ศิลปะการใช้ชีวิตของมนุษย์


โดย  รติรัตน์  รถทอง

8  พ.ย. 2555

สถาบันปรีดี  พนมยงค์  ตั้งอยู่สุขุมวิท  55  ซอยทองหล่อ กรุงเทพมหานคร

เรื่องนี้  เป็นวันหนึ่งที่รู้สึกเบื่อสภาพความจำเจของการทำงาน  เบื่อสิ่งเดิมๆ ที่เป็นอยู่และเป็นไป    ทำให้อยากออกไปจากสมุทรสาคร   ไปเพื่อแสวงหาจุดยืนที่เคยยืนของตัวเอง   ค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่สวยงาม   ข้าวสาลีเป็นคนสมุทรสาคร  โดยกำเนิด  รู้จักทุกสิ่งทุกอย่างมาหลายอย่าง  เวลามันเบื่อหน่าย วิธีแก้เบื่อของข้าวสาลีมีอยู่ 2 - 3  อย่าง  เช่นอย่างแรกชอบไปดูภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์  แบบล้ำยุคล้ำสมัย  อย่างสตาร์แทค  สตาร์วอร์  เพราะได้เห็นความคิดของผู้สร้างหนังภาพยนต์เหล่านั้นว่าเขามีแนวคิดเช่นไร  ภาพยนต์อย่างการย้อนเวลาหาอดีของจิ๋นซี  ดูแล้วไม่เบื่อ  ส่วนงานศิลปะ  ชอบดูเป็นพิเศษ  งานศิลปะบอกตัวตนของมนุษย์แต่ละคน การที่ข้าวสาลีชอบแสวงหาความรู้ที่หลากหลายแบบนี้  ทำให้ความเครียดจากการทำงานก็เบาบางไปได้บ้าง  เวลาที่เราเดินทางเราจะเก็บข้อมูลไว้เพื่องานสร้างสรรค์ได้ด้วย

วันหนึ่ง  ผู้อำนวยการสถาบันปรีดี  พนมยงค์  ส่งแผ่นปลิวงานมีการเสวนาวรรณกรรมมองชานแดนใต้  ผ่าน "รุสนี" ของนักเขียน  มนตรี  ศรียงค์   และ"ช่างซ่อมตุ๊กตาจากอาเคเซีย  ของ  ศิริวรณ์  แก้วกาญจน์   นวนิยายที่ผ่านเข้ารอบซีไรท์ล่าสุด  ปี  2555  ซึ่งนักเขียนทั้งสองท่าน  ข้าวสาลีก็รู้จักผลงานมาโดยตลอด เคยเห็นและพบปะพูดคุยมาหลายครั้ง  หลายครั้งการที่มองชายแดนใต้ผ่านวรรณกรรมเหล่านี้ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าเราได้ใกล้ชิดกับปัญหาชายแดนใต้มากพอควร  เพราะเพื่อนเรา กศน.หลายคนต้องทำงานผจญกับสิ่งเหล่านี้  อย่าง  3 ชายแดนจังหวัดภาคใต้ที่ระอุไปด้วยปัญหา และพิษภัยต่างๆ มากมาย  เราต้องให้กำลังใจกันและกัน

สำหรับการเดินทางครั้งนี้  เกิดขึ้นในวันเสาร์ที่  13  ตุลาคม  2555  เวลา  11.00 น.  ออกจากบ้านที่คลองหมาหอนและเดินทางด้วยรถตู้ไปถึงรถไฟฟ้าที่อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  กทม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ  1  ชั่วโมง  จากนั้นนั่งรถไฟฟ้าจากสถานีอนุเสาวรีย์ฯ  ไปถึงสถานีทองหล่อ  เสียเงินไป  35 บาท  ไปถึงก็เดินเข้าซอยไปที่สถาบันปรีดี  ซึ่งลึกไปในซอยทองหล่อ ประมาณ  500 เมตร  ไปถึงเวลา  13.00  น.  กำหนดการนอกจากมีเวทีเสวนาแล้วยังมีรายการอีกมากมายค่อยๆ เล่านะคะ


วีรบุรุษของข้าวสาลี   ท่านปรีดี  พนมยงค์  เมื่อการเดินทางทำให้เราเกิดความรู้  เราก็จะไปค้นหาสิ่งเหล่านั้น

สถาบันปรีดี  เป็นเหมือนกับห้องสมุดมีชีวิต  เพราะมีนิทรรศการภาพ  การแสดงละครเวที  การเสวนา  ฉายภาพยนต์เก่าต่างประเทศ  หรือของไทย  กิจกรรมมีมากมายให้เราได้เห็น  เปรียบเหมือนการนำคลังความรู้รวบรวมไว้ให้เราได้เห็นว่ามนุษย์เราคิดอย่างไร  ผ่านสื่อ  กิจกรรมนี้จัดโดย  ชมรมอาสาพัฒนา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งข้าวสาลีอยากไปเรียนปริญญาโทที่นี่  เอกบริหารการศึกษา  จัดโดยกลุ่มเขียนข้าว  ซึ่งเป็นกิจกรรมของนักศึกษา  "ธนวัฏ  ปรีชาจารย์"  และเพื่อนๆ  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ซึ่งเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตในชมรมของนักศึกษาเหล่านี้  

  

ภาพวาดสื่อผสมต่างๆ


สื่อผสม เป็นภาพธงชาติ  ข้าวสาลีประทับใจมากเพราะได้เห็นสีหน้าหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยของเราซึ่งไม่มีใครมีใบหน้าที่มีความสุข  ทุกคนมีปัญหาทั้งนั้น  สิ่งนี้ทำให้ปัญหาที่ค้างคาใจข้าวสาลีหมดไปจากใจได้  และคนอื่นๆ เขาก็มีปัญหามากกว่าเรา  จึงไม่รู้สึกเสียใจที่เดินทางมาเหมือนทุกครั้งที่มาที่สถาบันปรีดี  แห่งนี้  ท่านปรีดีอาจจะตายไปแล้ว  แต่ท่านไม่เคยตายไปจากใจข้าวสาลีเลยสักครั้ง  เพราะท่านคือ  วีรบุรุษของเรา


ชิ้นงานชิ้นนี้  "ชอบมาก"  เพราะเป็นชิ้นงานที่บ่งบอกว่า  "อัตลักษณ์"  ที่เราคิดว่ามีอาจเป็น "อัปลักษณ์" ไปก็ได้  ดังนั้นเราก็ต้องมองหลายๆ มุม  เราอาจจะไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่  แต่เรากำลังจะก้าวไปไหน  นั้นสำคัญ  ถ้าผู้คนเรายังไม่รักกันก็ทำให้ขาดอัตลักษณ์ไปในที่สุด  สำหรับข้าวสาลี  การเสพงานศิลป์  เหมือนการอ่านหนังสือ  หนังสือที่ภาพที่แสดงอาจมากกว่าคำบรรยายหลายหมื่นคำก็เป็นได้  ข้าวสาลีเรียนนิเทศศาสตร์มา  พวกเราชาวนิเทศศาสตร์เหมือนกันตรงที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองเสมอ  ในการทำงาน

ความจริงวันนี้ที่มา  เพราะอยากจะไปพบคนๆ หนึ่งที่ข้าวสาลีรักมาก  อาจารย์ชมัยภร  แสงกระจ่าง  ท่านมาร่วมเวทีเสวนาวรรณกรรม  "มองชายแดนใต้"  นั่นเอง  ข้าวสาลีเกิดในวงการการเขียนได้ ก็อาจารย์เป็นคนนำข้าวสาลีออกมาจากบ้านคลองหมาหอนนั่นเอง


อาจารย์ชมัยภร  แสงกระจ่าง   "อ้าว  ข้าวเข้ามาเลย"  เป็นคำแรกที่อาจารย์ทักทาย  "เป็นไงบ้างหายหน้าไปนาน" นี่คือทักทายของอาจารย์ เวลาเราหายไปจากวงการการเขียน


อ.สิทธิธรรม  โรหิตะสุข  ม.ศรีนครินทรวิโรฒ   อ.ชมัยภร  แสงกระจ่าง   ดร.พรธาดา  สุวัธนวนิช  ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

                                                                                                                 ธนวัฏ  ปรีชาจารย์   นักศึกษา /นักกวี

การเสวนาเป็นแบบง่ายๆ  มีการหยิบยกหนังสือสองเล่ม  "รุสนี" กับ  ช่างซ่อมตุ๊กตาจากอาเคเซีย มาพูดกันถึงสถานการณ์ทางภาคใต้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสะท้อนมุมมองของมนุษย์ออกมาเป็นตัวหนังสือ  สำหรับข้าวสาลีแล้วการสื่อตรงเป็นการดีที่สุด  เราไม่ควรต้องมาอ่านว่าเขาคิดอะไร  พูดกันตรงไปเลยว่าต้องการอะไรในการทำงาน การแสวงหาความคิดต่างๆ  ล้วนเป็นเรื่องที่ดี  เวทีนี้จบเวลา  16.00 น.  ต่อจากนั้นกลุ่มเขียนข้าว  ก็มีเงนพบกันลานกวี  ดนตรีหนุ่มสาว  "จริต  (เงางามของความลวง) " เป็นชื่อหนังสือของกลุ่มนี้  เขาหารายได้เพื่อไปพัฒนาชมรมอาสาพัฒนา  ผู้นำกลุ่มนี้  คนหนึ่งเป็นลูกสาวของลูกจ้างประจำ ของ กศน.ตรัง  มาเรียนที่ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ นั่งคุยกันสนุกดี  น้องเขาตั้งใจทำงาน  และเก่งจริงๆ สมแล้วที่เป็นคนรุ่นใหม่  ข้าวสาลีอุดหนุนซื้อหนังสือเขาเพื่อจะได้เด็กๆ ได้ไปพัฒนาเด็กชนบท  กลุ่มเขียนข้าวเป็นกลุ่มที่น่ารักมากๆ  

เวทีลานน้ำพุ  ซึ่งเหมือนลานแสดงในต่างประเทศ  เหมาะกับผู้ชมจำนวน 100 คน สบายๆ 


วันนี้มาที่นี่ค่ะ  สิ่งที่ได้จากวันนี้มากมาย  นับไม่ถ้วนจริงๆ ได้เห็นน้องนักศึกษามหาวิทยาลัย ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และ ม.รามคำแหง  เขาทำงาน  ได้มาเจออาจารย์ชมัยภร  แสงกระจ่าง  ได้กอดอาจารย์และบอกว่า  "ยังสบายดีเหมือนเดิมแต่งานแยะมาก"  ที่มาได้วันหนึ่งวันนี้คุ้มจริงๆ  พี่น้อง ชาว กศน.  ออกไปจากกะลา  อย่าเป็นกบในกะลาเลยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 508049เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2012 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท