มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

เปรียบเถรวาทกับมหายาน


 

เปรียบเทียบคัมภีร์มหายานสูตราลังการกับคัมภีร์พระไตรปิฎก

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา

มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๔๗ พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๕๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

บทที่ ๑

การศึกษาเปรียบเทียบ

เนื้อหาในคัมภีร์มหายานสูตราลังการกับคัมภีร์พระไตรปิฎก

หลังจากได้ศึกษาคัมภีร์มหายานสูตราลังการโดยเฉพาะส่วนของเนื้อหาในคัมภีร์มาแล้วในบทนี้ผู้เขียนจะศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะต่างๆดังกล่าวนั้นกับทรรศนะที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกตามหัวข้อที่สามารถเปรียบเทียบกันได้คือทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดทรรศนะเรื่องโลกทรรศนะเรื่องความจริงทรรศนะเรื่องตถาคตทรรศนะเรื่องกายทรรศนะเรื่องนิรวาณทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์และทรรศนะเรื่องบารมีโดยจะเปรียบเทียบให้เห็นประเด็นที่แตกต่าง

กันและคล้ายคลึงกันตามลำดับ

ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุด

ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดหรือความจริงแท้เป็นทรรศนะที่แสดงไว้ในคัมภีร์ทั้งสองโดยเฉพาะในคัมภีร์มหายานสูตราลังการซึ่งเป็นงานเขียนของนิกายโยคาจาระเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นประเด็นด้านอภิปรัชญาที่พยายามอธิบายว่าอะไรคือความจริงแท้อย่างสูงสุดของปรัชญาสำนักนี้ส่วนคัมภีร์พระไตรปิฎกแม้ไม่เน้นที่จะแสดงทรรศนะด้านอภิปรัชญาแต่ก็มีประเด็นพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้บ้างดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. จิตบริสุทธิ์เป็นสิ่งจริงแท้ที่มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว

2.จิตบริสุทธิ์มีฐานะเป็นสิ่งสัมบูรณ์ที่มีอยู่เองโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเพื่อความมีอยู่ปราศจากทวิภาวะหรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้

3. สิ่งสัมบูรณ์มีสภาวะที่พรรณนาไม่ได้กำหนดคุณสมบัติไม่ได้

4. ธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งสัมบูรณ์คือความบริสุทธิ์ในตัวเอง

5. สิ่งสัมบูรณ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถพรรณนาได้ด้วยหลักการของเหตุผล

6. จิตบริสุทธิ์มีฐานะเป็นความจริงสูงสุดเป็นจริงแท้และเป็นนิรันดร์

7. จิตบริสุทธิ์มีฐานะเป็นแก่นแท้ (ธรรมธาตุ) เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งสรรพสิ่งในจักรวาลเกิดมาจากจิตเท่านั้น

ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีดังนี้

1. สิ่งที่เป็นความจริงอย่างประเสริฐคืออริยสัจ 4 ประการได้แก่ทุกข

อริยสัจสมุทัย-อริยสัจนิโรธอริยสัจและทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจอริยสัจทั้ง 4 ประการนี้เป็นของจริงแท้

ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่นดังข้อความในตถสูตรที่ว่า

จตฺตารีมานิภิกฺขเวอริยสจฺจานิฯกตมานิจตฺตาริฯทุกฺขํอริยสจฺจํทุกฺขสุมทโย อริยสจฺจํทุกฺขนิโรโธอริยสจฺจํทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสจฺจํฯอิมานิโขภิกฺขเวจตฺตาริ อริยสจฺจานิตถานิอวิตถานิอนญฺญถานิตสฺมาอริยสจฺจานีติวุจฺจนฺติฯ1

ดูกรภิกษุทั้งหลายความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างเหล่านี้สิ่ง 4 อย่างเป็นไฉนสิ่งนี้ความจริงแท้คือทุกข์ความจริงแท้คือเหตุให้ทุกข์เกิดความจริงแท้คือความดับทุกข์ความจริงแท้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อริยสัจ 4 เหล่านี้แลเป็นของจริงแท้ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่นเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าอริยสัจ

2. สิ่งจริงแท้อีกประการหนึ่งก็คือหลักปฏิจจสมุปบาทคือหลักการที่ว่าสิ่งทั้งหลายอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นดังข้อความที่ว่า

อิติโขภิกฺขเวยาตตฺรตถตาอวิตถตาอนญฺญถตาอิทปฺปจฺจยตาอยํวุจฺจติภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโทฯ2

ดูกรภิกษุทั้งหลายความจริงแท้ (ตถตา) ความไม่คลาดเคลื่อน (อวิตถตา) ความไม่เป็นอย่างอื่น (อนญฺญตา) มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น (อิทปฺปจฺจยตา) ภาวะที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยดังพรรณนามาฉะนี้แลเราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

3. สิ่งที่เป็นความจริงแท้อีกประการหนึ่งคือหลักไตรลักษณ์ที่เรียกว่าธรรมนิยามตา  ดังข้อความที่ว่า

อุปฺปาทาวาภิกฺขเวตถาคตานํอนุปฺปาทาวาตถาคตานํ ิตาวสาธาตุธมฺมฏฺฐิตตฺตา  ธมฺมนิยามตาสพฺเพสงฺขาราอนิจฺจาฯลฯสพฺเพสงฺขาราทุกฺขาฯลฯสพฺเพธมฺมาอนตฺตาติตํ ตถาคโตอภิสมฺภุชฺฌติอภิสเมติอภิสมฺพุชฺฌิตฺวาอภิสเมตฺวาอาจิกฺขติเทเสติปญฺญเปติปฏฺฐเปติวิวรติวิภชติอุตฺตานีกโรติฯ3

ดูกรภิกษุทั้งหลายตถาคตเกิดขึ้นก็ตามไม่เกิดขึ้นก็ตามธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดาความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นตถาคตรู้บรรลุธาตุนั้นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... สังขารทั้งปวงมิใช่ตัวตนครั้นรู้แล้วบรรลุแล้วจึงบอกแสดงบัญญัติกำหนดเปิดเผยจำแนกทำให้ง่ายว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์...สังขารทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน

ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดในคัมภีร์ทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนกล่าวคือคัมภีร์มหายานสูตราลังการเน้นแสดงเรื่องความจริงที่เป็นประเด็นทางอภิปรัชญาจึงมีการแสดงลักษณะของสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดว่าคือจิตสัมบูรณ์ที่มีอยู่เองเป็นนิรันดร์เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงสรรพสิ่งในจักรวาลไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเป็นเพียงผลผลิตของจิตเท่านั้นส่วนคัมภีร์พระไตรปิฎกเน้นสอนความจริงแท้ที่เป็นประโยชน์สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นความจริงแท้ที่เป็นสภาวะของสรรพสิ่งที่มีในธรรมชาติไม่ใช่ความจริงที่เป็นบ่อเกิดของจักรวาลดังนั้นความจริงแท้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกจึงเป็นความจริงที่เป็นลักษณะที่แท้จริงของสรรพสิ่งนั่นคือเรื่องอริยสัจ 4 จะเห็นได้จากพระพุทธพจน์ที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ใส่ใจถึงประเด็นที่เป็นปัญหาด้านอภิปรัชญาเพราะเป็นปัญหาที่ไม่เกิดประโยชน์ หลักปฏิจจสมุปบาทและหลักไตรลักษณ์ก็เช่นเดียวกันเป็นความจริงที่เป็นประโยชน์เพราะอธิบายสภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่งดังนั้นประเด็นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดของคัมภีร์ทั้ง 2 จึงอยู่ที่คัมภีร์มหายานสูตราลังการเน้นประเด็นด้านอภิปรัชญาแต่คัมภีร์พระไตรปิฎกไม่เน้นประเด็นด้านอภิปรัชญา

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

จากการศึกษาพบว่าทรรศนะเรื่องความจริงแท้ในคัมภีร์ทั้งสองไม่มีความคล้ายคลึงกันเนื่องจากนิกายเถรวาทยึดมั่นในคำสอนดั้งเดิมไม่นิยมตีความพุทธวจนะจึงไม่มีประเด็นด้านอภิปรัชญาที่เป็นการกล่าวถึงความจริงแท้เป็นเพียงการแสดงให้เห็นสภาพที่แท้จริงของสรรพสิ่งในโลกไม่ได้สอนว่าอะไรคือความจริงที่เป็นแก่นแท้เป็นอมตะและเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งเหมือนสำนักปรัชญาอื่นๆนอกจากนี้ทรรศนะต่างๆที่ปรากฏในคัมภีร์มหายานสูตราลังการก็เกิดจากการตีความทางปรัชญาของอสังคะจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทรรศนะเรื่องความจริงสูงสุดจะมีเนื้อหาด้านอภิปรัชญาในฐานะสิ่งที่เป็นจริงแท้เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพรรณนาสภาวะได้พรรณนาคุณสมบัติไม่ได้การพรรณนาสภาวะของสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดจึงใช้การปฏิเสธเพราะถ้าไม่ใช้การปฏิเสธในการพรรณนาถึงลักษณะของสิ่งสูงสุดก็จะสามารถกำหนดลักษณะของสิ่งสูงสุดได้เมื่อเป็นเช่นนั้นความเป็นสิ่งสูงสุดก็จะหมดไป

ทรรศนะเรื่องโลก

เมื่อกล่าวถึงสิ่งสูงสุดแล้วก็จำเป็นที่จะต้องตอบคำถามของบุคคลผู้มีความสงสัยว่าเมื่อจิตเป็นสิ่งสัมบูรณ์เป็นความจริงแท้เพียงอย่างเดียวแล้วสิ่งที่ปรากฏต่อประสาทสัมผัสคือโลกทางกายภาพที่เราดำรงชีวิตอยู่นี้มันคืออะไรเกิดขึ้นได้อย่างไรในคัมภีร์มหายานสูตราลังการจึงได้กล่าวถึงทรรศนะเรื่องสิ่งที่ปรากฏไว้ในฐานะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งสัมบูรณ์ส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกแม้จะไม่กล่าวถึงทรรศนะเรื่องโลกหรือสิ่งที่ปรากฏไว้เป็นประเด็นเฉพาะเพราะไม่เน้นประเด็นด้านปรัชญาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแต่ก็มีประเด็นที่พอจะนำมาเปรียบเทียบกับทรรศนะเรื่องโลกหรือสิ่งที่ปรากฏทางกายภาพในคัมภีร์มหายานสูตราลังการได้มีดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องโลกหรือสิ่งที่ปรากฏทางกายภาพในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้ทรรศนะเรื่องโลกหรือสิ่งที่ปรากฏทางกายภาพในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. โลกทางกายภาพหรือสิ่งที่ปรากฏได้แก่สิ่งที่ปรากฏในการรับรู้ของมนุษย์

2. โลกทางกายภาพที่ปรากฏไม่ได้มีอยู่อย่างเป็นอิสระจากจิตแต่เป็นผลผลิตทางจิต

3. เมื่อกล่าวโดยลักษณะที่เป็นแก่นแท้โลกทางกายภาพที่ปรากฏเป็นสิ่งเดียวกันกับจิต

4.โลกทางกายภาพที่ปรากฏไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริงแต่เป็นเพียงการจินตนาการเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น

5. โลกทางกายภาพที่ปรากฏมีจิตเป็นบ่อเกิดมีแก่นแท้คือจิต

ทรรศนะเรื่องโลกหรือสิ่งที่ปรากฏทางกายภาพในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีดังนี้

1. โลกทางกายภาพหรือสิ่งปรากฏไม่ใช่มโนภาพของจิตจิตกับโลกทางกายภาพเป็นความจริงคนละหน่วยจิต (มโน) เป็นสิ่งหนึ่งต่างหากจากธรรมทั้งหลายซึ่งหมายถึงสิ่งต่างๆที่จิตรับรู้

2. โลกทางกายภาพที่ปรากฏไม่ใช่เนื้อสารที่เป็นวัตถุไม่ยอมรับว่ามีจิตที่เป็นแก่นแท้แต่ในการอธิบายเรื่องโลกทางกายภาพที่ปรากฏนั้นใช้หลักปฏิจจสมุปบาทไตรลักษณ์และขณิกทรรศนะ

3. ภายในความเปลี่ยนแปลงของโลกทางกายภาพไม่มีสิ่งใดคงที่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสารหรือภาวะทางนามธรรมที่ละเอียดประณีต

4. แม้พุทธปรัชญาเถรวาทจะไม่ยอมรับแนวคิดแบบอัตถิกทิฏฐิที่เชื่อว่าโลกมีอยู่และนัตถิกทิฏฐิที่เชื่อว่าโลกไม่มีอยู่แต่ก็มองว่าแนวคิดที่ว่าโลกมีอยู่นั้นมีความเป็นจริงมากกว่าความคิดที่ว่าโลกไม่มีอยู่จริงตามทรรศนะที่ปรากฏในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเพราะการกล่าว

ว่าโลกเป็นสิ่งที่มีอยู่นั้นสามารถเป็นที่ยอมรับของชนทั่วไปได้มากกว่าที่จะบอกว่าโลกไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงการจินตนาการเป็นผลผลิตของจิตซึ่งเป็นทรรศนะที่ขัดต่อความรู้สึกของคนทั่วไป

5. โลกทางกายภาพประกอบขึ้นจากธาตุสี่คือดินน้ำลมไฟที่เกิดและดับต่อเนื่องเป็นปัจจัยตลอดเวลาธาตุเหล่านี้ไม่ใช่เนื้อสารและมีอายุการดำรงอยู่ไม่นานดังนั้นโลกจึงว่างเปล่าหาแก่นสารไม่ได้อยู่ระหว่างความมีอยู่และไม่มีอยู่

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ประเด็นที่เป็นความเห็นร่วมกันระหว่างคัมภีร์ทั้งสองคือการยอมรับว่าโลกไม่ใช่เนื้อสารเพราะในคัมภีร์มหายานสูตราลังการอสังคะได้แสดงทรรศนะไว้ว่าโลกเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงการจินตนาการเป็นเพียงผลผลิตของจิตเท่านั้นส่วนคัมภีร์พระไตรปิฎกก็แสดงทรรศนะไว้เช่นเดียวกันว่าโลกประกอบขึ้นจากธาตุที่มีสภาวะไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาดำรงอยู่เพียงครู่เดียวอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตลอดเวลาจึงไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวรคือเป็นความว่างเปล่าต่างแต่ว่าคัมภีร์มหายานสูตราลังการปฏิเสธความมีอยู่จริงของโลกแต่ยอมรับความมีอยู่จริงของจิตสัมบูรณ์แต่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกปฏิเสธทรรศนะเช่นนั้นโดยแสดงว่าไม่มีสิ่งที่เป็นอัตตาที่เป็นความจริงเที่ยงแท้ใดๆ

ผู้วิจัยมีความเห็นว่าทรรศนะเรื่องโลกทางกายภาพหรือสิ่งที่ปรากฏในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเป็นความพยายามที่จะสนับสนุนทรรศนะเรื่องสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดคือจิตบริสุทธิ์เท่านั้นโดยการอธิบายว่าโลกเป็นเพียงการรับรู้ของจิตเมื่อสืบค้นไปแล้วก็ไม่ใช่สิ่งใดแต่คือจิต

โลกทางกายภาพหรือสิ่งที่ปรากฏนั้นคือลักษณะที่มีมลทินของจิตเพราะอำนาจของอวิทยาเมื่อกำจัดอวิทยาได้แล้วก็จะพบว่าสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นโลกก็คือจิตที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้นั่นเองเพราะหากไม่มีการอธิบายเรื่องโลกทางกายภาพหรือสิ่งที่ปรากฏก็ต้องเผชิญกับความสงสัยของผู้คนตลอดไปว่าโลกคืออะไรแต่แม้จะกล่าวถึงทรรศนะเรื่องโลกก็ไม่พ้นที่จะกล่าวเพื่อสนับสนุนความสูงสุดของจิตบริสุทธิ์ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในคัมภีร์มหายานสูตราลังการส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกพยายามที่จะอธิบายสภาวะที่แท้จริงของโลกทางกายภาพว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่มีตัวตนที่ถาวรโลกหมายถึงสิ่งที่มีความแตกสลายเป็นธรรมชาติบางครั้งก็อธิบายว่าโลกหมายถึงอายตนะ 12 4 ที่มีความหมายเท่ากับจิตเจตสิกรูปหรือขันธ์ 5ซึ่งเป็นสังขตธรรมที่มีการปรากฏขึ้นปรากฏการดับสลายและขณะดำรงอยู่ก็ปรากฏความแปรเปลี่ยนตลอดเวลาแม้โลกจะมีอยู่จริงไม่ใช่การจินตนาการแต่โลกก็ไม่ใช่เนื้อสารจึงไม่คงที่หรือเที่ยงแท้ตามทรรศนะของนิกายโยคาจาระ

ทรรศนะเรื่องความจริง

การอธิบายถึงสิ่งที่เป็นจริงและสิ่งที่ปรากฏนับเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะปรัชญาทุกสำนักต้องการที่จะอธิบายความจริงในโลกซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ทุกคนต่างต้องการจะทราบเป็นข้อสงสัยในใจของมนุษย์ทุกคนดังนั้นทรรศนะเรื่องความจริงจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีประเด็นที่จะนำมาศึกษาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องความจริงในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องความจริงในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. ความจริงมี 2 อย่างคือสังวฤติสัตยะและปรมารถสัตยะ

2. สังวฤติสัตยะคือความจริงสมมติได้แก่สิ่งที่ปรากฏต่างๆในโลกเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงการจินตนาการเป็นผลผลิตของจิต

3. ปรมารถสัตยะคือความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่อยู่เหนือปรากฏการณ์เป็นความจริงที่เป็นโลกุตตระเป็นสิ่งที่ไม่มีสาเหตุเป็นจริงแท้ในตัวเอง

4. แม้ความจริงจะแบ่งเป็น 2 อย่างแต่โดยลักษณะที่แท้จริงก็เป็นสิ่งเดียวกันเพราะปรมารถสัตยะเป็นแก่นแท้ของสังวฤติสัตยะการไม่มีอยู่ของสังวฤติสัตยะก็คือการปรากฏของปรมารถสัตยะ

5. ความจริงทั้ง 2 ระดับแบ่งอธิบายให้ละเอียดออกเป็น 3 อย่างคือ

5.1 ปริกัลปิตะได้แก่สิ่งถูกรู้ที่ไม่มีความเป็นจริงเป็นเพียงการจินตนาการว่ามีเป็นเพียงภาพมายาหรือสิ่งลวงตา

5.2 ประตันตระได้แก่ลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์ของสิ่งจริงแท้ที่มีฐานะเป็นผู้รู้หรือจิตที่มีในแต่ละบุคคล

5.3 ปรินิษปันนะได้แก่สิ่งที่เป็นความจริงแท้หรือจิตบริสุทธิ์ที่ไม่มีฐานะเป็นผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้

6. ความจริงที่เป็นปริกัลปิตะและประตันตระคือความจริงสมมติเป็นสังวฤติสัตยะส่วนปรินิษปันนะคือปรมารถสัตยะ

ทรรศนะเรื่องความจริงในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีดังนี้

1. ความจริงมี 2 ระดับสมมติสัจและปรมัตถสัจ5

2. สมมติสัจคือความจริงโดยสมมติคือความจริงตามมติที่มีร่วมกันหรือยอมรับร่วมกันเป็นเครื่องมือสื่อสารพอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวันเช่นคนสัตว์สิ่งของคนดีคนชั่วเป็นต้นบางทีเรียกว่าโวหารสัจความจริงโดยโวหารหรือโดยสำนวนพูด

3. ปรมัตถสัจคือความจริงโดยปรมัตถ์ความจริงตามความหมายสูงสุดหรือตามความหมายแท้ที่ตรงตามสภาวะสิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์เช่นนามธรรมเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณหรือจิตเจตสิกรูปนิพพานผัสสะเจตนาเอกัคคตาชีวิตินทรีย์เป็นต้น6  จะเห็นได้ว่าแม้ในคัมภีร์ทั้งสองจะแบ่งความจริงออกเป็น 2 อย่างเช่นเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างกันเพราะความจริงปรมัตถ์หรือปรมัตถสัจในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีฐานะเป็นเพียงสังวฤติสัตยะหรือความจริงสมมติและเป็นเพียงความจริงในระดับประตันตระตามทรรศนะของคัมภีร์มหายานสูตราลังการเท่านั้นนอกจากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกความจริงสมมติมีความหมายเพียงสิ่งที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุมูลฐานจึงมีการสมมติเรียกว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เท่านั้นแม้แต่หลักการเรื่องอริยสัจ 4 และหลักการปฏิจจสมุปบาทที่มีฐานะเป็นปรมัตถสัจก็เป็นเพียงการแสดงลักษณะที่แท้จริงของสรรพสิ่งดังนั้นสมมติสัจและปรมัตถสัจในคัมภีร์พระไตรปิฎกจึงมีฐานะเป็นเพียงสมมติสัจจะตามทรรศนะของคัมภีร์มหายานสูตราลังการ

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ผู้วิจัยมีความเห็นว่าประเด็นที่คล้ายคลึงกันคือคัมภีร์ทั้งสองยอมรับความจริง 2 ระดับคือสมมติสัจและปรมัตถสัจและมีทรรศนะตรงกันว่าสิ่งที่เป็นสมมติสัจเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงสิ่งสมมติเท่านั้น

ส่วนประเด็นที่แตกต่างกันอย่างแท้จริงของทรรศนะเรื่องความจริงในคัมภีร์ทั้งสองคือจุดมุ่งหมายในการแสดงทรรศนะเรื่องความจริงเพราะในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นความเป็นจริงสูงสุดของสิ่งสัมบูรณ์หรือจิตบริสุทธิ์การปฏิเสธความมีอยู่จริงของสมมติสัจก็เป็นเพียงการให้ความสำคัญแก่สิ่งสัมบูรณ์เป็นการเน้นที่จะแสดงทรรศนะด้านอภิปรัชญาส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกแสดงเรื่องความจริง 2 ระดับก็เพื่อให้รู้เท่าทันความเป็นจริงของสรรพสิ่งว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรมากกว่าที่จะแสดงว่าอะไรคือความจริงสูงสุดเพื่อไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่เป็นเพียงการสมมติที่ทำให้เกิดความหลงผิดที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เพราะไม่มีสิ่งใดที่เป็นจริงถาวรได้ เพราะฉะนั้นจึงเน้นที่จะให้บุคคลเข้าใจสรรพสิ่งต่างๆได้อย่างถ่องแท้เท่านั้น ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการแม้จะอธิบายความจริงเป็น 3 อย่างแต่ก็เป็นความจริงอันเดียวกันคือสิ่งสัมบูรณ์หรือจิตเท่านั้นไม่มีความจริงใดเป็นจริงหรือเท็จโดยส่วนเดียวเพราะความจริงที่เป็นประตันตระไม่ใช่ความจริงที่ต่ำกว่าความจริงระดับปรินิษปันนะแต่มันคือปรินิษปันนะ  เมื่อกำจัดการจินตนาการที่ครอบงำการเปลี่ยนแปลงของมันได้แล้วส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกความจริงทั้งสองระดับเป็นสภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่งที่มีในโลกเป็นการอธิบายถึงสภาวะของสรรพสิ่งที่มองกันคนละระดับเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 512374เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เปรียบเถรวาทกับมหายาน

ทรรศนะเรื่องตถาคต

ทรรศนะเรื่องตถาคตในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีประเด็นที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องตถาคตในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องตถาคตในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1.ทรรศนะเรื่องตถาคตเกิดจากความจำเป็นที่ต้องอธิบายการเกี่ยวข้องกันของสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดกับสิ่งที่ปรากฏเพราะปรัชญาโยคาจาระแยกสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดออกจากสิ่งที่ปรากฏ

2. ตถาคตมีฐานะเป็นบุคคลผู้รู้ความจริงสูงสุดและเป็นผู้เปิดเผยความจริงสูงสุดนั้นตถาคตมีฐานะเป็นสื่อกลางที่เชื่อมต่อระหว่างความจริงสูงสุดและสรรพสิ่งที่ปรากฏในโลก

3. ตถตาคือความจริงสูงสุดที่ไม่มีรูปปรากฏไม่มีตัวตนแต่อาศัยความกรุณาจึงสร้างรูปมนุษย์ขึ้นมานั่นคือตถาคตตถาคตจึงมีสองภาคคือภาคที่เป็นความจริงสูงสุดและภาคที่เป็นปรากฏการณ์กล่าวคือตถาคตเป็นสิ่งเดียวกันกับตถตาแต่มีรูปเป็นมนุษย์ตถตาซึ่งเป็นบ่อเกิดของตถาคตจึงเรียกว่าตถาคตครรภ์

4. ตถาคตมีรูปร่างของบุคคลแต่เป็นบุคคลที่หลุดพ้นแล้วตถาคตจึงมีความรู้เกี่ยวกับผู้รู้สิ่งที่ถูกรู้และสรรพสิ่งรู้สิ่งที่เป็นจริงและสิ่งที่ไม่เป็นจริงรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่งที่ปรากฏในโลกแม้ตถาคตจะมีอยู่ในปรากฏการณ์และเป็นรูปปรากฏก็ตาม

5. ตถาคตมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 อย่างคือส่วนที่เป็นปุณยสัมภาระเป็นส่วนที่ตถาคตทำความดีด้วยการช่วยเหลือมวลมนุษย์และส่วนที่เป็นชญานสัมภาระเป็นส่วนที่ตถาคตรู้แจ้งสรรพสิ่งความเป็นจริงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส

6. ตถาคตอุบัติมาแล้วนับไม่ถ้วนถ้ามองในแง่ที่เกี่ยวข้องกับโลกแต่ถ้ามองในแง่โลกุตตระตถาคตไม่มีกายไม่มีรูปปรากฏรูปกายเป็นสิ่งที่แตกสลายตามกาลเวลาตถาคตจึงมีเพียงหนึ่งเดียวคือกายที่เป็นอมตะของพระพุทธเจ้า

7. ตถาคตมีฐานะเป็นเทพจึงมีคุณสมบัติพิเศษคือความรู้และความกรุณา

8. ตถาคตมีความรู้ 4 ประการคือความรู้ที่สะท้อนให้ตถาคตเห็นว่าเป็นสิ่งเดียวกับตถตา (อาทรฺศชฺญาน) ความรู้ว่าทุกอย่างเท่าเทียมกัน (สมตาชฺญาน) ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่ง

ต่างๆโดยปราศจากความสงสัย (ปฺรตฺยเวกฺษาชฺญาน) และความรู้ที่ใช้ในการเนรมิตกายของตถาคตไม่มีขอบเขตจำกัดเพื่อใช้ในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ (กฺฤตานุษฺฐานชฺญาน)ทรรศนะเรื่องตถาคตในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีดังนี้

1.ทรรศนะเรื่องตถาคตมิได้มีจุดประสงค์ด้านปรัชญาเหมือนในคัมภีร์มหายานสูตราลังการตถาคตในคัมภีร์พระไตรปิฎกจึงหมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไปในโลกมิใช่รูปปรากฏของความจริงสูงสุดดังข้อความที่แสดงไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกว่า

อิติโขจุนฺทอตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุธมฺเมสุตถาคโตกาลวาทีสจฺจวาทีภูตวาที อตฺถวาทีธมฺมวาทีวินยวาทีตสฺมาตถาคโตติวุจฺจติฯ 7

จุนทะด้วยเหตุนี้เพราะตถาคตเป็นกาลวาที (ตรัสในเวลาที่เหมาะสม) สัจจวาที(ตรัสความเป็นจริงแห่งสรรพสิ่ง) ภูตวาที (ตรัสสภาวะที่เป็นจริง) อัตถวาที (ตรัสปรมัตถนิพพาน)ธัมมวาที (ตรัสมรรคธรรมและผลธรรม) วินยวาที (ตรัสวินัยที่มีการสำรวมเป็นต้น) ในธรรมทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันฉะนั้นชาวโลกจึงเรียกว่าตถาคต

ยญฺจโขจุนฺทสเทวกสฺสโลกสฺสสมารกสฺสสพฺรหฺมกสฺสสสฺสมณพฺราหฺมณิยาปชาย สเทวมนุสฺสายทิฏฺฐํสุตํมุตํวิญฺญาตํปตฺตํปริเยสิตํอนุวิจริตํมนสาสมฺมาตถาคเตนอภิสมฺพุทฺธํ ตสฺมาตถาคโตติวุจฺจติฯยญฺจจุนฺทรตฺตึตถาคโตอนุตฺตรํสมฺมาสมฺโพธึอภิสมฺพุชฺฌติยญฺจรตฺตึ  อนุปาทิเสสายนิพฺพานธาตุยาปรินิพฺพายติยํเอตสฺมึอนฺตเรภาสติลปตินิทฺทิสติสพฺพนฺตํตเถวจ โหติโนอญฺญถาติตสฺมาตถาคโตติวุจฺจติฯยถาวาทีจุนฺทตถาคโตตถาการียถาการีตถาวาทีอิติ ยถาวาทีตถาการียถาการีตถาวาทีวาตสฺมาตถาคโตติวุจฺจติฯยํสเทวเกโลเกสมารเกสพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยาปชายสเทวมนุสฺสายตถาคโตอภิภูอนภิภูโตอญฺญทตฺถุทโสวสวตฺตีตสฺมาตถาคโตติวุจฺจติฯ 8

เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ฟังอารมณ์ที่ได้ทราบธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกและหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์บรรลุแสวงหาตรองตามด้วยใจทั้งหมดฉะนั้นชาวโลกจึงเรียกว่าตถาคตฯเพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใดปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใดในระหว่างย่อมภาษิตกล่าวแสดงคำใดคำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่นฉะนั้นชาวโลกจึงเรียกว่าตถาคตฯเพราะตถาคตกล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้นทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้นตถาคตกล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้นทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้ฉะนั้นชาวโลกจึงเนียกว่าตถาคต

เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้เห็นถ่องแท้เผยแผ่อำนาจไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกและหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ฉะนั้นชาวโลกจึงเรียกว่าตถาคต

2. ตถาคตมีฐานะเป็นมนุษย์ผู้มีคุณสมบัติเหนือมนุษย์ธรรมดาดังข้อความที่ปรากฏใน คัมภีร์พระไตรปิฎกดังต่อไปนี้

ภควาชานํชานาติปสฺสํปสฺสติจกฺขุภูโตญาณภูโตธมฺมภูโตพฺรหฺมภูโตวตฺตาปวตฺตา  อตฺถสฺสนินฺเนตาอมตสฺสทาตาธมฺมสฺสามิตถาคโต9 ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มีพระจักษุมีพระญาณมีธรรมเป็นพรหมเป็นผู้เผยแผ่ประกาศขยายเนื้อความเป็นผู้ให้อมตธรรมเป็นเจ้าของธรรมเป็นพระตถาคต

อิธตถาคโตโลเกอุปฺปชฺชติอรหํสมฺมาสมฺพุทฺโธวิชฺชาจรณสมฺปนฺโนสุคโตโลกวิทู  อนุตฺตโรปุริสทมฺมสารถิสตฺถาเทวมนุสฺสานํพุทฺโธภควา10 ฯลฯ

ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะไปดีรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระผู้มีพระภาค

อิเมสํโขภิกฺขเวจตุนฺนํอิทฺธิปาทานํภาวิตตฺตาพหุลีกตตฺตาตถาคโตเอวํมหิทฺธิโกเอวํ มหานุภาโวฯ11

ภิกษุทั้งหลายตถาคตมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากอย่างนี้เพราะอิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ ตถาคตเจริญทำให้มากแล้ว

อิเมสญฺจปนภิกฺขเวจตุนฺนํอิทฺธิปาทานํภาวิตตฺตาพหุลีกตตฺตาตถาคโตอเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธํปจฺจนุโภติเอโกปิหุตฺวาพหุธาโหติฯลฯยาวพฺรหฺมโลกาปิกาเยนวสํวตฺเตติฯ12

ภิกษุทั้งหลายอนึ่งตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างคือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ฯลฯใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้เพราะอิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ตถาคตเจริญแล้วทำให้มากแล้ว

3. ตถาคตไม่ได้มีฐานะป็นตถตาซึ่งเป็นความจริงสูงสุดในฐานะจิตบริสุทธิ์ที่เป็นปฐมเหตุแก่นแท้ที่เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งดังเช่นทรรศนะในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเพราะตถาคตหมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์เท่านั้นดังข้อความในตถาคตสูตรที่ว่า

...ตถาคโตเตสํอคฺคมกฺขายติอรหํสมฺมาสมฺพุทฺโธฯ13

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านี้ฯ

...สเทวเกโลเกสมารเกสพฺรหฺมเกสสฺสมณพฺราหฺมณิยาปชายสเทวมนุสฺสายตถาคโต อริโยตสฺมาอริยสจฺจานีติวุจฺจติฯ14

ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารพรหมในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ฉะนั้นจึงเรียกว่าอริยสัจ

คัมภีร์พระไตรปิฎกปฏิเสธการกล่าวถึงความมีอยู่ของตถาคตและเป็นปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ดังข้อความในปาสาทิกสูตรที่ว่า

โหติตถาคโตปรํมรณาอิทเมวสจฺจํโมฆมญฺญนฺติฯนโหติตถาคโตปรํมรณา อิทเมวสจฺจํโมฆมญฺญนฺติฯโหติจนจโหติตถาคโตปรํมรณาอิทเมวสจฺจํโมฆมญฺญนฺติฯเนว โหตินนโหติตถาคโตปรํมรณาอิทเมวสจฺจํโมฆมญฺญนฺติฯ 15

หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นไม่จริงหรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นไม่จริงหรือหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นไม่จริงหรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะเกิดอีกก็ไม่ใช่จะไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่นี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นไม่จริงหรือ

พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้างต้นเหล่านี้เพราะพระองค์เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ประกอบด้วยธรรมไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัดเนื่องจากคำว่าตถาคตในปัญหานี้หมายถึงอัตตา

หรืออาตมัน16 ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงปฏิเสธความมีอยู่ของตถาคตในฐานะสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดเป็นอัตตาโดยทรงแสดงว่าอัตตาไม่มีขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเราเราไม่เป็นนั่นนั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เราจะค้นหาตถาคตโดยแท้จริงในขันธ์ 5 นี้ในปัจจุบันนี้ไม่ได้เลย17

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้ของตถาคตในคัมภีร์ทั้งสองก็มีข้อแตกต่างเป็นเพราะความรู้ของตถาคตในทรรศนะของคัมภีร์มหายานสูตราลังการหมายถึงความรู้ที่ทำให้ตถาคตรู้ว่าตัวเองเป็นสิ่งเดียวกับตถตาความรู้ว่าสรรพสิ่งเป็นสิ่งเดียวกันกล่าวคือมีตถตาเป็นบ่อเกิดเหมือนกันและความรู้ที่สามารถเนรมิตกายโดยไม่มีขอบเขตจำกัดส่วนคัมภีร์พระไตรปิฎกตถาคตมีความรู้ที่เรียกว่าตถาคตพลญาณหรือทสพลญาณได้แก่ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะคือรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่าอะไรเป็นไปได้อะไรเป็นไปไม่ได้แค่ไหนเพียงไรเรียกว่าฐานาฐานญาณการหยั่งรู้ผลของกรรมเรียกว่ากรรมวิปากญาณปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวงเรียกว่าสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกหรือสภาวธรรมชาติทั้งที่เป็นอุปาทิมมาสังขารและอนุปาทินนกสังขารเรียกว่านานาธาตุญาณปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายเรียกว่านานาธิมุตติกญาณปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเรียกว่าอินทรียปโรปริยัตตญาณปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้วการออกแห่งญาณวิโมกข์สมาธิสมาบัติทั้งหลายเรียกว่าญานาทิสังกิเลสาทิ  ญาณปรีชาหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้เรียกว่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายเรียกว่าจุตูปปาตญาณและปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเรียกว่าอาสวักขยญาณ 18

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ทรรศนะเรื่องตถาคตในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นดังต่อไปนี้

1. คัมภีร์ทั้งสองยอมรับว่าตถาคตมีฐานะเป็นบุคคลที่หลุดพ้นแล้ว

2. ตถาคตมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปเป็นบุรุษผู้สูงสุดหรือบุรุษผู้ถึงความยอดเยี่ยม

3. ตถาคตเป็นผู้เปิดเผยความจริงของสรรพสิ่งแก่มวลมนุษย์แต่ความจริงในที่นี้แตกต่างกันเพราะตามทรรศนะของคัมภีร์มหายานสูตราลังการความจริงคือตถตาหรือจิตบริสุทธิ์ส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกความจริงหมายถึงกฎธรรมชาติกล่าวคือกฎธรรมดาได้แก่หลักไตรลักษณ์หลักปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ 4

4. ตถาคตมีคุณสมบัติที่เหมือนกันคือมีความกรุณาต่อสรรพสัตว์และมีความรู้ที่ทำให้ตถาคตเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป

5. ตถาคตอุบัติมาในโลกนับครั้งไม่ถ้วนไม่ว่าในอดีตปัจจุบันและอนาคตในฐานะบุคคลที่มีในประวัติศาสตร์

ผู้วิจัยมีความเห็นว่าตถาคตในทรรศนะของคัมภีร์มหายานสูตราลังการถูกพัฒนาเพื่อจุดประสงค์ทางด้านอภิปรัชญาที่ให้ความสำคัญแก่ตถตาหรือจิตบริสุทธิ์เพราะคำว่าตถาคตเป็นคำที่มีมาก่อนพุทธกาลมีความหมายถึงอาตมันหรืออัตตาจึงมีความพยายามที่จะลบล้างทรรศนะเช่นนั้นโดยอธิบายว่าตถาคตเป็นบุคคลผู้หลุดพ้นเป็นผู้เปิดเผยความจริงสูงสุดแต่ก็ยังหลีกไม่พ้นความหมายของอาตมันหรืออัตตาได้เพราะการเน้นให้ความสำคัญแก่ตถตาในฐานะสิ่งที่เป็นความจริงของสรรพสิ่งมากกว่าการต้องการให้เกิดความเข้าใจว่าสภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่งคือกฎธรรมชาติไม่มีสิ่งใดที่เป็นความจริงแท้ถาวรส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกการอธิบายความหมายของตถาคตเน้นให้เห็นว่าตถาคตเป็นเพียงบุคคลที่มีในประวัติศาสตร์ตกอยู่ใต้อำนาจของกฎธรรมชาติคือเกิดแก่เจ็บตายไปตามระยะเวลาแต่กระนั้นตถาคตก็เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าบุคคลทั่วไปแทนที่จะใช้คำว่าตถาคตในฐานะสิ่งที่เป็นแก่นแท้หรือความจริงสูงสุดเหมือนในคัมภีร์มหายานสูตราลังการหรือตถาคตที่มีฐานะเป็นอาตมันที่มีมาก่อนพุทธกาลก็ใช้คำว่าตถาคตเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีคุณสมบัติทางกายและจิตบริสุทธิ์การอธิบายตถาคตในฐานะเป็นความจริงสูงสุดจึงถูกปฏิเสธในคัมภีร์พระไตรปิฎกเพราะเป็นเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์

ทรรศนะเรื่องกาย

ทรรศนะเรื่องกายในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีประเด็นที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องกายในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องกายในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. กายของตถาคตหรือพระพุทธเจ้ามี 3 อย่างคือสวภาวิกกายสามโภคกายและไนรมาณิกกาย

2. สวภาวิกกายเป็นกายที่แท้จริงของตถาคตเป็นสิ่งที่มีอยู่หนึ่งเดียวเป็นกายอันเดียวกันของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์บางครั้งเรียกว่าธรรมกายที่เป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่งมีฐานะเป็นจิตบริสุทธิ์ที่สงบนิ่งในตัวเองไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป

3. สามโภคกายเป็นกายที่พระพุทธเจ้าใช้เสวยบรมสุขกายนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละโลกธาตุต่างๆพระพุทธเจ้าในแต่ละพุทธเกษตรจะมีสามโภคกายเป็นของตัวเองแตกต่างจากสามโภคกายของพระพุทธเจ้าในพุทธเกษตรอื่นๆสามโภคกายนี้เกิดจากธรรมกาย

4. ไนรมาณิกกายเป็นกายที่พระพุทธเจ้าเนรมิตขึ้นเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์รูปกายที่เนรมิตขึ้นจึงมีจำนวนนับไม่ถ้วนแต่ไนรมาณิกกายก็ไม่ใช่กายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าไนรมาณิก  กายเกิดขึ้นจากธรรมกายไนรมาณิกกายทำให้พระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นเสมือนเทพเจ้าผู้ช่วยเหลือสรรพสัตว์เป็นกายที่เรียกว่าพระศากยมุนีที่เป็นบุคคลผู้มีจริงในประวัติศาสตร์

บทที่ ๒

ทรรศนะเรื่องกายในคัมภีร์พระไตรปิฎก

มีดังนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกไม่ได้แสดงทรรศนะเรื่องกายของ

พระพุทธเจ้าไว้โดยตรงแต่ก็มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับทรรศนะเรื่องกายบ้างในประเด็นดังนี้

1. คัมภีร์พระไตรปิฎกยอมรับทรรศนะเรื่องรูปกายของพระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์ทั่วไปแต่รูปกายของพระองค์มีลักษณะวิจิตรงดงามประดับด้วยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการดังปรากกฎในมหาปทานสูตรแห่งทีฆนิกายมหาวรรค19 และลักขณสูตรแห่งทีฆนิกายปาฏิกวรรค20 แสดงให้เห็นว่านิกายเถรวาทยอมรับรูปกายของพระพุทธเจ้าที่มีฐานะเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะพิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไปเท่านั้น

2. คัมภีร์พระไตรปิฎกยอมรับทรรศนะเรื่องธรรมกายตามเนื้อความในอัคคัญญสูตรแห่งทีฆนิกายปาฏิกวรรคที่แสดงว่า

ยสฺสโขปนสฺสวาเสฏฺฐตถาคเตสทฺธานิวิฏฺฐามูลชาตาปติฏฺฐิตาทฬฺหาอสํหาริยา สมเณนวาพฺราหฺมเณนาวาเทเวนวามาเรนวาพฺรหฺมุนาวาเกนจิวาโลกสฺมึตสฺเสตํกลิลํวาจาย ภควโตมฺหิปุตฺโตโอรโสมุขโตชาโตธมฺมโชธมฺมนิมฺมิโตธมฺมทายาโทติตํกิสฺสเหตุตถาคตสฺสเหตํอธิวจนํธมฺมกาโยอิติปิพฺรหฺมกาโยอิติปิธมฺมภูโตอิติปิพฺรหฺมภูโตอิติปิฯ21

ผู้ใดแลมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคตเกิดแต่รากประดิษฐานมั่นคงที่สมณพราหมณ์เทพ มารพรหมหรือใครๆในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ควรจะเรียกผู้นั้นว่าเป็นบุตรเป็นโอรสเกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเกิดจากพระธรรมอันธรรมเนรมิตขึ้นเป็นทายาทของพระธรรมข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรเพราะคำว่าธรรมกายก็ดีพรหมกายก็ดีธรรมภูตก็ดีพรหมภูตก็ดีล้วนเป็นชื่อของตถาคต

อุจฺฉินฺนภวเนตฺติโกภิกฺขเวตถาคตสฺสกาโยติฏฺฐติยาวสฺสกาโยฐสฺสติตาวนํทกฺขนฺติ เทวมนุสฺสากายสฺสเภทาอุทฺธํชีวิตปริยาทานานนํทกฺขนฺติฯ22

ภิกษุทั้งหลายกายของตถาคตขาดตัณหาที่พาไปสู่ภพเทวดาและมนุษย์จักเห็นกายของตถาคตได้ชั่วเวลาที่ยังดำรงอยู่หลังจากกายแตกสลายไปเพราะสิ้นชีวิตแล้วเทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นกายนั้นอีกฯ

แม้จะยอมรับทรรศนะเรื่องธรรมกายแต่ก็มีความหมายว่าพระพุทธเจ้าทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแผ่ด้วยพระวาจาเป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรมเพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลกนอกจากนี้ธรรมกายที่หมายถึงกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้นย่อมเจริญงอกงามเติบโตขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระพุทธองค์แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชนดังเช่นพระดำรัสของพระนางมหาปชาบดีโคตรมี  เมื่อครั้งกราบลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตหม่อมฉันเคยเป็นมารดาเลี้ยงของพระองค์ข้าแต่พระธีรเจ้าส่วนพระองค์เป็นบิดาของหม่อม

ฉัน... ข้าแต่พระสุคตเจ้าพระรูปกายของพระองค์นี้อันหม่อมฉันเคยฟูมฟักให้เจริญเติบใหญ่แล้วส่วนพระธรรมกายที่น่าเพลิดเพลินของหม่อมฉันอันพระองค์ทรงฟูมฟักให้เจริญแล้ว”23 ดังนั้นเมื่อ

สรุปความนัยอรรถกถาธรรมกายคือโลกุตตรธรรม 9 หรืออริยสัจ24  ผู้เขียนมีความเห็นว่าแม้จะมีถ้อยคำเนื้อความหรือข้อความใดๆในคัมภีร์ที่ยกอ้างถึงรูปกายหรือธรรมกายแต่โดยนัยแล้วก็มิได้มีความหมายเกินกว่าแนวคิดที่ว่ารูปกายของพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ทั่วไปและธรรมกายของพระพุทธเจ้าก็เป็นที่รวมของธรรมะคือคำสั่งสอนและกฎระเบียบที่จัดรวบรวมไว้เท่านั้นนอกจากนี้อาจมีความเข้าใจว่าในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทมีทรรศนะเกี่ยวกับไนรมาณิกกายของพระพุทธเจ้าด้วยดังข้อความที่ปรากฏในพระธรรมบทภาคที่ 6 ในเรื่องยมกปาฏิหาริย์ที่แสดงไว้ว่าในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากโลกมนุษย์ไปทรงเทศนาพระอภิธรรมแก่พระมารดาในสวรรค์นั้นพระองค์ได้สร้างนิมิตตพุทธขึ้นซึ่งเป็นการจำลองพระองค์ขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะดังเดิมทุกประการพระพุทธเจ้าที่เนรมิตขึ้นนี้ไม่อาจแยกแยะความแตกต่างจากพระพุทธเจ้าองค์จริงได้ทั้งน้ำเสียงคำพูดและแม้รัศมีแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากพระวรกายพระพุทธเจ้าองค์ที่เนรมิตขึ้นนั้นจะมองเห็นได้เฉพาะแต่เทวดาในสวรรค์ชั้นสูงเท่านั้นส่วนเทวดาทั่วไปหรือมนุษย์ในโลกไม่อาจมองเห็นพระพุทธเจ้าองค์นี้ได้เลยผู้วิจัยมีความเห็นว่าพุทธเนรมิต

นี้ก็แตกต่างจากไนรมาณิกกายในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเพราะมิใช่กายที่พระพุทธองค์เนรมิตขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะที่มีอำนาจพิเศษเหนือมนุษย์แต่อย่างใดและมิใช่กายที่ทรงเนรมิตให้มีจำนวนนับไม่ถ้วนเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการ  ผู้เขียนมีความเห็นว่าการอธิบายทรรศนะเรื่องกาย 3 ของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์มหายานสูตราลังการให้ความสำคัญประเด็นด้านอภิปรัชญาซึ่งก็คือสวภาวิกกายนอกจากนี้ก็พยายามอธิบายในส่วนที่ต้องเกี่ยวข้องกับโลกและมนุษย์ที่อยู่ในโลกจึงเป็นที่มาของไนรมาณิกกายส่วนสามโภคกายเป็นการอธิบายถึงลักษณะที่เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาและแสดงถึงความดีเลิศของพุทธภาวะส่วนคัมภีร์พระไตรปิฎกมิได้ให้ความสำคัญแก่ทรรศนะเรื่องกายของพระพุทธเจ้าเพราะไม่ใช่ประเด็นที่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ให้แก่ชีวิตประจำวันจะเห็นได้จากการไม่อธิบายเรื่องกายของพระพุทธเจ้าโดยตรงแม้จะมีคำว่าธรรมกายปรากฏในพระสูตรบางสูตรก็มิได้หมายถึงกายที่เป็นแก่นแท้แต่อย่างใดแต่คำว่าธรรมกายหมายถึงกองหรือชุมนุมแห่งธรรมเท่านั้นดังนั้นทรรศนะเรื่องกายจึงมิได้มีความหมายเกินไปกว่ารูปกายและธรรมกายที่เป็นแหล่งรวมของธรรมะหรือคำสอนที่จัดรวบรวมไว้เท่านั้น

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ทรรศนะเรื่องกายในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นดังต่อไปนี้

1. คัมภีร์ทั้งสองยอมรับทรรศนะเรื่องรูปกายของพระพุทธเจ้าในฐานะพระสมณโคดมหรือพระศากยมุนีเช่นเดียวกันเพียงแต่มีการอธิบายแตกต่างกันโดยในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเรียกว่าไนรมาณิกกายในคัมภีร์พระไตรปิฎกหมายถึงรูปกายของพระพุทธเจ้าที่ประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการและอนุพยัญชนะอีก 80 ประการ

2.คัมภีร์ทั้งสองยอมรับคำว่าธรรมกายแต่ก็มีแนวอธิบายที่แตกต่างกัน

3. ทรรศนะเรื่องเนรมิตกายของพระพุทธเจ้าก็มีปรากฏในทั้งสองคัมภีร์โดยอธิบายว่าเป็นกายที่พระพุทธเจ้าเนรมิตขึ้นแต่แตกต่างกันที่ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการไนรมาณิกกายหมายถึงกายที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตขึ้นเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์และมีจำนวนนับไม่ถ้วนส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกกายที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตขึ้นมิได้มีจุดประสงค์เช่นนั้นเพราะพระพุทธองค์ทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์ตลอดเวลาอยู่แล้วไม่มีความจำเป็นที่ต้องเนรมิตกายต่างๆเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์แม้จะมีการอธิบายต่างกันแต่ร่องรอยของไนรมาณิกกายก็ยังปรากฏความคล้ายคลึงกัน

ทรรศนะเรื่องนิรวาณหรือนิพพาน

ทรรศนะเรื่องนิรวาณหรือนิพพานในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีประเด็นที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องนิรวาณหรือนิพพานในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องนิรวาณในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. นิรวาณหมายถึงการรู้แจ้งสภาวะที่แท้จริงของจิตเป็นผลมาจากการแยกจิตออกจากโลกภายนอกเป็นอิสระจากความคิดที่เป็นทวิภาวะระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้เป็นสิ่งที่อยู่เหนือรูปแบบของความรู้ทุกอย่างเป็นการรู้แจ้งสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดที่เปิดเผยแก่จิตที่อยู่ภายในสุดของแต่ละบุคคล

2. นิรวาณหมายถึงการถอดถอนอาลยวิชญานะจากการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปเป็นการกลับเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมของอาลยวิชญานนั่นคือความบริสุทธิ์

3. นิรวาณหมายถึงการรู้แจ้งตนเองของอาลยวิชญานะที่เป็นอิสระจากกระบวนการคิดและการทำให้เห็นแตกต่างกันเป็นจิตที่ว่างเปล่าปราศจากภาวะที่มีและไม่มี

4. นิรวาณไม่ใช่การดับสูญหรือความตายไม่ใช่สิ่งที่เป็นการละทิ้งหรือสิ่งที่ถูกบรรลุไม่ใช่สิ่งที่มีความหมายและไม่มีความหมาย

5. นิรวาณก็คือสภาวะที่อาลยวิชญานะหยุดการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปโดยการรู้แจ้งตนเอง

6. โลกปรากฏทั้งหมดหรือสังสาระมีสาเหตุมาจากการเห็นสรรพสิ่งว่าแตกต่างกันซึ่งสร้างทวิภาวะระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้สรรพสิ่งคือผลผลิตที่เกิดจากการเข้าใจผิดดังนั้นนิรวาณจึงหมายถึงความเป็นอิสระของจิตจากทวิภาวะระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้และความรู้แจ้งความเป็นเช่นนั้น (ตถตา) ของสรรพสิ่งเป็นการหันเหออกจากโลกที่เกิดจากความคิดและหันกลับไปสู่จิตที่เป็นพื้นฐานลักษณะเช่นนี้เรียกว่าอาศรยาประวฤตติ (อาศรยาปฺรวฺฤตฺติ) คือการเพิกถอนอาลยวิชญานจากการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป

7. นิรวาณเห็นการค้นพบรูปแบบดั้งเดิมของความบริสุทธิ์หรือสิ่งที่เป็นสากลอีกครั้งเมื่อความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสรรพสิ่งถูกกำจัดให้หมดไปสิ่งที่เหลืออยู่ในสภาวะนิรวาณนี้ไม่ใช่การรับรู้สิ่งสัมบูรณ์แต่จิตนั้นเองคือสิ่งสัมบูรณ์ซึ่งจะถูกรู้แจ้งโดยโลกุตตรปัญญา

8. นิรวาณไมใช่สิ่งที่ถูกบรรลุทั้งไม่ใช่สิ่งที่ถูกละทิ้งเป็นเพียงการเห็นแจ้งเข้าไปในสรรพสิ่งตามที่มันเป็นจริงเป็นผลมาจากกำจัดความเห็นผิดที่เกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งการที่สรรพสิ่งในโลกเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแบบผิดๆก็มิได้หมายความว่านิวาณเป็นบางสิ่งที่ต้องถูกต้องเพราะ

นิรวาณเป็นสภาวะของความว่างเปล่า (ศูนฺยตา) จากการกำหนดลักษณะต่างๆกล่าวคือเป็นการรู้แจ้งความเป็นจริงที่ไม่มีทวิภาวะของสิ่งสัมบูรณ์

9. นิรวาณที่แท้จริงคือการรู้แจ้งความเป็นสิ่งเดียวกันระหว่างนิรวาณและสิ่งที่ปรากฏหรือสังสาระเป็นสิ่งที่มีความว่างเปล่าเป็นสภาวะที่แท้จริงเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเป็นจริงของสิ่งที่เป็นนิรันดร์และสิ่งที่สูญ

10. นิรวาณเป็นการรู้แจ้งปุทคลไนราตมยะและธรรมไนราตมยะพร้อมกับการทำลายสิ่งกางกั้น 2 อย่างคือเกลศาวรณะและเชญยาวรณะการรู้แจ้งความไม่มีตัวตนและความไม่เที่ยงแท้ของโลกภายนอกเรียกว่าปุทคลไนราตมยะซึ่งเป็นผลมาจากการทำลายเกลศาวรณะการรู้แจ้งว่าโลกภายนอกไม่มีอยู่จริงแต่เป็นเพียงผลผลิตของมายาเรียกว่าธรรมไนราตมยะซึ่งเป็นผลมาจากการทำลายเชญยาวรณะเมื่อทำลายสิ่งที่กางกั้นทั้งสองอย่างนี้ได้แล้วจิตบริสุทธิ์ก็จะถูกรู้แจ้งว่าเป็นความจริงสูงสุดเพียงอย่างเดียวสรรพสิ่งสิ่งอื่นๆเป็นเพียงภาพมายาที่วางทับอยู่บนจิตบริสุทธิ์นั้น

11. นิรวาณสามารถอธิบายได้ทั้งลักษณะยืนยันและปฏิเสธแต่ในความเป็นจริงนิรวาณอยู่เหนือกระบวนการทางความคิดและการจินตนาการของมนุษย์

 เปรียบเถรวาทกับมหายาน

บทที่ ๓

ทรรศนะเรื่องนิพพานในคัมภีร์พระไตรปิฎก

มีดังนี้

1. นิพพานคือสภาวะที่เป็นการดับอวิชชาตัณหาอุปาทานซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกข์เป็นสภาวะที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงสภาวะของนิพพานจึงเป็นสภาวะที่จิตไม่มีอวิชชาตัณหาอุปาทานอีกต่อไป

2. นิพพานคือการรู้แจ้งหลักอริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทและสามัญลักษณะของสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกเพราะสรรพสิ่งในโลกสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเหล่านี้

3. พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเน้นความไม่มีอยู่จริงของสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาหรือความไม่มีอยู่จริงของสิ่งที่เที่ยงกล่าวคือความไม่มีตัวตนของสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นบุคคลหรือตัวตนหรือหลักอนัตตาแต่ไม่เน้นแสดงความไม่มีอยู่จริงของสรรพสิ่ง (ธรรม)

4. นิพพานไม่ใช่การค้นพบสิ่งที่เป็นสากลไม่ใช่การค้นพบบางสิ่งที่มีอยู่แล้วเหมือนในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเพราะไม่มีสิ่งใดที่เป็นหลักสากลที่เป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่งเพราะสรรพสิ่งในโลกประกอบด้วยความไม่เที่ยงแท้เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

5. นิพพานคือการกำจัดกิเลสที่เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงไม่ใช่การรู้แจ้งความไม่มีอยู่จริงของโลกหรือสิ่งที่ปรากฏและรู้แจ้งสิ่งที่เป็นแก่นแท้ของสิ่งที่ปรากฏในโลกคือจิตดังเช่นที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการเพราะการปฏิบัติธรรมตามแบบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมุ่งที่จะละกิเลสหรือกำจัดกิเลสโดยเริ่มต้นจากการละนิวรณ์ 5 จนกระทั่งละสังโยชน์10 ประการได้นั่นคือจุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมซึ่งมีผลคือการบรรลุนิพพานอย่างไรก็ตามพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ยังยืนยันว่าบุคคลผู้บรรลุนิพพานสามารถกำจัดสิ่งกางกั้นคือความไม่รู้ได้ด้วยนั่นคือการกำจัดอวิชชาซึ่งเป็นเหมือนเครื่องปิดบังเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ทั้งปวง

6. นิพพานเป็นการผ่านจากโลกิยธาตุไปสู่โลกุตตรธาตุซึ่งเป็นสภาวะที่อยู่เหนือโลกธาตุทั้ง 3 เป็นอิสระจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทุกอย่าง

7. นิพพานไม่ใช่การค้นพบจิตที่เป็นสิ่งสัมบูรณ์และสิ่งปรากฏที่มีฐานะเป็นรูปสำแดงของจิตสัมบูรณ์นั้นตามทรรศนะของคัมภีร์มหายานสูตราลังการ

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ทรรศนะเรื่องนิรวาณหรือนิพพานในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นดังต่อไปนี้

1. คัมภีร์ทั้งสองมีทรรศนะตรงกันว่านิรวาณหรือนิพพานมีสภาวะที่อธิบายไม่ได้กำหนดคุณสมบัติไม่ได้ดังนั้นในความพยายามที่จะอธิบายสภาวะของนิรวาณหรือนิพพานจึงใช้การปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่กล่าวคือนิรวาณหรือนิพพานเป็นสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งไม่มีความเกิดไม่มีความแก่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง

2. นิรวาณหรือนิพพานเป็นสิ่งที่บุคคลต้องรู้แจ้งเฉพาะภายในตัวเองเท่านั้นโดยคัมภีร์มหายานสูตราลังการใช้คำว่าปรัตตยาตมเวทยะ (ปฺรตฺตยาตฺมเวทย) ส่วนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทใช้คำว่าปจฺจตฺตํเวทิตพฺพํหมายถึงนิพพานเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงรู้ได้เฉพาะตน

3. คัมภีร์ทั้งสองเน้นการมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริงเหมือนกันแต่แตกต่างกันตรงที่ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการกล่าวว่าสรรพสิ่งเป็นอย่างเดียวกันคือจิตบริสุทธิ์แต่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกกล่าวว่านิพพานคือการรู้แจ้งสรรพสิ่งตามความเป็นจริงซึ่งมีลักษณะเป็นกฎธรรมดาคือไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีแก่นสารหรือเป็นอนัตตาจนไม่มีความยึดมั่นถือมั่นที่เกิดจากอำนาจของกิเลสต่างๆที่เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ทั้งปวงนั่นคือการบรรลุนิพพานที่มีสภาวะเป็นบรมสุข

ผู้เขียนมีความเห็นว่าทรรศนะเรื่องนิพพานหรือนิรวาณในคัมภีร์ทั้งสองมีความแตกต่างกันมากกว่าความคล้ายคลึงกันเนื่องจากคัมภีร์มหายานสูตราลังการเน้นให้ความสำคัญแก่จิตบริสุทธิ์ที่มีฐานะเป็นความจริงสูงสุดมีอยู่เองเป็นอยู่เองสรรพสิ่งในโลกมีบ่อเกิดอันเดียวกันคือจิตเท่านั้นสรรพสิ่งคือจิตบริสุทธิ์ดังนั้นการใช้คำว่านิรวาณก็เพื่อที่จะเน้นถึงการรู้แจ้งความจริงสูงสุดอันนั้นคือจิตบริสุทธิ์จะเห็นได้จากการพยายามอธิบายนิวาณในฐานะจิตบริสุทธิ์โดยไม่พยายามที่จะอธิบายถึงวิธีการบรรลุนิรวาณเพียงแค่กล่าวว่าการทำลายเครื่องกั้นคือกิเลสและเครื่องกั้นคือความไม่รู้สภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่งในโลกก็เป็นการบรรลุนิรวาณแล้วส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกไม่เน้นหลักอภิปรัชญาเพราะไม่มีสิ่งใดที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่ปรากฏทุกอย่างนิพพานจึงเป็นสภาวะที่ดับกิเลสตัณหาอุปาทานซึ่งเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ทุกอย่างการจะบรรลุนิพพานได้ก็ต้องละกิเลสคือโลภะโทสะโมหะให้ได้ซึ่งเป็นหลักการของศีลสมาธิปัญญานอกจากนี้การบรรลุนิพพานก็คือการรู้แจ้งหลักอริสัจ 4 หลักปฏิจจสมุปบาทและสามัญลักษณ์ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติการเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริงก็คือการรู้หลักการเหล่านี้นั่นก็คือการบรรลุนิพพาน

ทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์

ทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีประเด็นที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. พระโพธิสัตว์เป็นบุคคลผู้มีแก่นแท้ของปัญญาที่เป็นโลกุตตระเป็นบุคคลผู้ปรารถนาพุทธภาวะแสวงหาการตรัสรู้เพื่อมวลสรรพสัตว์

2. พระโพธิสัตว์มุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะมุ่งการตรัสรู้ของสรรพสัตว์

3. พระโพธิสัตว์แม้จะมีโอกาสเข้าสู่นิรวาณแต่ก็ปฏิเสธโอกาสนั้นทรงยินดีการเวียนว่ายอยู่ในโลกเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์

4. พระโพธิสัตว์มีเมตตาและกรุณาที่ไม่มีประมาณในสรรพสัตว์ทรงพยายามที่จะช่วยสรรพสัตว์ให้ก้าวเข้าไปสู่นิรวาณ

5.พระโพธิสัตว์มีคุณสมบัติพิเศษเช่นปราศจากการเห็นแก่ตัวมีการกระทำที่บริสุทธิ์ปราศจากโทสะยินดีในการยกระดับจิตใจของผู้อื่นไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบากควบคุมความรู้สึกได้อย่างสมบูรณ์

6. พระโพธิสัตว์เป็นผู้แสดงปุทคลไนราตมยะธรรมไนราตมยะและอาลยวิชญานะแสดงความแตกต่างระหว่างวิทยาและอวิทยาทำให้มนุษย์ทราบสภาวะทั้ง 3 คือปริกัลปิตะประตันตระและปรินิษปันนะ

7. พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้แจ้งความรู้ที่ถูกต้องและแสดงโพธิญาณแก่มวลสรรพสัตว์

8. พระโพธิสัตว์มีหลักปฏิบัติเฉพาะตนกล่าวคือต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติขั้นต้น 9ประการคือรุจิประสาทะประศมะอนุกัมปนากษมาเมธาประพลัตตวะอหารยตาและปราหาณิกางคสัมนวิคตัตตวะ

9. พระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติขั้นสูง 3 ประการคือสัมภารมารคะคือการสั่งสมความดีและปัญญาทรรศนะมารคะคือการรู้แจ้งธรรมธาตุที่ปราศจากทวิภาวะระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ภาวนามารคะคือวิถีแห่งสมาธิซึ่งเป็นขั้นตอนสูงสุดและสำคัญที่สุดเป็นสภาวะที่พระโพธิสัตว์บรรลุปรีชาญาณที่สมบูรณ์เกี่ยวกับความจริงสูงสุด

10. พระโพธิสัตว์มีจรรยา 4 ประการคือโพธิปักษยจรรยาหมายถึงพระโพธิสัตว์บำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมอภิชญาจรรยาหมายถึงพระโพธิสัตว์บรรลุอภิญญาต่างๆปารมิตาจรรยาพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีและสัตตวปริปากจรรยาหมายถึงพระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนสัตว์โลก25

11. จรรยาของพระโพธิสัตว์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการนั้นเป็นการกล่าวถึงการประพฤติธรรมและการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อได้บำเพ็ญความดีมาเต็มที่แล้วแสดงให้เห็นถึงความคิดของมหายานในขั้นสุดท้ายที่ว่าพระโพธิสัตว์ต้องบรรลุธรรมบางอย่างแล้วจึงจะสามารถ

ช่วยผู้อื่นได้ถ้ายังไม่ได้บรรลุธรรมก็ไม่สามารถช่วยผู้อื่นได้เพียงแต่การบำเพ็ญโพธิสัตว์จรรยานั้นมีจุดหมายสุดท้ายในการจะช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ26

ทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีดังนี้

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกไม่มีการแสดงทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ไว้เป็นแผนกหนึ่งแต่ก็มีประเด็นที่แตกต่างจากคัมภีร์มหายานสูตราลังการดังนี้

1. พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทยืนยันว่าพระโพธิสัตว์คือมนุษย์ผู้อุทิศชีวิตเพื่อการบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดคือความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

2. พระโพธิสัตว์หมายถึงพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้นอกจากนี้ยังหมายถึงบุคคลผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเช่นอสิตดาบสได้ทำนายพระโพธิสัตว์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเป็นต้น

3. ในคัมภีร์พุทธวงศ์พระโพธิสัตว์หมายถึงบุคคลผู้ปฏิญญาเพื่อที่จะเป็นพระพุทธเจ้าที่มีความกรุณาต่อสรรพสัตว์ได้สร้างสมความดีต่างๆและได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเช่นเรื่องสุเมธดาบส27 เป็นต้น

4. คำว่าพระโพธิสัตว์ยังหมายถึงช่วงชีวิตของพระโคตมพุทธเจ้าตั้งแต่เป็นสันดุสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตและการรับคำของเหล่าเทวดาที่พากันมาทูลให้ไปปฏิสนธิ

5. คำว่าพระโพธิสัตว์ยังหมายถึงพระพุทธเจ้าในอดีตเช่นในมหาปทานสูตรทีฆนิกายที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า 6 พระองค์ที่มีมาก่อนพระโคตรมพุทธเจ้าโดยกล่าวถึงประวัติพระพุทธเจ้า 6 พระองค์คือพระวิปัสสีพระสิขีพระเวสสภูพระกกุสันธะพระโกนาคมนะและพระกัสสปะได้อุบัติขึ้นในโลกและกล่าวถึงประวัติของพระโคตมพุทธเจ้านอกจากนี้มีการกล่าวถึงประวัติของพระวิปัสสีพระพุทธเจ้าตั้งแต่ต้นชีวิตในสวรรค์ชั้นดุสิตจนกระทั่งส่งสาวกออกไปประกาศศาสนามีการกล่าวถึงกฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ 16 ประการพระพุทธเจ้าไม่ได้อ้างถึงพระวิปัสสีในฐานะพระโพธิสัตว์เท่านั้นแต่ทรงยึดประวัติของพระวิปัสสีเป็นตัวอย่างของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าในอนาคตรวมทั้งพระโคตมพุทธเจ้าเองด้วย28

6. นอกจากนี้พระโพธิสัตว์ยังหมายถึงพระพุทธเจ้าในอนาคตเช่นใน

จักกวัตติสูตรทีฆนิกายพระพุทธเจ้าได้พยากรณ์ว่าพระเมตไตรยจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก29

ผู้เขียนมีความเห็นว่าแม้เถรวาทจะมีทรรศนะว่าทุกคนสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าทุกคนจะต้องเป็นพระโพธิสัตว์การตัดสินใจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะยึดถือวิถีทางของสาวกพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ก็กล่าวอย่างชัดเจนว่าความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสูงกว่าความเป็นพระสาวกและปัจเจกพุทธเจ้าความแตกต่างของทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกที่เห็นได้ชัดคือแม้นิกายเถรวาทจะยึดว่าทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์เป็นสิ่งสูงสุดและประเสริฐสุดแต่ก็ไม่มีวรรณคดีบาลีที่กล่าวถึงทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์อย่างชัดเจนคำสอนเกี่ยวกับทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์และความเป็นพระโพธิสัตว์ถูกพบอย่างกระจัดกระจายในวรรณคดีบาลีส่วนในคัมภีร์มหายานสูตราลังการแสดงทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ไว้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติและการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ทรรศนะเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นดังต่อไปนี้

1. แม้นิกายมหายานจะยึดมั่นในโพธิสัตวยานหรือวิถีทางแห่งพระโพธิสัตว์แต่ก็ไม่ละทิ้งสาวกยาน (ศฺราวกยาน) และปัจเจกพุทธยาน (ปฺรตฺเยกพุทฺธยาน) ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีการกล่าวถึงคำว่าสาวกยานและปัจเจกพุทธยานแต่ก็กล่าวว่ายานทั้ง 2 นี้ถือว่ายังมีฐานะต่ำกว่าโพธิสัตวยาน (โพธิสตฺตฺวยาน) ในคัมภีร์พระไตรปิฎกก็กล่าวลักษณะนี้ไว้เช่นเดียวกันว่าบุคคลอาจจะเป็นพระโพธิสัตว์และบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้แต่ถ้าไม่สามารถเป็นได้ก็อาจจะบรรลุความเป็นพระสาวกหรือความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคลสภาวะทั้ง 3อาจจะเป็นการบรรลุสภาวะ 3 อย่างบนวิถีทางเดียวกัน

2. พระโพธิสัตว์คือบุคคลผู้อยู่ในฐานะที่จะบรรลุนิพพานหรือนิรวาณในฐานะเป็นสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้แต่เพราะมีความกรุณาต่อชาวโลกจึงละทิ้งโอกาสที่จะบรรลุนิพพานและเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏทำตนให้มีความสมบูรณ์ในระหว่างยุคที่นับไม่ถ้วนและในที่สุดเมื่อตรัสรู้ย่อมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงและประกาศความจริงนั้นแก่ชาวโลกมีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจะเห็นได้ในสุเมธกถาที่กล่าวถึงเรื่องสุเมธดาบสซึ่งสามารถบรรลุความเป็นพระสาวกได้แต่ปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อปลดเปลื้องสรรพสัตว์30

3. ทั้งคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกต่างก็ยึดถือว่าพุทธภูมิเป็นจุดหมายสูงสุดของมนุษย์จะเห็นได้จากเนื้อความในนิธิกัณฑสูตรที่แสดงถึงสาวกภูมิปัจเจกพุทธภูมิและพุทธภูมิ31 แสดงให้เห็นจุดร่วมระหว่างคัมภีร์ทั้งสองที่มุ่งเน้นการบรรลุความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

4. ศราวกหรือสาวกของพระพุทธเจ้าอาจเป็นพระภิกษุภิกษุณีอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ได้เมื่อมุ่งความหลุดพ้นก็ดำเนินและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุนิพพานแล้วก็ช่วยเหลือสั่งสอนผู้อื่นแต่ความสามารถในการช่วยเหลือสั่งสอนผู้อื่นมีขอบเขตจำกัด

5. พระปรัตเยกพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าได้แก่บุคคลผู้ตรัสอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เองแต่เป็นการตรัสเฉพาะตนในยุคที่ว่างเว้นจากการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า32 พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ช่วยเหลือผู้อื่นเช่นเดียวกันแต่ความช่วยเหลือก็มีขอบเขตจำกัดพระองค์ไม่ทรงสามารถเทศน์สอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตามได้33

6. บุคคลใดก็ตามที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าบุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ตามทรรศนะของคัมภีร์ทั้งสองในลักษณะเดียวกันบุคคลผู้ปรารถนาจะบรรลุนิพพานในฐานะเป็นสาวกหรือในฐานะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็สามารถเป็นได้

7. ตามทรรศนะของนิกายมหายานเมื่อพระโพธิสัตว์บรรลุโพธิญาณก็จะเป็นพระอรหันต์แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เพียงพระสาวกเท่านั้นที่เป็นพระอรหันต์แม้พระโพธิสัตว์เมื่อบรรลุพุทธภาวะแล้วก็เป็นพระอรหันต์ฝ่ายนิกายเถรวาทก็มีทรรศนะอย่างเดียวกันว่าพระพุทธเจ้าเองก็คือพระอรหันต์ดังคำกล่าวที่ว่าอรหํสมฺมาสมฺพุทฺโธภควาที่แปลความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบเป็นต้น

8. นิกายมหายานแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งว่าพระพุทธเจ้าพระปรัตเยกพุทธเจ้าและพระศราวกมีความบริสุทธิ์อันเดียวกันคือการหลุดพ้นจากกิเลส (เกฺลศาวรณวิสุทฺธิ) นี้เรียกว่ากายที่หลุดพ้น (วิมุกฺติกาย) ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันกล่าวงคือไม่มีนิรวาณหรือความหลุดพ้นที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลทั้งสามนิรวาณเป็นสิ่งเดียวกันสำหรับบุคคลทั้งสามเพียงแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ได้รับความหลุดพ้นที่สมบูรณ์จากเครื่องปิดกั้นต่อสิ่งที่ควรรู้ (เชฺญยาวรณวิสุทฺธิ) ซึ่งพระปรัตเยกพุทธเจ้าและพระศราวกไม่สามารถบรรลุได้ที่เรียกว่าธรรมกายทำให้พระพุทธเจ้าสูงส่งกว่าพระปรัตเยกพุทธเจ้าและพระศราวกทรรศนะนี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับฝ่ายนิกายเถรวาทที่แสดงไว้ว่าพระพุทธเจ้าและภิกษุที่หลุดพ้นด้วยปัญญามีความหลุดพ้นเช่นเดียวกันแต่พระพุทธเจ้าแตกต่างจากภิกษุที่หลุดพ้นตรงที่พระองค์เป็นผู้ค้นพบและแสดงหนทาง (มรรค) ซึ่งไม่มีใครรู้มาก่อนผู้เขียนมีความเห็นว่าทั้ง 2 ทรรศนะมีจุดร่วมอย่างเดียวกันคือพระโพธิสัตว์ได้แก่บุคคลผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าปรารถนาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวลพุทธภาวะเป็นสิ่งที่สูงส่งและประเสริฐกว่าความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกแม้บุคคลทั้งสามจะมีความหลุดพ้นอย่างเดียวกันแต่พระพุทธเจ้าก็ยังคงมีความหลุดพ้นที่สมบูรณ์กว่าในฐานะที่ทรงค้นพบและแสดงหนทางนั้นซึ่งไม่มีใครค้นพบมาก่อน

บททื่ ๔

ทรรศนะเรื่องบารมี

ทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีประเด็นที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่แตกต่างกัน

ทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้

ทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมีดังนี้

1. อสังคะแสดงบารมีไว้ 6 ประการคือทานศีลกษานติวีรยะธยานะและปรัชญา

2. อสังคะให้ความสำคัญต่อปรัชญาบารมีมากที่สุดทานศีลกษานติวีรยะธยานะเป็นบารมีพื้นฐานสำหรับการประพฤติปฏิบัติของพระโพธิสัตว์

3. บารมี 5 ประการข้างต้นมีลักษณะเป็นเรื่องของจริยธรรมมากกว่าจุดประสงค์ด้านจิตใจ

4. ปรัชญาบารมีเป็นบารมีที่ทำให้พระโพธิสัตว์บรรลุความรู้ที่เป็นโลกุตตระเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความจริงสูงสุดปรัชญาบารมีเป็นบารมีที่ทำให้บารมีข้ออื่นๆมีความสมบูรณ์ขึ้น

5. ในทรรศนะของอสังคะบารมีหมายถึงวิถีทางที่ทำให้ถึงความสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์และเป็นข้อปฏิบัติของพระโพธิสัตว์

6. การบำเพ็ญทานบารมีพระโพธิสัตว์ต้องสละทรัพย์อวัยวะและชีวิตเพื่อสัตว์โลกโดยไม่มีความอาลัย

7. การบำเพ็ญศีลบารมีพระโพธิสัตว์ต้องรักษาอินทรียสังวรศีลประการหนึ่งและกุศลสังคหศีลได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ประการหนึ่ง

8. การบำเพ็ญกษานติบารมีพระโพธิสัตว์ต้องมีความอดทนต่อความยากลำบากเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์

9. การบำเพ็ญวีรยบารมีพระโพธิสัตว์ต้องไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการช่วยเหลือสรรพสัตว์

10. การบำเพ็ญธยานบารมีพระโพธิสัตว์ต้องสำเร็จฌานสมาบัติทุกชั้นมีจิตไม่คลอนแคลนเพราะคุณสมบัติแห่งอารมณ์

11. การบำเพ็ญปรัชญาบารมีพระโพธิสัตว์จะต้องรู้แจ้งในปุทคลไมราตมยะและธรรมไนราตมยะ

12. ในคัมภีร์มหายานสูตราลังการไม่ได้มีคำอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของบารมีทั้ง 6 ไว้อย่างชัดเจนแต่ตามหลักการของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานบารมีทั้ง 6 ประการนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้

ทานบารมีได้แก่การให้ตามความหมายคือการเป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวางมีทั้งการให้สิ่งของและการให้ที่เกี่ยวกับจิตใจคือการให้อภัยอยู่เป็นนิจนอกจากนี้ยังหมายถึงการยินดีในเมื่อผู้อื่นได้ดีเสียใจด้วยในเมื่อผู้อื่นได้รับความทุกข์การแผ่ส่วนกุศลความดีของตนให้แก่สรรพสัตว์เหล่าอื่นก็จัดเป็นทานบารมี ศีลบารมีได้แก่การมีความประพฤติดีมุ่งทำลายความชั่วร้ายให้หมดไปมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทำความดีเพื่อนำผลไปสู่ภพใหม่เพื่อเป็นเครื่องช่วยเหลือคนอื่นที่จะช่วยได้ต่อไปพระพุทธศาสนานิกายมหายานมุ่งเอาการทำความดีมากกว่าการไม่ทำความชั่วขันติบารมีได้แก่การมีความอดทนอดกลั้นบุคคลผู้ตั้งความปรารถนาเข้าถึงพุทธภาวะจะต้องไม่มีโทสะเป็นคนไม่โกรธเคืองไม่แสดงความหวั่นไหวเก็บความลำบากทั้งสิ้นไว้ในใจไม่แสดงออก

วีรยบารมีได้แก่การมีความเพียรพยายามสละความอ่อนแอความเกียจคร้านไม่หลงอยู่ในความเพลิดเพลินของโลกทำใจให้เข้มแข็งเพื่อเอาชนะต่อสุขสมบัติเหล่านั้น

ธยานบารมีหรือวิปัสสนาบารมีได้แก่การเข้าฌานหรือบำเพ็ญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาอันบริสุทธิ์เพื่อละอัตตสมบัติและปรสมบัติให้เห็นความเท่าเทียมกันระหว่างตนเองและบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นเมื่อปัญญาบริสุทธิ์เกิดขึ้นแล้วอหังการ (การยึดว่าเป็นตัวเรา) และมมังการ(การยึดว่าเป็นของเรา) ก็จะหมดไปเหลือแต่ความเป็นหนึ่งของพระธรรมปรัชญาบารมีได้แก่ความรอบรู้ที่เกิดจากธยานบารมีมาเป็นลำดับปรัชญาบารมีจะเกิดมีได้ต้องอาศัยการบำเพ็ญบารมีทั้ง 5 มาตั้งแต่ต้น

ทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีดังนี้

1. ความหมายดั้งเดิมของบารมีหมายถึงความเป็นเลิศในอะไรก็ได้และเป็นคุณสมบัติของผู้ใดก็ได้ไม่จำกัดว่าต้องเป็นความเป็นเลิศในทางพุทธศาสนาต่อมาคำว่าบารมีถูกใช้ในทางพระพุทธศาสนามากขึ้นมีความหมายเพียงความเป็นเลิศในการปฏิบัติธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งจนกระทั้งมีความหมายเจาะจงถึงความเป็นเลิศที่สุดในการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาคือการดับกิเลสแต่ความหมายนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก34

2. ความหมายของคำว่าบารมีในคัมภีร์อปทานพุทธวงศ์และจริยาปิฎกหมายถึงคุณธรรมหลายอย่างที่พระโพธิสัตว์พึงบำเพ็ญเพื่อนำไปสู่การบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบารมีเป็นหนทางไปสู่ผลสุดท้ายคือพระโพธิญาณหนทางหรือบารมีนี้ไม่ใช่หนทางที่ใครจะปฏิบัติก็ได้แต่เป็นหนทางเฉพาะพระโพธิสัตว์เท่านั้น35

3. บารมีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมี 10 ประการตามลำดับคือทานศีลเนกขัมมะปัญญาวิริยะขันติอธิษฐานสัจจะเมตตาและอุเบกขา

4. ในคัมภีร์อปทานทานบารมีคือการให้สิ่งที่ควรให้เน้นการให้แก่ผู้ที่จำเป็นในคัมภีร์พุทธวงศ์ความคิดเป็นแบบอุดมคติคือการให้สิ่งที่ตนมีทั้งหมดเป็นการละความยึดถือในทรัพย์สมบัติทั้งหมดพร้อมจะออกบวช 36

5. ในคัมภีร์อปทานกล่าวเพียงว่าศีลบารมีต้องรักษาให้ครบถ้วนแต่ในคัมภีร์พุทธวงศ์กล่าวว่าต้องรักษาศีลให้เคร่งครัดตลอดเวลาและพร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ศีลในที่นี้หมายถึงจตุปริสุทธิศีล37

6. เนกขัมมบารมีได้แก่การออกบวชเพราะเห็นภัยในสังสารวัฏผู้ออกบวชจะต้องออกบวชด้วยความยินดีปราศจากความอาลัยอาวรณ์

7. ปัญญาบารมีได้แก่การเข้าไปไต่ถามความรู้จากผู้อื่นบุคคลผู้บำเพ็ญปัญญาบารมีจะแสวงหาความรู้อย่างถูกต้องคือมุ่งเอาความรู้จริงโดยไม่ได้เลือกฐานะของอาจารย์แม้อาจารย์จะมีฐานะต่ำต้อยผู้บำเพ็ญบารมีก็ควรเข้าไปไต่ถาม

8. ขันติบารมีได้แก่การอดทนต่อคำสรรเสริญและนินทาไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์เหมือนแผ่นดินย่อมทนได้ทั้งของดีและเลว

9. สัจจบารมีได้แก่การพูดความจริงหมายถึงการพูดถูกต้องตามสัจธรรมคือความจริงแห่งธรรมชาติ

10. อธิษฐานบารมีได้แก่การทำจิตให้มั่นคงมีความตั่งใจมั่นที่จะประพฤติปฏิบัติดำเนินชีวิตไปสู่จุดหมายคือการบรรลุพระโพธิญาณ

11. เมตตาบารมีได้แก่การแสดงความรักความปรารถนาดีต่อทุกคนโดยไม่จำกัดมิได้หวังประโยชน์จากการกระทำนั้น

12. อุเบกขาบารมีได้แก่การวางใจเสมอในโลกธรรมเน้นความไม่โกรธไม่ยินดีวางเฉยเป็นภาวะปกติจิตของผู้ประพฤติธรรมระดับสูงมีเหตุการณ์ดีหรือไม่ดีก็ไม่หวั่นไหวเป็นธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องข่มไม่ต้องทนแต่อย่างใด

13. บารมีที่แตกต่างกันคือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีสัจจบารมีอธิษฐานบารมีเมตตาบารมีและอุเบกขาบารมีส่วนในคัมภีร์มหายานสูตราลังการไม่มีผู้มีเขียนมีความเห็นว่าทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและพระไตรปิฎกมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนบารมีและความหมายของบารมีแต่ละอย่างเพราะในคัมภีร์มหายานสูตราลังการกล่าวบารมีไว้ 6 ประการคือทานศีล กษานติวีรยะธยานะและปรัชญาส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกกล่าวบารมีไว้ 10 ประการคือทาน ศีลเนกขัมมะปัญญาขันติสัจจะอธิษฐานเมตตาและอุเบกขานอกจากจำนวนบารมีที่แตกต่างกันแล้วความหมายของบารมีแต่ละอย่างก็แตกต่างกันอีกด้วยเช่นปัญญาบารมีและปรัชญาบารมีทานบารมีและศีลบารมีเป็นต้นบารมีตามทรรศนะคัมภีร์มหายานสูตราลังการเน้นการช่วยเหลือ

สรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์รวมลงในบารมี 4 ประการข้างต้นคือทานศีลกษานติวีรยะส่วนบารมีลำดับที่ 4-5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจและความรู้ของพระโพธิสัตว์โดยเฉพาะปรัชญาบารมีเกี่ยวข้องกับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสรรพสิ่งทุกอย่างบุคคลผู้เป็นพระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติตามบารมีทั้ง 6 ที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติทั้งทางกายและจิตจึงจะสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ส่วนในคัมภีร์พระไตรปิฎกแสดงถึงหลักจริยาที่พระโพธิสัตว์เคยปฏิบัติมาแล้วในอดีตก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลักจริยาที่ว่านั้นก็คือบารมี 10 ประการเป็นการแสดงถึงการปฏิบัติที่บริบูรณ์ทางกายคือทานศีลเนกขัมมะทางวาจาคือสัจจะและทางจิตใจคือขันติ อธิษฐานเมตตาและอุเบกขาบารมีและความรู้คือปัญญาบารมีการประพฤติปฏิบัติจะต้องบริบูรณ์ครบทุกอย่างทั้งทางกายวาจาและใจจึงจะสามารถตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเน้นการปฏิบัติบารมีทั้ง 10 ประการอย่างบริบูรณ์ของพระโพธิสัตว์ไม่ได้เน้นที่บารมีใดบารมีหนึ่งและแสดงให้เห็นว่าความประพฤติในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีความบริบูรณ์ทุกอย่างส่วนคัมภีร์มหายานสูตราลังการเน้นปรัชญาบารมีคือการรู้แจ้งสภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่งซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์

ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน

ทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์มหายานสูตราลังการและคัมภีร์พระไตรปิฎกมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นดังต่อไปนี้

1.คัมภีร์ทั้งสองยอมรับทรรศนะเรื่องบารมีในฐานะหลักการที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของพระโพธิสัตว์

2. ทานบารมีศีลบารมีกษานติบารมีและปรัชญาบารมีในคัมภีร์มหายานสูตราลังการมี หลักการเช่นเดียวกันทานบารมีศีลบารมีขันติบารมีและปัญญาบารมีในคัมภีร์พระไตรปิฎกแม้การอธิบายความหมายของบารมีทั้ง 4 จะแตกต่างกันโดยเนื้อหาก็ตาม

3. ในคัมภีร์ทั้งสองแม้จะมีจำนวนของบารมีแตกต่างกันแต่จุดประสงค์ของบารมีทั้งหมดก็คือข้อปฏิบัติที่ควบคุมความประพฤติทางกายและจิตใจเช่นเดียวกัน

4. บารมีในทรรศนะของคัมภีร์ทั้งสองมุ่งเน้นที่ความบริสุทธิ์ของพระโพธิสัตว์เช่นเดียวกันแสดงให้เห็นว่าพระโพธิสัตว์ผู้จะช่วยเหลือสรรพสัตว์นั้นจะต้องเป็นผู้มีความประพฤติที่บริสุทธิ์เสียก่อน

5. ความคิดหลักของการบำเพ็ญบารมีในคัมภีร์ทั้งสองมีลักษณะเช่นเดียวกันคือการบำเพ็ญบารมีเป็นการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นหลักและเป็นการกระทำที่สูงส่งต้องใช้ความพยายามสูงและใช้เวลายาวนานเช่นการบำเพ็ญทานบารมีวิริยะบารมีและขันติบารมีเป็นต้น

6. บารมีที่มีชื่อและมีลักษณะที่เหมือนกัน 4 ประการคือทานศีลวิริยะขันติและปัญญาส่วนบารมีที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือเนกขัมมบารมีซึ่งใกล้เคียงกับธยานบารมีผู้เชียนมีความเห็นว่าจุดเน้นของทรรศนะเรื่องบารมีในคัมภีร์ทั้งสองก็คือบารมีเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ต้องเป็นผู้มีความบริบูรณ์ทั้งความประพฤติทางกายและจิตใจและเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พิเศษกว่าบุคคลทั่วไปบารมีแต่ละข้อเน้นหลักปฏิบัติที่ยากที่บุคคลทั่วไปจะปฏิบัติให้บริบูรณ์แม้กระทั่งความหมายของคำว่าบารมีเองก็มีความหมายถึงความบริบูรณ์การถึงที่สุดของคุณธรรมด้านต่างๆดังนั้นทรรศนะเรื่องบารมีจึงมีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดในฐานะเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้พระโพธิสัตว์เป็นบุคคลผู้มีความสมบูรณ์และสูงส่งกว่าบุคคลทั่วไป__

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท