้ 7 วันพระมารดาทิวงคตและอยู่ในการดูแลของพระนางประชาบดีโคตรมีเมื่ออายุได้ 16 ปีได้ทรงอภิเษกกับพระนางยโสธราหรือพิมพามีโอรสหนึ่งองค์นามว่าราหุลออกผนวชเมื่ออายุ 29 ปีเพื่อแสวงหาสัจธรรมเป็นเวลา 6 ปีจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณเมื่ออายุ 35 ปีสิทธัตถะราชกุมารสนพระทัยในการเจริญสมาธิตั้งแต่เยาว์วัยดังปรากฎในพิธีแรกนาขวัญจิตพระองค์เป็นสมาธิจนบรรลุขั้นปฐมฌานครั้นบรรลุสัมโพธิญาณพระองค์ก็เสด็จจาริกไปตามแคว้นต่างๆเพื่อแสดงสัจธรรมคืออริยสัจ 4 ตลอดระยะเวลา 45 พรรษาได้ปลดเปลื้องหมู่ชนจำนวนมหาศาลให้หลุดพ้นจากทุกข์โดยให้ปฏิบัติตามที่ทรงปฏิบัติมาพระองค์เสด็จปรินิพพานที่สาลวโนทยานนครกุสินาราเมื่อพระชนอายุได้ 80 ปีก่อนค.ศ. 543 ปีหลังปรินิพานได้ 3 เดือน พระสาวกสำคัญ 3 ท่านคือพระมหากัสสปะพระอานนท์และพระอุบาลีพร้อมด้วยพระอรหันต์500 รูปได้ทำสังคายนาคำสั่งสอนให้เป็นหมวดหมู่ครั้งแรกนอกจากนั้นในพ.ศ. 100 พระสาวกนำโดยพระยสกากันทบุตรได้ทำสังคายนาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อสะสางข้อปฏิบัติสงฆ์ที่ผิดพระวินัยต่อมาในปีพ.ศ. 236 พระสาวกนำโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ทำสังคายนาเป็นครั้งที่ 3 ที่นครปาฏลีบุตรมีพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ได้จัดหมู่คำสั่งสอนได้ 3 หมวดเรียกว่าไตรปิฎกมีพระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกผลจากการทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เองพระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระสมณทูตรวม 9 สายเพื่อออกไปเผยแผ่คำสอนยังดินแดนต่างๆทั้งในและนอกประเทศอินเดีย

111111111การเกิดนิกายและสำนักทางพุทธสัจจะ

111111111ถึงแม้จะมีการทำสังคายนาคำสั่งสอนจนถือว่าเป็นที่ยุติแล้วก็ตามแต่ยังมีสาวกบางกลุ่มได้พยายามตีความคำสอนนั้นตามอำเภอใจของตนและดำเนินชีวิตตามที่ตนเองเห็นชอบอีกด้วยทำให้เกิดการแตกออกเป็น 4 สำนักใหญ่ๆดังนี้

1111111111) สำนักมาธยมิกะเป็นสำนักทางปรัชญาในนิกายมหายานนาคารชุนเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักมาธยมิกะคำว่ามาธยมิกะหมายถึงทางสายลาง (มาธยมาปฏิบัติ) ซึ่งนาคารชุนสอนมุ่งถึงอัตถิตาและนัตถิตาของทุกสิ่งทุกอย่างปรัชญาสำนักนี้มองสิ่งต่างๆที่ธรรมชาติเป็นอย่างนั้น(ตถตา) ตถตาเป็นคำสอนของอัศวโฆษะหรือเป็นไปอย่างนั้นเองปราศจากแก่นสารอมตะมีแต่ความว่างเปล่าจึงเรียกว่าศูนยวาท

111111111มาธยมิกะใช้การวิภาษวิธีในการตีความหมายของเนื้อหาพุทธธรรมทัศนะของกลุ่มมหายานส่วนใหญ่ต่างเน้นเรื่องอนัตตาและมองว่าทุกสิ่งว่างจากแก่นสารมีความว่างเป็นจุดสุดท้ายจึงเรียกว่าศูนย์วาทะ (พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2549 : 43)

111111111มาธยมิกะไม่ได้ถือว่าสิ่งใดๆมีสารัตกะหรือธรรมชาติที่เป็นเฉพาะของตนเองแม้แต่ความร้อนก็พูดไม่ได้ว่าเป็นสารวัตรของธาตุไฟเพราะความร้อนและไฟต่างก็เป็นสิ่งที่เกิดมาจากการรวมตัวของปัจจัยอื่นๆมากมายและสิ่งใดที่เกิดมาเพราะอาศัยปัจจัยอื่นๆมากมายไม่อาจจะกล่าวได้ว่า “มันมีธรรมชาติแท้หรือสารัตกะเป็นของตนเอง” สิ่งใดที่มีธรรมชาติหรือลักษณะแท้ซึ่งไม่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นเกิดในความเป็นจริงไม่มีเลยเราจึงพูดไม่ได้ว่า "มันมีอยู่" ถ้าสิ่งหนึ่งไม่มีสารัตถะหรือไม่มีการเป็นอยู่ด้วยตัวเองเราก็ไม่อาจจะยืนยันสารรัตถะของสิ่งใดๆที่ว่า "มี" และเราก็ไม่คงจะยืนยันในเชิงปฏิเสธอีกด้วย

1111111112) สำนักโยคาจารเป็นสำนักทางปรัชญาในนิกายมหายานไมตรียนาถเป็นผู้ก่อตั้งสำนักโยคาจารและนักปรัชญาสำคัญมีท่านอัศวโฆษะมีชีวิตในช่วงปีค.ศ. 100 และอารยเทวะเป็นปรัชญาแบบจิตนิยมเชิงจิตวิสัย (Subjective Idialism) ท่านอสังคะแต่งโยคาจารภูมิและมหายานสัม

111111111ปรัชญาสำนักนี้ยืนยันว่าสรรพสิ่งที่เกิดมาจากแดนเกิดแรกคือวิญญาณและเป็นเครื่องแสดงออกของวิญญาณเดิมที่เรียกว่าอาลยวิญญาณซึ่งอยู่เหนือผู้รู้และอารมณ์ (พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2549 : 36) ที่ปรัชญาสำนักนี้ชื่อว่าโยคาจารเพราะการศึกษาให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุดโดยการปฏิบัติปรัชญาโยคาจารกำเนิดขึ้นมาเพราะมีแนวคิดของปรัชญามาธยมิกที่ถือว่าความจริงทาง

จิตไม่มีปรัชญาโยคาจารแย้งว่าถ้าความจริงทางจิตไม่มีเสียแล้วเหตุผลและทัศนะทุกอย่างก็ไม่จริงทั้งหมดและนักปรัชญามาธยมิกะไม่อาจยืนยันได้ว่าเหตุผลของตนถูกต้องการกล่าวว่าทุกสิ่งทั้งกายและทางจิตไม่จริงนั้นเป็นการขัดแย้งในตัวเอง(พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2549 : 36)

111111111ปรัชญาสำนักนี้ปฏิเสธลักษณะภาพทางวัตถุวิสัยของโลกภายนอกยอมรับว่ามีวิญญาณจำนวนนับไม่ถ้วนแต่ละดวงเป็นขณิกะ (ชั่วคราว) เช่นขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วคราว) มีปัจจัยปรุงแต่ง (เจตสิก) ของตนเองและแสวงหาความรู้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ประสบโยคาจารถือว่าอวิชชาเป็นเหตุเราจึงจำแนกวิญญาณหนึ่งๆออกเป็นตัวผู้นำกรรมและความรู้สึกรู้ซึ่งความจริง

แล้ววิญญาณเดิมนั้นมีลักษณะบริสุทธิ์และจำแนกไม่ได้

1111111113) สำนักเสาตรันติกะเป็นสำนักทางปรัชญาในนิกายหีนยานผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักนี้คือกุมารลาตะ (Kumarlata) แห่งนาครตักสิลาปรัชญาสำนักเสาตรันติกะหรือวิพากษ์สัจนิยมปฏิเสธคัมภีร์อภิธรรมทั้งหมดและยึดมั่นอยู่ในพระสูตรของพระพุทธองค์โดยตรงทัศนะเกี่ยวกับการมีอยู่ของธาตุประกอบว่ามีอยู่ตลอดกาลปรัชญาพุทธบางสาขาถือว่าธาตุประกอบ (ธรรม) ทั้งปวงมีอยู่ตลอดกาลคือในอดีตปัจจุบันและอนาคตแต่ปรัชญาสำนักเสาตรันติกะโต้แย้งโดยการตั้งคำถามเชิงวิจารณ์ว่าถ้าหากว่าธาตุประกอบในอดีตและในอนาคตมีอยู่เหมือนกับที่มันมีอยู่ในปัจจุบันเหตุใดมันจึงเป็นอนาคตและอดีต? ความแตกต่างกันชั่วคราวของสิ่งทั้งปวงจึงถูกปิดบังไว้และไม่สามารถกล่าวได้เช่นกันว่าสารัตถะหรือแก่นแท้ของธาตุประกอบหนึ่งมีอยู่ในอดีตและอนาคตโดยไม่ใช่เป็นเพราะการกระทำตามหน้าที่ของมันเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เป็นอะไรเลยเป็นแต่เพียงการกระทำตามหน้าที่ของมันการยอมรับการมีอยู่อย่างต่อเนื่องของธาตุประกอบเป็นการยอมรับปรัชญาอกาลิกนิยมอย่างหนึ่งและไม่จำเป็นที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่เป็นสิ่งที่เกิดจากความนึกคิดแนวความคิดเช่นนี้อาจทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องขึ้นมาคืออนาคตอันห่างไกลสภาพความไม่มีอยู่หรือนิพพานที่ไม่สามารถเข้าถึงอาจมีอยู่เมื่อคิดว่ามันมีอยู่

1111111114) สำนักไวภาษิกะเป็นสำนักทางปรัชญาในนิกายหีนยานสืบเนื่องมาจากการทำสังคายนาที่แคชเมียร์อรรถกถาพระไตรปิฎกได้รับการแต่งและจารึกเป็นภาษาสันสกฤตโดยการอำนวยการของท่านวสุมิตรคัมภีร์ชื่อ "อภิธรรมมหาวิภาษาศาสตร์" ที่อธิบายคัมภีร์อภิธรรม

111111111ไวภาษิกะถือว่าสิ่งที่มีอยู่จริงมีทั้งร่างกาย(วัตถุ) และจิตใจ (นามธรรม) แต่ละอย่างที่อยู่เป็นอิสระแยกจากกันไม่ขึ้นแก่กันและสภาวะทั้ง 2 อย่างคือวัตถุและนามธรรมต่างก็มีส่วนประกอบหลายอย่างไม่มีสิ่งใดเลยที่จะมีสภาพเป็นอมตะสรรพสิ่งมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงเสมอนอกจากสภาวะ 3 อย่างคืออวกาศและนิพพาน 2 อย่างซึ่งคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของวัตถุคือปรมาณูเมื่อปรมาณูรวมตัวกันวัตถุก็ก่อเป็นรูปร่างขึ้นมาแต่ภาวะของปรมาณูเราไม่อาจสัมผัสได้นอกจากจะสัมผัสกลุ่มที่ได้รวมตัวกันแล้วของปรมาณูที่ปรากฏเป็นรูปร่างออกมาเท่านั้น(พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2549 :25)

ไวภาษิกะยืนยันว่าวัตถุภายนอกมีอยู่เรารับรู้วัตถุนั้นในฐานะที่เป็นอารมณ์ของประจักษ์ไม่ต้องมีสิ่งใดมาเป็นตัวกลางระหว่างประสาทสัมผัสและอารมณ์ภายนอกความรู้ก็เกิดขึ้นแล้วความรู้ทางอายตนะตาหูและใจไม่ต้องสัมผัสถึงตัววัตถุก็รับรู้ได้แต่ความรู้ทางอายตนะอื่นๆคือจมูกลิ้นและกายต้องสัมผัสถูกต้องวัตถุ (อารมณ์) นั้นโดยตรงจึงรับรู้ได้เช่นจมูกสัมผัสกลิ่นจึงรับรู้กลิ่นลิ้นสัมผัสรสจึงรู้รสเค็มเปรี้ยวเป็นต้นเมื่ออายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน 2 อย่างสัมผัสกันการปรุงแต่งทางใจเกิดขึ้นมาเพราะอาศัยการปรุงแต่งทางใจจิตจึงเกิดการรู้แจ้งขึ้นมา

5) สรุปสำนักทางสัจจะ

สำนักทางพุทธปรัชญา 4 สำนักที่กล่าวมาหลักการใหญ่ๆที่มีความคล้ายคลึงกันคือสิ่งที่ถูกรู้นั้นคือธรรมชาติ (ภายนอก) ซึ่งเราจะรู้ความจริงเหล่านั้นได้จากการที่เรามีจิตใจที่มุ่งหวังและมีความพยายามใฝ่ในความรู้ด้วยตัวของเราและพุทธปรัชญา 4 สำนักนั้นโต้เถียงกันในเรื่องความจริงขั้นสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาโดยเหตุแห่งความแตกต่างทางความคิดก็มาจากการที่ยึดหลักธรรมคนละอย่างในการอธิบายสภาวะแห่งความรู้และนิพพานโดยสำนักมาธยามิกะมีความเข้าใจว่าไม่มีสัจธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเลยไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจและถือว่าทุกอย่างว่างหรือสูญเรียกว่าสูญญตาและโยคาจารนั้นก็เข้าใจไปในทำนองเดียวกันว่าจิตอย่างเดียวเท่านั้นที่มีอยู่ส่วนโลกียวัตถุทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สูญเปล่าจากความจริง

แต่สำนักเสาตรันติกะและสำนักไวภาษิกะถือว่าวัตถุและจิตใจเป็นสิ่งมีอยู่จริงและสำนักเสาตรันติกะเข้าใจว่าสิ่งภายนอกนั้นเราไม่สามารถสัมผัสได้และก็สัมผัสไม่ได้เลยแต่เราสามารถเข้าใจสิ่งนั้นได้โดยการอาศัยการอนุมานและสำนักไวภาษิกะมีความคิดว่าการรับรู้โลก

บทที่ ๒

ลักษณะของพุทธสัจจะ

111111111พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้วจึงได้แสดงให้เห็นถึงเป็นศาสนาที่มีเหตุผลสมบูรณ์จริยธรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริงโดยทรงวางหลักง่ายๆของการดำเนินชีวิตของมนุษย์เอาไว้ประมวลลักษณะเด่นๆของพุทธปรัชญาได้ดังต่อไปนี้ (พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2546 : 6)

1111111111) หลีกเลี่ยงที่จะถกเถียงโต้แย้งทางปรัชญา(Aversion of Discussion) พระพุทธเจ้าไม่ใช่นักเก็งความจริงแต่จะพยายามอธิบายหลักคำสอนของพระองค์อย่างมีเหตุผลโดยปกติจะหลีกเว้นการอธิบายที่ยึดยาวในลักษณะเช่นนี้พระองค์มักจะคัดค้านพวกที่ชอบสนทนาโต้แย้งในเรื่องการถือโชคลางพระองค์จะมีท่าทีใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดยย้ำที่คุณค่าแห่งความเพียรพยายามและคุณค่าของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากกว่าศาสนาและจริยธรรมของพุทธเน้นที่การเชื่อและให้พึ่งตนเองคำสอนเน้นที่การวางหลักฐานอย่างหยั่งลึกในเรื่องการวิเคราะห์อย่างถึงแก่น (วิภัชชวาที) และประสบการณ์ทางการปฏิบัติอย่างยิ่งมากกว่าที่จะมามัวโต้เถียงกันทางอภิปรัชญาเป็นสิ่งที่ไร้สาระและเสียเวลา

111111111จุดมุ่งหมายของพุทธไม่ใช่แต่การสนทนาโต้ตอบหาเหตุผลทางความคิดทางปรัชญาแต่มุ่งที่การหลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆเมื่อถูกถามปัญหาทางอภิปรัชญาพระองค์จะทรงปฏิเสธไม่ตอบเงียบเฉยนิ่งเสียและบอกว่าไม่ควรถามการนิ่งเฉยไม่ยอมตอบไม่ใช่เป็นความโง่หรือเป็นเพราะไม่รู้แต่ถือว่าเป็นความฉลาดอย่างยิ่งต่างหากเพราะแม้ตอบแล้วก็จะยังไม่จบอยู่ดีปัญหาทาง

อภิปรัชญาที่นักคิดสมัยนั้นชอบโต้แย้งกันโดยถามหาที่สุดของโลกเป็นต้นแต่พระพุทธเจ้าไม่ตอบดังนี้(ม. ม. 13/128/141.)

111111111 “ปัญหาว่าโลกเที่ยงโลกไม่เที่ยงโลกมีที่สุดโลกไม่มีที่สุดชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกหลักจากตายตถาคตไม่เกิดอีกหลักจรากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหลักจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่เราไม่ตอบ”

111111111เหตุผลที่ไม่ตอบปัญหาทางอภิปรัชญาด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ (ม.ม.13/128/141)

111111111“ไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายความกำหนัดเพื่อดับเพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพานเหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ”

111111111ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าครั้นถูกถามพระองค์จะนิ่งเฉยเสียหรือปฏิเสธตรงๆหรือให้ยกคำถามไว้ก่อนว่ายังไม่ควรตอบการไม่ตอบเป็นความฉลาดถ้าตอบว่า “ใช่” ก็ต้องตกอยู่ในข่ายของสัสสตวาทะ (ความเห็นว่าวิญญาณเที่ยง) ถ้าตอบ “ไม่ใช่” ก็จะอยู่ในข่ายอุจเททวาทะ(ความเห็นว่าวิญญาณขาดสูญ) ผู้ใดมีศักยภาพสามารถรู้อดีตและอนาคตไม่มีขีดจำกัดจะรู้จะตอบปัญหานี้ได้ดี

1111111112) มีลักษณะทุทัศนนิยม(Pessimism) ความคิดหลักของพุทธปรัชญาถูกกล่าวหาว่าเป็นทุนิยมคือมองโลกในแง่ร้ายเนื่องจากพระพุทธเจ้าสอนว่าโลกเต็มไปด้วยทุกข์หน้าที่ของมนุษย์ต้องถอนตนออกจากโลกแห่งความทุกข์เป็นความโง่เขลาอย่างยิ่งที่จะคาดหวังความสนุกเพลิดเพลินในโลกนี้มองอย่างนี้จะเป็นทุนิยมแต่พุทธปรัชญาก็แสดงหนทางหลุดพ้นจากทุกข์ให้บรรลุถึงสุขได้อาจกล่าวได้ว่ามีจุดเริ่มต้นเป็นแบบทุนิยมแต่จุดสุดท้ายจบลงที่ความเป็นสุนิยมคือการมองโลกในแง่ดีอย่างยิ่ง

1111111113) มีลักษณะเป็นสัจนิยม(Realism) พระพุทธเจ้าวิจารณ์ความเชื่องมงายในคำสอนในคัมภีร์ที่สืบทอดมาตามประเพณีเช่นคัมภีร์พระเวทเป็นต้นพระองค์ทรงปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวทที่ประทานมาจากเบื้องบนแต่ทรงเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมจึงไม่ยอมรับอำนาจบงการของเทพเจ้าผู้สูงสุดพระองค์เน้นคำสอนที่ประสบการณ์จริงของชีวิตและไม่ยอมรับว่าจะมีอะไรอื่นๆที่อยู่เหนือขอบเขตแห่งความพยายามและความเข้าใจของมนุษย์เอง

1111111114) มีลักษณะแบบปฏิบัตินิยม(Pragmatism) คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่นำมาปฏิบัติได้ผลจริงจากความคิดแบบปฏิบัตินิยมพระองค์สอนเรื่องอริยสัจ 4 ที่ชี้ตัวปัญหาพร้อมทั้งต้นตอของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างได้ผลจริงคือการไม่ยึดติดและทำลายตัณหาความสงบทางจิตความรู้และปัญญาจึงจะเกิดและนั่นคือการบรรลุนิพพานพระพุทธเจ้าไม่ใช่พวก

  อไญยยนิยม (Agnostic) ที่กล่าวว่าไม่มีใครรู้จริงไม่อย่างนั้นพระองค์จะไม่เรียกพระองค์ว่า“พุทธะ” หมายถึงผู้รู้ผู้ตื่นแน่นอน

บทที่

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

1111111111) ไตรลักษณ์

111111111ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่างๆมาประชุมกันเข้าหรือมีอยู่ในรูปของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบต่างๆนั้นซึ่งส่วนประกอบนั้นล้วนเกิดดับต่อกันไปเรื่อยไม่เที่ยงไม่คงที่ส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยซึ่งกันและกันเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันความเป็นไปต่างๆทั้งหมดนี้เป็นไปตามธรรมชาติอาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเองจึงเรียกเพื่อให้เข้าใจง่ายๆว่าเป็น

111111111ไตรลักษณ์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัญลักษณะแปลว่าลักษณะทั่วไปหรือเสมอเสมือนกันแก่สิ่งทั้งปวงซึ่งได้ความหมายเท่ากันซึ่งประกอบด้วย (พระเทพเวที (ประยุทธ์ปยุตฺโต), 2532 :67-78)

1111111111. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยงความไม่คงที่ความไม่ยั่งยืนภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

1111111112. ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวภาวะที่กดดันฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไปจะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัวไม่ให้ความสมอยากแท้จริงหรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหาและก่อนให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

1111111113. อนัตตา (Soullessness) ความเป็นอนัตตาความไม่ใช่ตัวตนความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเองสิ่งทั้งหลายหากจะกล่าวว่ามีก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปของกระแสที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆอันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันเกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสายจึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยงเมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัยก็ย่อมมีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งและแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัวเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัวมีตัวตนที่แท้จริงไม่ได้

1111111112) อริยสัจ4

111111111อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมสำคัญที่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนาเนื้อความทั้งหมดที่ได้แสดงออกมาคือความจริงอันประเสริฐ

111111111อริยสัจ 4 เป็นความจริงเกี่ยวกับชีวิตและสรรพสิ่งและเป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นความจริงแท้มีทั้งด้านเกิดทุกข์และความดับทุกข์หลักอริสัจเป็นการให้มองเห็นภัยของชีวิตและมองเห็นทางปลอดภัยพร้อมแนะวิธีการหลีกภัยเอาไว้ประกอบด้วย

1111111111. ทุกข์แปลว่าความทุกข์หรือสภาพที่ทนได้ยากได้แก่ปัญหาต่างๆของมนุษย์กล่าวให้ลึกลงอีกหมายถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้นกดดันขัดแย้งมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ในตัวเองขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 896-897)

1111111112. สมุทัยแปลว่าเหตุเกิดแห่งทุกข์หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นได้แก่ความยากที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้งโดยอาการที่มีเราซึ่งจะเสพเสวยที่จะได้จะเป็นจะไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ทำให้

1111111113. นิโรธแปลว่าความดับทุกข์เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าการดับทุกข์คือการดับความอยากการตัดเยื่อใยในความรักความสิ้นราคะสิ้นโทสะสิ้นโมหะสลัดออกสิ้นตัณหาโดยสิ้นเชิงได้แก่นิพพานอันเป็นสภาวะที่ทำลายความอยากในกามความสงสัยและความไม่รู้จึงเป็นความสงบอย่างยิ่งดุจน้ำสมุทรที่ลึกปราศจากคลื่นอิสระอย่างยิ่งสุขอย่างยิ่งสามารถบรรลุได้ในชาตินี้ไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อมถ้าปฏิบัติมรรค 8

1111111114. มรรคแปลว่าปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์หรือทางปฏิบัติในการออกจากทุกข์เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอนหรือวิธีการออกจากความทุกข์พระองค์เรียกว่าทางสายกลางมี 8องค์ประกอบใครก็ตามที่ปฏิบัติตามมรรค 8 ก็สามารถถอนตนจากทุกข์ได้นี้คือตัวแก่นสารที่เป็นหลักปฏิบัติของศาสนาพุทธเพราะพระองค์ไม่ได้ต้องการจะสอนแต่เพียงภาคทฤษฎีต้องให้ลงมือ

ในภาคปฏิบัติการจริงๆมรรค 8 ประกอบด้วย(พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2546 : 12)

1111111111. สัมมาทิฏฐิความเห็นที่ถูกต้องเพราะความไม่รู้ก่อให้เกิดความเห็นผิดในรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกและอัตตามนุษย์เข้าใจว่าชีวิตเต็มไปด้วยทุกข์มีอัตตายืนพื้นที่เป็นอมตะเวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จักสิ้นสุดการสลัดความเห็นผิดและเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆเรียกกว่าเกิดสัมมาทิฏฐิ

1111111112. สัมมาสังกัปปะคิดถูกต้องเพื่อการขจัดรากเหง้าแห่งความคิดอกุศลทั้งหลายสัมมาสังกัปปะต้องมาคู่กับสัมมาทิฏฐิ

1111111113. สัมมาวาจามนุษย์ต้องควบคุมวาจาของตนไม่กล่าวเท็จพูดส่อเสียดพูดหยาบคายและวิพากษ์วิจารณ์เพื่อเจ้อไร้ประโยชน์กล่าวแต่คำสัตย์คำจริงแม้เพียงคำเดียวแต่ทำให้จิตใจสงบดีว่าคำพูดเพ้อเจ้อไร้ความหมายเป็นล้านๆคำ

1111111114. สัมมากัมมันตะหมายถึงการประพฤติที่ถูกต้องมุ่งเอาการรักษากริยาทางกายด้วยการไม่ทำร้ายหรือทำลายชีวิตบุคคลอื่นสัตว์อื่นไม่ลักขโมยฉ้อโกงไม่ละเมิดทางเพศเป็นต้อนสรุปคือปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมจรรยาและหน้าที่ที่ตนความประพฤติเพื่อความสงบของตนและสังคม

1111111115. สัมมาอาชีวะหมายถึงการประกอบอาชีพในทาวสุจริตพระพุทธเจ้ามุ่งเอาการเว้นจากการค้าอาวุธค้าขายมนุษย์ค้าขายยาพิษค้าขายเนื้อค้าขายสุรายาเมาเป็นต้นที่เรียกว่ามิจฉาวาณิชชะเป็นความชั่วที่บุคคลจะแสวงหาทรัพย์ด้วยการข่มขู่กรราโชกกินสินบนโกงเจ้าเล่ห์ต้มตุ๋นเป็นต้น

1111111116. สัมมาวายามะหมายถึงความพยายามที่จะหยุดความคิดที่ชั่วความรู้สึกที่ชั่วเป็นความพยายามที่จะควบคุมตัวเองมีวินัยด้วยตนเองหยุดกอุศลวิตกปลุกเร้ากุศลวิตกขั้นตอนพยายามที่

1111111117. สัมมาสติหมายถึงการรู้สึกตัวอยู่เสมอการมีสำนึกในสภาวะที่จิตใจรักษารูปแบบเดิมของตนถ้าใจมีสติกำกับอกุศลธรรมจะเกิดมาไม่ได้การตั้งสติที่ถูกต้องให้กำหนดสติในอารมณ์ 4ประเภทคือกำหนดการเคลื่อนไหวของกายในอิริยาบถต่างๆกำหนดที่ความรู้สึกเวทนาเจ็บสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์กำหนดความคิดนึกในจิตของตนคิดดีคิดไม่ดีต้องมีสติกำกับรู้และกำหนดที่ธรรมารมณ์

1111111118. สัมมาสมาธิหมายถึงการที่จิตสงบมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านพร้อมที่จะพิจารณาสัจภาวะหากจิตไม่สงบนิ่งก็เหมือนน้ำที่เป็นคลื่นไหวสั่นพริ้วไม่สามารถจะส่องเห็นเงาตัวเองอย่างชัดเจนได้

1111111113) ปฏิจจสมุปบาท

111111111พุทธปรัชญาแสดงหลักของการเกิดขึ้นเพราะอาศัยกับและกันเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

เน้นถึงทฤษฏีสาเหตุและผลการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆเกิดมีขึ้นได้ด้วยอาศัยปัจจัยต่างๆเป็นการ

อธิบายสาเหตุของทุกข์ในระดับของจิตวิทยาและกายภาคปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญที่คำสอน

เรื่องต่างๆดังพุทธพจน์ว่า

111111111“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นย่อมเห็นธรรมผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท” (ม.มู 12/346/359 อ้างในพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 :79)

111111111เพื่อให้เป็นที่เข้าใจง่ายๆก็คือคำสอนที่บอกว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นย่อมมีอีกสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุหรือพอเกิดเหตุอันหนึ่งย่อมมีผลตามมาแน่นอนปฏิจจสมุปบาทเป็นการอธิบายเชิงปัจจัยสัมพันธ์ด้วยเป็นความจริงสูงสุดด้วยนั่นคือในแง่ปัจจัยสัมพันธ์พุทธอธิบายการเกิดของโลกแต่ในแง่ความจริงสูงสุดพุทธอธิบายความหลุดพ้นเพราะตัดห่วงของปัจจัยสัมพันธ์เป็นทางสายกลางระหว่างสัสสตวาทะและอุจเฉทวาทะดังกล่าวแล้ว

111111111หลักของปฏิจจสมุปบาทมี 4 ขั้นตอนคือ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 :81)

1111111111. เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี

1111111112. เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

1111111113. เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่มี

1111111114. เพราะสิ่งนี้ดับไปสิ่งนี้ก็ดับ

111111111หัวข้อปฏิจจสมุปบาท 12

111111111อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

111111111สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

111111111วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

111111111นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

111111111สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

111111111ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

111111111เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

111111111ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

111111111อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ

111111111ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

111111111ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะโลกปริเทวะอุปายาสะ

นี้คือห่วงโซ่แห่งปัจจัยของการเกิดส่วนห่วงโซ่แห่งปัจจัยการดับก็ไล่การดับลงเรื่อยๆเช่นเพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับเพราะ...ดับชราจึงดับนี่คือการดับแห่งทุกข์จะเห็นว่าในห่วงโซ่แต่ละห่วงโซ่ไม่มีสามเหตุอื่นๆที่เรียกว่าพระเจ้าอยู่เลยเมื่อความทุกข์ดับไปเป็นการบรรลุนิพพานก็ไม่มีพระเจ้ามาช่วยทั้งการเสวยผลกรรมดีหรือชั่วก็เป็นผลที่เกิดจากการกระทำของแต่ละ

บุคคล

1111111114) เบญจขันธ์

111111111พุทธปรัชญามองเห็นชีวิตเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบกันเข้าด้วยกันหรือเป็นเพียงการปรุงแต่งเมื่อแยกส่วนต่างๆที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมดก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่

111111111ส่วนประกอบส่วนประกอบ 5 ส่วนที่เรียกว่าเบญจขันธ์ขันธ์ซึ่งแปลว่าส่วนหรือกองชีวิตสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบได้ดังนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 15-16)

1111111111. รูปขันธ์ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมดร่ายกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกายหรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุพร้อมทั้งคุณสมบัติและพฤติการณ์ต่างๆของสสารพลังงาน

1111111112. เวทนาขันธ์ได้แก่ส่วนแห่งความรู้สึกมีสุขทุกข์โทมนัสโสมนัสซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง 5 และทางใจ

1111111113. สัญญาขันธ์ได้แก่ความกำหนดรู้ได้หรือการหมายรู้คือกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆอันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้นๆได้

1111111114. สังขารขันธ์ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจและการแสดงออกทางกายวาจาให้เป็นไปต่างๆเป็นที่มาของกรรมเช่นศรัทธาสติหิริโอตตัปปะเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาปัญญา

1111111115. วิญญาณขันธ์ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจคือการเห็นการได้ยินการได้กลิ่นการรู้รสการรู้สัมผัสทางกายและการรู้อารมณ์ทางใจ

1111111115) กฎแห่งกรรม

111111111คำสอนเรื่องกรรมของพุทธปรัชญาอาศัยคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นฐานสำคัญตามคำสอนหลัก 2 ประการนี้แสดงให้เห็นกฎแห่งกรรมว่าชีวิตในปัจจุบันเป็นผล (วิบาก) ของการกระทำแห่งชีวิตในกาลอดีตและชีวิตในอนาคตก็ขึ้นอยู่กับการกระทำในชีวิตปัจจุบัน

111111111กรรมแปลว่าการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาอันได้แก่ความจงใจการเลือกคัดตัดสินมุ่งหมายที่จะกระทำเจตนาหรือเจตจำนงนี้เป็นตัวนำบ่งชี้และกำหนดทิศทางแห่งการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ดังกล่าวว่า “เธอทั้งหลายพึงทราบกรรมเรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรมบุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกายวาจาใจ” (องฺ.ฉกฺกฺ 22/63/577)

111111111กรรมนั้นเมื่อจำแนกตามคุณภาพหรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุแบ่งได้ 2 อย่างคือ(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 159-160)

1111111111. อกุศลกรรมกรรมที่เป็นอกุศลการกระทำที่ไม่ดีกรรมชั่วหมายถึงการกระที่เกิดจากอกุศลมูลคือโลภะโทสะหรือโมหะ

1111111112. กุศลกรรมกรรมที่เป็นกุศลการกระทำที่ดีหรือกรรมดีหมายถึงการการะทำที่เกิดจากกุศลมูลคืออโลภะอโทสะหรืออโมหะ

111111111ถ้าจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรมหรือทางแสดงออกของกรรมจัดเป็น 3 คือ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 160)

1111111111. กายกรรมกรรมทำด้วยกายหรือการกระทำทางกาย

1111111112. วจีกรรทกรรมทำด้วยวาจาหรือการกระทำทางวาจา

1111111113. มโนกรรมกรรมทำด้วยใจหรือการกระทำทางใจ

1111111116) อนัตตา

111111111หลักอนัตตาซึ่งเป็นปัญหาทางปรัชญาที่บุคคลอื่นเข้าใจยากเพราะพุทธปรัชญาได้ปฏิเสธความคิดเรื่องความเป็นจริงสูงสุดคือวิญญาณเป็นอมตะที่เรียกว่าอาตมัน (Atman) ของปรัชญาสายพระเวทมีความเชื่อของชนต่างๆเกี่ยวกับวิญญาณเช่นชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าคนเราประกอบได้ด้วยร่างกายและวิญญาณที่เรียกว่า Ka และ Ba ซึ่งจะต้องคงอยู่ต่อไปหลังความตายในปรัชญาคริสต์ทั้งยุคปิตาจารย์และอัสสมาจารย์ก็กล่าวถึงธรรมชาติของ Anima

111111111หลักอนัตตาของพุทธปรัชญาปฏิเสธวิญญาณอมตะปัญหาเรื่องอาตมันก็ยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาตราบจนปัจจุบันแต่พุทธปรัชญามีความเห็นว่าความรู้สึกเป็นกระแสต่อเนื่องที่เกิดมาจากความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดก่อนและสิ่งที่ตามมาภายหลังไม่มีสิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงที่อยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวที่เป็นกระแสนี้การเกิดใหม่ของวิญญาณนั้นเกิดมาจากจิตดวงเก่าที่มีกรรมและส่งผลให้เกิดขึ้นตามกฎแห่งกรรมเมื่อหมดกรรมจะไม่มีการเกิดอีกต่อไป

1111111112.1.5 สรุปพุทธปรัชญา

111111111ปรัชญาสายตะวันออกทุกสำนักมีฐานกำเ

คำสำคัญ (Tags): #พุทธสัจจะ
หมายเลขบันทึก: 512431เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

บทที่ ๔

การเข้าใจและเข้าถึงพุทธปรัชญา

111111111การเข้าใจและเข้าถึงหมายถึงการเกิดความเข้าใจ (ความรู้จริง) ตรงตามความจริงของโลกและชีวิตที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ (อนิจจังทุกขังอนัตตา) ผ่านการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาก็จะเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบกายสงบวาจาและสันติภาพในจิตใจจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ความจริงระดับต่างๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีในตัวผู้รู้เองกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงเพื่อให้เกิดปัญญานั้นมนุษย์ก็เรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเนื่องจากความแตกต่างระหว่างบุคคลดังพระคาถาในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า

111111111 “เหล่าสัตว์มีธุลีในดวงตาน้อยก็มีมีธุลีในดวงตามากก็มีมีอินทรีย์กล้าก็มีมีอินทรีย์อ่อนก็มีมีอาการดีก็มีมีอาการทรามก็มีที่จะสอนให้รู้ยากก็มีตระหนักถึงภัยในปรโลกก็มี” (วิ.ม. 4/8/9-10)

111111111หากศึกษาพระไตรปิฎกโดยตลอดจะพบว่าพระบรมศาสดาได้วางหลักการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความพร้อมความสามารถความถนัดความสนใจของผู้เรียนอย่างมากพระองค์ทรงให้กำลังใจแก่ผู้เรียนโดยเน้นเรื่องวิริยะคือความเพียรในการฝึกฝนตนเองเมื่อจำแนกลักษณะการเรียนรู้ที่สำคัญพบว่าในการเข้าถึงพุทธปรัชญาประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักๆดังนี้

1111111111 ปริยัติ

111111111ปริยัติคือคำสั่งสอนอันจะต้องศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ครอบคลุมถึงการเข้าใจเนื้อหาสาระขั้นตอนนี้จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานหรือต้นทุนในการที่จะประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นของการเล่าเรียนรับฟังผู้อื่นมาโดยเฉพาะสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ซึ่งสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎกและเรามีครูอาจารย์แนะนำบอกกล่าวเอามา

ท่องบ่นมาสอบสวนทบทวนกันพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ปยุตฺโต) ได้อธิบายวิธีการเรียนรู้ว่ามีกิจกรรมที่สำคัญคือการฟังการซักถามสอบค้นการสนทนาถกเถียงอภิปรายการสังเกตเฝ้าดูอย่างพินิจการพิจารณาโดยแยบคายการชั่งเหตุผลการไตร่ตรองตรวจสอบทดสอบทดลองและเฟ้นฝึกหัดทำให้มาก(พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ปยุตฺโต), 2529 : 52)

111111111การศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้รู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องสำคัญ 4 เรื่องคือ

1111111111. เรื่องของโลกและจักวาล

1111111112. เรื่องของชีวิตว่าชีวิตคืออะไรเกิดขึ้นมาได้อย่างไรประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ได้อย่างไรต่างจากสัตว์อื่นอย่างไรเป็นต้น

1111111113. เรื่องของเป้าหมายสูงสุดของชีวิต

1111111114. เรืองทางปฏิบัติเพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดนั้น

1111111111) ระดับความรู้

111111111ปัญญาคือความเข้าใจหมายถึงเข้าใจถูกเข้าใจชัดเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหาตามหลักพุทธปรัชญาความรู้จำแนกเป็น 6 ระดับคือ (แสงจันทร์งาม

,2535 : 78-80)

1111111111. ระดับวิญญาณ (Cognition or Consciousness) การรับรู้ทางอายตนะภายในและอายตนะภายนอกเป็นความรู้ระยะสั้นๆเช่นตาเห็นรูปยังไม่รู้อะไรชัดว่าเป็นรูปอะไรเรียกว่าจักขุวิญญาณเป็นต้น (รู้สึกหรือรู้จัก)

1111111112. ระดับสัญญา (Perception) รับรู้เห็นรายละเอียดจำได้หมายรู้ว่าเป็นคนชายหญิงเป็นต้น (รู้จำ)

1111111113. ระดับอภิญญา (Extraordinary Perception) การรับรู้อารมณ์และคุณลักษณะอาศัยพลัง

จิตมองเห็นสิ่งที่ละเอียดเกินวิสัยตาสามัญที่จะรับรู้ได้ (รู้พิเศษ)

1111111114. ระดับทิฐิหรือความเห็น (Concept) คือการเข้าใจความจริงชนิดรวบยอดความจริงสากลที่อยู่เบื้องหลังสภาวธรรมแยกความเป็นสากลออกมาจากลักษณะเฉพาะๆเช่นเห็นความทุกข์ความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆเป็นต้นเกิดจากการคิดหาเหตุผลทางสภาวะ (รู้เข้าใจ)

1111111115. ระดับวิชชุญาณ (Intuitive Insight) เกิดจากจิตสงบนำจิตไปเพ่งจดจ่ออย่างใดอย่างหนึ่งมากๆย่อมเกิดความรู้แจ้งเห็นสภาพจริงๆของสิ่งนั้นๆ (รู้ฉับพลันเป็นการรู้แจ้ง)

1111111116. ระดับสัมโพธิญาณ (Enlightenment) คือการตรัสรู้หมายเอาการรู้แจ้งซึ่งเกิดจากสัมมาทิฐิสามารถทำลายกิเลสได้เด็ดขาด (รู้จบ)

111111111จากความรู้ 6 ระดับสามารถสรุปเป็น 2 ได้ดังนี้

1111111111. ระดับโลกิยปัญญาปัญญาระดับสามัญเป็นความรู้ทางศิลปะวิทยาในการประกอบอาชีพที่จำเป็นเพียงพอเพื่อการดำรงชีวิตความรู้ระดับนี้เรียกว่าทิฏฐิหรือทัศนะที่แปลว่าความคิดเห็น

1111111112. ระดับโลกุตตรปัญญาปัญญาระดับสูงสุดความรู้ที่สามารถทำลายกิเลสภายในใจของตนเองทำให้เกิดความสงบอย่างแท้จริงความรู้ระดับนี้เรียกว่าญาณเป็นความรู้ที่แท้และบริสุทธิ์

เมื่อบุคคลเกิดความรู้ระดับญาณนี้ย่อมสามารถละเลิกความเห็นที่ไม่ถูกต้องได้หมด

111111111และยังสอดคล้องกับระดับความรู้หรือการจัดการระดับความรู้ยุคใหม่ (Knowledge Management) (น้ำทิพย์วิภาวัน, 2547 : 16-17) และบันไดของการคิดของศาสตราจารย์ปีเตอร์ซิงเอ(Peter senge) (พจนีสะเพียรชัย, 2548 : 41-42) ที่จัดระดับและบันไดความคิดไว้ดังนี้

111111111ระดับความรู้ระดับหนึ่งเป็นข้อมูลดิบคือข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดระบบและหมวดหมู่ให้ชัดแจ้งเพียงรู้จักข้อมูลเพียงแต่รู้ว่าคืออะไรซึ่งสอดคล้องกับบันไดของการคิดของปีเตอร์ซิงเอที่จัดบันไดขั้นแรกเริ่มจากการสังเกตข้อมูลที่ได้พบเห็นและจากประสบการณ์ดำเนินการเป็นข้อมูลระดับซึ่งสอดคล้องกับระดับวิญญาณ (Cognition or Consciousness)

111111111ระดับความรู้ระดับสองเป็นข้อมูลสารสนเทศคือข้อมูลต่างๆที่นำมาจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบมีความหมายและความรู้ที่ชัดเจนสอดคล้องกับบันไดของการคิดของปีเตอร์ซิงเอ

ที่เป็นการจัดระบบข้อมูลจากขั้นแรกโดยการเลือกสรรจัดลำดับจัดหมวดหมู่ดูความเหมือนดูความต่างความซ้ำซ้อนเพื่อให้รู้จำซึ่งสอดคล้องกับระดับสัญญา (Perception)

111111111ระดับความรู้ระดับสามเป็นความรู้ (Knowledge) คือความรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติเน้นแนวทางในการกำหนดความคิดพฤติกรรมมารับรู้ข้อเท็จจริงตรงกับบันไดความคิดขั้นที่สามของปี

111111111ระดับความรู้ระดับสี่เป็นปัญญา (Wisdom) คือความเข้าใจลึกซึ้งนำความรู้ไปวิเคราะห์สังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตรงกับบันไดขั้นที่สี่ขั้นที่ห้าขั้นที่หกและขั้นที่เจ็ดของปีเตอร์ซิงเอที่กล่าวว่าเน้นขั้นของการตั้งข้อสันนิษฐานวิเคราะห์สังเคราะห์จนเกิดความจริงถูกต้องและนำไปปฏิบัติซึ่งตรงกับระดับทิฐิหรือความเห็น (Concept)

111111111ส่วนระดับวิชชุญาณ (Intuitive Insight) และระดับสัมโพธิญาณ (Enlightenment) คือความรู้แจ้งนี้ขาดในระดับความรู้ระดับที่สี่ใช้การพิจารณาท่องแท้โดยความสงบก็สามารถรอบรู้จั้งในเรื่องนั้นๆได้เช่นกัน1ซึ่งจากระดับความรู้ยุคใหม่ (Knowledge Management) และบันไดของการคิดของปีเตอร์ซิงเอพจน์สะเพียรชัย (2548 :42) สามารถสรุปได้เป็น 2 ดังนี้

1111111111) ความรู้ที่เห็นได้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เน้นความรู้ในรูปแบบที่สามารถแสดงได้อย่างชัดเจนหรือความรู้ภายนอก

1111111112) ความรู้ที่ฝังลึก (Inplicit Knowledge) เน้นความรู้ที่ฝังลึกดึงออกมาค่อนข้างยากกว่าจะอธิบายได้ต้องใช้เวลาหรือเรียกว่าความรู้ภายในซึ่งผู้รู้จะไม่รู้ตัวว่ารู้อะไรคือสิ่งที่เรารู้แต่มันซ่อน

เร้นอยู่จนเราเองก็ไม่รู้ตัวเรารู้สิ่งนั้นๆอยู่บริเวณนี้จึงถือว่าเป็น “Hiololen Area” หรือบริเวณของความรู้ที่ซ่อนเร้นนักปรัชญาที่ชื่อว่าไพลานี่ได้ตั้งชื่อความรู้ประเภทนี้ว่า Tacit Knowledge ซึ่งมาจากประโยคทองของโพลานี่ที่กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เรามักจะรู้มากว่าที่เจ้าตัวจะบอกออกมาได้” ซึ่งหมายความว่ามีอะไรอื่นๆมากมายที่เรารู้แต่เราไม่รู้ตัวว่าเรารู้

111111111การศึกษาเล่าเรียนนั้นจะต้องประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้คือ

1111111111) พหุสฺสุตาฟังมากคือได้สดับฟังมากและรับเอาข้อเท็จจริงจากแหล่งความรู้ต่างๆหมายรวมตลอดถึงการดูและการอ่านอีกด้วย

1111111112) ธตาจำได้คือเมื่อได้ยินได้ฟังแล้วก็สามารุจับหลักสาระสำคัญไว้ได้อย่างแล้วทรงจำไว้อย่างแม่นยำ

1111111113) วจสาปริจิตาคล่องปากคือท่องบ่นหรือพูดอยู่เสมอจนคล่องแคล่วชัดเชน

1111111114) มนสานุเปกขิตาเพ่งขึ้นใจคือใส่ใจนึกปคิดพิจารณาเจนใจนึกถึงครั้งใดก็ปรากฏให้เห็นชัด

1111111115) ทิฏฐิยาสุปฏิวิทฺธาแทงตลอดด้วยทิฏฐิคือมีความเข้าใจลึกซึ้งมองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาทั้งในส่วนเนื้อความและเหตุผล

2) แหล่งเกิดความรู้

ในทางพุทธศาสนากล่าวว่าความรู้เกิดมาจาก 2 ทางหลักคือ (องฺ.ทุกฺก. 20/371/110.)

1) ปรโตโฆสะได้แก่การรับรู้ข้อมูลจากประสบการณ์ภายนอกเป็นความรู้ในรับดับการรับรู้

2) โยนิโสมนสิการได้แก่การคิดไตร่ตรองพิจารณาความคิดที่ถูกวิธีคิดเป็นคิดอย่างมีระเบียบสืบค้นถึงต้นเค้าสืบสาวให้ตลอดสายเป็นความรู้ระดับเหตุผล

1111111113) แหล่งเกิดปัญญา

111111111หากจำแนกประเภทความรู้ตามวิธีการเกิดได้ 3 ประเภทคือ (พระเทพเวที, 2525 : 52.)

1111111111. สุตมยปัญญาปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียนหรือถ่ายทอดกันมาคือความรู้ที่ได้ยิน

ได้ฟังหรืออ่านจากตำราหรือมีคนสั่งสอนให้ซึ่งเป็นความรู้ขั้นต่ำสุด

1111111112. จินตามยปัญญาปัญญาเกิดจากการคิดการพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเองคือความรู้ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลของตนเองเมื่อได้ยินหรือได้อ่านหรือมีคนสอนก็ดีหรือพบเห็นเรื่องอะไรต่างๆด้วยตนเองแล้วก็ดีแล้วนำมาพิจารณาด้วยเหตุผลของตนเองตามลำดับจนเชื่อแน่ว่าเป็นความจริงแล้วจัดเป็นความรู้ที่แน่นแฟ้นกว่าความรู้ขั้นแรก

1111111113. ภาวนามยปัญญาปัญญาเกิดจากการลงมือปฏิบัติฝึกหัดอบรมคือความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนาด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความรู้เกิดขึ้นในตัวของตัวเองอย่างแจ่มชัดไม่ใช่เห็นด้วยตาหรือประสาทต่างๆและไม่ใช่รู้ด้วยเหตุผลแต่รู้ด้วยญาณ

111111111อย่างไรก็ดีในการศึกษาเพื่อจะให้เกิดความรู้นั้นความสำคัญยังขึ้นอยู่ที่ผู้เรียนอีกด้วยคือผู้เรียนจะต้องมีความศรัทธาและสนในสิ่งที่จะศึกษาเสียก่อนเป็นเบื้องต้นนอกจากนี้ยังจะต้อง

องค์ประกอบที่สำคัญอีกสองประการคือต้องเสวนากับสัปบุรุษหรือกัลยาณมิตรซึ่งจะช่วยแนะนำสั่งสอนความรู้ให้ประการหนึ่งและต้องมีโยนิโสมนสิการอีกประการหนึ่งด้วย

1111111112 ปฏิบัติ

111111111ปฏิบัติคือการนำเอาสิ่งที่จดจำไว้ได้และเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วนั้นมาประยุกต์ปฏิบัติให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์และปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆปฏิบัติแปลว่าเดินทางมาจากภาษาบาลีมีคำคล้ายๆกับคำว่า “ปฏิปทา” ซึ่งแปลว่าทางจะเห็นได้ในคำว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่าทางสายกลางคำว่าปฏิปทาและคำว่าปฏิบัติเป็นคำเดียวกันรากศัพท์อันเดียวกันถ้าเป็นกริยามีรูปเป็นปฏิปชฺชติเช่นในคำว่า “มคฺคํปฏิปชฺชติ” แปลว่าเดินทางพราะฉะนั้นปฏิปชฺชติมาเป็นปฏิบัติหรือเป็นปฏิปทาก็แปลว่าการเดินทางหรือแปลว่าทางที่เดินนั้นก็คือการปฏิบัติธรรมก็คือ

111111111ในการศึกษาในด้านต่างๆตามแนวทางปริยัติที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นหลักการสำคัญที่พุทธศาสนาให้ความสำคัญก่อนที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติที่ถูกต้องคือไตรสิกขา

1111111111) ไตรสิกขา

111111111ไตรสิกขาถือเป็นหลักสำคัญในการศึกษาประกอบด้วยศีลสมาธิและปัญญากล่าวคือศีลอยู่ที่ตัวของเราที่มองเห็นคือตัวของเราที่แสดงออกมาภายนอกทางกายและทางวาจาถ้ากระทำทางกายก็เป็นกายกรรมถ้าเป็นด้านวาจาก็คือคำพูดก็เป็นวจีกรรมแม้ว่าทั้งหมดนั้นจะออกมาจากใจคือเจตนาแต่การกำหนดศีลนั้นกำหนดที่พฤติกรรมซึ่งแสดงออกมาทางกายและวาจาอยู่ที่ตัวเรากับสิ่งภายนอกนั้นก็คือศีลเป็นเครื่องที่ควบคุมกายวาจาที่แสดงออกมาภายนอกเพื่อให้มีพฤติกรรมถูกต้องดีงามรู้การควรไม่ควรประพฤติปฏิบัติเหมาะสมในกิจการงานของตนสมาธิลึกเข้าไปข้างในมองไม่เห็นไม่อยู่ที่ตัวข้างนอกไม่มองเห็นด้วยกายวาจาแต่อยู่ที่จิตใจนั้นก็คือสมาธิเป็นเครื่องที่พัฒนาให้ผู้เรียนมีสภาพจิตที่เข้มแข็งสงบระงับเป็นอารมณ์เดียวคือใฝ่ใจในสิ่งที่กำลังศึกษาปัญญาเป็นขั้นที่อาศัยจิตเมื่อใช้จิตทำงานทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายก็เกิด

ปัญญาขึ้นเป็นส่วนที่มาเสริมเพื่อปรับปรุงคุณภาพของจิตใจแล้วจิตใจที่มีความรู้มีปัญญาก็เอาความรู้นั้นมาใช้ปรับปรุงชีวิตด้านกายวาจา

111111111หลักไตรสิกขานี้เมื่อนำมาแยกแยะพิจารณาแล้วก็จะพบว่าประกอบด้วยมรรคมีองค์แปดคือมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางซึ่งจำแนกได้ดังนี้คือ

111111111ศีลได้แก่สัมมาวาจาคือเจรจาชอบสัมมากัมมันตะคือประพฤติชอบสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพชอบการมีสภาพชีวิตและการอยู่ร่วมในสังคมที่จัดระเบียบได้เป็นอย่างดีไม่สับสนวุ่นวายด้วยความหวาดระแวงเวรภัยและความไร้กำหนดกฎเกณฑ์ปราศจากกติกาเริ่มตั้งแต่การไม่เบียดเบียนไม่ละเมิดทำร้ายต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของกันและกันเป็นต้นตามหลักศีล 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์พื้นฐานของสังคมตลอดจนข้อปฏิบัติต่างๆในการฝึกหัดขัดเกลา

พฤติกรรมของบุคคลเพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิตความเป็นอยู่และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้สอดคล้องและเอื้อโอกาสแก่การที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงภาวะสูงสุดที่เป็นเป้าหมายของบุคคลหรือสังคมนั้นศีลมีหลายระดับหรือจัดไว้หลายประเภทให้เหมาะกับสภาพชีวิตและสังคมเพื่อเข้าถึงจุดหมายของตนเช่นศีล 5 เป็นศีลสำหรับอุบาสกอุบาสิกาศีล 8 เป็นการฝึกตนในระดับสูงขึ้นเป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสยิ่งขึ้นในการที่จะพัฒนาชีวิตด้านจิตใจและปัญญาข้อปฏิบัติต่างๆใน

111111111สมาธิได้แก่สัมมาวายามะคือพยายามชอบสัมมาสติคือระลึกชอบสัมมาสมาธิคือตั้งจิตชอบซึ่งสมาธิหมายถึงการฝึกฝนอบรมจิตใจให้สงบแน่วแน่มั่นคงเพื่อให้เป็นจิตใจที่สามารถทำงานหรือการใช้ได้ดีโดยเฉพาะในการคิดพิจารณาให้เกิดปัญญาหรือใช้ปัญญาอย่างได้ผลและเป็นจิตใจที่เอื้อเหมาะต่อการพัฒนาของคุณสมบัติต่างๆเช่นคุณธรรมทั้งหลายที่จะเจริญเพิ่มพูนพ่วงมาด้วยในจิตนั้นรวมทั้งการที่จิตใจสงบมั่นคงแน่วแน่นั้นอยู่ในภาวะที่ปลอดพ้นจากการรบกวนของความเศร้าหมองขุ่นมัวความเร่าร้อนสับสนวุ่นวายต่างๆ

111111111ปัญญาได้แก่สัมมาทิฏฐิคือเห็นชอบสัมมาสังกัปปะคือดำริชอบซึ่งปัญญาหมายถึงการมีความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงและการฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเช่นนั้นเริ่มแต่การรู้เข้าใจสิ่งที่เล่าเรียนสดับรับฟังหรือข่าวสารข้อมูลต่างๆและประสบการณ์ที่เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกายและที่ปรากฏหรือสั่งสมอยู่ในใจการรับรู้ประสบการณ์นั้นๆอย่างบริสุทธิ์ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความชอบชังยินดียินร้ายไม่เอนเอียงด้วยอคติต่างๆการพิจารณาวินิจฉัยและคิดการต่างๆได้ถูกต้องชัดเจนโดยไม่ถูกกิเลสเช่นความเห็นแก่ได้และความเกลียดโกรธเป็นตัวครอบงำการมองเห็นสิ่งทั้งหลายลวงทะลุถึงเหตุปัจจัยต่างๆสามารถเชื่อมโยงความรู้ในสิ่งต่างๆมาใช้แก้ปัญหาและทำการสร้างสรรค์จัดดำเนินการต่างๆจนถึงรู้เท่าทันความเป็นจริงของโลกและชีวิต

111111111จากหลักไตรสิกขานั้นได้แยกแยะพิจารณาแล้วจะพบว่าประกอบด้วยมรรคมีองค์แปดซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญในการประพฤติปฏิบัติซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไป

1111111112) มรรค8

111111111หลักปฏิบัติของศาสนาพุทธเพราะพระองค์ไม่ได้ต้องการจะสอนแต่เพียงภาคทฤษฎีต้องให้ลงมือในภาคปฏิบัติการจริงๆมรรค 8 ประกอบด้วย(พิสิฏฐ์โคตรสุโพธิ์, 2546 : 12)

111111111สัมมาทิฏฐิความเห็นที่ถูกต้องเพราะความไม่รู้ก่อให้เกิดความเห็นผิดในรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกและอัตตามนุษย์เข้าใจว่าชีวิตเต็มไปด้วยทุกข์มีอัตตายืนพื้นที่เป็นอมตะเวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จักสิ้นสุดการสลัดความเห็นผิดและเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆเรียกกว่าเกิดสัมมาทิฏฐิ

111111111สัมมาสังกัปปะคิดถูกต้องเพื่อการขจัดรากเหง้าแห่งความคิดอกุศลทั้งหลายสัมมาสังกัปปะต้องมาคู่กับสัมมาทิฏฐิ

111111111สัมมาวาจามนุษย์ต้องควบคุมวาจาของตนไม่กล่าวเท็จพูดส่อเสียดพูดหยาบคายและวิพากษ์วิจารณ์เพื้อเจ้อไร้ประโยชน์กล่าวแต่คำสัตว์คำจริงแม้เพียงคำเดียวแต่ทำให้จิตใจสงบดีว่าคำพูดเพ้อเจ้อไร้ความหมายเป็นล้านๆคำ

111111111สัมมากัมมันตะหมายถึงการประพฤติที่ถูกต้องมุ่งเอาการรักษากริยาทางกายด้วยการไม่ทำร้ายหรือทำลายชีวิตบุคคลอื่นสัตว์อื่นไม่ลักขโมยฉ้อโกงไม่ละเมิดทางเพศเป็นต้อนสรุปคือปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมจรรยาและหน้าที่ที่ตนความประพฤติเพื่อความสงบของตนและสังคม

111111111สัมมาอาชีวะหมายถึงการประกอบอาชีพในทาวสุจริตพระพุทธเจ้ามุ่งเอาการเว้นจากการค้าอาวุธค้าขายมนุษย์ค้าขายยาพิษค้าขายเนื้อค้าขายสุรายาเมาเป็นต้นที่เรียกว่ามิจฉาวาณิชชะ

เป็นความชั่วที่บุคคลจะแสวงหาทรัพย์ด้วยการข่มขู่กรราโชกกินสินบนโกงเจ้าเล่ห์ต้มตุ๋นเป็นต้น

111111111สัมมาวายามะหมายถึงความพยายามที่จะหยุดความคิดที่ชั่วความรู้สึกที่ชั่วเป็นความพยายามที่จะควบคุมตัวเองมีวินัยด้วยตนเองหยุดกอุศลวิตกปลุกเร้ากุศลวิตกขั้นตอนพยายามที่ถูกต้องคือจิตจดจ่อในความคิดที่เป็นกุศลบางอย่างศึกษาผลของการกระทำที่เกิดจากจิตอกุศลวิเคราะห์สาเหตุของความคิดอกุศลและหยุดกระทำควบคุมใจด้วยความพยายามทางกายและสมาทานรักษาธรรม

111111111สัมมาสติหมายถึงการรู้สึกตัวอยู่เสมอการมีสำนึกในสภาวะที่จิตใจรักษารูปแบบเดิมของตนถ้าใจมีสติกำกับอกุศลธรรมจะเกิดมาไม่ได้การตั้งสติที่ถูกต้องให้กำหนดสติในอารมณ์ 4ประเภทคือกำหนดการเคลื่อนไหวของกายในอริยาบถต่างๆกำหนดทีความรู้สึกเวทนาเจ็บสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์กำหนดความคิดนึกในจิตของตนคิดดีคิดไม่ดีต้องมีสติกำกับรู้และกำหนดที่ธรรมารมณ์

111111111สัมมาสมาธิหมายถึงการที่จิตสงบมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านพร้อมที่จะพิจารณาสัจภาวะหากจิตไม่สงบนิ่งก็เหมือนน้ำที่เป็นคลื่นไหวสั่นพลิ้วไม่สามารถจะส่องเห็นเงาตัวเองอย่างชัดเจน

ได้

111111111นอกจากหลักการปฏิบัติที่กล่าวมาข้างต้นพุทธปรัชญาก็วางหลักแห่งความเชื่อเอาไว้ 4ประการที่เรียกว่าศรัทธา 4 (พระราชวรมุนี(ประยุทธ์ปยุตโต), 2528 :164-164.) คือ

1111111111. กัมมสัทธาเชื่อว่าพฤติกรรมที่กระทำไปแล้วไม่ไร้ผลทำเองต้องได้ไม่ใช่ไม่ทำเองได้แต่แต่สวดมนต์อ้อนวอนต่อสิ่งเหนือธรรมชาติภายนอกแล้วรอผลบันดาลที่จะได้จากสิ่งนั้น

1111111112. วิปากสัทธาเชื่อว่าผลที่เราได้รับมาจากพฤติกรรมที่ทำไปแล้วเหมาะสมแก่เหตุเช่นผลดีเกิดจากกรรมดีผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

1111111113. กัมมัสสกตาสัทธาเชื่อว่ากรรมเป็นของส่วนตัวทุกคนแต่ละคนเป็นเจ้าของและจะต้องรับผิดชอบและเสวยผลเป็นไปตามกรรมที่กระทำไปแล้วของตน

1111111114. ตถาคตโพธิสัทธาเชื่อปัญญาของผู้รู้คือเชื่อมั่นว่าบุคคลที่ตรัสรู้เป็นพุทธะมีปัญญาสมบูรณ์รู้จริงรู้แท้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้จริงพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตรที่สูงสุด

1111111113 ปฏิเวธ

111111111ปฏิเวธหมายถึงการบรรลุธรรมคือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการเข้าสู่พระศาสนาคือปฏิเวธการบรรลุธรรมนั่นเองเพราะการบรรลุธรรมนี้ไม่มีอะไรจะดีเท่า

ไม่มีอะไรจะประเสริฐเท่าผู้ที่บรรลุธรรมได้นั้นย่อมเป็นผู้อยู่เหนือความทุกข์อยู่เหนือความวุ่นวาย

ใจท่ามกลางความเกิดแก่เจ็บตายท่ามกลางการพลัดพรากจากกัน

111111111ผลในทางพระพุทธศาสนาก็คือมรรคผลนิพพานเป็นความสงบความร่มเย็นเป็นสุขของจิตใจที่เกิดขึ้นจากการขัดเกลาสิ่งที่เป็นเครื่องเศร้าหมองเป็นเครื่องพันธนาการผูกจิตให้ติดอยู่กับกองทุกข์ธรรมที่บุคคลจะปฏิบัติบรรลุถึงได้นั้นแบ่งไว้เป็น 4 ขั้นด้วยกันคือ

1111111111) โสดาบันเกิดจากการที่ได้ชำระกำจัดสังโยชน์เครื่องพันธนาการจิตให้ติดอยู่กับกองทุกข์ 3 ประการด้วยกันคือ 1. สักกายทิฐิ 2. วิจิกิจฉาและ 3. สีลัพพตปรามาส

1111111111. สักกายทิฐิ

111111111สักกายทิฐิคือความเห็นว่ามีตัวมีตนในขันธ์ 5 คือรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ

111111111ก. รูปขันธ์ได้แก่รูปกายที่สามารถมองดูด้วยตาเห็นได้

111111111ข. เวทนาขันธ์ได้แก่ความรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์

111111111ค. สัญญาขันธ์ได้แก่ความสำคัญหมาย

111111111ง. สังขารขันธ์ได้แก่ความคิดปรุงแต่ง

111111111จ. วิญญาณขันธ์ได้แก่ความรู้อารมณ์ทั่วสกลกาย

111111111พระโสดาบันได้เห็นความจริงของเบญจขันธ์ด้วยกระแสวิปัสสนาญาณเมื่อรู้ความจริงแล้วจึงเป็นผู้ที่ไม่มีความสำคัญผิดว่าเบญจขันธ์เป็นตัวตนหรือเป็นของตนไม่มีอำนาจใดๆทำให้เบญจขันธ์เป็นร่างโครงอยู่ไว้ตลอดไปนอกจากแยกแตกย่อยยับจากกันแล้วยังสามารถเข้าเกาะกุมกันใหม่ได้ด้วยอำนาจของตัณหาและอวิชชาความแยกออกและเข้ายึดเกาะกุมเข้าใหม่จะมีอยู่เสมอตลอดกาลที่อวิชชาและตัณหายังเป็นเจ้าของจิตใจของคนและสัตว์อยู่พระโสดาบันได้รู้เรื่องการก่อและการทำลายของเบญจขันธ์หรือจะพูดได้ว่าพระโสดาบันได้เรียนรู้ต้นทางแห่งชีวิตของคนและสัตว์ทั้งหมดว่ามนุษย์และสัตว์เกิดมาจากอะไรทำไมจึงต้องเกิดถ้าจะไม่เกิดจะไม่ได้หรือและเรียนรู้ปลายทางของชีวิตว่าสุดท้ายของชีวิตเป็นอย่างไรมีความจริงแค่ไหนยิ่งกว่านั้นยังรู้ถึงเงื่อนต่อระหว่างความเกิดและความตายอีกว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรมีเหตุผลเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

1111111112. วิจิกิจฉาวิจิกิจฉาที่เป็นสังโยชน์หมายถึงความสงสัยในพระรัตนตรัยคือพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ว่ามีจริงหรือไม่และมีความจริงแค่ไหนความสงสัยในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์จะดับไปในเมื่อสักกายทิฏฐิดับไปแล้วเพราะสักกายทิฏฐิเป็นเครื่องบังวิสุทธิธรรมเมื่อสักกายทิฎฐิเป็นเครื่องบังวิสุทธิธรรมเมื่อสักกายทิฏฐิดับไปวิสุทธิธรรมก็ปรากฏความสงสัยที่เรียกว่าวิจิกิจฉาก็หายไปด้วยวิสุทธิธรรมเป็นความบริสุทธิ์หรือเรียกว่าเป็นความดับโดยไม่เหลือมลทินพระโสดาบันน์เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงก็จะหมดความลังเลสงสัย

3. สีลัพพตปรามาสสีลัพพตปรามาสการลูบคลำศีลคือยังไม่แน่ใจว่าศีลเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญจึงยังต้องหลงพึ่งสิ่งอื่นๆเช่นไปหาหมอดูให้สะเดาะเคราะห์ไปหาหมอซินแสให้บอกทิศทางของบ้านว่าควรจะตั้งหันหน้าไปทิศทางไหนควรจะตั้งโต๊ะตั้งเตียงไว้ตรงไหนห้องนอนห้องน้ำควรจะอยู่ทิศใดอย่างนี้เป็นต้นเหล่านี้เรียกว่าเป็นสีลัพพตปรามาสคือยังคิดว่าความเจริญนั้นอยู่ที่ตั้งของบ้านอยู่ที่ดวงชะตาเป็นต้นสังโยชน์ทั้ง 3 คือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสจะหายไปพร้อมกันในขณะที่ญาณทัสสนะแก่กล้าเต็มขีดเป็นองค์มรรคความเข้าใจในเรื่องชีวิตก็แจ่มแจ้งความสงสัยในวิสุทธิธรรมก็หมดไปความสงสัยในศีลในพรตก็หมดไปพร้อมกับความประชุมลงแห่งมรรคครั้งแรก คุณลักษณะของพระโสดาบัน

1) มีศรัทธาความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า

2) มีศรัทธาความเชื่อมั่นในพระธรรมเจ้า

3) มีศรัทธาความเชื่อมั่นในพระสงฆเจ้า

4) มีศีล๕เป็นข้อปฏิบัติประจำตัวไม่มัวหมองด่างพร้อยและมีคุณลักษณะพิเศษ 2 ประการคือ 1. มีจิตประกอบไปด้วยกุศลยินดีที่จะบริจาคทุกเมื่อและ 2. มีปัญญากล้าเป็นสัมมาทิฏฐิ

2) สกิทาคามีสกิทาคามีคือเริ่มมีความเบื่อหน่ายในเรื่องของกามรสทั้งหลายแต่ยังไม่ได้กำจัดให้หมดสิ้นไปได้ทำให้เบาบางลงไปความหงุดหงิดใจก็เบาบางลงไปผู้ที่จะกำจัดปฏิฆะความหงุดหงิดใจกามราคะความกำหนัดยินดีในกามให้หมดสิ้นไป

3) อนาคามีคือผู้ที่จะกำจัดปฏิฆะความหงุดหงิดใจกามราคะความกำหนัดยินดีในกามให้หมดสิ้นไป

4) อรหันต์ผู้ที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์คือต้องละ 1. รูปราคะความยินดีในรูปฌาน 2.อรูปราคะความยินดีในอรูปฌาน 3. อุทธัจจะความฟุ้งซ่าน 4. มานะความถือตน 5. อวิชชาความไม่รู้จริงผู้ที่สามารถกำจัดสังโยชน์ทั้ง 5 นี้ได้ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

5) นิพพานนิพพานคือความดับตัณหาสิ้นเชิงไม่ต้องกลับมาเกิดแก่เจ็บตายไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปนิพพานแบ่งได้ 2 พวกคือ  1. ดับกิเลสได้สิ้นแล้วและผู้ดับยังมีชีวิตอยู่เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน

2. ดับกิเลสได้สิ้นแล้วผู้ดับสิ้นชีวิตคือไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่ด้วยเรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน

4 สรุปการเข้าใจและเข้าถึงพุทธปรัชญา

ปริยัติปฏิบัติและปฏิเวธเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงพุทธปรัชญาเปรียบเหมือนกับทฤษฏีและการปฏิบัติตามทฤษฏีซึ่งเป็นของคู่กันเมื่อปริยัติปฏิบัติแล้วทำให้เกิดความเข้าใจสูงสุดคือปฏิเวธ

ปริยัติเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ครอบคลุมถึงการเข้าใจเนื้อหาสาระขั้นตอนนี้จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานหรือต้นทุนในการที่จะประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นของการเล่าเรียนรับฟังผู้อื่นมา

โดยเฉพาะสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ซึ่งสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎกและเรามีครูอาจารย์แนะนำบอกกล่าวเอามาท่องบ่นมาสอบสวนทบทวนกันหลักแห่งการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้จริงเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ชีวิตที่จะมีความหมายหรือมีคุณค่าต้องเป็นชีวิตปฏิบัติตามหลักธรรมะว่าตามหลักอริยสัจก็คือการปฏิบัติ

ตามมรรคมีองค์ 8 ประการแต่หากจะกล่าวตามหลักปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาเป็นลำดับขั้นจากระดับต่ำไปหาสูงเรียกว่าสิกขา 3 หรือไตรสิกขาได้แก่สีลสิกขาการปฏิบัติรักษาศีลเพื่อป้องกันการล่วง

ละเมิดทางกายและวาจาจิตสิกขาการบำเพ็ญจิตให้เกิดสมาธิความสงบเพื่อป้องกันและกำจัดนีวรณธรรมและปัญญาสิกขาการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ความจริงตามสภาวะเพื่อกำจัดอนุสัยกิเลสหลักการปฏิบัติมีเป้าหมายเพื่อบรรลุการหลุดพ้นจากความทุกข์ในวัฏฏสงสารปฏิเวธคือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการเข้าสู่พระศาสนาคือปฏิเวธการบรรลุธรรมนั่นเองเพราะการบรรลุธรรมนี้ไม่มีอะไรจะดีเท่าไม่มีอะไรจะประเสริฐเท่า

ผู้ที่บรรลุธรรมได้นั้นย่อมเป็นผู้อยู่เหนือความทุกข์อยู่เหนือความวุ่นวายใจท่ามกลางความเกิดแก่เจ็บตายท่ามกลางการพลัดพรากจากกัน

บทที่ ๕

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงสอนพุทธบริษัทคือภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกาหรือบุคคลทั่วไปทั้งเทวดาและมนุษย์ตามพระนามที่ได้รับการยกย่องว่าสตฺถาเทวมนุสฺสานํทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายและมีคำเสริมพระคุณว่าอนุตฺตโรปุริสทมฺมสารถิแปลว่าเป็นสารถีฝึกคนได้ไม่มีใครยิ่งกว่าพระนามเหล่านี้ส่อแสดงความหมายในตัวว่าปราชญ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคารพบูชาและยกย่องเทิดทูนพระองค์ในฐานะทรงเป็นนักการสอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทรงมีพระปรีชา

สามารถอย่างยอดเยี่ยมในการอบรมสั่งสอนและได้ทรงประสบผลสำเร็จในงานนี้เป็นอย่างดีเนื้อพระธรรมคำสอนหลักการสอนและวิธีการสอนของพระพุทธองค์นั้นปรากฏอยู่แล้วในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อธิบายมีอรรถกถาเป็นต้นแล้วแต่คัมภีร์เหล่านั้นมีเนื้อหามากมายมีขนาดใหญ่การศึกษาวิธีสอนของพระพุทธเจ้าจึงเท่าเป็นการศึกษาวิธีสอนตามหลักพระพุทธศาสตร์และเราอาจจะได้หลักการบางอย่างเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหลักการศึกษาของเราปัจจุบันได้

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้านี้มีผู้ได้ทำการเรียบเรียงไว้หลายท่านผู้วิจัยได้สรุปวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าโดยการนำเอาหลักที่สามารถเชื่อมโยงกับวิธีการสอนของพระภาวนาวิศาลเถระ (บุญมีโชติปาโล) โดยการศึกษาวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าจากการเรียบเรียงของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ปยุตฺโต), ศาสตราจารย์แสงจันทร์งาม, วศินอินทสระและพ.ท. ประสาททองภักดีจำแนกหลักวิธีการสอนเป็นขั้นตอนดังนี้

1 หลักทั่วไปในการสอน

ในเรื่องหลักทั่วไปของการสอนจากการเรียบเรียงของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดคือ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2544 : 33)

1) เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอน

1. สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่ายหรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้วไปหาสิ่งที่เห็นเข้าใจยากหรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจตัวอย่างที่เห็นชัดคืออริยสัจซึ่งทรงเริ่มสอนจากความทุกข์ความเดือดร้อนปัญหาชีวิตที่คนมองเห็นและประสบการณ์อยู่โดยธรรมดารู้เห็นประจักษ์กันอยู่ทุกคนแล้วต่อจากนั้นจึงสาวหาสาเหตุที่ยากลึกซึ้งและทางแก้ไขต่อไป

2. สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึกยากลงไปตามลำดับชั้นและความต่อเนื่องกันเป็นสายลงไปอย่างที่เรียกว่าสอนเป็นอนุบุพพิกถาตัวอย่างคืออนุบุพพิกถาไตรสิกขาพุทธโอวาท 3 เป็นต้น

3. ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ก็สอนด้วยของจริงให้ผู้เรียนได้ดูได้เห็นได้ฟังเองอย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรงเช่นทรงสอนพระนันทะที่คิดถึงคู่รักคนงามด้วยการทรงพาไปชมนางฟ้านางอัปสรเทพธิดาให้เห็นกับตา

4. สอนตรงเนื้อหาตรงเรื่องคุมอยู่ในเรื่องมีจุดไม่วกวนไม่ไขว้เขวไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา

5. สอนมีเหตุผลตรองตามเห็นจริงได้อย่างที่เรียกว่าสนิทานํ

6. สอนเท่าที่จำเป็นพอดีสำหรับให้เกิดความเข้าใจให้การเรียนรู้ได้ผลไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มากเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในป่าประดู่ลายใกล้เมืองโกสัมพีได้ทรงหยิบใบไม้ประดู่ลายเล็กน้อยใส่กำพระหัตถ์แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าใบประดู่ลายในพระหัตถ์กับในป่าไหนจะมากกว่ากันภิกษุทั้งหลายทูลว่าในป่ามากกว่าจึงตรัสว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้แต่มิได้ทรงสอนเหมือนใบประดู่ลายในป่าส่วนที่ทรงสั่งสอนน้อยเหมือใบประดู่ลายในพระหัตถ์และทรงแสดงเหตุผลในการที่มิได้ทรงสอนทั้งหมดเท่าที่ตรัสรู้ว่าเพราะสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นประโยชน์มิใช่หลักการดำเนินชีวิตอันประเสริฐไม่ช่วยให้เกิดความรู้ถูกต้องนำไปสู่จุดหมายคือนิพพานได้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2544 : 34)

7. สอนสิ่งที่มีความหมายควรที่เขาจะเรียนรู้และเข้าใจเป็นประโยชน์แก่ตัวเขาเองอย่างพุทธพจน์ที่ว่าพระองค์ทรงมีพระเมตตาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายดังที่ว่า“อนึ่งตถาคตรู้วาจาที่จริงที่แท้แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นตถาคตไม่กล่าววาจานั้นตถาคตรู้วาจาที่จริงที่แท้และประกอบด้วยประโยชน์แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นในข้อนั้นตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้นตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริงไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่วาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบ

ใจของคนอื่นตถาคตไม่กล่าววาจานั้นตถาคตรู้วาจาที่จริงที่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่วาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนอื่นตถาคตไม่กล่าววาจานั้นอนึ่งตถาคตรู้วาจาที่จริงที่แท้ทีประกอบด้วยประโยชน์และวาจานั้นเป็นทีรักเป็นที่ชอบใจของคนอื่นในข้อนั้นตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้นข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย” (ม.ม. 13/86/88)

2) เกี่ยวกับตัวผู้เรียน

1. รู้คำนึงถึงและสอนให้เหมาะตามความแตกต่างระหว่างบุคคลเช่นคำนึงถึงจริต 6อันได้แก่โทสจริตโมหจริตศรัทธาจริตพุทธิจริตและวิกลจริต (ดูวิสุทธิมรรคปริเฉทที่ 3) และรู้ระดับความสามารถของบุคคล

2. ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคลแม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่างบุคคลอาจใช้ต่างวิธีข้อนี้เกี่ยวโยงต่อเนื่องมาจากข้อที่ 1

3. นอกจากคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้วผู้สอนยังจะต้องคำนึงถึงความพร้อมความสุกงอมความแก่รอบแห่งอินทรีย์หรือญาณที่บาลีเรียกว่าปริปากะของผู้เรียนแต่ละ

4. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเองซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจนแม่นยำและได้ผลจริงเช่นทรงสอนพระจุฬปันถกะผู้โง่เขลาด้วยการให้นำผ้าขาวไปลูบคลำเป็นต้น

5. การสอนดำเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกันในการแสวงหาความจริงให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบเสรีหลักนี้เป็นข้อสำคัญในวิธีการแห่งปัญญาซึ่งต้องการอิสรภาพในทางความคิดและโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริงผู้เรียนก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเองและมีความชัดเจนมั่นใจหลักนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าใช้เป็นประจำ

6. เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆไปตามควรแก่กาละเทศะและเหตุการณ์เช่นชาวนาคนหนึ่งตั้งใจไว้แต่กลางคืนว่าจะไปฟังพุทธเทศนาบังเอิญวัวหายไปตามได้แล้วรีบมาแต่กว่าจะได้ช้าก็มาคิดว่าทันฟังท้ายก็ยังดีไปถึงวัดปรากฎว่าพระพุทธเจ้ายังทรงประทับรออยู่นิ่งๆไม่เริ่มแสดงยิ่งกว่านั้นยังให้จัดอาหารให้เขารับประทานจนอิ่มสบายแล้วจึงทรงเริ่มแสดงธรรม

7. ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อยที่มีปัญหาเช่นเรื่องพระจุฬปันถกเป็นต้น

3) เกี่ยวกับตัวการสอน

1. การสอนนั้นการเริ่มต้นเป็นจุดสำคัญมากอย่างหนึ่งการเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสำเร็จผลดีเป็นอย่างมากอย่างน้อยก็เป็นเครื่องดึงความสนใจและนำเข้าสู่เนื้อหาได้พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีเริ่มต้นที่น่าสนใจมากโดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการเข้าสู่เนื้อหา

ธรรมทีเดียวแต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบหรือผู้มาเฝ้าด้วยเรื่องที่เขารู้เข้าใจดีหรือสนใจอยู่เช่นเมื่อทรงสนทนากับควานช้างก็ทรงเริ่มสนทนาด้วยเรื่องวิธีฝึกช้างพบชาวนาก็เริ่มสนทนาเรื่อง

การทำนา

2. สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่งเพลิดเพลินไม่ให้ตึงเครียดไม่ให้เกิดความอึดอัดใจและให้เกียรติแก่ผู้เรียนให้เขามีความภูมิใจในตัว

3. สอนมุ่งเนื้อหามุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็นสำคัญไม่กระทบตนและผู้อื่นไม่มุ่งยกตนไม่มุ่งเสียดสีใครๆ

4. ใช้ภาษาสุภาพนุ่มนวลไม่หยาบคายชวนให้สบายใจสละสลวยเข้าใจง่ายอย่างที่ว่า

2 ลีลาการสอน

เมื่อมองกว้างๆการสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้งจะดำเนินไปจนถึงผลสำเร็จโดยมีคุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอนดังนี้(พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต),2544 : 45)

1) สันทัสสนาอธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา

2) สมาทปนาชักจูงใจให้เห็นจริงด้วยชวนให้คล้อยตามจนต้องยอมรับและนำไป

ปฏิบัติ

3) สมุตเตชนาเร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขันมั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก

4) สัมปหังสนาชโลมใจให้แช่มชื่นร่าเริงเบิกบานฟังไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวังเพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากการปฏิบัติ

2.3.3 วิธีสอนแบบต่างๆ

1) แบบสากัจฉาหรือสนทนา

วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้บ่อยไม่น้อยกว่าวิธีใดๆโดยเฉพาะในเมื่อผู้มาเฝ้าหรือทรงพบนั้นยังไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนายังไม่รู้ไม่เข้าใจหลักธรรมในการสนทนาพระพุทธเจ้ามักจะทรงเป็นฝ่ายถามนำคู่สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุดแม้ในหมู่พระสาวกพระองค์ก็ทรงใช้วิธีนี้ไม่น้อยและทรงส่งเสริมให้สาวกสนทนาธรรมกันอย่างในมงคลสูตรว่า “กาเลธมฺมสากจฺฉาเอตมฺมงฺคลมุตฺตมํการสนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลอันอุดม”

2) แบบบรรยาย

วิธีสอนแบบนี้น่าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจำวันซึ่งมีประชาชนหรือพระสงฆ์จำนวนมากและส่วนมากเป็นผู้ที่มีพื้นความรู้ความเข้าใจกับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้วมาฟังเพื่อหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมและหาความสงบสุขทาง

จิตใจนับได้ว่าเป็นคนประเภทและระดับใกล้เคียงกันพอจะใช้วิธีบรรยายอันเป็นแบบกว้างๆได้ลักษณะพิเศษของพุทธวิธีสอนแบบนี้ที่พบในคัมภีร์บอกว่าทุกคนที่ฟังพระองค์แสดงธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้นแต่ละคนรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าตรัสอยู่กับตัวเองโดยเฉพาะซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า

3) แบบตอบปัญหาผู้ที่มาถามปัญหานั้นนอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจในข้อธรรมต่างๆแล้วโดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นบ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คำสอนทางฝ่ายพระพุทธศาสนาหรือเทียบเคียงกับคำสอนในลัทธิของตนบ้างก็มาถามเพื่อลองภูมิบ้างก็เตรียมมาถามเพื่อข่มปราบให้จนหรือให้ได้รับความอับอายในการตอบพระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะสมในสังคีติสูตรท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตาม

ลักษณะวิธีตอบเป็น 4 อย่างคือ(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2544 : 47)

เอกังสพยากรณียปัญหาปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัวพระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่นถามว่าจักษุเป็นอนิจจังหรือพึงตอบตรงไปได้ทีเดียวว่าถูกแล้วความดีมีผลเป็นสุขความชั่วมีผลเป็นทุกข์หรือกุศลเป็นสิ่งควรบำเพ็ญอกุศลเป็นสิ่งควรละ

ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหาปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ท่านยกตัวอย่างเช่นเขาถามว่าโสตะก็เหมือนจักษุหรือพึงย้อนถามก่อนว่าที่ถามนั้นหมายถึงแง่ใดถ้าเขาว่าในแง่เป็นเครื่องมองเห็นพึงตอบว่าไม่เหมือนถ้าเขาว่าในแง่เป็นอนิจจังจึงควรตอบรับว่าเหมือน

วิภัชชพยากรณียปัญหาปัญหาที่จะต้องแยกความตอบเช่นเมื่อเขาถามว่าสิ่งที่เป็นอนิจังได้แก่จักษุใช่ไหมพึงแยกความออกตอบว่าไม่เฉพาะจักษุเท่านั้นถึงโสตะฆานะก็เป็นอนิจจัง

ฐปนียปัญหาปัญหาที่พึงยับยั้งเสียได้แก่ปัญหาที่ถามนอกเรื่องไร้ประโยชน์อันจักเป็นเหตุให้เขายึดเยื้อสิ้งเปลืองเวลาเปล่าพึงยับยั้งเสียแล้วชักนำผู้ถามเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไปตัวอย่างเรื่องพระมาลุกกยะมาทูลถามเรื่องโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยงชีพกับสรีระเป็นอัน

เดียวกันหรือคนละอย่างเป็นต้นทรงเห็นว่าไม่จำเป็นที่พระมาลุงกยะจะรู้เรื่องนี้จึงทรงนิ่งเฉยไม่ตอบแต่ทรงชี้แจงให้พระมาลุงกยะเข้าใจว่าปัญหานี้ไม่มีประโยชน์ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายความกำหนัดเพื่อดับเพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพาน (ม.ม. 13/128/141)

4) แบบวางกฎข้อบังคับเมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นครั้งแรกพระสงฆ์หรือประชาชนเล่าลือโพนทะนาติเตียนกันอยู่มีผู้นำความมากราบทูลพระพุทธเจ้าพระองค์ก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ์สอบถามพระภิกษุผู้กระทำความผิดเมื่อเจ้าตัวรับได้ความเป็นสัตย์จริงแล้วก็จะทรงตำหนิชี้แจงผลเสียหายที่เกิดแก่ส่วนรวมพรรณนาผลร้ายของความประพฤติไม่ดีและคุณประโยชน์ของความประพฤติที่ดีงามแล้วทรงแสดงธรรมกถาที่สมควรเหมาะสมกัน

กับเรื่องนั้นจากนั้นจะตรัสให้สงฆ์ทราบว่าจะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยทรงแถลงวัตถุประสงค์ในการบัญญัติให้ทราบแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนั้นๆไว้โดยความเห็นชอบพร้อมกันของสงฆ์ใน

ท่านกลางสงฆ์และโดยความรับทราบร่วมกันของสงฆ์

ในการสอนแบบนี้พึงสังเกตว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทโดยความเห็นชอบของสงฆ์ซึ่งบาลีใช้คำว่าสงฺฆสุฏฺฐุตายแปลว่าเพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ท่านอธิบายความหมายว่าทรงบัญญัติโดยชี้แจงให้เห็นแล้วว่าถ้าไม่รับจะเกิดผลเสียอย่างไรเมื่อรับจะมีผลดีอย่างไรจนสงฆ์รับคำของพระองค์ว่าดีแล้วไม่ทรงบังคับเอาโดยพลการ

4 กลวิธีและอุบายประกอบการสอน

1) การยกอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบการยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายและการเล่านิทานประกอบช่วยให้เข้าใจความได้ง่ายและชัดเจนช่วยให้จำแม่นยำเห็นจริงและเกิดความเพลิดเพลินทำให้การเรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้นเช่นเมื่อจะอธิบายให้เห็นว่าคนมีความปรารถนาดีอยากช่วยทำประโยชน์แต่หากขาดปัญญาอาจกลับทำลายประโยชน์เสียก็ได้ก็เล่านิทานชาดกเรื่องลิงเฝ้าสวนหรือคนขายเหล้าเป็นต้นพระพุทธเจ้าทรงใช้อุทาหรณ์และนิทานประกอบกรสอนมากมายเพียงใดจะเห็นได้จากการที่ในคัมภีร์ต่างๆมีอุทาหรณ์และนิทานปรากฏอยู่ทั่วไปเฉพาะคัมภีร์ชาดกอย่างเดียวก็มีนิทานถึง 547 เรื่อง

2) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา

คำอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยากปรากฏความหมายเด่นชัดออกมาและเข้าใจง่ายขึ้นโดยเฉพาะมักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมเปรียบให้เห็นชัดด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้ออุปมาแบบรูปธรรมก็ช่วยให้ความหนักแน่นเข้าเช่นพระพุทธองค์ทรงเตือนภิกษุทั้งหลายว่าให้ทำตนเช่นผ้ากาสีอย่าทำตนเป็นเช่นผ้าเปลือกไม้ผ้าเปลือกไม้มีลักษณะ 3 อย่างคือสีไม่สวยสัมผัสหยาบราคาถูกทำนองเดียวกับภิกษุบางรูปซึ่งเป็นผู้ทุศีลมีธรรมเลวให้ทุกข์ให้โทษแก่ผู้คบหาสมาคมทำปัจจัย

ที่ทายกถวายให้มีค่าน้อยหรือมีอานิสงส์น้อย(วศินอินทรสระ, 2548 : 48-49)

3) การใช้อุปกรณ์การสอนในสมัยพุทธกาล

ย่อมไม่มีอุปกรณ์ชนิดต่างๆที่จัดทำขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะเหมือนสมัยปัจจุบันเพราะยังไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมาอย่างกว้างขวางหากจะใช้อุปกรณ์บ้างก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติหรือเครื่องใช้ต่างๆที่ผู้คนใช้กันอยู่

4) การทำเป็นตัวอย่างวิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในทางจริยธรรมคือการทำเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอนเป็นทำนองการสาธิตให้ดูแต่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำนั้นเป็นไปในรูปทรงเป็นผู้นำที่ดีการสอนโดยทำเป็นตัวอย่างก็คือพระจริยาวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกตินั่นเองพระพุทธองค์จึงทรงวางเป็นหลักการไว้ในพระธรรมบทว่า (ประสาท

ทองภักดี, 2513 :119-120)

อตฺตานเมวปฐมํ

ปฏิรูเปนิวสาย

วางตนไว้ในความดีงามก่อน

จึงค่อยสอนใครๆในภายหลัง

บัณฑิตชนขนขวายหมายระวัง

ไม่พลาดพลั้งเศร้าหมองเรื่องของตน

อตฺตานญฺเจตถากกริยา

ยถญฺญฺมนุสาสติ

ถ้าสอนคนอื่นไว้อย่างไรบ้าง

ตนควรริสร้างตัวเหมือนที่เตือนเขา

พึงฝึกตนให้ดีหนอทีเรา

ตนนี้เล่าฝึกยากลำบากจริง (ประสาททองภักดี, 2513 :119-120)

5) การเล่นภาษาเล่นคำและใช้คำในความหมายใหม่การเล่นภาษาและการเล่นคำเป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมปฏิภาณข้อนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชา

สามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุกด้านเมื่อผู้ใดทูลถามมาเป็นคำร้อยกรองพระองค์ก็ทรงตอบเป็นคำร้อยกรองไปทันทีทำนองกลอนสดบางทีเขาทูลถามหรือกล่าวข้อความโดยใช้คำที่มี

ความหมายไปในทางไม่ดีงามพระองค์ก็ตรัสตอบไปด้วยคำพูดเดียวกันนั้นเองแต่เป็นการพูดในความหมายที่ต่างออกไปเป็นฝ่ายดีงามคำสนทนาโต้ตอบแบบนี้มีรสอยู่แต่ในภาษาเดิมแปลออกสู่ภาษาอื่นย่อมเสียรสเสียความหมาย

6) อุบายเลือกคนและการปฏิบัติรายบุคคลเป็นอุบายสำคัญในการเผยแพร่พระศาสนาในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าเริ่มแต่ระยะแรกประดิษฐานพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงดำเนินพุทธกิจด้วยพระพุทโธบายอย่างที่เรียกว่าการวางแผนที่ได้ผลยิ่งทรงพิจารณาว่าเมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใครก่อนเมื่อครั้งตรัสรู้

ใหม่ๆได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์

7) การรู้จักจังหวะและโอกาสผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะและโอกาสให้เป็นประโยชน์เมื่อไม่ถึงจังหวะไม่เป็นโอกาสเช่นผู้เรียนยังไม่พร้อมยังไม่เกิดปริปากะแห่งญาณหรืออินทรีย์ก็ต้องมี

ความอดทนไม่ชิงหักหาญหรือดึงดันทำแต่ก็ต้องตื่นตัวอยู่เสมอเมื่อถึงจังหวะหรือโอกาสเช่นในระยะแรกประกาศศาสนาณวันมาฆบูรณมีณเวฬุวันพระสงฆ์สาวกมาชุมนุมพร้อมกันณที่นั้น

เป็นโอกาสเหมาะพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์สำหรับหลักยึดถือร่วมกันของสงฆ์ที่จะแยกย้ายกับไปบำเพ็ญศาสนกิจ

8) ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการในการสอนนั้นมุ่งผลสำเร็จในการเรียนเป็นสำคัญกลวิธีในการสอนก็จะต้องยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ดั่งพุทธพจน์ว่า “เราฝึกผู้ที่ควรฝึก

ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพบ้างวิธีแบบรุนแรงบ้างวิธีทั้งแบบสุภาพบ้างและแบบรุนแรงบ้าง” (องฺ.จตุกฺก.21/111/170)

5 สรุปวิธีสอนของพระพุทธเจ้า

ในวิธีการสอนของพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงพิจารณาเนื้อหาที่จะสอนก่อนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจธรรมคำสอนได้อย่างชัดเจนโดยเรียงจากเรื่องง่ายจากเรื่องที่รู้อยู่แล้วไปสู่เรื่องที่ลุ่มลึกต่อไปโดยใช้เหตุผลที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้และยังเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนอีกด้วยต่อจากนั้นพระพุทธองค์ทรงพิจารณาผู้เรียนเพื่อการแสดงธรรมให้เป็นที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนจะรับรู้และเข้าใจซึ่งพระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความแตกต่างของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่การสอนนั้นพระองค์ยังสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนเพื่อชักจูงให้ผู้เรียนมีความสนใจพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าทรงมีวิธีเริ่มต้นที่น่าสนใจมากโดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการเข้าสู่เนื้อหาธรรมทีเดียวแต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบหรือผู้มาเฝ้าด้วยเรื่องที่เขารู้เข้าใจดีหรือสนใจอยู่เช่นเมื่อทรงสนทนากับควานช้างก็ทรงเริ่มสนทนาด้วยเรื่องวิธีฝึกช้างเป็นต้นวิธีการสอนของพระพุทธเจ้านั้นพระพุทธเจ้ามีวิธีการสอนอยู่ 4 แบบคือสอนแบบสากัจฉาหรือสนทนาสอนแบบบรรยายสอนแบบตอบปัญหาและสอนแบบวางกฎข้อบังคับ

นอกจากนั้นพระองค์ทรงใช้เทคนิคในการสอนคือการยกอุทาหรหรือนิทานประกอบการเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาการใช้อุปกรณ์การสอนการเล่นภาษาเล่นคือหรือการให้ความหมายใหม่

อุบายเลือกคนและปฏิบัติรายบุคคลการรู้จักจังหวะและโอกาสและความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการด้วยลักษณะการสอนที่มีความเข้าใจง่ายลุ่มลึกทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดประโยชน์สูงสุดนำหลักธรรมไปใช้ได้ถูกต้องตามหลักทางพุทธปรัชญา__

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท