ระบบและกลไกในการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (3)


จะสังเกตเห็นว่า สภามหาวิทยาลัยต้องการคนที่ทำงานแบบ คิดวิเคราะห์ คิดเชิงรุกสร้างสรรค์ ทำงานกับผู้อื่นได้ และมองอย่างเป็นองค์รวม

เมื่อ ก.พ.อ. ประกาศเป็นระเบียบออกมา แต่ละมหาวิทยาลัย ก็นำไปปฏิบัติ จากการสืบค้น แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันพอสมควรในระดับการปฏิบัติระดับหน่วยงาน แต่จะคล้ายกันในระดับสถาบัน ในตอนนี้ผมนำ ระบบและกลไกการประเมินฯ ข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาบันทึกไว้ ให้อ่านๆ ง่ายๆ ครับ 

ด้านวัตถุประสงค์ของการประเมิน มมส. ล้อกับวัตถุประสงค์ของ ก.พ.อ. เหมือนกับข้ออื่นๆ  เพียงแต่มีการกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้นดังนี้ 

ผู้ประเมินผลการปฏิบัติราชการ 

ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงานในระดับอุดมศึกษา สังกัดมหาวิยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ได้กำหนดแก้ไขผู้ประเมินจากเดิมที่กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรง เป็นคณะกรรมการ ดังนี้ 

“ ระดับคณะ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ประกอบด้วยคณบดีหรือผู้ซึ่งคณบดีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนจากคณะกรรมการประจำคณะจำนวนสองถึงห้าคนเป็นกรรมการ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะหรือผู้ซึ่งคณบดีมอบหมาย เป็นเลขานุการ”

เกณฑ์การประเมิน

มหาวิทยาลัยกำหนดกลุ่มคะแนนผลการประเมินแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 

คะแนน ร้อยละ 90-100 อยู่ในระดับ ดีเด่น

คะแนน ร้อยละ 80-89 อยู่ในระดับ ดีมาก

คะแนน ร้อยละ 70-79 อยู่ในระดับ ดี

คะแนน ร้อยละ 60-69 อยู่ในระดับ พอใช้ 

ต่ำกว่า ร้อยละ 60 ต้องปรับปรุง 

องค์ประกอบของการประเมิน

การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้ประเมินโดยพิจารณาจากองค์ประกอบของสัดส่วนของการประเมิน ดังนี้

1)ผลสัมฤทธิ์ของงาน (ร้อยละ 70) โดยพิจารณาจาก 

  • ปริมาณผลงาน
  • คุณภาพของงาน

2)พฤติกรรมการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 30) โดยพิจารณาจาก

  • สมรรถนะหลัก
  • สมรรถนะประจำกลุ่มงาน หรือ สมรรถนะทางการบริหาร

กรณีที่อยู่ระหว่างการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน ให้ประเมินโดยใช้องค์ประกอบและสัดส่วนของการประเมิน 50:50 ดังที่ระเบียบ ก.พ.อ. กำหนด

สมรรถนะสำหรับตำแหน่งข้าราชการและพนังงานสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 มีมติเลือก 5 ด้าน สมรรถะหลัก ได้แก่

1)การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)

2)บริการที่ดี (Service Mind)

3)การสั่งสมความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ (Expertise)

4)การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity)

5)การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะของงานที่ปฏิบัติ  สภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 มีมติเลือก 6 ด้าน ทั้งนี้ได้กำหนดเลือกแล้ว 3 ด้าน 

1)การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) 

9)การดำเนินการเชิงรุก (Proactive ness)

16)การสร้างสัมพันธภาพ (Relationship Building)

อีก 3 ด้านให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการกำหนดสมรรถนะและระดับสมรรถนะสำหรับข้าราชการและพนักงานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2554 สำหรับข้าราชการและพนักงานสายวิชาการได้แก่ 

2)การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking)

3)การใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น (Caring Others)

7)ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal Understanding)

ส่วนพนักงานสายสนับสนุน จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่กำหนดไว้ในคู่มือ หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งโดยมากจะมีข้อที่เหมือนกันคือ 

10)การตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน (Concern for Order)

11)ความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence)

สมรรถนะสำหรับข้าราชการตำแหน่งประเภทบริหาร ตามมาตรา 18 (ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้ประเมินสมรรถนะทางการบริหาร 5 ด้าน ตามที่สภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 ได้กำหนด ดังนี้ 

1)สภาวะผู้นำ (Leadership)

2)วิสัยทัศน์ (Visioning)

3)การวางกลยุทธ์ภาครัฐ (Strategic Orientation)

4)ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยน (Change Leadership)

5)การสอนงานและการมอบหมายงาน (Coaching and Empowering Others)

จะสังเกตเห็นว่า สภามหาวิทยาลัยต้องการคนที่ทำงานแบบ คิดวิเคราะห์ คิดเชิงรุกสร้างสรรค์ ทำงานกับผู้อื่นได้ และมองอย่างเป็นองค์รวม  ครับ 
ผมดีใจที่ชีวิตผมยึดมั่นในหลักการที่สอดคล้องกับสิ่งนี้อยู่แล้ว.....


หมายเลขบันทึก: 508284เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท