Seminar in Occupational Therapy II


การศึกษาปี 4 เทอม 2 นักศึกษากิจกรรมบำบัดได้ศึกษา วิชา  Seminar in Occupational Therapy II เป็นการสัมมนาร่วมกับอาจารย์และเพื่อนในชั้นเรียน โดยการนำความรู้วิจัย (Journals) ที่ได้ศึกษามานำเสนอ และปรับประยุกต์นำมาใช้กับ case study ในการฝึกปฏิบัติงาน

ดิฉันจึงได้นำตัวอย่างการศึกษาที่ได้นำเสนอในชั้นเรียน เกี่ยวกับ case ทางจิตเวชกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับ Creative activity มากล่าวสรุปดังนี้

ข้อมูลเกี่ยวกับ case โดยสังเขป

ผู้รับบริการชาย อายุ  37 ปี  ได้รับการวินิจฉัย Schizophrenia , unspecified  (F20.9)

อาการสำคัญ โรคจิตเภทแสดงอาการทางลบ (Negative symptoms)ได้แก่ แสดงสีหน้าเรียบเฉย, เก็บตัว,ไม่ดูแลตัวเอง,มีแรงจูงใจต่ำ

จากการฝึกปฏิบัติงานดิฉันได้ใช้สื่อกิจกรรมการรักษา เพื่อใช้ในการประเมิน การบำบัดรักษา และการส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการ ซึ่งสื่อกิจกรรมการรักษา ได้นำกิจกรรมมาปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ โดยส่วนมากดิฉันใช้งานศิลปะ หัตถกรรม และเกมกระดาน ยกตัวอย่างเช่น งานปั้น , การประดิษฐ์ตกแต่ง , งานระบายสี , เกมกระดานทอยลูกเต๋า เป็นต้น

     


สำหรับงานวิจัยที่ดิฉันได้ศึกษา

‘Painting a path to wellness’: correlations between participating in a creative activity group and improved measured mental health outcome

อ้างอิง

L .  C A D D Y r m n ,  F .  C R A W F O R D p h d & A . C . P A G E p h d.‘Painting a path to wellness’: correlations between participating in a creative activity group and improved measured mental health outcome.[online]. Retrieved  July27,2011 from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-2850.2011.01785.x/pdf

จุดประสงค์  เพื่อต้องการศึกษาผลของการบำบัดรักษา โดยใช้ Creative activity เพิ่มเติมในผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งผู้ป่วยในจิตเวชได้รับการรักษาทางการแพทย์และยาตามปกติ เป้าหมายเพื่อส่งเสริมทางด้านสุขภาพจิตให้ดีขึ้น

ในงานวิจัยมีทีมสหวิชาชีพร่วมกัน ดังนี้ จิตแพทย์ พยาบาล นักศิลปะบำบัด นักกิจกรรมบำบัด

Creative activity คือ การใช้สื่อการรักษาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่กัน โดยใช้งานด้านศิลปะ หัตถกรรม การทำผลงานสำเร็จด้วยตนเอง รวมทั้งการออกแบบ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพระบายสี งานเย็บปักถักร้อย พับกระดาษ งานเปเปอร์มาเช่ การประดิษฐ์ เป็นต้น

วิธีขั้นตอน

ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ผู้รับบริการทางจิตเวชเข้าร่วม 403 คน คัดเลือกเข้าโดยมีประวัติข้อมูลครบถ้วน ผู้รับบริการมีความสนใจ และสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง

แบบประเมินการวัดผลลัพธ์ ใช้เครื่องมือ 4 แบบประเมิน

1.  The Depression and Anxiety Stress Scale (DASS-21)

-  ประเมินโดยผู้รับบริการให้คะแนนตนเอง

-  คะแนนมาก (สุขภาพทางจิตลดลง)

2.   The Quality of Life Enjoyment and Satisfaction Questionnaire (Q-LES-Q)

-  ประเมินโดยผู้รับบริการให้คะแนนตนเอง

-  คะแนนเปอร์เซ็นต์มาก (ความพึงพอใจในตนเองสูง)

3.  The Medical Outcomes Short Form Questionnaire (SF-14)

-  ประเมินโดยผู้รับบริการให้คะแนนตนเอง

-  คะแนนมาก (สุขภาพทางจิตดีขึ้น)

4.  The Health of the Nation Outcome Scale (HoNOS)

-  ประเมินโดยจิตแพทย์

-  คะแนนมาก (สุขภาพทางจิตลดลง)

ผลลัพธ์สรุปใน 4 แบบประเมิน พบว่าผู้รับบริการมีแนวโน้มทางด้านสุขภาพจิตที่ดีขึ้นหลังได้รับการบำบัดรักษา Creative activity

จากงานวิจัยที่ได้ศึกษานี้ กล่าวถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับ

-  ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการยังมีความหลากหลายของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การวินิจฉัยโรค การใช้ยา และวิธีการรักษาทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน

-  เครื่องมือแบบประเมินที่นำมาใช้ยังไม่เฉพาะเจาะจงต่อสื่อกิจกรรมการรักษา Creative activity

ในการศึกษาครั้งต่อไป งานวิจัยนี้ควรมีการปรับประยุกต์ Creative activity โดยเลือกกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ ส่งเสริมให้มีคุณค่า และเป้าหมายในการทำกิจกรรม และมีการติดตามผลหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถนำ Creative activity กลับไปใช้ในบริบทของตนเอง

จากการศึกษางานวิจัยฉบับนี้ และประสบการณ์ฝึกงานฝ่ายจิตเวช ทำให้ดิฉันได้ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อกิจกรรมการรักษางานด้านศิลปะ และหัตถกรรม สามารถนำมาบำบัดรักษา ส่งเสริมสุขภาพทางจิตให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ในผู้รับบริการแต่ละบุคคลอาจมีลักษณะบุคลิกภาพ ความสนใจ และปัญหาความบกพร่องที่ไม่เหมือนกัน การนำ Creative activity มาใช้ ควรปรับประยุกต์ให้เหมาะสมตามจุดมุ่งหมายของการรักษาในผู้รับบริการแต่ละบุคคล

หมายเลขบันทึก: 510444เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2012 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท