กินถั่วงอกดิบอันตรายจริงหรือ


นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องจริง โดยไฟเตต จะพบมากในพืชตระกูล ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว หรืองา ดังนั้นในถั่วงอกดิบจึงมีไฟเตตสูง แต่ถ้าปรุงให้สุกไฟเตตจะสลายไป หรือมีปริมาณน้อยลง โอกาสที่ไฟเตตจะไปดูดซับแร่ธาตุต่าง ๆ จึงน้อยกว่าการกินดิบ ๆ ไฟเตตจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มัน จะไปจับ หรือดูดซับธาตุแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และฟอสฟอรัส หากกินเข้าไปมาก ๆ ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ได้ ถ้าเรากินอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านี้เข้าไป พร้อมกับถั่วงอกดิบ ไฟเตตก็จะดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ การกินถั่วงอกดิบต่อมื้อหรือต่อวันในปริมาณมาก ๆ เป็นกิโลกรัม ถือว่าเป็นอันตราย แต่ในชีวิตประจำวันของคนเราไม่ได้กินถั่วงอกมากมายขนาดนั้นจึงไม่ต้องกลัว ถ้ากลัวก่อนที่จะกินก็ควรปรุงให้สุกก่อน เพราะการปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ไฟเตตจะไม่สลายไปหมด ไฟเตตก็ยังคงมีอยู่ คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ และไม่รู้ว่าอาหารชนิดใดมีไฟเตตอยู่บ้าง ส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การรกินอาหารทุกอย่างสด ๆ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป ส่วนถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ก่อนที่จะนำไปปรุงให้สุก ควรนำไปแช่น้ำก่อนสัก 3 ชั่วโมง จะทำให้ไฟเตตและแป้งในถั่วคลายตัวลง พอนำไปปรุงจะทำให้สุกเร็วขึ้น ไม่ไปหมักต่อในท้อง จนทำให้ท้องอืด นอกจากถั่วงอกและพืชตระกูลถั่วที่มีไฟเตตแล้ว ยังพบไฟเตตในผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ขี้หล็ก ผักโขม กลิ่นเหม็นเขียวที่เราพบในผักนั่นแหละคือกลิ่นของไฟเตต นอกจากนี้ยังพบในผลไม้ เช่น สับปะรด ลำไย มะม่วง ทุเรียน แก้วมังกร รวมไปถึงเต้าหู้ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีต แต่ปริมาณที่พบน้อยกว่าพืชตระกูลถั่วมาก แต่อยากให้เดินทางสายกลาง คือ การกินอาหารไม่ซ้ำซากหรือมากจนเกินไป

คำสำคัญ (Tags): #ถั่วงอก
หมายเลขบันทึก: 510447เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2012 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท