จิตอาสา..หน้าที่และความเต็มใจ..รวมเข้าใว้..ในรอยยิ้ม


การทำงานจิตอาสา..นอกจากหน้าที่..แล้วยังต้องรวมกับ...ความเต็มอก เต็มใจ...และรอยยิ้ม

         ....หมอเปิ้น...รับผิดชอบทำงาน....ในชุมชน...จากการให้บริการในโรงพยาบาลแล้ว....ต้องออกไปเยี่ยมผู้ป่วย...ในชุมชน...ในบ้านด้วยนะคะ....จากปัญหาผู้ป่วย ทำให้ทีมงานดูแลผู้ป่วย(PCT.Team) ในชุมชนได้ร่วม กับ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยที่ ทีมเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ได้นำพูดคุย ปรึกษาหารือกัน ทบทวนกิจกรรม ในการดูแลผู้ป่วยทบทวน12 กิจกรรมทบทวนหลังภารกิจ (After Action Review : AAR)  ทบทวน RCA. การวิเคราะห์ SWOT Analysis , Gap Analysis ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วยโดยทีมเภสัชกรรมและบำบัด( PTC. Team)วิเคราะห์ปัญหาจาก ผังก้างปลา(Fish Bone diagram) เพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขโดยการร่วมกันระดมสมอง(Brainstorming) ใช้เทคนิคA-I-Cของทุกทีมงานทำให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการคิดใหม่(Paradigm shelf) ได้วิธีปฏิบัติ(Action) และแผนปฏิบัติการ(Action Plan)ที่เป็นรูปธรรม นำมาปรับปรุงและพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยCOPD โดยมีการออกแบบระบบดูแลผู้ป่วยใหม่(Service Design System) ดังนี้


                            


      1. จัดตั้งคลินิกCOPD ชื่อว่าคลินิกปอดขยับโรคขยาดให้บริการวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4ของทุกเดือน เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วย COPD ได้ดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึงเอื้อต่อผู้ป่วย ญาติ และผู้ปฏิบัติงาน
      2. จากสภาพปัญหาที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูบบุหรี่ทั้งชายและหญิง และสูบมาเป็นระยะเวลานาน ทีมงานได้จัดอบรมเรื่องอันตรายของการสูบบุหรี่ผลกระทบของบุหรี่ต่อโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคCOPD แนะนำส่งเสริมให้ผู้ป่วยลดเลิกการสูบบุหรี่โดยส่งต่อผู้ป่วย เข้ารักษาในคลินิก“ อดบุหรี่ ”
      3. สอนผู้ป่วย“ ออกกำลังกายปอดด้วยการเป่าขวดน้ำที่มีลักษณะคล้ายคณโฑปริมาตร1500 มลมีชื่อว่า “ ขวดน้ำมหัศจรรย์ ” ในวันเปิดคลินิก โดยให้ผู้ป่วยหายใจยาว ๆ เข้าทางจมูก แล้วเป่าลมออกทางปากผ่านหลอดลงไปในขวดน้ำมหัศจรรย์ ซึ่งมีน้ำบรรจุในขวดประมาณ 800 มลการเป่าขวดน้ำในลักษณะนี้ จะช่วยแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจโดยเฉพาะกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามหน้าท้องสอนและส่งเสริมการเป่าขวดน้ำมหัศจรรย์เป็นประจำที่ในคลินิกCOPD ผู้ป่วยที่Admitในตึกผู้ป่วยในและที่บ้านโดยเริ่มจำนวนครั้งน้อย ๆแล้วเพิ่มจำนวนไปเรื่อย ๆจะทำให้ปอดมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น


                     


      4.สอนและฝึกผู้ป่วยด้วยเทคนิคการหายใจโดย“ การห่อปาก ” (Purse-Lip breathing)โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าทางจมูกช้าๆและลึกๆ จากนั้นหายใจออกทางปากโดยห่อปากเล็กน้อยลักษณะคล้ายผิวปาก โดยการหายใจออกทางปากนั้นให้ยาวนานเป็น 2 เท่าของการหายใจเข้าซึ่งเป็นการทำให้เกิดแรงต้านของลมหายใจออกเพิ่มขึ้น ป้องกันการหดตัวของถุงลมและหลอดลมอย่างรวดเร็วทำให้อากาศไม่คั่งค้าง สอนฝึกการหายใจ ” โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม จะช่วยแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ ทำให้มีการระบายอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าชฝึกสอนเทคนิค “ การไอที่มีประสิทธิภาพ ” เพื่อกำจัดเสมหะสิ่งคัดหลั่ง สิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในทางเดินหายใจ ในวันเปิดคลินิกCOPDและผู้ป่วยที่Admitในตึกผู้ป่วยใน ควบคู่ไปกับการเป่าขวดน้ำมหัศจรรย์เสริมพลัง(Empowerment)ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องโดยเฉพาะที่บ้าน


                       


       5. จัดการเรียนรู้ให้กับผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล โดย“ อบรมให้ความรู้ ”เรื่องโรค สาเหตุ อาการ อาการแสดง การดำเนินและการพยากรณ์โรค เพื่อผู้ป่วยจะได้ปฏิบัติตนได้เหมาะสมและรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ใช้ ยาชนิดไหนใช้เพื่อรักษาอะไร ข้อห้ามของยาบางตัว ผลข้างเคียงของยา สอนวิธีการใช้ยาชนิดสูดดมที่ถูกต้อง การเก็บรักษายาโดยทีมPTC ทำให้ทีมงานค้นพบนวัตกรรม“ ปฏิทินยา ”ใช้สำหรับผู้ป่วยที่หลงลืม ความจำไม่ดี อยู่คนเดียว หรือต้องรับประทานยาหลายชนิดขณะเดียวกันทีมองค์กรแพทย์ “ ให้ความรู้ในส่วนที่ผู้ป่วยขาด ” กับผู้ป่วยญาติเช่นการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เมื่ออาการกำเริบ เรื่องโรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เรื่องBMIเกินเกณฑ์การขาดสารอาหาร การป้องกันไม่ให้เป็นโรคหวัดบ่อย ๆโดยหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนที่กำลังเป็นไข้หวัดออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอสิ่งแวดล้อมที่บ้านเป็นต้น


                            


      6. การไปเยี่ยมบ้าน(HHC.)ผู้ป่วยตามแผนที่ดูแลสุขภาพ(Care Mapping)ทุกคนทำให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง ปัจจัยเสี่ยง(Risk Factor)ของผู้ป่วย วิถีชีวิตของผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยของญาติปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่บ้านปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่ ยาเส้นพื้นเมือง ปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านกายภาพด้านจิตใจอารมณ์ครอบครัวสังคมของผู้ป่วย สามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยแต่ละคนได้ตรงประเด็นกับปัญหาของผู้ป่วยเช่นเรื่องของควันไฟฝุ่นละออง เนื่องจากครอบครัวผู้ป่วยมีอาชีพ เลี้ยงวัวอาชีพทำน้ำตาลทำให้ผู้ป่วยหายใจเอาควันไฟฝุ่นละอองข้าวฝุ่นละอองถ่านฝุ่นละอองฟางจากการเลี้ยงวัว การไปHHC.จะเป็นวิธีที่ทำให้ทีมงานสามารถค้นพบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยได้รอบด้าน ทั้งเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย จิตใจอารมณ์อนามัยสิ่งแวดล้อม เรื่องอบายมุขโดยเฉพาะการ ลด เลิกบุหรี่ และการดื่มสุรา ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
     7. การจัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชนตาม นโยบาย 6 .” ร่วมกับที่ว่าการอำเภอบ้านลาด อบตท่าช้าง ผู้นำชุมชนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ) โรงเรียนวัดโพธิ์กรุสถานีตำบลภูธรบ้านลาด ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาดและถวายความรู้สำหรับพระภิกษุสงฆ์ในวัดโพธิ์กรุเรื่องอันตรายของบุหรี่การรณรงค์ในชุมชนให้ ลด เลิกบุหรี่ แนะนำให้เข้ารักษาการอดบุหรี่ใน“ คลินิกอดบุหรี่ ”ของโรงพยาบาลบ้านลาดการรณรงค์มหกรรม 6 . ”โดยรณรงค์ทุกปี ในวันที่ 12 สิงหาคมเพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ผู้ปกครองเด็กนักเรียนและญาติของผู้ป่วย COPD



                               ขอบคุณมากนะคะที่ให้เกียรติอ่านบทความ




หมายเลขบันทึก: 510906เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับพี่หมอ...

-ชอบ ๆ "คลีนิกปอดขยับโรคขยาด"

-เป่าขวดน้ำ...เพื่อออกกำลังกายปอด...

-น่าสนใจมาก ๆ ครับ..

-ผมเข้าข่าย"IBM"เกินมาตรฐาน 5555

-วันนี้ไปเกี่ยวข้าวมา...เก็บภาพมาฝากครับ..

 

-ขอแก้ข่าวด่วน!!!!!

-"BMI" ไม่ใช่"IBM" 55555

-ขอบคุณครับ....

 

  • หวัดดีพีหมอเปิ้น
  • มีท้องฟ้ายามเย็นที่หลังวัดมาฝากจ้ะ
  • คิดถึงจ้ะ

โอ้.....สุดยอด ครบจากบ้าน ชุมชน ถึงระบบดูแลของ รพ.

จะเอาไปฝากพี่พยาบาลผู้ทำงาน COPD

ขอบคุณพี่เปิ้นมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ค่ะ

อิ อิ เลียนแบบไม้ยมก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท