โรคนั่งนาน_ทำเข่าเสื่อมเร็ว


 

.

สำนักข่าว Dailymail ตีพิมพ์เรื่อง Forget tennis elbow, we're suffering from 'office knee'
= "ลืมเรื่องเจ็บข้อศอกเทนนิส, เรากำลัง (เป็นโรค) เจ็บเข่าออฟฟิซ (สำนักงาน)" = "โรคเจ็บข้อศอกเทนนิสขาลง, ปวดเข่าสำนักงานขาขึ้น", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

.

ภาพ: คน ทำงานออฟฟิซ (สำนักงาน) สหรัฐฯ ปี 1937/2480; ประสบการณ์ทั่วโลกพบว่า ประเทศที่มีงานภาคอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน ฯลฯ มากขึ้น จะมีสัดส่วนเกษตรกรที่ทำงานเต็มเวลาลดลงไปเรื่อยๆ [ wiki ]


นักเทนนิ สใช้กล้ามเนื้อแขนท่อนล่างมาก ทำให้ปุ่มกระดูกที่กล้ามเนื้อแขนท่อนล่างยึดเกาะใกล้ข้อศอกบางส่วนเกิดการ ฉีกขาด บาดเจ็บ กลายเป็นโรคเจ็บข้อศอกเรื้อรัง เรียกว่า "โรคข้อศอกนักเทนนิส (tennis elbow)"

.

คนที่ทำงานใช้มือกำของ บิดไปบิดมาแรงๆ เช่น ช่างไม้ คนที่ยกของขึ้นๆ ลงๆ บ่อยก็เป็นโรค "เจ็บข้อศอกนักเทนนิส" ได้

.

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างอายุ 16-65 ปี 1,600 คน ติดตามไป 2 ปี

.

ผลการศึกษาพบว่า คนทำงานชาวอังกฤษ (UK) มากกว่า 1/4 ป่วยเป็นโรคเจ็บข้อเข่าสำนักงาน

.

.

ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า ปัจจัยที่ทำให้คนทำงานออฟฟิซ หรือสำนักงานเจ็บเข่าบ่อยได้แก่

.

(1). น้ำหนักเกินหรืออ้วน > ทำให้แรงกดต่อข้อเข่าเพิ่มขึ้นเรื้อรัง

.

กระดูกอ่อนในข้อของคนเราไม่มี เลือดไปเลี้ยงโดยตรง อาศัยการซึมซาบน้ำไขข้อเข่า-ออกตามแรงกด คล้ายกับฟองน้ำล้างจานที่คลายน้ำเก่าออกตอนโดนบีบ และซึมซับน้ำใหม่เข้าไปตอนคลายตัวหรือลดแรงบีบ

.

แรงกดต่อกระดูกอ่อนในข้อที่สลับ กับช่วงคลาย เช่น เวลาเดิน ฯลฯ ทำให้ข้อเข่าขับของเสียออก รับน้ำเลี้ยงใหม่ ออกซิเจนใหม่ สารอาหารใหม่ ฮอร์โมนใหม่เข้าไป ทำให้แข็งแรงขึ้น

.

แรงกดต่อกระดูกอ่อนในข้อที่ยืด เยื้อยาวนาน เช่น น้ำหนักเกินหรืออ้วนแล้วนั่งนานๆ ยืนนานๆ ฯลฯ ทำให้กระดูกอ่อนขาด "น้ำเลี้ยง" ใหม่ (ฟังดูคล้ายการเมืองไทยเข้าไปทุกที) และเสื่อมเร็วขึ้น

.

(2). นั่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง > ทำให้ข้อเข่าขาดออกซิเจน น้ำ สารอาหาร และฮอร์โมน

.

แถมการนั่งนานยังเพิ่มเสี่ยง น้ำหนักเกิน-อ้วน, ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง, น้ำตาลในเลือดสูง, เลือดไหลเวียนช้าลง... ทั้งหมดนี้ยิ่งทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น

.

(3). กล้ามเนื้อพยุงหัวเข่าอ่อนแอ

.

ความแข็งแรงของข้อเข่าขึ้นกับความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อด้านหน้าขาท่อนบน (quadriceps), กล้ามเนื้อนี้จะช่วยทำให้หัวเข่าเคลื่อนที่ในแนวหน้า-หลัง คล้ายบานพับหน้าต่าง-ประตู ไม่กลิ้งหรือโคลงไปทางด้านข้าง

.

ถ้ากล้ามเนื้อหน้าขาท่อนบนอ่อนแอ จะทำให้ข้อเข่าหลวม กลิ้งหรือโคลงเคลงไปทางด้านข้างมากขึ้น กระดูกอ่อนข้อเข่าบาดเจ็บ สึกหรอมากขึ้น ปวดเข่ามากขึ้น

.

.

อาจารย์นักกายภาพบำบัดท่านหนึ่งแนะนำว่า คนเราไม่ควรนั่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง เพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับแรงกดต่อเนื่องนาน โดยไม่มีช่วงพัก

.

การฝึกลุกขึ้นยืน ทุกๆ 1-1.5 ชั่วโมง มีส่วนช่วยลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอว (แรงกดในท่านั่งสูงกว่าท่ายืน-เดิน-นอน) ช่วยป้องกันอาการปวดหลัง

.

ถ้ายืนขึ้น ด้วย แอ่นหลังเล็กน้อยให้นานหน่อย คือ 30-40 วินาที จะช่วยลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนหลัง ป้องกันหมอนกระดูกสันหลังโป่งหรือแตกไปทางด้านหลังได้ดี

.

การเดินสะสมเวลาให้ได้ 40 นาที/วัน ขึ้นไป, ขึ้นลงบันไดตามโอกาส สะสมเวลาให้ได้ 4 นาที/วัน, นั่งเก้าอี้ แล้วลุกขึ้นยืนสลับท่านั่ง จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าขาท่อนบนแข็งแรง

.

.

ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยลดเสี่ยงโรค "ปวดเข่าออฟฟิซ" หรือ "ปวดเข่าจากการนั่งนาน" ได้

.

กล่าวกันว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าช่วยลดอาการปวดเข่าได้ดี ทว่า... แพงมาก

.

แถมข้อเทียมส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานสั้น คือ 10-14 ปี จึงไม่เหมาะกับคนที่คาดว่า น่าจะมีอายุเหลืออยู่นานเกิน 10-14 ปี

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]

  • Thank > http://www.dailymail.co.uk/health/article-2235771/Forget-tennis-elbow-suffering-office-knee--desk-jobs-obesity-blame.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 21 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 511244เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2012 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท