ระบบและกลไกในการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (5)


ระบบและกลไกในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งตามช่วงเวลาดำเนินการได้ 2 ช่วง คือช่วงทำข้อตกลง หรือรู้จักดีที่เรียกกันว่า TOR (Term of Reference)  แบบฟอร์มที่เราใช้ทำข้อตกลงคือ แบบ ป.01 และ ป.02  ส่วนช่วงทำการประเมิน จะใช้แบบฟอร์ม ป.03 ก่อนที่จะสรุปด้วยแบบ ป.04 ส่งหน่วยงานกองการเจ้าหน้าที่ต่อไป  

ในช่วงทำข้อตกลง มีขั้นตอนแสดงดังรูป 



ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ตามระเบียบของ ก.พ.อ. ผู้ประเมินจะถูกกำหนดให้เป็น ผู้บังคับบัญชาโดยตรง แต่เพื่อความละเอียดรอบคอบ และแบ่งเบาภาระในการตรวจหลักฐาน โดยเฉพาะเอกสารต่างๆ คณะฯ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ขึ้น 2 ชุด โดยกำหนดให้

กรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับภาควิชา มีหัวหน้าภาควิชาเป็นประธาน ประธานหลักสูตรปริญญาตรีทุกหลักสูตร และตัวแทนประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นกรรมการ และเลขานุการภาควิชาหรือผู้ซึ่งภาควิชามอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ 

กรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับคณะ มีคณบดีหรือผู้ซึ่งคณบดีเป็นประธาน มีหัวหน้าภาควิชาเป็นกรรมการ รองคณบดีฝ่ายบริหารหรือผู้ซึ่งคณบดีมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ 

ขั้นตอนแรกของการประเมินคือ ให้ผู้รับการประเมิน คือบุคลากรทุกคน จัดทำแบบข้อตกลงและแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานของข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามแบบ ป.01 และจัดทำแบบข้อตกลงและแบบการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามแบบ ป.02 ยื่นต่อผู้ประเมิน คือคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับภาควิชา ก่อนที่จะพิจารณาลงนาม และส่งสำเนากลับให้ผู้รับการประเมินจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน และดำเนินการตามแบบข้อตกลงต่อไป

ขั้นตอนการประเมินแสดงดังแผนผังด้านล่าง 



1)บุคลากรจัดทำแบบรายงานผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามข้อตกลงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานและข้อตกลงการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ (แบบ ป.03) ส่งไปยังภาควิชา 

2)คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับภาควิชา ดำเนินการพิจาณาประเมินในส่วนผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 70) หัวหน้าภาควิชาพิจารณาประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการฯ ตามสมรรถนะที่กำหนด (ร้อยละ 30) รวบรวมและส่งไปยังคณะวิทยาศาสตร์ 

3)คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับคณะ ดำเนินการประชุมพิจารณาทบทวนแก้ไขผลการประเมินฯ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องส่งเสริมนโยบายของคณะและหลักความเป็นธรรม แล้วถือมติที่ประชุมเป็นผลการประเมินฯ สุดท้าย ก่อนจะส่งให้บุคลากรผู้รับการประเมินเซ็นต์รับทราบ

4)แจ้งผลการประเมินให้บุคลากรผู้รับการประเมินรับทราบเป็นรายบุคคล และลงลายมือชื่อในแบบประเมิน หากผู้รับการประเมินไม่ยินยอมลงลายมือชื่อ ให้ดำเนินการหาพยานบุคคลอย่างน้อยสองคน ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานว่าได้มีการแจ้งผลการประเมินแล้ว 

5)คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับภาควิชา จัดทำแบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (แบบ ป.04) รวมรวบจัดส่งมายังคณะวิทยาศาสตร์ 

6)คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับคณะ สรุปและรวบรวม ป.01 – ป.04 ส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินการปฏิบัติราชการฯ ประจำคณะ พิจารณา หากมีมติให้ทบทวนให้ส่งกลับไปยังคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระดับภาคเพื่อพจารณาทวบทวนแก้ไข 

7)คณะวิทยาศาสตร์ส่งผลการประเมินการปฏิบัติราชการฯ ไปยังกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินการปฏิบัติราชการฯ ระดับมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) ต่อไป 

8)ก.บ.ม. พิจารณากลั่นกรองผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ก่อนจะนำเสนออธิการบดีพิจารณาให้ความเห็นชอบ 

9)มหาวิทยาลัยและคณะประกาศรายชื่อบุคลากรที่มีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ อยู่ในระดับดีเด่นและดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นการยกย่อง ชุมเชย และสร้างแรงจูงใจให้พัฒนาการปฏิบัติราชการในรอบถัดไป

นี่คือระบบที่เราปรับปรุงหลังจากที่สร้างเกณฑ์และประเมินมาแล้ว 2 รอบ ผมจึงมีความมั่นใจว่า ระบบนี้จะใช้ได้ดีขึ้นแน่นอน 

หมายเลขบันทึก: 508315เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2012 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท