เมือต้องอยู่อย่างหนาว ๆ


 

ช่วงนี้ อากาศในห้องแลบที่ทำงานอยู่หนาวถึงหนาวจัด เกือบจะมีหิมะตกกันแล้ว

ก็เพราะว่า เครื่อง DSC ต้องการใช้ Liquid Nitrogen มาเป็นตัวทำความเย็น

แถมมีน้อง ๆ ส่งตัวอย่าง อย่างมากมาย ให้เราต้องหนาวทุกวัน และใ้ช้ Liquid Nitrogen กันทุกวัน

จนเราแซวพี่กะทิหนูดีว่า เราเปิดเพื่อเพนกวินอย่างพี่กะทิหนูดีจะได้คิดถึงบ้านน้อยลง อิอิ

งั้นเราก็คงอยู่ขั่วโลกใต้กันละค่ะงานนี้...

เพราะว่า เพนกวิน เป็นสัตว์มีอาศัยเฉพาะขั้วโลกใต้ ไม่เคยปรากฏในขั้วโลกเหนือ 

ขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic South Pole) เป็นหนึ่งในสองจุดที่แกนหมุนของโลกตั้งฉากกับพื้นผิวโลก (อีกจุดหนึ่งคือ ขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์) อยู่ที่ละติจูด 90 องศาใต้ บนแผ่นดินของทวีปแอนตาร์กติกา

มนุษย์คนแรกที่สามารถไปถึงขั้วโลกใต้ทางภูมิศาตร์ได้ คือ นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ชื่อ โรอัลด์ อะมุนด์เซน (Roald Amundsen) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1911

การดูแลตัวเองในสภาพอากาศหนาวก็เป็นสิ่งจะเป็น 

ไหน ๆ ก็อยู่อย่างหนาว ๆ มาหลายวันแล้ว และจะต้องอยู่แบบนี้

อีกหลายเดือน ก็เอาเกร็ดความรู้สู้ภัยหนาวมาฝากซะด้วย

เพราะตอนนี้ ก็เขาหน้าหนาวของภาคเหนือ และหน้าฝนแถมหนาว

ของบ้านเราแล้วด้วย แต่ไม่ขอแถมน้ำท่วมนะคะ 

15 เคล็ดลับดูแลสุขภาพพร้อมรับ ลมหนาว (จากนิตยสาร Lisa)

ฤดู หนาวที่กำลังมาเยือนอาจทำให้หลายคนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือผิวแห้งแตกลอกได้ง่าย ๆ วันนี้มีเคล็ดลับดูแลสุขภาพ ให้คุณพร้อมสู้กับลมหนาวในปีนี้มาฝาก

  1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอและครบหมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป

  การรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง จะช่วยให้คุณพร้อมสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่พบได้บ่อยในฤดูหนาว เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ด้วย

2.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และยาเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากจะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เท่ากับเพิ่มโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

  3.อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชนที่แออัดยัดเยียด โดยเฉพาะหากมีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่

  4.ล้างมือบ่อย ๆ เพราะอาจไปสัมผัสเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มลิฟต์ โทรศัพท์สาธารณะ เป็นต้น

5.หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และไม่ควรใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จานชาม ช้อนส้อม

  6.หากป่วยแล้วมีอาการไอหรือจาม ควรมีผ้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย

  7.ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด อาการจะกำเริบได้ง่ายในฤดูนี้ นอกจากอากาศเย็นที่เป็นสาเหตุโดยตรงแล้ว ก็อาจเนื่องมาจากฤดูหนาวจะมีฝุ่นมาก หรืออากาศหนาวทำให้เราต้องนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาอยู่ร่วมกันในบ้าน หากแพ้ขนสัตว์ก็จะทำให้อาการกำเริบมากขึ้น หรือการนอนนาน ๆ ในฤดูหนาวซึ่งมืดเร็วและสว่างช้า ก็เพิ่มโอกาสที่จะทำให้แพ้ตัวไรฝุ่นตามที่นอน หมอน ผ้าห่มได้มากขึ้น ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ และรักษาร่างกายให้แข็งแรงเข้าไว้

  8. พยายามรักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูหนาว หรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่นเหมาะกับฤดูกาล หากอยู่ในที่ที่หนาวมากควรสวมหมวก เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย

  9.การอาบน้ำหลังจากตื่นนอน อาจไม่จำเป็นต้องฟอกสบู่ หรือฟอกเพียงบางจุด หรือหากอยู่ในที่ที่อากาศหนาวมาก ๆ อาจไม่จำเป็นต้องอาบน้ำวันละสองครั้งตามปกติ และไม่ควรอาบน้ำนาน ๆ

  10.ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดจนเกินไป โดยเฉพาะการล้างหน้า เพราะน้ำอุ่นจะทำให้ความชุ่มชื้นของผิวหายไป นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีฟองมาก ๆ เพราะจะดึงความชุ่มชื้นไปจากผิว และไม่ควรเช็ดถูผิวแรง ๆ เพราะจะยิ่งทำให้ผิวลอกมากขึ้น

  11.ทาโลชั่นบำรุงผิวหลังอาบน้ำ ขณะที่ตัวยังหมาด ๆ จะช่วยป้องกันผิวแห้ง แตก ลอก ในฤดูหนาวได้ และควรทาให้ทั่วร่างกาย ไม่ใช่เฉพาะแขนกับขาเท่านั้น รวมทั้งส่วนที่เรามักไม่ใส่ใจ เช่น เท้า การทาโลชั่นและสวมถุงเท้านอน จะช่วยให้เท้าเนียนนุ่มชุ่มชื้น ลดปัญหาส้นเท้าแตกได้อีกด้วย

  ส่วนมือที่แห้งและแตก ก็ควรหมั่นทาครีม หรือโลชั่นเช่นกัน นอกจากจะช่วยให้ความชุ่มชื้นแล้วยังช่วยให้รู้สึกอบอุ่นขึ้นด้วย สำหรับใครที่มือแห้งมาก ๆ ลองนวดด้วยน้ำมันมะกอกทิ้งไว้สักพัก ล้างออกด้วยน้ำสบู่ แล้วนวดด้วยครีมทามืออีกครั้ง ไม่ช้าริ้วรอยแห้งแตกก็จะหายไป 

  ส่วนผู้ที่ต้องใช้มือทำงานสัมผัสน้ำอยู่ตลอดเวลา เช่น ล้างจาน ซักผ้า ช่วงหน้าหนาวจะยิ่งรู้สึกแสบมือมาก อาจมีอาการบวมแดงและแตกได้ ควรป้องกันด้วยการสวมถุงมือยางกันน้ำ

12.ริม ฝีปากที่แห้งแตกก็ควรได้รับการบำรุงและปกป้องเช่นกัน สมัยนี้มีลิปมัน ลิปบาล์ม ให้เลือกใช้มากมาย รวมทั้งชนิด For Men ของคุณผู้ชายด้วย สำหรับผู้ชายที่รู้สึกเขินเวลาใช้ลิปแท่ง อาจเลือกซื้อชนิดตลับไว้พกติดตัวก็ได้ ที่สำคัญ ไม่ควรเลียริมฝีปากบ่อย ๆ เพราะจะยิ่งทำให้ปากแห้งแตกมากขึ้น

  13.ในช่วงหน้าหนาวไม่จำเป็นต้องสระผมบ่อย ๆ เช่นกัน และใช้แชมพูในปริมาณน้อย ๆ ก็เพียงพอแล้ว เพราะจะทำให้เส้นผมแห้งแตกปลายได้ง่าย และยังทำให้หนังศีรษะแห้งเกินไปจนเกิดรังแคได้อีกด้วย สำหรับผมที่แห้งมาก การเลือกใช้แชมพูและครีมนวดผมที่เหมาะสำหรับผมแห้งจะช่วยได้ หลังการสระผมอาจใช้น้ำมันบำรุงเส้นผมทาเคลือบที่ปลายผมบาง ๆ เพื่อลดไฟฟ้าสถิต ช่วยให้ผมไม่ฟู

  14.บำรุงร่างกายภายนอกกันแล้ว ก็อย่าลืมบำรุงร่างกายให้ชุ่มชื้นจากภายใน ด้วย โดยการดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะน้ำอุ่นซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของคุณอุ่นขึ้น นอกจากนี้ควรรับประทานผักผลไม้สดให้มากด้วย เพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้นจากภายใน

  15.การเลือกซื้อเสื้อกันหนาวก็สำคัญ บางคนเลือกซื้อเสื้อกันหนาวมือสอง เนื่องจากมีราคาถูก แต่ก็อาจนำเชื้อโรคต่าง ๆ ติดมาด้วย ควรเลือกให้ดี อย่าให้มีรอยด่างดำและรอยคราบสารคัดหลั่งต่าง ๆ หรือกลิ่นอับชื้นติดอยู่ เพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคได้ เช่น โรคผิวหนัง โรคติดเชื้อ เชื้อรา หรือโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ ก่อนนำไปสวมใส่ควรต้มในน้ำเดือด และซักให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท

  แม้แต่เสื้อกันหนาวใหม่ ๆ ก็ควรนำไปซักแล้วตากแดดก่อนนำไปสวมใส่เช่นกัน เพราะในเนื้อผ้าอาจมีสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง หรือโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ ได้เช่นกัน

15 เคล็ดลับดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาวทั้งหมดที่กล่าวมา คงจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมรับลมหนาวที่กำลังมาเยือน

ส่วนตัวเองนั้นต้องพก โลชั่นในห้องทำงานคะ เพราะนอกจาก

อากาศจะหนาวแล้ว มันยังแห้งอีกด้วยเพราะเครื่องมือวิจัยฯไม่ชอบความชื้น

เราจึงมีเครื่องดูดความชื้น ในห้องอีกด้วยนะคะ

หนาวแค่ไหน เอารูปมาให้ชมคะ  แต่เสื้อหนูณิชน์แจ่มไปหน่อย

พอใส่แล้วใคร ๆ จะทักว่า กลับมาจากเกาหลีรึไงเนี่ย...

ป่าวซะหน่อย ซ้อมไว้ กะจะไปกลิ้งหิมะที่เกาหลีสักครั้ง

ถุงมือนั้นเป็นถุงมือพิเศษ นะคะ หาซื้อไม่ได้ทั่วไปและราคาแพง

...หนาวแบบนี้ ถ้าได้คนกอดก็คงอุ่นไปอีกแบบ...

รักษาสุขภาพกันทุกท่านะคะ....

หมายเลขบันทึก: 510839เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท