มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

รวมเรื่องเทวดา


 

ประมวลเรื่องเทวดา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ


 คำว่า เทวดา หมายถึงชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง ในเทวภูมิ ๖ ชั้น คือ ชั้นจาตุมมหาราชิกา ๑ชั้นดาวดึงส์ ๑ ชั้นยามา ๑ ชั้นดุสิต ๑ ชั้นนิมมานรดี ๑ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๑  ชั้นจาตุมมหาราชิกาตั้งอยู่ตอนกลางของภูเขาสิเนรุซึ่งเสมอกันกับยอดเขายุคันธรมีท้าวมหาราช ๔ องค์ปกครอง คือ
 ๑. ท้าวธตรฐปกครองเทวดาคนธรรพ์อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ
 ๒. ท้าววิรุฬหกปกครองพวกกุมภัณฑ์อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ
 ๓. ท้าววิรูปักข์ปกครองพวกนาคอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ
 ๔. ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวัณปกครองพวกยักษ์อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ
 ชั้นดาวดึงส์เดิมทีเป็นที่อยู่ของพวกอสูร ท้าวเวปจิตติเป็นผู้ปกครอง ยังเป็นป่า ต่อมาท้าวสักกเทวราชกับเทพผู้สหจรรวม ๓๓ องค์เกิดขึ้นจึงเป็นสถานที่รุ่งเรืองมีเวชยันตปราสาท มีสุธรรมาสภาที่ประชุมเทวดา มีสวนนันทวันมีสวนจิตรลดามีโปกขรณีสุนันทาเกิดขึ้นเพราะบุญญานุภาพของท้าวสักกเทวราชและพระราชเทวีเทพนครมีกำแพงล้อม มีเชิงเทินและหอรบพร้อมสรรพ ท้าวเธอมีพระเทวี ๔ องค์ คือพระนางสุธัมมา พระนางสุจิตรา พระนางสุนันทา พระนางสุชาดาโปรดพระนางสุชาดามากเสด็จไปข้างไหนเอาไปด้วย ท้าวเธอมีช้างเอราวัณ ๓ เศียรเป็นพาหนะ (เป็นช้างเทพบุตรจำแลง) มีเวชยันตปราชรถสำหรับทรง พระมาตลีเป็นสารถีพวกเทวดากับพวกอสูรไปปรองดองกัน ทำสงครามกันทุกปี ถึงหน้าดอกจิตตปาตลิของพวกอสูรบานพวกอสูรยกพลมาทำสงครามกับเทวดา ต่างรุกได้บ้าง ต้องล่าถอยบ้าง ในที่สุดพวกอสูรแพ้ถูกพวกเทวดาขับตกสมุทรลงไป ท้าวสักกเทวราชตั้งความเป็นเอกราชขึ้นได้ปกครองตลอดทั่วไป
 ชั้นยามามีท้าวสุยามเป็นผู้ปกครองชั้นยามานี้ตั้งอยู่ในอากาศจึงไม่มีภุมมเทวดา มีแต่อากาสเทวดาพวกเดียว ส่วนวิมานทิพยสมบัติและร่างกายของเทวดาชั้นยามานี้ประณีตสวยงามมากกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และอายุขัยก็ยืนยาวมากกว่า บริเวณของชั้นยามานี้แผ่กว้างออกไปเสมอด้วยกำแพงจักรวาลมีวิมานอันเป็นที่อยู่ของเทวดาในชั้นนี้อยู่ตลอดทั่วไป
 ชั้นดุสิตมีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ปกครองดูเป็นชั้นศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เกิดและเป็นที่อยู่แห่งพระโพธิสัตว์ พระพุทธบิดาพระพุทธมารดาและท่านผู้วิเศษอื่นแต่ไม่พบคำพรรณนาถึงสถานที่นอกจากมีวิมาน
 ชั้นนิมมานรดีมีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ปกครองเทวดาชั้นนี้เป็นจำพวกบริบูรณ์ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งนิรมิตเอาเองได้ไม่มีคู่ครองเป็นประจำ เทพบุตรหรือเทพธิดาที่อยู่ในชั้นนี้เวลาใดอยากเสวยกามคุณซึ่งกันและกันเวลานั้นตนเองก็เนริมิตเป็นเทพบุตรเทพธิดาขึ้น
 ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีมีท้าวนิมมิตวสวัตตี(วสวัตตีมาร)เป็นผู้ปกครองเทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ต้องนิรมิตเองมีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกทีหนึ่ง วสวัตตีมารเป็นมิจฉาเทวดาไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อพระพุทธเจ้านับตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์จนถึงปรินิพพาน ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว๓๐๐ ปี พระมหาเถระอุปคุตได้ทรมานพระยามารเสียจนสิ้นพยศให้กลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนถึงกับปรารถนาพุทธภูมิในกาลข้างหน้า
 ในเทวตาและเทวปุตตสังยุตนี้คำว่า เทวดา ประสงค์เอาเทพบุตรเทพธิดาองค์ใดองค์หนึ่งในบรรดาชั้นรูปาวจรภูมิโดยเฉพาะเทวดาชั้นดาวดึงส์เทวดาทั้งหลายเมื่อมาสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวก ย่อมมาในเวลามัชฌิมยามนี้เป็นนิยามของเทวดาทั้งหลายเทวดาทั้งหลายเมื่อมาสู่โลกมนุษย์ละวรรณะที่มีอยู่ตามปกติและฤทธิ์ตามปกติแล้วทำอัตภาพให้หยาบทำวรรณะได้มากอย่าง ทั้งทำฤทธิ์ก็ได้หลายอย่างเมื่อจะไปสู่สถานที่ทั้งหลายมีสถานที่เป็นที่แสดงมหรสพเป็นต้นย่อมมาด้วยกายอันตนตกแต่งแล้วเทวดาทั้งหลายชั้นกามาวจรแม้มีกายอันตนมิได้ตกแต่งแล้วก็สามารถเพื่อจะมาในที่นั้นได้เทวดาทั้งหลายมาสู่ที่บำรุงแห่งบุคคลผู้เลิศในโลกด้วยประโยชน์อันใดเป็นผู้ใคร่เพื่อทูลถามถึงประโยชน์อันนั้นจึงทำอัญชลีกรรมอันรุ่งเรืองแล้วด้วยอันประชุมแห่งเล็บทั้งสิบนมัสการประดิษฐานไว้เหนือศีรษะแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง จริงอยู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรเคารพในฐานครูย่อมยืนอยู่ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง โดยเว้นโทษของการยืน ๖ อย่าง คือ ยืนไกลเกินไป ๑ยืนใกล้เกินไป ๑ ยืนเหนือลม ๑ ยืนในที่สูง ๑ ยืนตรงหน้าเกินไป ๑ ยืนข้างหลังเกินไป๑
 จริงอยู่ บุคคลผู้ยืนไกลเกินไปถ้าประสงค์จะพูดก็จะต้องพูดเสียงดังถ้ายืนใกล้เกินไปย่อมจะเบียดเสียดกัน ถ้ายืนเหนือลมย่อมเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัวถ้ายืนในที่สูงย่อมประกาศถึงความไม่เคารพยืนตรงหน้าเกินไปถ้าประสงค์จะมองก็จะต้องจ้องตากันยืนข้างหลังเกินไปถ้าใคร่จะเห็นหน้าก็จะต้องชะเง้อคอดู
 ความประสงค์ของเทวดาทั้งหลายผู้มายังมนุษย์โลกคือ ต้องการทูลถามปัญหา ๑ ต้องการแสดงความเห็นของตนเอง ๑ต้องอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพุทธสาวก ๑ ต้องการบำเพ็ญกุศล ๑ต้องการตักเตือนภิกษุเป็นต้น ๑ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 ๑.๑เรื่องการข้ามโอฆะ
 เทวดาทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ข้ามโอฆะอย่างไร ?
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ข้ามโอฆะได้แล้ว
 เทวดาทูลถามว่าพระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ?
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"เมื่อเราพักอยู่เราก็จมอยู่โดยแท้ เมื่อเราเพียรอยู่เราก็ลอยอยู่โดยแท้"
 เทวดาทูลว่า"นานนักหนอที่ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสพพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พัก ไม่เพียรข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลกได้" (สัง.๑๕/โมฆตรณสูตร/๑-๓/๑-๒)อรรถกถาธิบาย
 โอฆะ (ห้วงน้ำ) มี ๔ คือ กาโมฆะ ๑ ภโวฆะ ๑ ทิฏโฐฆะ ๑ อวิชโชฆะ ๑ ความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ชื่อว่ากาโมฆะ ความยินดีพอใจในรูปารูปภพและความใคร่ในฌาน ชื่อว่าภโวฆะ ทิฐิ ๖๒ชื่อว่าทิฏโฐฆะ ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่าอวิชโชฆะ
 กาโมฆะย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง
 ภโวฆะย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภทิฏฐิคตวิปปยุต ๔ ดวง
 ทิฏโฐฆะย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิคตะ ๔ ดวง
 อวิชโชฆะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลทั้งปวง
 ธรรมทั้งหมดนี้ชื่อว่าโอฆะเพราะเป็นเหตุนำสัตว์ไป ให้สัตว์ตกไปในเบื้องต่ำ จริงอยู่โอฆะนี้ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของตนให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือให้เกิดในทุคติต่าง ๆ มีนรกเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ให้ไปในเบื้องบน คือพระนิพพาน ย่อมให้เป็นไปในเบื้องต่ำ คือ ในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗และสัตตาวาส ๙
 ธรรมทั้งหมดนี้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นหมู่ใหญ่เหตุหมู่แห่งกิเลสนี้ใหญ่แผ่กระจายอำนาจไปตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงภวัคคภูมิหมู่แห่งกิเลสคือโอฆะนี้ใด ชื่อว่ามีความยินดีพอใจในกามคุณ ๕
 ธรรมดาบุคคลผู้ข้ามโอฆะต้องยืนอยู่ในที่อันตนควรยืนต้องพยายามในที่อันตนพึงข้ามจึงข้ามไปได้ แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า "เราไม่พักอยู่ไม่เพียรอยู่ ข้ามได้แล้วซึ่งกองกิเลส คือกิเลสเพียงดังโอฆะ (ห้วงน้ำวน)อันแผ่ควบคุมไปตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงภวัคคภูมิ"จิตของเทวดาก็จะแล่นไปสู่ความสงสัยว่า "นั่นอะไรหนอ"จึงชื่อว่าไม่ทราบเนื้อความแห่งปัญหา
 การเทศนาของพระพุทธองค์ มี ๒อย่าง คือ แสดงโดยนิคคหมุขะ และอนุคคหมุขะ บรรดา ๒ อย่างนั้นบุคคลเหล่าใดมีความถือตัวว่าเป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญในสิ่งที่ตนยังไม่รู้ ว่ารู้แล้วดุจพราหมณ์ ๕๐๐ ที่บวชเป็นบรรพชิต เพื่อข่มมานะของพราหมณ์และบรรพชิตเหล่านั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมเช่นกับพระสูตรทั้งหลายมีมูลปริยายสูตรเป็นต้นนี้ชื่อว่านิคคหมุขเทศนา สมดังที่ตรัสไว้ว่า "อานนท์เราจักกล่าวข่มบุคคลผู้ควรกล่าวข่ม เราจักกล่าวยกย่องบุคคลผู้ควรยกย่องภิกษุใดมีธรรมเป็นสาระ ภิกษุนั้นจักดำรงอยู่"
 ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้ตรงใคร่ต่อการศึกษาพระพุทธองค์ย่อมทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นกระทำให้เป็นผู้รู้ได้ง่ายเช่นในสูตรทั้งหลายมีอากังเขยยสูตรเป็นต้น ทั้งยังชนเหล่านั้นให้ปลอดโปร่งใจ เช่น "ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง…ด้วยโอวาทอันเรากล่าวแล้ว ด้วยการศึกษาอันเรากล่าวแล้วด้วยอนุสาสนีอันเรากล่าวแล้ว"นี้ชื่อว่าอนุคคหมุขเทศนา
 เทวบุตรนี้มีมานะกระด้างสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต เขาได้มีความคิดว่า "เราย่อมรู้โอฆะย่อมรู้ซึ่งความที่พระตถาคตเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้วแต่เรายังไม่รู้เหตุเพียงเท่านี้ว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะด้วยเหตุนี้ได้อย่างไร"เรารู้อรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ คำใดน้อยหรือมากที่เรายังไม่รู้เราจักรู้คำนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกแล้วเพราะคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไรนั้นเรายังไม่ทราบ"
 พระบรมศาสดาจึงตรัสปัญหาทำให้เป็นปัญหาซ่อนเร้นเข้าใจยาก ด้วยพระดำริว่า "เทวบุตรนี้ยังไม่ละมานะนี้ ก็ไม่ควรเพื่อจะรับธรรมเทศนาเปรียบเหมือนผ้าที่ยังเศร้าหมอง (ยังไม่ซักให้สะอาด)ไม่ควรจะย้อมสีเราจักข่มมานะของเทวบุตรนี้ก่อนแล้วจักประกาศเนื้อความนั้นแก่เธอโดยไม่มีจิตต่ำเช่นนี้ถามอยู่"
 เทวบุตรผู้มีมานะอันพระพุทธองค์นำออกแล้วทูลถามว่า "พระองค์ไม่พักไม่เพียรข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ?"
 พระพุทธองค์เมื่อจะตรัสตอบปัญหา จึงแสดงธรรมหมวดทุกะ ๗ หมวด คือ ว่าด้วยอำนาจกิเลสเมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียรชื่อว่าย่อมลอย ๑ ว่าด้วยตัณหาทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจมว่าด้วยอำนาจกิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย ๑ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฐิเมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย ๑ ว่าด้วยสัสสตทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ชื่อว่าย่อมจม ว่าดเวยอุจเฉททิฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอยเพราะภวทิฐิยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชา แต่วิภวทิฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป ๑ว่าด้วยอำนาจการติด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะเมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย ๑ ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ชื่อว่าย่อมจม ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย ๑ว่าด้วยอำนาจแห่งอกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจมว่าด้วยอำนาจแห่งกุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย๑ สมดังที่ตรัสที่ตรัสไว้ว่า "จุนทะ อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่อกุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้นพึงส่งไปในเบื้องต่ำ กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่กุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้นพึงส่งไปในเบื้องบน"
 เทวดาฟังวิสัชนาปัญหานี้แล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นผู้ยินดีแล้ว เลื่อมใสแล้ว ประกาศอยู่ซึ่งความยินดีและความเลื่อมใสของตนแล้วจึงกล่าวว่า "นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก"ได้บูชาพระทศพลด้วยของหอมทั้งหลายและพวงดอกไม้ทั้งหลายแล้วกลับไปสู่ภพของตน

 ๑.๒เรื่องวิธีข้ามโอฆะ
 เทวดาทูลถามว่าบุคคลควรตัดเท่าไร ควรละเท่าไร ควรบำเพ็ญคุณอันยิ่งเท่าไรภิกษุล่วงธรรมเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว ?
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่าบุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างควรละสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง ๕ อย่างภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่าง เรากล่าวว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว (สัง.๑๕/กติฉินทิสูตร/๑๑-๑๒/๓-๔)อรรถกถาธิบาย
 คำว่า"โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕"เป็นเครื่องฉุดคร่าให้ตกไปในเบื้องต่ำเหมือนกับก้อนหินที่เขาผูกเท้าไว้จะพึงตัดสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอนาคามิมรรคและคำว่าว่า"อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕"ซึ่งฉุดคร่าไว้เบื้องบนเหมือนกับกิ่งไม้ที่บุคคลใช้มือจับไว้ จะพึงละสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอรหัตตมรรคเมื่อบุคคลเจริญคุณวิเศษให้มากยิ่งขึ้นกว่าเพื่อต้องการตัดและเพื่อต้องการละสังโยชน์เหล่านั้นควรเจริญอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น
 ธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แก่ เครื่องข้องคือราคะ ๑ เครื่องข้องโทสะ ๑ เครื่องข้องคือโมหะ ๑เครื่องข้องคือมานะ ๑ เครื่องข้องคือทิฐิ ๑

 ๑.๓เรื่องการทราบมรรคผลนิพพาน
 เทวดาทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทางหลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัดของสัตว์ทั้งหลายหรือ ?
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเราย่อมรู้จัก
 เทวดาทูลถามว่า"พระองค์ทรงทราบอย่างไรเล่า ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"เราย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัดของสัตว์ทั้งหลายเพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล ๑ เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ ๑เพราะความดับ ๑ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย ๑" (สัง.๑๕/นิโมกขสูตร/๔-๖/๒-๓)อรรถกถาธิบาย
 จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายย่อมหลีกพ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสได้ด้วยมรรค ท่านจึงกล่าวว่ามรรคเป็นทางหลีกพ้นของสัตว์ทั้งหลาย ส่วนในขณะแห่งผลสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผู้คือกิเลส ท่านจึงกล่าวว่าผลเป็นความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลายทุกข์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับไปเพราะบรรลุพระนิพพาน ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นที่สงัด
 ธรรมเหล่านี้ทั้งหมด (มรรค ผล)เป็นชื่อของพระนิพพาน เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมหลุดพ้นย่อมสงบระงับจากทุกข์ทั้งหมดเพราะบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานท่านจึงกล่าวว่าหลีกพ้น หลุดพ้นที่สงัด
 ความสิ้นไปรอบแห่งกัมมภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูลหรือความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินและภพ ได้แก่สังขารอันกัมมภพถือเอาแล้วด้วยอำนาจแห่งอภิสังขารคือ กรรม ๓ อย่าง ขัน ๒ คือเวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์ อันประกอบด้วยธรรมคือสังขารขันธ์นั้นอันสัญญาและวิญญาณขันธ์ถือเอาแล้ว แต่เวทนาอันประกอบด้วยขันธ์ ๓ คือ สัญญา สังขารและวิญญาณขันธ์เหล่านั้น ท่านถือเอาแล้วด้วยการถือเอานามธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้นนิพพานซึ่งดับกิเลสยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน)อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไปคือเป็นที่สงัดแห่งนามขันธ์ ๔ อันเป็นอนุปาทินนกะ (ไม่มีใจครอง)
 ความดับและความสงบแห่งเวทนาอันเป็นอุปาทินนกะ ได้แก่ขันธ์ ๓ อันประกอบด้วยเวทนานั้นเป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้วโดยการถือเอาเวทนารูปขันธ์ท่านก็ถือเอาด้วยสามารถแห่งวัตถุและอารมณ์ของนามขันธ์เหล่านั้นนิพพานอันไม่มีกัมมชรูปและวิบากขันธ์เหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน)จึงตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป คือเป็นที่สงัดแห่งขันธ์ ๕อันเป็นอนุปาทินนกะ
 สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ (ความเพลิดเพลิน) รูปขันธ์คืออุปปัตติภพ เมื่อกล่าวโดยย่อ ขันธ์ ๓เป็นธรรมอันท่านถือเอาด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้นพระนิพพานอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไปคือเป็นที่สงัดแห่งขันธ์ ๕

 ๑.๔เรื่องยานพาหนะไปพระนิพพาน
 เทวดาทูลถามว่า"ป่าชัฏชื่อโมหนะอันหมู่นางอัปสรประโคมแล้ว อันหมู่ปีศาจสิงอยู่แล้วทำไฉนจึงจะหนีไปได้ ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มีเสียงดังประกอบด้วยล้อคือธรรม หิริเป็นฝาสติเป็นเกราะกั้นของรถนั้นเรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถียานชนิดนี้มีอยู่แก่หญิงหรือชาย เขาย่อมไปในสำนักพระนิพพานด้วยยานนี้" (สัง.๑๕/อัจฉราสูตร/๑๔๓-๑๔๔/๓๗)อรรถกถาธิบาย
 เทวบุตรองค์นี้เคยบวชในพระพุทธศาสนาบำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ ปวารณาแล้วในกาลแห่งตนมีพรรษา ๕ทำมาติกาทั้งสองให้แคล่วคล่อมแล้ว ศึกษาแล้วถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเรียนพระกรรมฐานอันเป็นที่พอใจแล้ว เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม เข้าไปสู่ป่าคิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าอนุญาตว่า มัชฌิมยามอันใดเป็นส่วนแห่งการนอนเมื่อมัชฌิมยามนั้นถึงพร้อมแล้ว เราก็ยังกลัวต่อความประมาท จึงสละเตียงนอนแล้วพยายามทั้งกลางคืนและกลางวันทำกรรมฐานไว้ในใจลมทั้งหลายเพียงดังศัสตราเกิดขึ้นในภายในแห่งภิกษุนั้น ทำลายชีวิตเสียแล้วภิกษุนั้นได้ทำกาละในเพราะธุระคือความเพียรอนึ่งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจงกรมอยู่ในเพราะการจงกรมก็ตามยืนอยู่เพราะอาศัยส่วนที่เป็นเครื่องเหนี่ยวไว้ก็ตามวางจีวรไว้ที่สุดแห่งที่จงกรมเหนือศีรษะแล้วนั่งหรือนอนก็ตามกำลังแสดงธรรมบนธรรมาสน์อันเขาตกแต่งในท่ามกลางแห่งบริษัทก็ตามย่อมทำกาละภิกษุนั้นทั้งหมดชื่อว่ากระทำกาละในเพราะธุระคือความเพียรภิกษุนี้ก็ทำกาละแล้วในที่เป็นที่จงกรมเพราะความที่ตนเป็นผู้มีอุปนิสัยน้อยจึงยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ถือปฏิสนธิในภพดาวดึงส์ที่ประตูวิมานใหญ่ราวกะหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้นอัตภาพของเทวบุตรนั้นมีสามคาวุตเกิดขึ้นเหมือนเสาระเนียดปิดทองในขณะนั้น
 ภายในวิมาน นางอัปสรประมาณหนึ่งพันเห็นเทวบุตรนั้นแล้วกล่าวว่าเทวบุตรผู้เป็นเจ้าของวิมานมาแล้ว พวกเราจักให้เทวบุตรนั้นพอใจจึงถือเอาเครื่องดนตรีมาแวดล้อมแล้วเทวบุตรนั้นย่อมไม่รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้จุติแล้วก่อนยังสำคัญว่าตนเป็นบรรพชิตอยู่นั่นแหละจึงเกิดความละอายเพราะเห็นหญิงทั้งหลายมาเที่ยวถึงที่อยู่จึงเอาผ้าปิดเฉวียงบ่าข้างหนึ่งดุจภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเอาผ้าที่วางกองไว้ข้างบนมาทำเฉวียงบ่าข้างหนึ่งสำรวมอินทรีย์ทั้งหลายแล้วได้ยืนก้มหน้าอยู่ พวกนางอัปสรเหล่านั้นทราบว่าเทวบุตรนี้เป็นเทวบุตรมาแต่สมณะโดยเห็นการเคลื่อนไหวกายของเทวบุตรนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่เทวบุตรผู้เป็นเจ้า นี้ชื่อว่าเทวโลกขณะนี้มิใช่โอกาสที่จะทำสมณธรรม ที่นี้เป็นโอกาสที่จะเสวยสมบัติเทวบุตรนั้นได้ยืนอยู่เหมือนอย่างนั้น นางอัปสรเหล่านั้นคิดว่าเทวบุตรนี้ยังกำหนดไม่ได้ จึงบรรเลงดนตรีทั้งหลายเทวบุตรนั้นก็ยังไม่แลดูอยู่นั่นแหละ ได้ยืนอยู่แล้วเหมือนอย่างนั้นเทพธิดาทั้งหลายเหล่านั้นจึงวางกระจกอันให้เห็นกายทั้งหมดไว้ข้างหน้าเทวบุตรนั้นเห็นเงาในกระจกแล้วจึงทราบความที่ตนเป็นผู้จุติแล้วได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนเพราะสมบัติด้วยอันคิดว่าเราทำสมณธรรมมิได้ปรารถนาฐานะเช่นนี้ เราปรารถนาพระอรหัตอันเป็นอุดมประโยชน์พิจารณาดูแผ่นผ้าดังสีทองจึงคิดว่า ชื่อว่าสมบัติในสวรรค์นี้เป็นของหาได้ง่ายความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยากราวกะนักมวยปล้ำหยั่งลงสู่ที่ที่รบกันย่อมต้องการของมีค่า แต่กลับได้กำแห่งหัวมันจึงมิได้เข้าไปสู่วิมานเลย ผู้อันหมู่นางอัปสรแวดล้อมแล้วด้วยทั้งศีลมิได้ทำลายนั่นแหละมาสู่สำนักของพระทศพล ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวว่าป่าชัฏชื่อโมหนะอันหมู่แห่งนางอัปสรให้กึกก้องแล้วด้วยการขับร้องและดนตรีเทวบุตรนั้นย่อมกล่าวทำหมู่แห่งนางอัปสรนั้นว่าเป็นหมู่แห่งปีศาจย่อมไม่ชอบใจที่จะกล่าวหมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งเทวดาย่อมกล่าวหมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งปีศาจ ก็เพราะจิตตนิยมโดยความเป็นผู้หนักแน่นของตน และไม่กล่าวว่าสวนนันทวันว่าเป็นสวนนันทวันย่อมกล่าวสวนนันทวันว่าเป็นป่าโมหนะ (ป่าเป็นที่หลง) การออกไปจักมีได้อย่างไรการก้าวออกไปจักมีได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์จงตรัสบอกวิปัสสนาอันเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้)แห่งพระอรหัตแก่ข้าพระองค์
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ว่าเหตุที่เทวบุตรนี้กำหนดอยู่นั่นแหละเป็นอะไรหนอทรงทราบแล้วซึ่งความที่เทวบุตรนั้นเป็นบรรพชิตในศาสนาของพระองค์ จึงทรงดำริว่าเทวบุตรนี้ทำกาละเพราะความเพียรอันแรงกล้าแล้วเกิดในเทวโลกทั้งอัตภาพของเธอนั้นในที่เป็นที่จงกรมนั่นแหละแม้ในวันนี้ก็มิได้ทำลายศีลมาแล้ว ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อนว่าเธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกตปัญญาให้ตรงราวกะนายช่างจิตรกรทำการตกแต่งฝาผนัง บอกแก่อันเตวาสิกผู้ไม่มั่นใจในการกระทำผู้เริ่มทำครั้งแรก ผู้ไม่ชำนาญในการทำฉะนั้นแต่เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นสภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัยดีว่าเทวบุตรนี้เป็นผู้กระทำ ผู้มีศีลยังมิได้ทำลายก็มรรคหนึ่งจักมีแก่เทวบุตรนี้ในอนาคต เมื่อจะทรงบอกสุญญตาวิปัสสนาจึงตรัสคำมีอาทิว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ชื่อว่าทางตรงเพราะความที่ทางนั้นไม่มีการคดทั้งหลาย มีการคดทางกายเป็นต้น
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัยทรงหมายเอาพระนิพพาน จริงอยู่ ในพระนิพพานนั้น ภัยอะไร ๆ ก็ไม่มีหรือภัยนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่มีเสียงดังทรงพระประสงค์เอามรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนอย่างว่าเมื่อเพลาแห่งรถไม่มีน้ำมันหยอด หรือเมื่อคนขึ้นมากเกินไป ธรรดารถก็ต้องมีเสียงดังคือย่อมส่งเสียงดัง ฉันใด รถคืออริยมรรค ฉันนั้นหามิได้ จริงอยู่รถคืออริยมรรคนั้นแม้สัตว์ตั้ง ๘๔,๐๐๐ ขึ้นอยู่โดยการนำไปคราวเดียวกันย่อมไม่ดังย่อมไม่ส่งเสียง
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ารถประกอบพร้อมแล้วด้วยล้อคือธรรมทั้งหลายกล่าวคือความเพียรทางกายและทางใจ
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หิริเป็นฝาของรถนั้นก็ทรงถือเอาโอตตัปปะด้วยศัพท์ว่าหิรินั่นแหละ จริงอยู่เมื่อนักรบทั้งหลายยืนอยู่บนรถอันมีในภายนอกย่อมมีฝาที่ทำด้วยไม้เพื่อต้องการแก่อันมิให้ตกไป ฉันใดหิริและโอตตัปปะแห่งรถคือมรรคนี้อันมีทั้งภายในและภายนอกเป็นสมุฏฐานเป็นเครื่องป้องกันฉันนั้น
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้นจริงอยู่ สติอันสัมปยุตด้วยรถคือมรรคแม้นี้เป็นเกราะกำบังราวกะรถของนักรบที่หุ้มด้วยวัตถุทั้งหลายมีหนังสีหะเป็นต้น
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี จริงอยู่สัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนานำหน้าไป คือเป็นเครื่องดำเนินไปก่อนแห่งมรรคนั้นมีอยู่เพราะเหตุนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐินำหน้า ธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้านั้นเหมือนอย่างว่าเมื่อราชบุรุษทั้งหลายทำหนทางให้สะอาดโดยการนำชนทั้งหลายมีคนบอดคนง่อยเป็นต้นออกไปก่อนแล้วพระราชาจึงเสด็จมาในภายหลัง ฉันใดเมื่อธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นอันสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาชำระให้หมดจดแล้วด้วยสามารถแห่งความเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นสัมมาทิฏฐิแห่งมรรคอันกำหนดรู้อยู่ซึ่งวัฏฏะได้แล้วในภูมิ จึงเกิดขึ้นในภายหลังฉันนั้น
 พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เทศนาสำเร็จแล้ว ในที่สุดทรงแสดงสัจจะ ๔ในเวลาที่สุดลงแห่งเทศนา เทวบุตรตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโสดาปัตติผล เหมือนอย่างว่าในเวลาที่พระราชาเสวยพระกระยาหาร พระองค์ก็ยกขึ้นเสวยโดยประมาณของพระองค์บุตรที่นั่งอยู่ที่ตักก็ย่อมทำคำข้าวโดยประมาณแก่ปากของตน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงแสดงเทศนาอันสุดยอดคือพระอรหัตอยู่สัตว์ทั้งหลายย่อมบรรลุธรรมทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้นโดนสมควรแก่ธรรมเป็นอุปนิสัยของคนฉะนั้นแม้เทวบุตรนี้ก็บรรลุโสดาปัตติผลแล้วบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวัตถุทั้งหลายมีของหอมเป็นต้นแล้วหลีกไป

 ๑.๕เรื่องชีวิตถูกชราต้อนเข้าหามรณะ
 เทวดากล่าวว่า"ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อยเมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยในมรณะพึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับรองและตรัสว่า"บุคคลเมื่อเห็นภัยในมรณะพึงละโลกามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด" (สัง.๑๕/อุปเนยยสูตร/๗-๘/๓)อรรถกถาธิบาย
 ฝูงโคอันนายโคบาลย่อมต้นไปฉันใด ชีวิตนี้ก็ฉันนั้น อันชราย่อมต้อนไปสู่สำนักแห่งความตายความที่ชีวิตคืออายุนั้นเป็นของน้อยโดยอาการ ๒ อย่าง คือเพราะเป็นไปกับด้วยรสคือความเสื่อมสิ้นไป และเพราะประกอบด้วยขณะคือครู่เดียว
 ความที่ชีวิตเป็นไปกับด้วยรสคือความเสื่อมสิ้นไป ดังพระดำรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นอยู่นาน บุคคลนั้นก็พึงเป็นอยู่ร้อยปี ต่ำกว่าบ้างเกินกว่าบ้าง"
 ความที่ชีวิตประกอบด้วยขณะคือครู่เดียว คือเมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมากคือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะ)อุปมาด้วยล้อแห่งรถ เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้นเมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดอยู่โดยส่วนแห่งกงรถหนึ่ง ฉันใดชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ฉันนั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกแล้ว ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้วเหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
 "ในขณะแห่งจิตอันเป็นอดีตบุคคลชื่อว่าเป็นอยู่แล้ว มิใช่กำลังเป็นอยู่ มิใช่จักเป็นอยู่ในขณะแห่งจิตอันเป็นอนาคตบุคคลชื่อว่าจักเป็นอยู่มิใช่เป็นอยู่แล้วมิใช่กำลังเป็นอยู่ในขณะแห่งจิตอันเป็นปัจจุบันบุคคลชื่อว่ากำลังเป็นอยู่มิใช่เป็นอยู่แล้วไม่ใช่จักเป็นอยู่"
 "ชีวิตอัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมดประกอบด้วยจิตดวงเดียวขณะของจิตนั้นย่อมเป็นไปเร็วพลัน"
 "จิตเหล่าใดของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่หรือกำลังตายแตกดับไปแล้วในปวัตติกาลนี้ จิตเหล่านั้นทั้งหมดหาได้กลับมาเกิดอีกไม่แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน"
 "เพราะจิตไม่เกิดสัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่าเป็นอยู่เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้วนี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์"
 ภัยมี ๓ อย่าง คือการเข้าถึงความตายแห่งชีวิตตินทรีย์ ๑ ความที่ชีวิตินทรีย์มีอายุเล็กน้อย ๑ความที่ไม่มีเครื่องต้านทานของบุคคลผู้อันชราต้อนไปแล้ว ๑เมื่อบุคคลเข้าถึงชราแล้วหรือถูกชราต้อนเข้าไปสู่สำนักแห่งความตาย ใคร ๆชื่อว่าสามารถเพื่อจะให้ความป้องกัน คือให้ความปลอดภัยให้เป็นที่พึ่งอาศัยย่อมไม่มีวิญญูชนพึงทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ เพราะเหตุนั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌานจึงถือเอาบุพเจตนา มุญจนเจตนา และอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลาย ถือเอาความชอบใจความใคร่ และความสุขในฌานแล้ว จึงกล่าวว่าบุญทั้งหลายนำความสุขมาให้
 เทวดาได้มีความคิดว่า "โอหนอสัตว์ทั้งหลายเจริญฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้วพึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอดเวลาอันยาวนาน คือประมาณ ๑ กัปบ้าง ๔ กัปบ้าง ๘ กัปบ้าง ๑๘กัปบ้าง ๓๒ กัปบ้าง ๖๔ กัปบ้าง"เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังตายกำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำเช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไปเพราะฉะนั้นจึงได้กล่าวอย่างนี้
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่าเทวดาย่อมกล่าววัฏฏกถา (ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ) อันไม่เหมาะสมจึงทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่เทวดานั้น
 โลกามิสมี ๒ อย่าง คือ ปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ) นิปปริยายโลกามิส (โลกามิสที่ไม่เป็นเหตุ) วัฏฏะอันเป็นในภูมิ๓ เรียกว่าปริยายโลกามิส ปัจจัยคือเครื่องอาศัย ๔ อย่

คำสำคัญ (Tags): #เทวดา
หมายเลขบันทึก: 512377เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 ๑.๕เรื่องชีวิตถูกชราต้อนเข้าหามรณะ
 เทวดากล่าวว่า"ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อยเมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยในมรณะพึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับรองและตรัสว่า"บุคคลเมื่อเห็นภัยในมรณะพึงละโลกามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด" (สัง.๑๕/อุปเนยยสูตร/๗-๘/๓)อรรถกถาธิบาย
 ฝูงโคอันนายโคบาลย่อมต้นไปฉันใด ชีวิตนี้ก็ฉันนั้น อันชราย่อมต้อนไปสู่สำนักแห่งความตายความที่ชีวิตคืออายุนั้นเป็นของน้อยโดยอาการ ๒ อย่าง คือเพราะเป็นไปกับด้วยรสคือความเสื่อมสิ้นไป และเพราะประกอบด้วยขณะคือครู่เดียว
 ความที่ชีวิตเป็นไปกับด้วยรสคือความเสื่อมสิ้นไป ดังพระดำรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นอยู่นาน บุคคลนั้นก็พึงเป็นอยู่ร้อยปี ต่ำกว่าบ้างเกินกว่าบ้าง"
 ความที่ชีวิตประกอบด้วยขณะคือครู่เดียว คือเมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมากคือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะ)อุปมาด้วยล้อแห่งรถ เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้นเมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดอยู่โดยส่วนแห่งกงรถหนึ่ง ฉันใดชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ฉันนั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกแล้ว ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้วเหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
 "ในขณะแห่งจิตอันเป็นอดีตบุคคลชื่อว่าเป็นอยู่แล้ว มิใช่กำลังเป็นอยู่ มิใช่จักเป็นอยู่ในขณะแห่งจิตอันเป็นอนาคตบุคคลชื่อว่าจักเป็นอยู่มิใช่เป็นอยู่แล้วมิใช่กำลังเป็นอยู่ในขณะแห่งจิตอันเป็นปัจจุบันบุคคลชื่อว่ากำลังเป็นอยู่มิใช่เป็นอยู่แล้วไม่ใช่จักเป็นอยู่"
 "ชีวิตอัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมดประกอบด้วยจิตดวงเดียวขณะของจิตนั้นย่อมเป็นไปเร็วพลัน"
 "จิตเหล่าใดของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่หรือกำลังตายแตกดับไปแล้วในปวัตติกาลนี้ จิตเหล่านั้นทั้งหมดหาได้กลับมาเกิดอีกไม่แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน"
 "เพราะจิตไม่เกิดสัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่าเป็นอยู่เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้วนี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์"
 ภัยมี ๓ อย่าง คือการเข้าถึงความตายแห่งชีวิตตินทรีย์ ๑ ความที่ชีวิตินทรีย์มีอายุเล็กน้อย ๑ความที่ไม่มีเครื่องต้านทานของบุคคลผู้อันชราต้อนไปแล้ว ๑เมื่อบุคคลเข้าถึงชราแล้วหรือถูกชราต้อนเข้าไปสู่สำนักแห่งความตาย ใคร ๆชื่อว่าสามารถเพื่อจะให้ความป้องกัน คือให้ความปลอดภัยให้เป็นที่พึ่งอาศัยย่อมไม่มีวิญญูชนพึงทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ เพราะเหตุนั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌานจึงถือเอาบุพเจตนา มุญจนเจตนา และอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลาย ถือเอาความชอบใจความใคร่ และความสุขในฌานแล้ว จึงกล่าวว่าบุญทั้งหลายนำความสุขมาให้
 เทวดาได้มีความคิดว่า "โอหนอสัตว์ทั้งหลายเจริญฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้วพึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอดเวลาอันยาวนาน คือประมาณ ๑ กัปบ้าง ๔ กัปบ้าง ๘ กัปบ้าง ๑๘กัปบ้าง ๓๒ กัปบ้าง ๖๔ กัปบ้าง"เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังตายกำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำเช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไปเพราะฉะนั้นจึงได้กล่าวอย่างนี้
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่าเทวดาย่อมกล่าววัฏฏกถา (ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ) อันไม่เหมาะสมจึงทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่เทวดานั้น
 โลกามิสมี ๒ อย่าง คือ ปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ) นิปปริยายโลกามิส (โลกามิสที่ไม่เป็นเหตุ) วัฏฏะอันเป็นในภูมิ๓ เรียกว่าปริยายโลกามิส ปัจจัยคือเครื่องอาศัย ๔ อย่าง เรียกว่านิปปริยายโลกามิสในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปริยายโลกามิส (นิปปริยายโลกามิสก็ควรเหมือนกัน) 

 ๑.๖ เรื่องกาลย่อมล่วงไป ๆ
 เทวดากล่าวว่า"กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไปบุคคลเมื่อเห็นภัยในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรับรองความเห็นของเทวดาและตรัสเพิ่มเติมว่า"บุคคลเมื่อเห็นภัยในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด" (สัง.๑๕/อัจเจนติสูตร/๙-๑๐/๓)อรรถกถาธิบาย
 เมื่อราตรีทั้งหลายล่วงไปบุคคลย่อมไปใกล้ต่อความตายโดยรวดเร็ว ชั้นแห่งวัย ๓ คือ ปฐมวัย มัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย ย่อมละทิ้งไปโดยลำดับ จริงอยู่ปฐมวัยย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัยปฐมวัยและมัชฌิมวัยทั้งสองย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัยแต่ในขณะแห่งความตาย แม้วัยทั้ง ๓ ก็ต้องละทิ้งบุคคลไป ภัย ๓ อย่าง คือการก้าวลงไปแห่งกาลทั้งหลาย ๑ ความที่ราตรีและทิวาล่วงไปโดยเร็ว ๑ความที่กองแห่งวัยทั้งหลายต้องทอดทิ้งบุคคลไป ๑

 ๑.๗ เรื่องเหตุให้วรรณะผ่องใส
 เทวดาทูลถามว่า"เหตุอะไร วรรณะ (ผิว) ของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ฉันภัตหนเดียวเป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ จึงผ่องใส ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้วไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าวรรณะจึงผ่องใสเพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังมาไม่ถึงและความเศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้วภิกษุทั้งหลายจึงซูบซีดเหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอน(ทิ้งไว้กลางแดด)ฉะนั้น" (สัง.๑๕/อรัญญสูตร/๒๑-๒๒/๖)อรรถกถาธิบาย
 เทวดาองค์นี้เป็นภูมิเทวดาอาศัยอยู่ในไพรสณฑ์เห็นภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่ากลับจากบิณฑบาตหลังภัตแล้วเข้าไปสู่ป่าถือเอาลักษณะกรรมฐาน (กรรมฐานตามปกติวิปัสสนา)ในที่พักเวลากลางคืนและที่พักเวลากลางวันเหล่านั้นนั่งลงแล้วก็เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งกรรมฐานอย่างนี้แล้วเอกัคคตาจิตซึ่งเป็นเครื่องชำระของท่านก็เกิดขึ้น ลำดับนั้นความสืบต่อแห่งวิสภาคะก็เข้าไปสงบระงับ ความสืบต่อแห่งสภาคะหยั่งลงแล้วจิตย่อมผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสแล้ว โลหิตก็ผ่องใสอุปาทารูปทั้งหลายซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมบริสุทธิ์วรรณะแห่งหน้าย่อมเป็นราวกะสีแห่งผลตาลสุกที่หลุดจากขั้วฉะนั้น
 เทวดาครั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วจึงดำริว่าธรรมดาว่าสรีระวรรณะ (ผิวพรรณแห่งร่างกาย) นี้ย่อมผ่องใสแก่บุคคลผู้ได้โภชนะทั้งหลายอันสมบูรณ์มีรสอันประณีตผู้มีที่อยู่อาศัยเครื่องปกปิด ที่นั่งที่นอนมีสัมผัสอันสบาย ผู้ได้ปราสาทต่าง ๆมีปราสาท ๗ ชั้นเป็นต้น อันให้ความสุขทุกฤดูกาลและแก่ผู้ได้วัตถุทั้งหลายมีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นแต่ภิกษุเหล่านี้เที่ยวบิณฑบาตฉันภัตปะปนกันย่อมสำเร็จการนอนบนเตียงน้อยทำด้วยใบไม้ต่าง ๆ หรือนอนบนแผ่นกระดาน หรือบนศิลาย่อมอยู่ในที่ทั้งหลายมีโคนไม้เป็นต้นหรือที่กลางแจ้งวรรณะของภิกษุเหล่านี้ย่อมผ่องใส เพราะเหตุอะไร"จึงทูลถามข้อความนั้น
 พระเจ้าธรรมิกราชพระนามโน้นได้มีในกาลอันล่วงแล้วพระราชาพระองค์นั้นได้ถวายปัจจัยทั้งหลายอันประณีต ๆ แก่พวกเราอุปัชฌาย์อาจารย์ของเราเป็นผู้มีลาภมาก ครั้งนั้น พวกเราฉันอาหารเห็นปานนี้ห่มจีวรเห็นปานนี้แต่ภิกษุเหล่านี้ย่อมไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงมาแล้วเหมือนภิกษุผู้มีปัจจัยมากบางพวก
 พระเจ้าธรรมิกราชจักมีในอนาคตชนบททั้งหลายจักแผ่ไป วัตถุทั้งหลายมีเนยใสเนยข้นเป็นต้นจักเกิดขึ้นมากมายผู้บอกกล่าวจักมีในที่นั้น ๆ ว่า ขอท่านทั้งหลายจงเคี้ยวกิน จงบริโภคเป็นต้นในกาลนั้น พวกเราจักฉันอาหารเห็นปานนี้ จักห่มจีวรเห็นปานนี้แต่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึงอย่างนี้ย่อมเลี้ยงตนเองด้วยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ในขณะนั้นแต่เพราะปรารถนาปัจจัยที่ยังไม่มาถึงพวกพาลภิกษุจักซูบซีดเหมือนต้นอ้อสดที่บุคคลถอนทิ้งที่แผ่นหินอันร้อนจักเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น

 ๑.๘เรื่องผู้ไม่มีความยินดี
 เทวดากล่าวว่า"คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคทั้งหลายคนไม่มีอุปธิย่อมไม่ยินดีเลย เพราะอุปธิเป็นความยินดีของคน"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายคนไม่มีอุปธิย่อมไม่เศร้าโศกเลย เพราะอุปธิเป็นความเศร้าโศกของคน"(สัง.๑๕/นันทิสูตร/๒๖-๒๗/๗-๘)อรรถกถาธิบาย
 บุตรบางพวกทำกสิกรรมแล้วย่อมยังยุ้งข้าวเปลือกให้เต็มบางพวกทำการค้าแล้วย่อมนำเงินและทองมา บางพวกบำรุงพระราชา (รับราชการ)ย่อมได้วัตถุทั้งหลายมียานพาหนะ คาม นิคมเป็นต้นมารดาหรือบิดาเมื่อเสวยสิริอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุตรเหล่านั้นย่อมยินดีหรือเห็นบุตรทั้งหลายผู้อันบุคคลตกแต่งประดับประดา ทำให้เกิดความยินดีเสวยอยู่ซึ่งสมบัติในวันรื่นเริงเป็นต้น ย่อมยินดี ด้วยเหตุนั้นเทวดาหมายเอาความเป็นไปนั้นจึงกล่าวว่า "คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย"
 คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรฉันใดแม้คนมีโคก็ฉันนั้น คนมีโคเห็นมณฑลแห่งโค (สนามโค) สมบูรณ์แล้วเพราะอาศัยโคทั้งหลาย เสวยสมบัติ คือ เบญจโครสจึงชื่อว่าย่อมยินดีเพราะโคทั้งหลาย
 อุปธิ ๔ อย่าง คือ กามูปธิ (อุปธิคือกาม) ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์) กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส)และอภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร)
 กามทั้งหลายพระตรัสเรียกว่าอุปธิเพราะความสุขที่บุคคลเข้าไปตั้งไว้ในกามคุณนี้ก็เพราะความที่กามเหล่านี้เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความสุขดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่าความสุข ความโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้นนี้ชื่อว่าความพอใจในกามทั้งหลาย
 ขันธ์ทั้งหลายก็ตรัสเรียกว่าอุปธิเพราะขันธ์เหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ซึ่งขันธ์เป็นมูลกิเลสทั้งหลายก็ตรัสเรียกว่าอุปธิเพราะกิเลสเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในอบายอภิสังขารทั้งหลายก็ตรัสเรียกว่าอุปธิเพราะอภิสังขารเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในภพ
 แต่ในพระสูตรนี้ท่านหมายเอา กามูปธิ เพราะกามคุณ ๕อันบุคคลบำรุงบำเรอด้วยอำนาจแห่งวัตถุทั้งหลายมีการอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูเป็นต้นมีที่นั่งที่นอนอาภรณ์เสื้อผ้าอันโอฬาร มีบริวารคอยบำเรอด้วยการฟ้อนรำเป็นต้นเป็นเหตุนำมาซึ่งปีติโสมนัส ย่อมยังนรชนให้ยินดีอยู่ ฉะนั้นบุตรทั้งหลายและโคทั้งหลาย ฉันใด แม้อุปธิเหล่านี้ก็ฉันนั้นเพราะเป็นที่ยินดีของนรชน
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทวดาแล้วทรงพระดำริว่า "เทวดานี้ย่อมทำเรื่องแห่งความเศร้าโศกให้เป็นเป็นเรื่องน่ายินดีเราจักแสดงความที่สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องแห่งความเศร้าโศกแก่เธอ"เมื่อจะทำลายวาทะของเทวดานั้นด้วยอุปมาเหมือนบุคคลยังถ้อยคำอันเป็นเหตุผลให้ตกไปด้วยเหตุผล จึงทรงเปลี่ยนคำพูดแล้วตรัสว่า " เมื่อบุตรทั้งหลายสูญหายไปก็ดี เสื่อมเสียไปก็ดีด้วยอำนาจแห่งการเดินทางไปต่างประเทศ แม้มีความสงสัยในบัดนี้ว่า "จักสูญเสีย"บิดามารดาย่อมเศร้าโศก อนึ่ง เมื่อบุตรตายแล้วก็ดี กำลังจะตายก็ดีหรือถูกราชบุตรหรือโจรเป็นต้นจับตัวไป หรือเข้าไปสู่เงื้อมมือของข้าศึกทั้งหลายบิดามารดาเป็นผู้มีความสงสัยว่าตายแล้วก็ดี ย่อมเศร้าโศก เมื่อบุตรพลัดตกจากต้นไม้หรือจากภูเขาเป็นต้น มีมือเท้าหักก็ดี บอบช้ำก็ดี มีความสงสัยว่าแตกหักแล้วก็ดีบิดามารดาย่อมเศร้าโศก บุคคลมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย ฉันใดแม้คนมีโคก็ฉันนั้น ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลาย โดยอาการ ๙อย่าง
 บุตรและโคทั้งหลาย ฉันใด แม้อุปธิ คือ กามคุณ ๕ ก็ฉันนั้นย่อมยังนรชนให้เศร้าโศกโดยนัยที่ตรัสไว้ว่า หากสัตว์นั้นมีความรักใคร่ "มีความพอใจเกิดแล้ว กามเหล่านั้นย่อมยังเขาให้ย่อยยับไปเหมือนบุคคลถูกลูกศรแทงแล้วย่อมพินาศ ฉะนั้น"
 อุปธิ ๔ไม่มีแก่ผู้ใดผู้นั้นย่อมไม่มีอุปธิคือความเศร้าโศก เพราะเหตุนั้นพระมหาขีณาสพจักเศร้าโศกหรือกำลังเศร้าโศกมีหรือ ?

 ๑.๙เรื่องสิ่งที่ไม่มีอะไรเปรียบ
 เทวดากล่าวว่า"ความรักเสมอด้วยความรักบุตรย่อมไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโคย่อมไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นอย่างยิ่ง"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแย้งว่า"ความรักเสมอด้วยความรักตนย่อมไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม" (สัง.๑๕/นัตถิปุตตสมสูตร/๒๘-๒๙/๘)อรรถกถาธิบาย
 ๑.ความรักเสมอด้วยความรักบุตรย่อมไม่มีเป็นไฉน ?คือบุตรทั้งหลายของตนเองแม้พิกลพิการ บิดามารดาก็ยังสำคัญดุจแท่งทองคำมีการกระทำการหยอกล้อที่ศีรษะเป็นต้น ราวกะว่าพวงดอกไม้บุตรเหล่านั้นอันบิดามารดาชำระร่างกายแล้วก็นำมาห่อหุ้มไว้แล้วก็เกิดโสมนัสเหมือนบุคคลห้อยอยู่ซึ่งของหอมและเครื่องลูบไล้ฉะนั้น เหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่าความรักเสมอด้วยบุตรย่อมไม่มี คือความรักอื่นเสมอด้วยความรักบุตรหามีไม่
 ๒.ความรักเสมอด้วยตนย่อมไม่มีเป็นไฉน ?คือสัตว์ทั้งหลายละทิ้งปิยชนทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นก็มีละทิ้งบุตรธิดาเป็นต้นให้พำนักอยู่ย่อมหาเลี้ยงชีวิตตนนั่นแหละก็มี
 ๓. ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มีเป็นไฉน ?คือชนทั้งหลายย่อมไปสู่สำนักของเจ้าของทรัพย์แล้วจึงถือเอาวัตถุทั้งหลายมีเงินและทองเป็นต้นบ้าง ถือเอาโคและกระบือเป็นต้นบ้างก็เพื่อถือเอาข้าวเปลือกนั่นเอง
 ๔.แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มีเป็นไฉน ?คือถึงแม้จะเป็นดวงอาทิตย์เป็นต้น ก็ย่อมส่องแสงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือย่อมกำจัดความมืดอันเป็นปัจจุบันเท่านั้นส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่างอันประเสริฐหาสิ่งอื่นเสมอมิได้ทั้งย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย
 ๕. สระเสมอเสมอด้วยเมฆฝนย่อมไม่มีเป็นไฉน ?คือแม้แม่น้ำ หนองน้ำ หรือทะเลสาบก็ตามที่ชื่อว่าสระแล้ว ที่จะเสมอด้วยฝนย่อมไม่มีเพราะเมื่อเมฆฝนตัดขาดแล้วน้ำแม้เพียงสักว่าข้อองคุลีหนึ่งให้เปียกในมหาสมุทรย่อมไม่มีแต่เมื่อฝนตกแล้วเป็นไปอยู่ น้ำเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันย่อมมีถึงภิภพแห่งพรหมชั้นอาภัสสรา

 ๑.๑๐เรื่องผู้ประเสริฐที่สุด
 เทวดากล่าวว่า"กษัตริย์ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า โคประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้าภรรยาที่เป็นกุมารีประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลายบุตรผู้เกิดก่อนประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแย้งว่า"พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าสัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้าภรรยาที่ปรนนิบัติดีประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลายบุตรผู้เชื่อฟังประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย" (สัง.๑๕/ขัติยสูตร/๓๐-๓๑/๘)อรรถกถาธิบาย
 เทวดากล่าวว่าพระราชาประเสิรฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าภรรยาที่เป็นกุมารีประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย เพราะถือเอาในเวลาที่เธอเป็นกุมารี (หญิงสาว) บุตรคนใดเกิดก่อนเป็นคนบอดข้างเดียวก็ตามหรือบุตรที่เป็นง่อยเป็นต้นก็ตามคนใดเกิดก่อนคนนี้ชื่อว่าประเสริฐสุด
 พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ทั้งหมดทั้งสัตว์มีเท้าและไม่มีเท้าก็จริง ถึงอย่างนั้น พระองค์เมื่อจะทรงอุบัติย่อมทรงอุบัติฝนสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้นความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒เท้าทั้งหมดนั้นไม่คลาดเคลื่อนแล้ว
 ช้างหรือสัตว์ทั้งหลายมีม้าเป็นต้นก็ตามทีสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งย่อมรู้ซึ่งเหตุสัตว์อาชาไนยนี้จัดเป็นสัตว์ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้าเหมือนม้าชื่อว่าคุฬวรรณของพระราชาพระนามว่ากุฏกรรม เล่ากันว่าพระราชาเสด็จออกทางประตูด้านปราจีน ทรงดำริว่า เราจักไปเจติยบรรพตพอเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำกลัมพะ ม้าหยุดอยู่ที่ฝั่ง ไม่ปรารถนาเพื่อจะข้ามน้ำไปพระราชาตรัสเรียกนายอัสสาจารย์มาแล้วตรัสว่า โอหนอ ม้าอันท่านฝึกดีแล้วไม่ปรารถนาจะข้ามน้ำ นายอัสสาจารย์กราบทูลว่า ข้าแต่เทพ ม้าอันข้าพระองค์ฝึกดีแล้วก็เพราะม้านั้นคิดว่า ถ้าเราจักข้ามน้ำไป ขนหางจักเปียก เมื่อขนหางเปียกแล้วก็พึงทำน้ำให้ตกไปที่พระราชา จึงไม่ข้ามไปเพราะกลัวน้ำจะตกไปที่พระสรีระของพระองค์ด้วยอาการอย่างนี้ขอพระองค์จงให้ราชบุรุษถือขนหางม้าเถิด พระราชาได้ให้กระทำแล้วอย่างนั้นม้าจึงข้ามไปโดยเร็วจนถึงฝั่งแล้ว
 ภรรยาที่ถือเอาในเวลาที่เป็นกุมารีหรือภายหลังมีรูปงามหรือไม่งามจงยกไว้ ภรรยาใดเชื่อฟังสามี ย่อมบำเรอ (รับใช้)ย่อมให้สามีชอบใจ ภรรยานั้นประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย
 บุตรคนใดพี่ก็ตาม น้องก็ตาม คนใดย่อมฟัง ย่อมรับคำของบิดามารดา เป็นผู้สนองตามโอวาทบุตรคนนี้ประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลายประโยชน์อะไรเล่าด้วยบุตรอื่นที่เป็นโจรมีการกระทำตัดช่องย่องเบาเป็นต้น

 ๑.๑๑เรื่องการละกาม
 พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตโปทารามเขตพระนครราชคฤห์พระสมิทธิเถระตื่นขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง เข้าไปที่ลำน้ำตโปทาเพื่อจะสรงน้ำแล้วจึงกลับขึ้นยืน มีจีวรผืนเดียวรอให้ตัวแห้งอยู่เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะอันงามยิ่งนัก ยังลำน้ำตโปทาทั้งสิ้นให้สว่างทั่วเข้าหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วจึงลอยอยู่ในอากาศได้กล่าวคาถาว่า "ข้าแต่ภิกษุท่านไม่บริโภคแล้วยังขออยู่ ท่านบริโภคแล้วก็ไม่ต้องขอเลย ท่านบริโภคแล้วจงขอเถิดกาลอย่าล่วงท่านไปเสียเลย" พระสมิทธิเถระกล่าวว่า "เรายังไม่รู้กาลกาลยังลับมิได้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภคแล้วจึงยังขออยู่กาลอย่างเราไปเสียเลย"
 เทวดาลงมายืนที่พื้นดินแล้วจึงกล่าวว่า "ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำประกอบด้วยปฐมวัยจำเริญรุ่นจะเป็นผู้ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้วท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ อย่าละกามที่เห็นประจักษ์เสียวิ่งไปหากามอันเป็นทิพย์อันมีโดยกาลนานเลย" ท่านพระสมิทธิเถระกล่าวว่า "เราหาได้ละกามที่เห็นประจักษ์ วิ่งเข้าไปหากามอันเป็นทิพย์อันมีโดยกาลนานไม่เราละกามอันมีโดยกาลนานแล้ว วิ่งเข้าไปหาโลกุตตรธรรมที่เห็นประจักษ์ ด้วยว่ากามทั้งหลายเป็นของชั่วคราว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ามีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากมีโทษยิ่ง โลกุตตรธรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาลควรเรียกร้องผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้าในตนอันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน"
 เทวดาถามอีกว่า "ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล ฯลฯ มีโทษมากเป็นอย่างไร ? โลกุตตรธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ฯลฯ พึงทราบเฉพาะตนเป็นอย่างไร ?" ท่านพระสมิทธิเถระตอบว่า "เราเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้เราไม่อาจบอกท่านได้พิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ ท่านเข้าไปเฝ้าแล้ว ทูลถามเรื่องนี้เถิดท่านพึงทรงจำเรื่องตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์เถิด"
 เทวดาทูลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดามีบริวารมากจำพวกอื่นแวดล้อมแล้วข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายเลยถ้าท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระองค์แล้วพึงทูลถามเรื่องนี้แม้ข้าพเจ้าพึงมาเพื่อฟังธรรม" ท่านพระสมิทธิเถระรับคำของเทวดา แล้วจึงเข้าไปเฝ้าถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อท่านพระสมิทธิเถระทูลอย่างนี้แล้ว เทวดาได้กล่าวว่า "ข้าแต่ภิกษุ ทูลถามเถิด ๆข้าพเจ้าตามมาถึงแล้ว"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญ ติดอยู่ ไม่กำหนดรู้ในข้อที่ได้รับบอกย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ ส่วนภิกษุขีณาสพกำหนดรู้แล้วย่อมไม่สำคัญข้อที่ได้รับบอกแล้ว เพราะข้อที่ได้รับบอกย่อมไม่มีแก่ภิกษุขีณาสพฉะนั้น เหตุที่จะพึงพูดถึงข้อที่ได้รับบอกจึงมิได้มีแก่ภิกษุขีณาสพ"
 เทวดาทูลถามว่า "ข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้ได้ความพิสดารได้ข้าพระองค์พึงทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้อย่างไร ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคลสำคัญว่าเราเสมอเขาว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา พึงวิวาทกับเขาภิกษุขีณาสพเป็นผู้ไม่หวั่นไหวอยู่ในมานะ ๓ อย่าง ๆ จึงไม่มีแก่ภิกษุขีณาสพถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด"
 เทวดาทูลถามว่า "ข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้อย่างไร ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุขีณาสพละบัญญัติเสียแล้วบรรลุธรรมที่ปราศจากมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้วพวกเทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสถานที่อาศัยสัตว์ทั้งปวงก็ดีเที่ยวค้นหาก็ไม่พบภิกษุขีณาสพนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีตัณหา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด"
 เทวดาทูลว่า "ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารอย่างนี้ว่าไม่ควรทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ อย่างไหน ๆ ในโลกทั้งปวง ควรละกามทั้งหลายเสียแล้วมีสติ มีสัมปชัญญะ ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยโทษ ไม่เป็นประโยชน์" (สัง.๑๕/สมิทธิสูตร/๔๔-๕๕/๑๑-๑๔)อรรถกถาธิบาย
 ตโปทารามคือพระอารามที่มีชื่ออันได้แล้วอย่างนี้ เพราะห้วงน้ำลึกมีน้ำอันร้อนชื่อตโปทาเล่ากันว่า ภพของนาคตั้งอยู่ที่แผ่นดินใต้ภูเขาเวภารบรรพต มีปริมณฑลประมาณ ๕๐๐โยชน์ เช่นกับเทวโลก ซึ่งมีพื้นอันสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี และประกอบด้วยอุทยานอันเป็นที่รื่นรมย์ ในที่นั้น มีห้วงน้ำใหญ่สำหรับเป็นที่เล่นของพวกนาคลำแม่น้ำชื่อตโปทานี้เป็นน้ำร้อนเดือดพล่านไหลมาจากห้วงน้ำใหญ่นั้นไหลผ่านระหว่างนรกชื่อว่ามหาโลหกุมภีทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลมาอยู่สมจริงที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในที่ใดแม่น้ำตโปทานี้ไหลอยู่ ที่นั้นย่อมเป็นหนองน้ำ (ทะเลสาบ) มีน้ำไหลสะอาดเป็นที่น่ายินดี น้ำเย็น น้ำสีขาว ตั้งอยู่ดีแล้ว เป็นที่น่ารื่นรมย์มีปลาและเต่ามาก และมีดอกปทุมประมาณเท่าจักรบานสะพรั่งอยู่ลำน้ำตโปทาของมหานรกทั้งสองนี้ย่อมไหลมาโดยไม่ขาดสาย ด้วยเหตุนี้ลำแม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลอยู่
 อัตภาพของพระสมิทธิเถระสำเร็จแล้วด้วยผลกรรมจึงมีรูปงาม น่าเลื่อมใส ท่านลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งได้ให้บุคคลถือเอาเสนาสนะออกมาภายนอกแล้วเดินจงกรมไป ๆ มา ๆ บนที่จงกรมใหญ่ประมาณ๖๐ ศอก มีความสำคัญว่าเสนาสนะอันเราบริโภคอยู่ด้วยตัวอันชุ่มด้วยเหงื่อจักเศร้าหมองจึงเข้าไปที่ลำน้ำตโปทาเพื่อจะล้างตัวนุ่งผ้าสบงผูกประคตเอวแล้วถือเอาจีวรยืนอยู่ รอให้ตัวแห้ง เพราะว่าจีวรอันตนห่มในเวลาที่ตัวเปียก จักเศร้าหมอง จะมีกลิ่นเหม็น
 วัตรในการอาบน้ำ มีดังนี้คือ ภิกษุผู้ประสงค์จะอาบน้ำไปสู่ท่าน้ำแล้วพึงวางจีวรทั้งหลายในที่ใดที่หนึ่งแล้วยืนอยู่ก่อนไม่ควรรีบลงไปโดยเร็ว พึงเหลียวแลดูทุก ๆ ทิศทราบความเป็นผู้สงัดแล้วก็กำหนดวัตถุทั้งหลายมีตอไม้ พุ่มไม้และเถาวัลย์เป็นต้นแล้วย่อกายลง กระแอม ๓ ครั้ง แล้วพึงนำผ้าอุตราสงค์ออกผึ่งแล้วแก้ประคตเอววางทับจีวร ถ้าผ้าสำหรับอาบน้ำไม่มีก็จงนั่งกระหย่งที่ริมน้ำแล้วเปลื้องผ้านุ่งออก ถ้ามีที่สำหรับนั่งพึงผึ่งผ้านุ่งถ้าไม่มี ม้วนแล้วก็วางไว้ แล้วค่อย ๆ ก้าวลงน้ำ ครั้นก้าวลงไปประมาณนาภี (สะดือ)แล้วจึงอาบโดยไม่ทำให้ลูกคลื่นเกิดขึ้น ครั้นจะกลับก็พึงดำลงโดยมุ่งหน้าต่อทิศที่ตนมา เมื่อจะโผล่ขึ้น ก็ไม่ทำให้เกิดเสียง ค่อย ๆโผล่ขึ้น ในเวลาสิ้นสุดแห่งการอาบ พึงนั่งกระหย่งที่ริมน้ำแล้วเอาผ้ามาปกปิดตนไว้เมื่อลุกขึ้นยืนแล้วจึงนุ่งให้เรียบร้อยเป็นปริมณฑล เสร็จแล้วผูกประคตเอวไม่รีบห่มจีวร พึงยืนอยู่
 พระเถระก็อาบน้ำเหมือนอย่างนั้นเสร็จแล้วก็กลับขึ้นมายืนแลดูกายซึ่งมีน้ำยังไม่แห้ง โดยปกติกายของพระเถระก็ผ่องใสเมื่อน้อมกายนำมาโดยชอบ คืออาบน้ำอุ่น สีแห่งหน้าจึงรุ่งโรจน์เกินเปรียบเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยรัศมี ราวกะผลตาลที่หลุดจากขั้ว ราวกะพระจันทร์เต็มดวง ในขณะนั้นหน้าของท่านก็เป็นไปกับด้วยสิริดุจดอกปทุมกำลังแย้มผิวพรรณแห่งสรีระก็ผ่องใส
 ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ ชีวิต พยาธิ กาลที่เป็นที่ทอดทิ้งร่างกายหรือตาย และคติ (ที่เกิดต่าง ๆ มี ๕ คือ นิรยคติ เปตคติดิรัจฉานคติ มนุสสคติ และเทวตาคติ) ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีนิมิต ใคร ๆไม่พึงรู้ในโลกแห่งสัตว์ที่เป็นไปอยู่
 บรรดาธรรม ๕ เหล่านั้นชีวิตชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะกำหนดแน่ไม่ได้ว่า ชีวิตนี้มีจำนวนเท่านี้ไม่เกินจากนี้ไป จริงอยู่ ในกาลที่เริ่มแรก คือเป็นรูปกลละ สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมตายในเวลาที่เป็นอัพพุทะ (คือรูปที่เกิดมาได้ ๒ อาทิตย์) เป็นเปสิ (คือรูปที่เป็นชิ้นเล็ก ๆ) เป็นฆนะ (คือรูปที่เป็นก้อนหนา) รูปที่เกิดมาได้ ๑ เดือน๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๑๐ เดือนก็ดี ในระหว่างที่ออกจากครรภ์ก็ดีแต่นี้ไปภายในร้อยปีก็ดี มากกว่าร้อยปีก็ดีย่อมตายนั่นแหละ
 พยาธิชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีการกำหนดแน่ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตายด้วยพยาธินี้เท่านั้น ไม่ตายด้วยพยาธิอื่น ๆเพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตายด้วยโรคตาก็มี ด้วยโรคอื่น ๆมีโรคหูเป็นต้นก็มี
 กาลชื่อว่าไม่มีนิต เพราะไม่มีกำหนดแน่อย่างนี้ว่าในกาลนี้เท่านั้น สัตว์พึงตาย ในกาลอื่น ๆ สัตว์ไม่ตายเพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตายในเวลาเช้าก็มี ในเวลาอื่น ๆคือเวลาเที่ยงเป็นต้นก็มี
 สถานที่เป็นที่ต้องทอดทิ้งร่างกายชื่อว่าไม่มีนิมิตเพราะไม่มีการกำหนดได้อย่างนี้ว่า ร่างกายของสัตว์ผู้จะตายนี้พึงตกไปตายในที่นี้เท่านั้น ที่อื่น ๆ ไม่ตกไป จริงอยู่ เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดภายในบ้านอัตภาพของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตกไปภายนอกบ้านก็ได้ สัตว์ที่เกิดภายนอกบ้านอัตภาพย่อมตกไปภายในบ้านก็ได้ สัตว์ที่เกิดบนบกบนถนนเป็นต้นก็เหมือนกัน
 คติชื่อว่าไม่มีนิมิตเพราะไม่มีการกำหนดได้อย่างนี้ว่า สัตว์จุติจากที่นี้แล้วพึงเกิดในที่นี้เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายจุติจากเทวโลกแล้วเกิดขึ้นในมนุษยโลกก็มีจุติจากมนุษยโลกแล้วเกิดในที่ใดที่หนึ่งแห่งโลกทั้งหลายมีเทวโลกเป็นต้นก็มีสัตว์โลกมีคติ ๕ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปดุจโคยนต์อย่างนี้เพราะการเปลี่ยนไปแห่งคตินั้น

 

๑.๑๒เรื่องผู้ปฏิบัติธรรมควรทำตัวเหมือนคนถูกหอกแทง
 เทวดาทูลว่า"ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบเพื่อละกามราคะเหมือนบุรุษที่ถูกประหารด้วยหอกมุงมั่นที่จะถอนหอกออกเสียและเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะมุ่งมั่นที่จะดับไฟเสียฉะนั้น"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสริมว่า"ภิกษุควรจะมีสติละเว้นสักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วยหอกและเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ" (สัง.๑๕/สัตติสูตร/๕๖-๕๗/๑๕)อรรถกถาธิบาย
 เครื่องประหารมี๔ อย่าง คือ โอมัฏฐะ ๑ อุมัฏฐะ ๑ มัฏฐะ ๑ วิมัฏฐะ ๑ บรรดาเครื่องประหารเหล่านั้นเครื่องประหารที่เขาวางไว้ข้างบนให้มีหน้าลงเบื้องต่ำ ชื่อว่าโอมัฏฐะเครื่องประหารที่เขาวางไว้ข้างบนให้มีหน้าขึ้นข้างบน ชื่ออุมัฏฐะเครื่องประหารที่เขาใช้แทงทะลุไปราวกะว่าลิ่มกลอนประตู ชื่อมัฏฐะ ชื่อมัฏฐะเครื่องประหารแม้ทั้งหมดที่เหลือ ชื่อว่าวิมัฏฐะ ในพระสูตรนี้ท่านมุ่งเอาเครื่องประหารที่ชื่อว่าโอมัฏฐะเพราะเครื่องประหารชนิดนี้ทารุณกว่าเครื่องประหารทั้งหมดดุจถูกหอกที่มีคมไม่ดีแทงแล้วเยียวยาลำบาก มีโทษภายใน คือมีน้ำเหลืองและเลือดคั่งอยู่ที่ปากแผลไม่มีน้ำเหลืองและเลือดไหลออกจึงทำให้สั่งสมอยู่ภายในผู้ต้องการจะนำปุพโพโลหิตออกต้องผูกผู้ป่วยไว้กับเตียงแล้วทำให้ศีรษะห้อยลงเขาย่อมถึงการตาย หรือทุกข์ปางตาย
 เทวดากล่าวว่าบุรุษถูกแทงด้วยหอกรีบพยายามทำความเพียรมุ่งมั่นเพื่อจะรักษาแผลโดยการดึงหอกออกและบุรุษถูกไฟไหม้ที่ศีรษะ รีบพยายามทำความเพียรมุ่งมั่นเพื่อดับไฟ ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นพึงมีสติไม่ประมาทอยู่เพื่อละกามราคะ
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่าคาถาที่เทวดานำมาตั้งไว้ ทำอุปมาไว้มั่นคง แต่ถือเอาประโยชน์ได้นิดหน่อยแม้จะกล่าวซ้ำซาก เพราะเขากล่าวถึงการละโดยการข่มกามราคะอย่างเดียวก็กามราคะอันมรรคยังไม่ถอนขึ้นตราบใด ตราบนั้น ก็ยังมีการตามผูกพันเรื่อยไปเพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงถือเอาคำอุปมานั้นแล้วทรงเปลี่ยนแสดงด้วยสามารถแห่งมรรคจึงตรัสว่า ภิกษุควรมีสติ ละเว้นสักกายทิฏฐิเป็นต้น

 ๑.๑๓ เรื่องสัตบุรุษ
 พวกเทวดาสตุลลปกายิกา (ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ) มากด้วยกัน มีวรรณะอันงามยิ่งนักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
 เทวดาองค์ที่หนึ่งทูลว่า"บุคคลควรนั่งร่วม ควรทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ ทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วมีแต่คุณอันประเสริฐไม่มีโทษอันลามกเลย"
 เทวดาองค์ที่สองทูลเสริมว่า"บุคคลทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วย่อมได้ปัญญาหาได้ปัญญาจากคนอันธพาลอื่นไม่"
 เทวดาองค์ที่สามทูลเสริมว่า"บุคคลทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่งเรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก"
 เทวดาองค์ที่สี่ทูลเริมว่า"บุคคลทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางญาติ"
 เทวดาองค์ที่ห้าทูลเสริมว่า"สัตว์ทั้งหลายทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วย่อมไปสู่สุคติ"
 เทวดาองค์ที่หกทูลเริมว่า"สัตว์ทั้งหลายทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วย่อมดำรงอยู่สบายเนืองๆ"
 เทวดาองค์ที่เจ็ดทูลถามว่า"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคคำของใครเป็นสุภาษิต ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างบุคคลนั่งร่วม ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลทราบสัทธรรมของสัตบุรุษแล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง" (อัง.๑๕/สัพภิสูตร/๗๘-๘๕/๒๐-๒๑)อรรถกถาธิบาย
 เทวดาสตุลลปกายิกาคือเทวดาผู้ยกย่องกันด้วยอำนาจแห่งการสมาทานธรรมของสัตบุรุษแล้วบังเกิดในสวรรค์มีเรื่องเล่าว่า ชนจำนวนมากด้วยกันได้ทำการค้าทางทะเล ใช้เรื่อแล่นไปสู่ทะเลเมื่อเรือแล่นไปอยู่โดยเร็วปานลูกธนูอันบุคคลซัดไปแล้ว ในวันที่ ๗จึงเกิดเหตุร้ายใหญ่ในท่ามกลางทะเล คือ คลื่นใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว น้ำเข้าเต็มลำเรือเมื่อเรือกำลังจะจมลง มหาชนจึงนึกถึงชื่อเทวดาของตน ๆแล้วกระทำกิจมีการอ้อนวอนเป็นต้นคร่ำครวญแล้ว
 ในท่ามกลางชนเหล่านั้นบุรุษคนหนึ่งนึกว่า เราต้องประสบภัยร้ายเห็นปานนี้แน่ จึงนึกถึงธรรมของตนเห็นแล้วซึ่งสรณะทั้งหลายและศีลทั้งหลายก็บริสุทธิ์แล้ว จึงนั่งขัดสมาธิดุจพระโยคีพวกชนทั้งหลายจึงถามท่านถึงเหตุอันไม่กลัวนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นจึงกล่าวว่าดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ใช่แล้ว เราไม่กลัวภัยเห็นปานนี้เพราะเราถวายทานแก่หมู่แห่งภิกษุในวันที่ขึ้นเรือเราได้รัยสรณะทั้งหลายและศีลทั้งหลาย เหตุนั้น เราจึงไม่กลัวชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่นายก็สรณะและศีลเหล่านี้สมควรแก่ชนพวกอื่นบ้างหรือไม่ ? เขาตอบว่า ใช่แล้วธรรมเหล่านี้ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่าน ชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นขอท่านบัณฑิตจงให้แก่พวกเราบ้าง
 บุรุษผู้เป็นบัณฑิตจึงจัดทำมนุษย์เหล่านั้นให้เป็นพวกละร้อยคนรวมเป็น ๗ พวกด้วยกัน ต่อจากนั้นก็ให้ศีล ๕ ในบรรดาชน ๗ พวกนั้นชนจำนวนร้อยคนพวกแรกตั้งอยู่ในน้ำมีข้อเท้าเป็นประมาณจึงได้รับศีล พวกที่ ๒ตั้งอยู่ในน้ำมีเข่าเป็นประมาณ… พวกที่ ๓ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะเอวเป็นประมาณ… พวกที่ ๔ตั้งอยู่ในน้ำมีสะดือเป็นประมาณ… ชนพวกที่ ๕ ตั้งอยู่ในน้ำมีนมเป็นประมาณ… พวกที่ ๖ตั้งอยู่ในน้ำมีคอเป็นประมาณ… พวกที่ ๗ น้ำทะเลกำลังจะไหลเข้าปาก จึงได้รับศีล ๕แล้ว ชนผู้เป็นบัณฑิตให้ศีลแล้ว จึงประกาศเสียงกึกก้องว่าสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเฉพาะของพวกท่านไม่มีพวกท่านจงรักษาศีลเท่านั้น
 ชนทั้ง ๗๐๐ ทำกาละในทะเลนั้นแล้วไปบังเกิดขึ้นในภพดาวดึงส์ เพราะอาศัยศีลอันตนรับเอาในเวลาใกล้ตายวิมานทั้งหลายของเทวดาเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเป็นหมู่เดียวกันวิมานทองของอาจารย์มีประมาณร้อยโยชน์เกิดในท่ามกลางแห่งวิมานทองทั้งหมดเทพที่เหลือเป็นบริวารของเทพที่เป็นอาจารย์นั้นวิมานที่ต่ำกว่าวิมานทั้งหมดนั้นก็ยังมีประมาณถึง ๑๒ โยชน์เทพเหล่านั้นได้พิจารณาผลกรรมในขณะที่ตนเกิดแล้ว ทราบแล้วซึ่งการได้สมบัตินั้นเพราะอาศัยอาจารย์ จึงกล่าวกันว่า พวกเราจักไปพวกเราจักกล่าวสรรเสริญคุณแห่งอาจารย์ของพวกเราในสำนักแห่งพระทศพลแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาระหว่างมัชฌิมยาม

 ๑.๑๔เรื่องเหตุที่ให้ทานไม่ได้
 พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกันมีวรรณะอันงามยิ่งนัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ณพระมหาวิหารเชตวัน ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
 เทวดาองค์ที่หนึ่งทูลว่า"เพราะความตระหนี่และความประมาท บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ ผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้"
 เทวดาองค์ที่สองทูลเสริมว่า"คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่ได้ภัยนั้นย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหายใดความหิวและความกระหายนั้น ย่อมถูกต้องคนตระหนี่ผู้เป็นพาลทั้งโลกนี้และโลกหน้าฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิดเพราะบุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า"
 เทวดาองค์ที่สามทูลเสริมว่า"ชนทั้งหลายเหล่าใดเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้เหมือนพวกเดินทางไกลก็แบ่งของให้แก่พวกเดินทางร่วมกันชนทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าไม่ตายธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อยนับเสมอด้วยพัน"
 เทวดาองค์ที่สี่ทูลเสริมว่า"ทานพวกชนพาลเมื่อให้ ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกชนพาลเมื่อทำ ทำได้ยากพวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของสัตบุรุษอันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก ฉะนั้นการไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษและของอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรกส่วนพวกสัตบุรุษย่อมไปสู่สวรรค์"
 เทวดาองค์ที่ห้าทูลถามว่า"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครเป็นสุภาษิต ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า" คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างบุคคลย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภรรยาและเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่งหรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะการบูชาของบุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น"
 เทวดาองค์ที่หกทูลถามว่า"การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ย่อมไม่ถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความประพฤติธรรมเพราะเหตุอะไร เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่งหรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะการบูชาของบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"เพราะบุคคลเหล่าหนึ่งตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม) โบยเขาฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตาจัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ (ประพฤติธรรม)" (สัง.๑๕/มัจฉริยสูตร/๘๖-๙๓/๒๑-๒๓)

 ๑.๑๕เรื่องวิบากกรรมของคนตระหนี่
 เทวดาทูลถามว่า"คนในโลกนี้เป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขาทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่ วิบากของเขาจะเป็นอย่างไรและสัมปรายภพจะเป็นเช่นไร ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า"คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน หรือยมโลกถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ก็เกิดในสกุลคนยากจน ซึ่งจะหาผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก"
 เทวดาทูลถามว่า"เขาได้ความเป็นมนุษย์แล้วแล้ว รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพอย่างแรงกล้าวิบากของเขาจะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพจะเป็นเช่นไรไฉนข้าพระองค์จึงจะรู้ความข้อนั้น ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า"เขาย่อมปรากฏในสวรรค์อันเป็นที่อุบัติหากถึงความเป็นมนุษย์ย่อมเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง ได้ผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานโดยไม่ยาก พึงมีอำนาจแผ่ไปในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้บันเทิงใจอยู่ นั่นเป็นวิบากในภพนี้ ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติ" (สัง.๑๕/มัจฉริสูตร/๑๔๘-๑๕๑/๓๘-๓๙)อรรถกถาธิบาย
 จริงอยู่คนบางคนไม่ยอมเหยียดมือออกไหว้ภิกษุทั้งหลายในที่เป็นที่อยู่ของตน ตัวอย่างเช่นอุบาสกคนหนึ่งไปในที่อื่นเข้าไปสู่วิหารไหว้โดยเคารพแล้วทำการทักทายปราศรัยกับภิกษุด้วยถ้อยคำอันไพเราะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ที่เป็นที่อยู่ของพวกกระผม ที่นั้นเป็นประเทศอันสมบูรณ์พวกกระผมสามารถเพื่อทำการบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายด้วยยาคูและภัตเป็นต้นภิกษุคิดว่าอุบาสกนี้มีศรัทธาจะสงเคราะห์พวกเราด้วยข้าวยาคูเป็นต้นพระเถระรูปหนึ่งเข้าไปบ้านนั้นเพื่อเที่ยวบิณฑบาตฝ่ายอุบาสกนั้นเห็นพระเถระนั้นแล้วย่อมเลี่ยงไปทางอื่นหรือเข้าไปสู่เรือนด้วยคิดว่า ถ้าพระเถระมาประจัญหน้า เราก็ต้องยกมือไหว้แล้วก็ต้องถวายภิกษาแก่พระผู้เป็นเจ้า อย่ากระนั้นเลยเราจะไปด้วยการงานอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วหลบหลีกไป พระเถระเที่ยวไปสู่บ้านทั้งสิ้นเป็นผู้มีบาตรเปล่าออกมาแล้วข้อนี้ชื่อว่าความตระหนี่อย่างอ่อน
 บุคคลมิใช่ทายกย่อมทำราวกะว่าเป็นทายกคือเป็นผู้ประกอบด้วยเหตุอันใดนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาบุคคลผู้มีความตระหนี่จัดคืออุบาสกนั้นประกอบด้วยความตระหนี่อันใด เมื่อมีผู้กล่าวว่าภิกษุทั้งหลายเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พระเถระทั้งหลายยืนอยู่แล้ว ก็พูดว่าเท้าของเราเจ็บมิใช่หรือ จะเป็นผู้กระด้างยืนอยู่ดุจเสาหิน หรือดุจตอไม้ย่อมไม่กระทำแม้สามีจิกรรม
 คำว่า ดีแต่ว่าเขา คือคนตระหนี่เห็นภิกษุทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูบ้านก็จะคุกคามด้วยคำว่า พวกท่านไถนามาหรือหว่านข้าวมาจึงมาเร็วนัก แม้พวกเราก็ยังไม่ได้เพื่อตนจักได้อาหารเพื่อท่านแต่ที่ไหน เป็นต้น
 คำว่า ทำการกีดขวาง คือคนตระหนี่เป็นผู้ทำอันตรายทั้งหลายของชนเหล่านี้ คือ ทำอันตรายสวรรค์ของทายกทำอันตรายลาภของปฏิคาหก และทำลายตัวเอง เขาย่อมเข้าถึงยมโลก
 คำว่ารู้ถ้อยคำ ความว่า ภิกษุทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูบ้าน ถึงจะเป็นผู้นิ่งก็จริงถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่าย่อมกล่าวว่า ขอพวกท่านจงให้ภิกษาเพื่อประโยชน์ คือชนเหล่าใดย่อมแบ่งไทยธรรมโดยกล่าวว่า พวกเราจะหุงภัต ชนพวกนี้ย่อมไม่หุงเมื่อเราไม่หุงอยู่ พวกภิกษุจักได้ภัตแต่ที่ไหน เพราะเหตุนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าผู้รู้ถ้อยคำ

 ๑.๑๖เรื่องอานิสงส์การให้ทาน
 เทวดาสตุลลปกายิกาองค์ที่หนึ่งเปล่งอุทานว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้เพราะความตระหนี่และความประมาทอย่างนี้ คนจึงให้ทานไม่ได้ คนผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่พึงให้ทานได้"
 เทวดาองค์ที่สองเปล่งอุทานว่า"ของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ คนพวกหนึ่งมีของน้อยย่อมแบ่งให้ได้ คนพวกหนึ่งมีของมากก็ให้ไม่ได้ทักษิณาที่ให้ของน้อยก็นับเสมอด้วยพัน"
 เทวดาองค์ที่สามเปล่งอุทานว่า"ทานที่ให้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าทานและการรบเสมอกันพวกวีรบุรุษแม้มีน้อยย่อมชนะคนขลาดที่มากได้ถ้าคนเชื่ออยู่ย่อมให้สิ่งของแม้น้อยก็ได้ ฉะนั้นทายกย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า"
 เทวดาองค์ที่สี่เปล่งอุทานว่า"ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้วยิ่งเป็นการดีคนเกิดมาแล้วย่อมให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้วผู้มีธรรมอันบรรลุแล้วด้วยความหมั่นและความเพียร ย่อมล่วงพ้นนรกแห่งยมราชเข้าถึงสถานที่อันเป็นทิพย์"
 เทวดาองค์ที่ห้าเปล่งอุทานว่า"การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทานที่ให้แก่คนผู้มีธรรมอันได้แล้วยิ่งเป็นการดี ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดีพระสุคตทรงสรรเสริญทานที่เลือกให้คนทั้งหลายผู้ควรแก่ทักษิณาย่อมมีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์นี้ทานทั้งหลายอันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลายย่อมมีผลมากเหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี"
 เทวดาองค์ที่หกเปล่งอุทานว่า"ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดีคนประพฤติธรรมเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายอยู่ ไม่ทำบาปเพราะกลัวความติเตียนของผู้อื่นบัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาผู้ซึ่งเป็นผู้กลัวบาปแต่ไม่สรรเสริญคนผู้กล้าในการทำบาป สัปบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาปเพราะความกลัวบาป"
 เทวดาองค์ที่เจ็ดทูลถามว่า"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำพูดของใครเป็นสุภาษิต ?"
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"คำพูดของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย แต่พวกทานจงฟังคำของเราบ้างก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมาก แต่ธรรมบท (นิพพาน) ประเสริฐกว่าทานเพราะสัปบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่าก็ดีบรรลุนิพพานแล้ว" (สัง.๑๕/สาธุสูตร/๙๔-๑๐๑/๒๓-๒๕)

 ๑.๑๗เรื่องผลของการให้ทาน
 เทวดาองค์หนึ่งได้ทูลว่า"โลก(คือหมู่สัตว์)อันชราและมรณะเผาแล้วควรนำออก(ซึ่งโภคสมบัติ)ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว เปรียบเหมือนเมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้วเจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขาส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไป ย่อมไหม้ในไฟนั้นฉะนั้นทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีผลเป็นสุข ที่ยังมิได้ให้ย่อมมีผลเป็นเช่นนั้นโจรยังปล้นได้ พระราชายังริบได้ เพลิงยังไหม้ได้ หรือสูญหายไปได้บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วย ตายจากไป ผู้มีปัญญารู้ชัดควรใช้สอยและให้ทาน เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว จะไม่ถูกติฉินเข้าถึงสถานที่อันเป็นสวรรค์" (สัง.๑๕/อาทิตตสูตร/๑๓๕-๑๓๖/๓๕)

 ๑.๑๘เรื่องเทพชุมนุม
 พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กับหมู่ภิกษุอรหันต์๕๐๐ องค์ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พวกเทวดามาจาก ๑๐โลกธาตุแล้วประชุมกันเพื่อจะเฝ้าพระพุทธองค์และเหล่าพระอรหันต์ เทวดา ๔องค์ผู้เกิดในเหล่าพรหมชั้นสุทธาวาสได้ทราบว่า มีเทวดามาประชุมกัน ณ ป่ามหาวันเป็นจำนวนมาก มีความดำริจะมาเฝ้าแล้วกล่าวคาถาคนละคาถาจึงได้หายตัวมาจากพรหมชั้นสุทธาวาสมาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกหรือคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น
 เทวดาองค์ที่หนึ่งทูลว่า"การประชุมใหญ่ในป่ามหาวันมีพวกเทวดามาประชุมกันแล้ว พวกข้าพเจ้ามาสู่ธรรมสภานี้เพื่อจะเยี่ยมหมู่พระผู้ที่ใคร ๆให้แพ้ไม่ได้"
 เทวดาองค์ที่สองทูลว่า"ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมตั้งจิตมั่นแล้ว ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้วภิกษุทั้งปวงเป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลายดุจนายสารถีถือบังเหียนฉะนั้น"
 เทวดาองค์ที่สามทูลว่า"ภิกษุทั้งหลายตัดกิเลสดังตะปูเสียแล้ว ตัดกิเลสดังลิ่มสะลักเสียแล้วถอนกิเลสดังเสาเขื่อนเสียแล้ว มิได้มีความหวั่นไหวเป็นผู้หมดจดปราศจากมลทินอันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้วเป็นหมู่นาคหนุ่มประพฤติอยู่"
 เทวดาองค์ที่สี่ทูลว่า"ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล้วชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์" (สัง.๑๕/สมยสูตร/๑๑๕-๑๒๑/๒๙-๓๐)อรรถกถาธิบาย
 พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระมหากรุณาสมาบัติในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีแล้วตรวจดูสัตว์โลกอยู่ได้ทรงเห็นเจ้าศากยะและโกลิยะเหล่านั้นตระเตรียมรบอย่างนี้ออกไปแล้วจึงทรงใคร่ครวญว่า เมื่อเราไปแล้ว ความทะเลาะนี้จักสงบหรือไม่หนอ ได้ตกลงพระทัยว่าเราจักไปในที่นั้นแล้วจักกล่าวชาดก ๓ ชาดกเพื่ออันเข้าไปสงบระงับความทะเลาะวิวาทกัน ต่อจากนั้น เราจักแสดงชาดก ๒ ชาดกเพื่อแสดงความสามัคคีแล้วจักแสดงอัตตทัณฑสูตรชาวพระนครทั้งสองฟังเทศนาแล้วก็จะถวายพระกุมารตระกูลละ ๒๕๐เราจักยังกุมารเหล่านั้นให้บรรพชา สมาคมใหญ่จักมี มิได้ทรงบอกใคร ๆทรงถือเอาบาตรจีวรด้วยพระองค์เองเสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศในระหว่างเสนามาตย์ทั้งสองพระนครทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีแล้ว
 พวกชาวพระนครกบิลพัสดุ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่าพระศาสดาผู้ประเสริฐเป็นพระญาติของพวกเราเสด็จมาความบาดหมางกันของพวกเราพระองค์ทรงทราบแล้วหนอ จึงคิดว่าก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วพวกเราไม่อาจเพื่อจะใช้ศาสตรายังสรีระของผู้อื่นให้ตกไปพวกชาวโกลิยนครจงฆ่าพวกเราหรือจงเผาพวกเราก็ตามจึงพากันทิ้งอาวุธทั้งหลายแล้วนั่งลงถวายบังคมพระบรมศาสดาแท้ชาวโกลิยนครก็คิดเหมือนอย่างนั้นพากันทิ้งอาวุธแล้วจึงนั่งถวายบังคมพระบรมศาสดาเหมือนกัน
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่ทรงทราบอยู่ก็ตรัสถามว่าดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาเพราะเหตุอะไร ?
 พระราชาทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพวกข้าพระองค์มิได้มาในที่นี้เพื่อเล่นกีฬาที่ท่าน้ำ ที่ภูเขา ที่แม่น้ำหรือชมทิวทัศน์ภูเขาแต่พวกข้าพระองค์ยังสงครามให้เกิดขึ้นแล้วจึงมา
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่าพระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงวิวาทกัน ?
 พระราชาทูลว่าน้ำพระเจ้าข้า
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า น้ำมีค่ามากหรือ ?
 พระราชาทูลว่ามีค่าน้อยพระเจ้าข้า
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แผ่นดินมีค่าหรือ ?
 พระราชาทูลว่าหาค่ามิได้พระเจ้าข้า
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่ากษัตริย์ทั้งหลายมีค่าหรือ ?
 พระราชาทูลว่าธรรมดากษัตริย์ทั้งหลายหาค่ามิได้
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตรพระองค์อาศัยน้ำอันมีค่าเพียงเล็กน้อยยังกษัตริย์ทั้งหลายอันหาค่ามิได้ให้พินาศไปเพื่อประโยชน์อะไรธรรมดาว่าความพระทัยในความบาดหมางกันย่อมไม่มีความอาฆาตอันรุกขเทวดาองค์หนึ่งกับหมีผูกพันกันแล้วเพราะทำเวรในสิ่งที่ไม่ควรด้วยอำนาจแห่งความทะเลาะกันความอาฆาตนั้นจักเป็นไปตลอดกัปทั้งสิ้นแล้วตรัสผันทนชาดก
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตรพระองค์ไม่พึงเป็นผู้ชื่อว่ามีบุคคลอื่นเป็นปัจจัยเพราะว่าบุคคลมีผู้อื่นเป็นปัจจัยแล้วหมู่สัตว์จตุบาททั้งหลายในหิมวันต์อันแผ่ไปตั้งสามพันโยชน์จึงได้พากันแล่นไปแล้วยังมหาสมุทรด้วยถ้อยคำของกระต่ายตัวหนึ่งพระองค์จึงไม่ควรมีผู้อื่นเป็นปัจจัยแล้วตรัสปฐวีอุทริยชาดก
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ในกาลไหน ๆสัตว์ที่มีกำลังทรามเห็นอยู่ซึ่งโทษ เห็นโอกาสที่ประทุษร้ายสัตว์ที่มีกำลังมากหรือว่าในกาลไหน ๆสัตว์ที่มีกำลังมากเห็นโทษเห็นโอกาสที่จะประทุษร้ายสัตว์ที่มีกำลังทรามมีอยู่เพราะว่า นางนกมูลไถ (คล้ายนกกระจาบฝนแต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย) ก็ยังช้างให้ตายได้แล้วตรัสลฏกิชาดก
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดกทั้ง ๓เพื่อต้องการความสงบระงับแห่งความวิวาทอย่างนี้แล้ว เพื่อต้องการแสดงความสามัคคีจึงตรัสว่า มหาบพิตร จริงอยู่ ใคร ๆย่อมสามารถเห็นช่องทางแห่งความเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน แล้วก็ตรัสรุกขธัมมชาดกจากนั้น ก็ตรัสอีกว่า มหาบพิตร ใคร ๆสามารถเพื่อเห็นช่องทางแห่งผู้พร้อมเพรียงกันได้ ก็ในกาลใดชนทั้งหลายทำความบาดหมางซึ่งกันและกัน ในกาลนั้นบุตรของนายพรานจึงพาชนเหล่านั้นไปฆ่าเสียขึ้นชื่อว่าความชอบใจในความวิวาทกันจึงไม่มี แล้วตรัสวัฏฏกชาดกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดกครบ ๕ ชาดกอย่างแล้วในที่สุดก็ตรัสอัตตทัณฑสูตร
 พระราชาผู้อยู่ในพระนครทั้งสองทรงเลื่อมใสแล้วตรัสว่าถ้าพระศาสดาไม่เสด็จมาแล้วไซร้ พวกเราทั้งหลายผู้มีอาวุธในมือจักฆ่าซึ่งกันและกันจักยังแม่น้ำคือโลหิตให้ไหลไปพวกเราทั้งหลายก็จักไม่เห็นบุตรและพี่ชายน้องชายพวกเรา จักไม่เห็นแม้ประตูบ้านการนำข่าวสาส์นและการตอบข่าวสาส์นของพวกเราก็จักไม่ได้มีแล้วชีวิตของพวกเราได้แล้วเพราะอาศัยพระศาสดาก็ถ้าว่าพระศาสดาได้อยู่ครอบครองราชสมบัติไซร้บริวารสองพันทวีปก็จักอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ซึ่งเสวยราชสมบัติในทวีปทั้ง ๔ทั้งบุตรของพระองค์ก็พึงมีเกินพันแน่พระองค์ก็จักมีกษัตริย์เป็นบริวารเที่ยวเสด็จไปแต่พระองค์ทรงสละราชสมบัตินั้นแล้วเสด็จออกมหาภิเนษหรมณ์ บรรลุสัมโพธิญาณแล้วในบัดนี้ก็ขอให้พระองค์มีกษัตริย์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวไปเถิดแล้วถวายพระกุมารตระกูลละ ๒๕๐องค์
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระกุมารเหล่านั้นให้บวชแล้วเสด็จไปสู่ป่ามหาวันความยินดียิ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้นผู้บวชด้วยความเคารพตามความพอใจของตนภรรยาเก่าของท่านเหล่านั้นก็คิดว่า การครองเรือนอยู่ลำบาก ขอพระลูกเจ้าจงสึกเถิดเป็นต้น แล้วส่งข่าวนั้นไป ภิกษุเหล่านั้นมีความกระวนกระวายใจเป็นอันมากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ทรงทราบแล้วซึ่งความที่ภิกษุเหล่านั้นไม่มีความยินดีทรงพระดำริว่าพวกภิกษุเหล่านี้อยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรายังกระสันอยากสึกอยู่เอาเถอะ เราจักพรรณนาถึงทะเลสาบแห่งนกดุเหว่าแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้วนำไปในที่นั้นก็จักบรรเทาความไม่ยินดีได้แล้วได้กล่าวพรรณนาถึงทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งนกดุเหว่านั้นแก่ภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นใคร่เพื่อจะเห็นทะเลสาบแห่งนกดุเหว่านั้น
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใคร่เพื่อจะเห็นหรือ ?
 พวกภิกษุกราบทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ใคร่เพื่อจะเห็นพระเจ้าข้า
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าพวกเธอประสงค์อย่างนี้ก็จงมาเราจักไป
 พวกภิกษุกราบทูลถามว่าพวกข้าพระองค์จักไปสู่ที่เป็นที่เข้าถึงของบุคคลผู้มีฤทธิ์ได้อย่างไร ?
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอใคร่จะไปเราก็จักไปด้วยอานุภาพของเรา
 พวกภิกษุกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหาะขึ้นไปในอากาศแล้วหยุดลงที่ทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพวกนกดุเหว่าแล้วตรัสว่า ในทะเลสาบอันเป็นที่อยู่แห่งนกดุเหว่านี้พวกเธอยังไม่รู้จักชื่อปลาเหล่าใด จงถามเรา ภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกคำอันพวกภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆทรงอนุญาตให้พวกภิกษุเหล่านั้นทูลถามชื่อปลาเหล่านั้นก็หามิได้ให้ทูลถามถึงชื่อแห่งต้นไม้ทั้งหลายในไพรสณฑ์นั้นบ้างชื่อแห่งพวกนกมีสองเท้าและสัตว์สี่เท้าบ้างและก็ตรัสบอกแล้ว
 นกดุเหว่าผู้เป็นสกุณราชเกาะที่ท่อนไม้อันพวกนกเหล่านั้นใช้จงอยปากคาบถือเอาไว้แวดล้อมมาอยู่ด้วยหมู่แห่งนกทั้งสองข้างคือ ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง พวกภิกษุเห็นนกนั้นแล้วทูลถามว่าพวกข้าพระองค์ย่อมสำคัญว่า นกดุเหว่าตัวนั้นจักเป็นราชาแห่งพวกนกเหล่านี้พวกนกเหล่านี้จักเป็นบริวารของนกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่างนั้นข้อนี้ก็เป็นเช่นวงศ์ของพวกเรา เป็นประเพณีของเราเหมือนกัน ภิกษุกราบทูลว่าในบัดนี้ พวกข้าพระองค์เห็นนกเหล่านี้เท่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำใดว่าแม้นี้ก็เป็นวงศ์ของเรา เป็นประเพณีของเราเหมือนกันพวกข้าพระองค์ใคร่เพื่อจะสดับฟังพระดำรัสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่าพวกเธอต้องการจะฟังหรือ ? พวกภิกษุรับพระดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังแล้วตรัสกุณาลชาดกอันประดับด้วยพระคาถา ๓๐๐ คาถาทรงบรรเทาแล้วซึ่งความไม่ยินดียิ่งของพวกภิกษุเหล่านั้น ในเวลาจบเทศนาภิกษุทั้งหมดตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโสดาปัตติผลแม้ฤทธิ์ของภิกษุเหล่านั้นก็มาแล้วด้วยมรรคนั้น จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไปในอากาศ ได้เสด็จไปสู่ป่ามหาวันแล้ว ภิกษุเหล่านั้นในเวลาไป ได้ไปด้วยอานุภาพของพระทศพล ในเวลามาได้แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหยั่งลงในป่ามหาวันด้วยอานุภาพของตน
 พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาด้วยคำว่าพวกเธอจงมานั่ง เราจักบอกกรรมฐานแก่พวกเธอซึ่งยังมีกิเลสที่ควรฆ่าด้วยมรรค ๓เบื้องบน แล้วตรัสบอกกรรมฐาน ภิกษุทั้งหลายคิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงความที่พวกเรามีความไม่ยินดียิ่งจึงทรงนำมายังทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพวกนกดุเหว่าทรงบรรเทาความไม่ยินดีโดยตรัสกุณาลชาดก เมื่อพวกเราบรรลุโสดาปัตติผลในที่นั้นแล้วบัดนี้ ได้ประทานกรรมฐานเพื่อบรรลุมรรค ๓ ในที่ป่ามหาวันนี้ก็การที่พวกเราให้เวลาผ่านไปโดยคิดว่า พวกเราเข้าถึงกระแสธรรมแล้ว ย่อมไม่สมควรเลยการที่พวกเราเป็นเช่นกับชนทั้งหลายก็ไม่สมควรจึงถวายบังคมพระยุคลบาทแล้วลุกขึ้นจับผ้านิสีทนะสำหรับนั่งสะบัดแล้วปูนั่งในที่เฉพาะตนและนั่งแล้วที่โคนไม้ใกล้เงื้อมเขา
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่าภิกษุเหล่านี้จะมีการงานยังไม่คุ้นแล้วตามปกติแต่ชื่อว่าเหตุที่ทำให้ลำบากของภิกษุผู้ได้อุบายแล้วย่อมไม่มีเมื่อภิกษุเหล่านี้แยกย้ายกันไปปฏิบัติเริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วก็จักมาสู่สำนักของเราด้วยประสงค์ว่าพวกเราจักบอกคุณวิเศษที่ตนแทงตลอดแล้ว เมื่อภิกษุเหล่านั้นมาแล้วพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลจักประชุมกันในจักรวาลหนึ่ง มหาสมัยคือการประชุมใหญ่จักมีเราจึงควรนั่งในโอกาสอันสงัด จึงเสด็จประทับนั่ง ณพุทธอาสนะในที่อันสงัด
 พระเถระผู้ไปถือเอากรรมฐานก่อนกว่าภิกษุทั้งหมดบรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตพร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายต่อจากนั้น ภิกษุอื่นอีก ๆ โดยทำนองนี้ ขยายออกไปจนถึง ๕๐๐ รูปบรรลุพระอรหัตพร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายเหมือนดอกปทุมทั้งหลายขยายออกไปจากกอปทุมฉะนั้น
 ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตก่อนกว่าภิกษุทั้งปวงคิดว่าเราจักกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงแยกบัลลังก์แล้วลุกขึ้นจับผ้านิสีทนะสะบัดแล้วได้มุ่งหน้าต่อพระทศพลไปแล้วภิกษุอื่นอีก ๆ ด้วยอาการอย่างนี้ ทั้ง ๕๐๐ รูปได้ไปแล้ว

 

โดยลำดับราวกะว่าเข้าไปสู่โรงฉันอาหารภิกษุผู้มาก่อนถวายบังแล้วปูผ้านิสีทนะแล้วก็นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบอกคุณวิเศษที่ตนแทงตลอดแล้วและเหลียวกลับแลดูทางที่ตนมาด้วยคิดว่าใคร ๆ อื่นมีอยู่หรือไม่หรอ ไม่เห็นแล้วแม้บุคคลอื่นเลย เพราะเหตุนั้นภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดมาแล้ว นั่งแล้ว ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ๆภิกษุนี้มาอยู่ก็ไม่บอกแก่ภิกษุนี้ แม้ภิกษุนี้มาแล้วก็ไม่บอกแก่ภิกษุนี้เหมือนกันได้ยินว่า อาการ ๒ อย่างย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย คือ ท่านยังจิตให้เกิดขึ้นว่าโอหนอสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงแทงตลอดซึ่งคุณอันเราแทงตลอดได้โดยพลันเหมืแอนกันเถิดและพระขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่ประสงค์จะบอกคุณวิเศษแก่กันและกันเหมือนบุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์แล้วไม่บอกขุมทรัพย์อันตนรู้เฉพาะแล้วนั้น
 เมื่อริยมณฑลคือมรรคอันยังผลให้เกิดขึ้นอย่างนี้เกิดขึ้นแล้วมณฑลแห่งพระจันทร์เพ็ญก็ปรากฏจากเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ หมอก น้ำค้าง ควันไฟธุลี และราหู (เจ้าแห่งพวกอสูร) โดยรอบเทือกเขายุคันธรแห่งทิศปราจีนอันประกอบด้วยสิริดุจล้ออันสำเร็จด้วยเงินที่บุคคลจับให้หมุนไปอยู่โลดแล่นขึ้นดำเนินไปสู่กลางหาวเหมือนมณฑลแห่งแว่นใหญ่อันสำเร็จแล้วด้วยเงินที่ยกขึ้นไว้ทางทิศปราจีนเพื่อแสดงถึงสิ่งซึ่งเป็นที่น่าเพลิดเพลินของโลกที่ประดับด้วยพุทธุปบาทนี้ฉะนั้น
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในสักกชนบทชั่วขณะหนึ่งคือเป็นเวลาชั่วระยะหนึ่งครู่หนึ่งกับด้วยหมู่แห่งภิกษุ ๕๐๐ รูปซึ่งเป็นหมู่ใหญ่ในป่าใหญ่ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ภิกษุทั้งหมดเป็นพระอรหันต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นในวงศ์แห่งพระเจ้ามหาสมมตพวกภิกษุเหล่านั้นก็เกิดในตระกูลของพระเจ้ามหาสมมตพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ภิกษุเหล่านั้นก็เกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นราชบรรพชิตภิกษุเหล่านั้นเป็นราชบรรพชิตพระผู้มีพระภาคทรงเศวตฉัตรสละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ผนวชแล้วภิกษุเหล่านั้นก็ละเศวตรฉัตรสละความเป็นพระราชาทั้งหลายอันอยู่ในเงื้อมมือบวชแล้ว
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยพระองค์เองในโอกาสอันบริสุทธิ์แล้วในส่วนแห่งราตรีอันบริสุทธิ์แล้วทรงมีบริวารอันบริสุทธิ์แล้ว ซึ่งมีราคะปราศจากไปแล้วมีบริวารซึ่งมีราคะปราศจากไปแล้ว มีโทสะปราศจากไปแล้วมีบริวารซึ่งมีโทสะปราศจากแล้ว มีโมหะปราศจากไปแล้วมีบริวารซึ่งมีโมหะปราศจากไปแล้ว มีตัณหาออกแล้ว มีบริวารผู้มีตัณหาออกแล้วไม่มีกิเลส มีบริวารผู้ไม่มีกิเลส ทรงสงบระงับแล้ว มีบริวารผู้สงบระงับแล้วทรงฝึกดีแล้ว มีบริวารที่ฝึกดีแล้ว ทรงเป็นผู้พ้นแล้ว มีบริวารผู้พ้นแล้วจึงรุ่งโรจน์ยิ่งในป่าใหญ่นั้น คำว่า สักกะนี้มีมากประมาณเพียงไรบัณฑิตพึงกล่าวเพียงนั้น นี้ชื่อว่าวรรณภูมิ คำว่า ภิกษุมีประมาณ ๕๐๐รูปล้วนเป็นพระอรหันต์นี้ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุเหล่านี้
 เทวดาผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ป่ามหาวันส่งเสียงดังว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจงมาชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก การฟังธรรมมีอุปการะมากการเห็นพระสงฆ์ก็มีอุปการะมาก พวกเราทั้งหลายจงมา ๆ เถิดจึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระขีณาสพซึ่งบรรลุพระอรหัตในครู่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง โดยอุบายนี้พวกเทวดาทั้งหลายฟังเสียงเทวดาเหล่านั้นสิ้นสามครั้งในหิมวันต์อันแผ่ออกไปสามพันโยชน์ด้วยสามารถแห่งเสียงมีเสียงระหว่างกึ่งคาวุตหนึ่งคาวุต กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์เป็นต้น พวกเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้นคือผู้อาศัยอยู่ในพระนคร ๖๓ พัน ที่รางน้ำ ๙๙ แสน ที่เมืองท่า ๙๖ แสนและในที่เป็นที่เกิดแห่งรัตนะ คือทะเล ๕๖ แสน ในจักรวาลทั้งสิ้น คือในบุพวิเทหะอมรโคยานะ อุตตรกุรุและในทวีปเล็ก ๒ พัน ต่อจากนั้น เทวดาที่อยู่ในจักรวาลที่สองโดยทำนองนี้ บัณฑิตพึงทราบว่าพวกเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันแล้วห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้นก็เต็มไปด้วยเทวดาทั้งหลายผู้มาประชุมกันแล้วตั้งแต่พรหมโลกมาราวกะเข็มที่บุคคลทะยอยใส่ในกล่องเข็มโดยไม่ขาดระยะฉะนั้น
 ในที่นี้นั้น พึงทราบความสูงของพรหมโลกอย่างนี้ว่าในโลหปราสาทมีก้อนหินเท่าเรือนยอดแห่งบรรพต ตั้งอยู่ในพรหมโลกทิ้งก้อนหินนั้นลงมายังโลกมนุษย์นี้ ๔ เดือน จึงตกถึงแผ่นดิน ในโอกาสคือที่ว่างอันกว้างใหญ่อย่างนี้บุคคลยืนอยู่ข้างล่างขว้างปาดอกไม้หรือต้นไม้ย่อมไม่ได้เพื่อไปในเบื้องบนหรือยืนอยู่เบื้องบนเอาเมล็ดพรรณผักกาดโยนไปข้างล่างย่อมไม่ได้ช่องเพื่อตกไปในเบื้องล่างได้ ด้วยอาการอย่างนี้เทวดาทั้งหลายได้มาไม่ขาดระยะจนหาที่ว่างมิได้ อนึ่งที่เป็นที่ประทับนั่งของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมไม่คับแคบกษัตริย์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่เสด็จมาแล้ว ๆ ย่อมได้โอกาสคือช่องว่างทีเดียวความคับแคบยิ่งข้างนี้และข้างนี้ย่อมไม่มี ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นที่เป็นที่ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่คับแคบ ไม่มีสิ่งขัดขวางพวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่และพวกพรหมทั้งหลายมาแล้ว ๆยังที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่มีสิ่งขัดขวางย่อมได้โอกาสคือช่องว่างทีเดียว
 พวกเทพทั้งหลาย๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง เนรมิตอัตภาพให้เล็กแล้วอยู่ในที่สักว่าเจาะเข้าไปเท่าปลายขน ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มีพวกเทพเจ้า ๖๐ พวก ได้ยืนอยู่ข้างหน้าของเทวดาทั้งปวง
 พวกพรหมเหล่านั้นเข้าสมาบัติและก็ออกตามที่กำหนดไว้แล้วแลดูภพของพรหมทั้งหลายได้เห็นความว่างเปล่าเหมือนเรือนภัตในเวลาที่บุคคลกินแล้วในเวลาภายหลังภัตจึงพิจารณาดูว่า พวกพรหมเหล่านี้ไปไหน ทราบแล้วซึ่งสมาคมใหญ่ว่า สมาคมนี้พวกเราโดยมากซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ข้างหลังแล้วก็โอกาสของบุคคลผู้ล้าหลังย่อมหาได้ยากพวกเราเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่าควรแต่งคาถาองค์ละคาถาแล้วจักไปพวกเราจักให้เขารู้ซึ่งความที่ตนมาแล้วในสมาคมใหญ่ด้วยคาถานี้และจะกล่าวพรรณนาคุณของพระทศพลความดำรินี้จึงได้มีแล้วเพราะความที่พวกพรหมเหล่านั้นออกจากสมาบัติแล้วพิจารณา
 พวกพรหมเหล่านั้นดำรงอยู่ในพรหมโลกร้อยกรองคาถาทั้งหลายแล้วองค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปุรัตถิมทิศ (ทิตะวันออก)องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านทักษิณ (ทิศใต้)องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปัจฉิม (ทิศตะวันตก)องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านอุดร (ทิศเหนือ)
 พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปุรัตถิมทิศเข้าสมาบัติมีนีลกสิณเป็นอารมณ์แล้วปล่อยรัศมีสีเขียวยังเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้วเหมือนบุคคลสวมใส่อยู่ซึ่งหนังสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณีธรรมว่า พุทธวิถีใคร ๆก็ไม่อาจเพื่อจะให้ยิ่งกว่าพรหมจึงตามพุทธวิถีอันตนไม่สามารถผ่านไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่งได้ภาษิตคาถาที่ตนแต่งมา
 พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านทักษิณเข้าสามบัติมีปีตกสิณเป็นอารมณ์เดียวปล่อยรัศมีสีทองยังพวกเทวดาในเหมือนจักรวาลให้รู้ซึ่งความที่คนมาแล้ว เหมือนบุคคลห่มผ้าสีทองอยู่แล้วได้กระทำเหมือนอย่างนั้น
 พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปัจฉิมเข้าสมาบัติมีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์แล้วปล่อยรัศมีสีแดงยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้วเหมือนบุคคลพันกายด้วยผ้ากัมพลอันประเสริฐซึ่งมีสีแดงแล้วกระทำเหมือนอย่างนั้น
 พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านอุดรเข้าสมาบัติโอทาตกสิณแล้วปล่อยรัศมีสีขาวยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้วเหมือนบุคคลห่มอยู่ซึ่งแผ่นผ้าดอกมะลิแล้วได้ทำเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน

 ๑.๑๙เรื่องเทวดาสรรเสริญความอดทนของพระพุทธเจ้า
 พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ณ มิคทายวัน ในสวนมัททกุจฉิ เขตพระนครราชคฤห์ พระบาทของพระองค์ถูกสะเก็ดหิน (ที่พระเทวทัตกลิ้งแตกออก) กระทบแล้ว เวทนาเป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อนไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย มีในพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อนพระองค์รับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวาซ้อนพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่ พวกเทวดาสตุลลปกายิกา ๗๐๐องค์ ยังมัททกุจฉิให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
 เทวดาองค์ที่หนึ่งเปล่งอุทานว่า"พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นนาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนาเป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญไม่ทรงสบาย อันเกิดมีขึ้นในพระสรีระแล้ว โดยความที่พระสมณโคดมเป็นนาคมิได้ทรงเดือดร้อน"
 เทวดาองค์ที่สองเปล่งอุทานว่า"พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นสีหะ"
 เทวดาองค์ที่สามเปล่งอุทานว่า"พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นอาชาไนย"
 เทวดาองค์ที่สี่เปล่งอุทานว่า"พระสมณโตดมผู้เจริญเป็นผู้องอาจ"
 เทวดาองค์ที่ห้าเปล่งอุทานว่า"พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นผู้ใฝ่ธุระ"
 เทวดาองค์ที่หกเปล่งอุทานว่า"พระสมณโคดมเป็นผู้ฝึกแล้ว"
 เทวดาองค์ที่เจ็ดเปล่งอุทานว่า"ท่านทั้งหลายจงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญแล้วจิตที่พระสมณโคดมให้พ้นดีแล้ว จิตเป็นไปตามราคะที่พระสมณโคดมไม่ให้น้อมไปเฉพาะแล้วจิตเป็นไปตามโทสะที่พระสมณโคดมไม่ให้กลับมาแล้ว จิตที่พระสมณโคดมหาต้องตั้งใจข่มต้องคอยห้ามกันไม่ บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมผู้เป็นบุรุษนาค บุรุษสีหะบุรุษอาชาไนย บุรุษองอาจ บุรุษใฝ่ธุระบุรุษฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่าเป็นผู้อันตนพึงล่วงเกินบุคคลนั้นจะเป็นอะไรนอกจากไม่มีตา" แล้วได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า "พราหมณ์ทั้งหลายมีเวทห้า มีตบะ ประพฤติอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปีแต่จิตของเขาไม่พ้นแล้วโดยชอบ เขามีจิตเลวย่อมไม่ลุถึงฝั่งเขาเป็นผู้อันตัณหาครอบงำแล้ว เกี่ยวข้องด้วยพรตและศีลประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี แต่จิตของเขาไม่พ้นแล้วโดยชอบเขามีจิตเลวย่อมไม่ลุถึงฝั่ง ความฝึกฝนย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ใคร่มานะความรู้ย่อมไม่แก่บุคคลที่มีจิตไม่ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียวอยู่ในป่า ประมาทอยู่แล้วไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้ บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดีพ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว ผู้เดียวอยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้วบุคคลนั้นพึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้" (สัง.๑๕/สกลิกสูตร/๑๒๒/๑๓๐/๓๐-๓๒)อรรถกถาธิบาย
 ประวัติสวนมัททกุจฉิมีว่าเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูบังเกิดแล้วในครรภ์แล้วพระมารดามีความประสงค์จะให้ครรภ์ตกไปด้วยทรงดำริว่าครรภ์อันอยู่ในท้องของเรานี้จักเป็นศัตรูของพระราชา จะมีประโยชน์อะไรด้วยครรภ์นี้จึงให้ทำลายครรภ์ในสวนนั้น สวนนั้นจึงชื่อว่ามัททกุจฉิ ก็ป่าท่านเรียกว่ามิคทายเพราะความที่ป่านั้นอันพระราชาพระราชทานเพื่อความปลอดภัยแห่งเนื้อทั้งหลาย
 ก็พระเทวทัตอาศัยพระเจ้าอชาตศัตรูแล้วส่งนายขมังธนูทั้งหลายและช้างธนปาลกะไปแล้วก็ไม่อาจเพื่อทำอันตรายชีวิตของพระตถาคตได้ จึงคิดว่าเราจักยังพระตถาคตให้ตายด้วยมือของเราทีเดียวขึ้นสู่เขาคิฌกูฏแล้วยกศิลาใหญ่ประมาณเรือนยอดขว้างไปด้วยคิดว่าพระสมณโคดมจงแหลกละเอียด ได้ยินว่าพระเทวทัตนั้นมีกำลังมากย่อมทรงกำลังถึงช้างพลายห้าเชือกอันตรายแห่งชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะพึงมีได้ด้วยความพยายามของบุคคลอื่นข้อนั้นเป็นอฐานะ คือเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นศิลาอื่นจึงตั้งขึ้นในอากาศแล้วรับศิลาก้อนนั้นซึ่งมาอยู่ตรงพระสรีระของพระตถาคตสะเก็ดแผ่นหินอันใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว เพราะศิลาทั้งสองกระทบกันจึงกระเด็นไปถูกที่สุดของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบาทมีพระโลหิตห้อขึ้นราวกะถูกประหารด้วยขวานใหญ่ ราวกะย้อมด้วยน้ำเหล็วของครั่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูเบื้องบนแล้วได้ตรัสกะพระเทวทัตว่าท่านใดมีจิตประทุษร้ายแล้ว มิจิตฆ่าทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ ดูก่อนโมฆบุรุษท่านนั้นประกอบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ตั้งแต่นั้นมาความไม่ผาสุกได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกภิกษุคิดว่า วิหารนี้เป็นที่ดอนไม่เรียบ ไม่เหมาะแก่ชนจำนวนมากมีกษัตริย์เป็นต้น และแก่บรรพชิตทั้งหลายจึงช่วยกันหามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเสลี่ยงแห่งเตียงน้อยนำไปสู่สวนชื่อมัททกุจฉิพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อนทรงรับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวาซ้อนพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่
 การนอน ๔อย่างคือ กามโภคีไสยา คือการนอนของผู้มีปกติเสพกาม เปตไสย คือการนอนของเปรต สีหไสยาคือการนอนของสีหะ ตถาคตไสยา คือการนอนของพระตถาคต
 การนอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าสัตว์ผู้บริโภคกามโดยมากย่อมนอนโดยข้างเบื้องซ้าย (ตะแคงซ้าย)นี้ชื่อว่ากามโภคีไสยา จริงอยู่ในบรรดาสัตว์ผู้บริโภคกามเหล่านั้นชื่อว่านอนโดยข้างเบื้องขวา (ตะแคงขวา)มีไม่มาก
 การนอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าเปรตทั้งหลายโดยมากย่อมนอนหงาย นี้ชื่อว่าเปตไสยา จริงอยู่เปรตทั้งหลายย่อมไม่อาจเพื่อนอนโดยข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อและเลือดน้อยเพราะความที่โครงกระดูกยุ่งเหยิงจึงนอนหงายเท่านั้น
 การนอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าสีหมิคราชโดยมากให้หางของตนเข้าไปในระหว่างขาอ่อน แล้วนอนตะแคงขวานี้ชื่อว่าสีหไสยา จริงอยู่ สีหมิคราชมีอำนาจมาก เมื่อจะนอนก็วางเท้าหน้า ๒เท้าไว้ที่หนึ่ง วาง ๒ เท้าหลังไว้ที่หนึ่ง แล้วเอาหางใส่ไว้ในระหว่างขาอ่อนกำหนดโอกาสที่วางเท้าหน้า เท้าหลังและหางไว้แล้ววางศีรษะไว้บนเท้าหน้าทั้งสองแล้วนอน ครั้นนอนแม้ทั้งวันเมื่อตื่นก็ไม่ตกใจตื่น คือ ยกศีรษะขึ้นกำหนดโอกาที่วางเท้าหน้าเป็นต้น ถ้าอะไร ๆตั้งผิดไป ก็จะมีใจเป็นของ ๆ ตนจะเสียใจว่า เหตุนี้ไม่สมควรแก่ชาติของท่านทั้งไม่สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ ย่อมนอนเหมือนอย่างนั้น ไม่ยอมไปหาอาหารก็แต่เมื่ออวัยวะมีเท้าหน้าเป็นต้นตั้งไว้เรียบร้อย ก็จะมีใจร่าเริงว่าเหตุนั้นสมควรแก่ชาติของท่าน และสมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญลุกขึ้นบิดกายแบบราชสีห์สะบัดขนสรอยคอบันลือสีหนาทแล้วก็ออกไปหาอาหาร
 การนอนในฌานที่ ๔ตรัสเรียกว่า ตถาคตไสยา ในการนอนทั้ง ๔ นั้น การนอนดังสีหะมาในสูตรนี้ จริงอยู่การนอนนี้ ชื่อว่าการนอนอันอุดม เพราะความที่การนอนนั้นเป็นอิริยาบถอันมีอำนาจมากวางเท้าซ้ายบนเท้าขวา ซ้อนกัน คือเหลื่อมเท้ากันหน่อยหนึ่ง เพราะว่าข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า เข่ากระทบกับเข่า เวทนาย่อมเกิดบ่อย ๆ จิตก็จะไม่ตั้งมั่นการนอนก็ไม่ผาสุก การนอนย่อมไม่ติดต่อกัน การเหลื่อมเท้าแล้ววางอย่างนี้เวทนาย่อมไม่เกิด จิตย่อมตั้งมั่น ก็การสำเร็จสีหไสยาของพระตถาคตนั้นเป็นการนอนเพราะประชวร
 พวกเทวดาสตุลลปกายิกาเจ็ดร้อยเหล่านั้นเห็นความอดกลั้นของพระตถาคตแล้วจึงเปล่งอุทานว่าโอ ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก เมื่อเวทนาเห็นปานนี้เป็นไปอยู่แม้สักว่าการครางก็มิได้มีทรงบรรทมด้วยพระวรกายอันไม่หวั่นไหวราวกะรูปอันสำเร็จด้วยทองที่บุคคลประดับแล้วตั้งไว้บนที่นอนอันเป็นสิริบัดนี้พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ยิ่งดุจพระจันทร์เพ็ญสมบูรณ์ด้วยรัศมีพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็งดงามดุจดอกปทุมกำลังแย้มบาน ในขณะนี้แม้วรรณะแห่งพระตถาคตก็ผ่องใสดุจทองคำที่หลอมดีแล้ว

ข้อควรกำหนดในสังยุตนี้


 ๑.เรื่องเทวดาในชั้นกามวจรภูมิ ๖
 ๒.ลักษณะอาการของเทวดาผู้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคและเหล่าพระสาวก
 ๓.ความประสงค์ของเทวดาที่มาเข้าเฝ้า
 ๔.ธรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเทวดา
 ๕. ความเชื่อเทวดาแบบพุทธศาสนิกชน

…………………………………………………………………………………………

สัง. ๑๕/สคาถวรรค/หน้า ๑-๕๕

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท